จับตา Nokia ผู้เล่นที่นำ 5G และ One Platform ลุยตลาด B2B พาประเทศไทยก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 | Techsauce

จับตา Nokia ผู้เล่นที่นำ 5G และ One Platform ลุยตลาด B2B พาประเทศไทยก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0

หลังจากเข้าร่วมงานแถลงข่าวกลยุทธ์ของ โนเกีย (Nokia) ก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของบริษัทเทคโนโลยีที่ลุกขึ้นมานำเสนอภาพลักษณ์แบรนด์ในลุคใหม่ พร้อมกันนี้ยังเผยกลยุทธ์องค์กรด้วยว่า โนเกียมุ่งให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยขับเคลื่อนและเร่งการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลให้แก่ลูกค้า คู่ค้า และช่วยเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ประเทศต่างๆ ได้ และในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม B2B (ฺBusiness to Business) โนเกียจึงนำเทคโนโลยีเครือข่ายที่พัฒนาอยู่ตลอด ทั้งแบบคงที่ แบบเคลื่อนที่ และระบบคลาวด์ มาเป็นตัวช่วยให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับการผลักดันเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ตามแนวทาง ESG (Environment, Social & Governance)

Nokia DigitalizationAjay Sharma,Head of Thailand and Cambodia, Nokia

Nokia ปรับภาพลักษณ์สู่ Digitalization

จากเดิมที่แบรนด์โนเกียเป็นที่รู้จักในด้านการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ หลังจากถูกเทคโนโลยีดิจิทัลดิสรัปต์ก็เปลี่ยนมาขับเคลื่อนการพัฒนาโซลูชันสำหรับองค์กรและภาคอุตสาหกรรม เพื่อขึ้นเป็นแบรนด์แถวหน้าด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเครือข่ายในตลาดโลก โดยชูจุดขายในเรื่อง ความพร้อมของเทคโนโลยี 5G อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อการใช้งานเครือข่าย บริการด้านคลาวด์ ตลอดจนแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลที่บริษัทพัฒนาขึ้น

"โนเกียเปลี่ยนโลโก้เพื่อมาคอนเน็กกับทุกภาคส่วน และเพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เราลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ปี 2000 รวมแล้วใช้เงินมากกว่า 140 พันล้านยูโร โดยมี Nokia Bell Labs เป็นแหล่งเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพย์สินทางปัญญาและการวิจัยในระยะยาว" 

คุณอาร์เจย์ ชาร์มา ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา กล่าวต่อถึงความเคลื่อนไหวและกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีล่าสุดของบริษัท รวมถึงข้อมูลการดำเนินกิจการในปัจจุบันของโนเกีย (ประเทศไทย) ว่า บทบาทของบริษัทคือ การผลักดันเรื่อง Digitalization ในประเทศไทย และช่วยส่งเสริมให้กลุ่มลูกค้าของโนเกียสามารถเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัลที่สมจริง เชื่อมต่อถึงกัน และไร้รอยต่อยิ่งขึ้น โดยจะร่วมผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในทุกภาคอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนประเทศไทยให้เดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีที่บริษัทพัฒนาขึ้น

"เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น โซลูชันเพื่อความยั่งยืนที่ได้รับการส่งเสริม และการเข้าถึงที่มากขึ้นผ่านการบริหารจัดการโซลูชันดิจิทัล ซึ่งโนเกียทุ่มเทอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การสนับสนุนแก่คู่ค้าและลูกค้าของเราตลอดเส้นทางนี้ และเราหวังที่จะได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องต่อไป”

Nokia Digitalizationในส่วนของการนำเครือข่ายมาพัฒนาและสร้างบริการสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของโนเกีย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  • โครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่าย (Network Infrastructure)
  • เครือข่ายเคลื่อนที่ (Mobile Networks)
  • คลาวด์และบริการเครือข่าย (Cloud & Network Services)
  • เทคโนโลยีของโนเกีย (Nokia Technologies) การพัฒนาที่นำไปสู่การจดสิทธิบัตร

สำหรับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี 5G จะเข้ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง โนเกียจึงให้ความสำคัญเรื่องนี้และเผยถึงการใช้ศักยภาพของ 5G แบบเต็มสูบ จากการทำงานร่วมกับแบรนด์และพาร์ตเนอร์ต่างๆ ซึ่งแยกได้เป็น 3 กลุ่มธุรกิจ นั่นคือ

  • โอเปอเรเตอร์หรือผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ (Service provider partners) เช่น docomo, AT&T
  • ผู้ให้บริการคลาวด์ ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ และการให้คำปรึกษา (Cloud, system integrators & consulting) เช่น AWS, Accenture
  • ผู้ให้บริการในระบบนิเวศอุตสาหกรรม (Industrial ecosystem partners) เช่น Bosch, Komatsu

Case Study ประเทศที่เป็นผู้นำด้านการใช้ 5G

หลังจากศึกษาการใช้งาน 5G และการทำ Digital Transformation ในประเทศต่างๆ คุณเทเรนซ์ แมคเคบ (Terence McCabe) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท โนเกีย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และประเทศญี่ปุ่น มาเผยถึงภาพรวมเกี่ยวกับความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ลำดับการพัฒนาเทคโนโลยี บรอดแบนด์ 6 Generation, กรณีศึกษาจาก 3 ประเทศ และนวัตกรรมกับโซลูชันล่าสุดของโนเกีย

พัฒนาการของบรอดแบนด์ 6 Generation 

  • Gen 1 Voice
  • Gen 2 Internet
  • Gen 3 3play
  • Gen 4 4K & Gaming
  • Gen 5 VR Cloud & SME
  • Gen 6 Fibre for Everything

ถ้าดูการพัฒนาบรอดแบนด์ในประเทศไทย ปัจจุบันจัดอยู่ใน Gen 4 ส่วน Gen 6 นั้น อินเทอร์เน็ตจะพัฒนาจาก 25G, 50G ไปถึง 100G ส่งผลให้ระบบอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยคาดว่าจะได้ใช้งานในปี 2030

Nokia 5GTerence McCabe, Chief Technology Officer, Nokia Asia Pacific & Japan

และจากการศึกษาเรื่องารใช้งาน 5G ในประเทศต่างๆ ผู้บริหารโนเกียยก พัฒนาการของ 5G ใน 3 ประเทศ มาเล่าเป็นกรณีศึกษา ได้แก่

  • เกาหลีใต้ ประเทศที่มีการใช้ 5G เป็นรายแรกๆ ของโลก และใช้อินเทอร์เน็ตจาก Fibre Broadband เป็นหลัก โดยในกลุ่มผู้บริโภคมีการใช้งาน 5G อย่างแพร่หลาย ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรม รัฐบาลส่งเสริมการใช้ 5G ด้วยการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เพื่อให้การใช้งาน 5G เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • สิงคโปร์ อีกประเทศที่ขึ้นมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เนื่องจากรัฐบาลให้การสนับสนุนและออกนโยบายที่ดึงดูด Tech Talents ได้มาก สิงคโปร์จึงมีบุคลากรด้านเทค มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยี และพร้อมรองรับด้านอุตสาหกรรม 4.0 โดยสิงคโปร์มีเทคโนโลยี 5G ใช้งานที่ความเร็ว 10G และเริ่มทดสอบการใช้งาน 6G แล้ว

  • สหรัฐอเมริกา ประเทศที่ใช้ Fixed Wireless Access (FWA) เป็นหลัก ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยี อเมริกาเป็นผู้นำที่ก้าวสู่การพัฒนา Gen 6 ก่อนใคร อีกทั้งยังอยู่ระหว่างทดสอบการใช้อินเทอร์เน็ต 25G ในบางพื้นที่

Private Wireless Network เป็นอีกหนึ่งโซลูชันที่โนเกียให้ความสำคัญและให้บริการในลักษณะ Solution-as-a-Service ทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โซลูชัน One Platform ที่สามารถปรับแต่งการใช้งานให้เหมาะกับแต่ละอุตสาหกรรมได้ ตลอดจนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนให้การใช้งานเทคโนโลยีของโนเกียมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ชิปเซ็ต ที่โนเกียพัฒนาขึ้นเอง และสำหรับบริการด้านนี้ โนเกียมีผู้ใช้บริการที่อยู่ในภาคขนส่ง ภาคพลังงาน ภาคการผลิต ภาครัฐ ฯลฯ กระจายอยู่ในทุกทวีปทั่วโลก รวมแล้วมีลูกค้าใช้งานมากกว่า 635 ราย

Nokia One platform

นวัตกรรมและโซลูชันคัดสรรจาก Nokia ที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมหลักในไทยไปสู่ดิจิทัล

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นดังกล่าว โนเกียจัดงานแสดงเทคโนโลยีที่เป็นไฮไลต์และเผยกลยุทธ์ของบริษัทภายหลังปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจระยะยาวของบริษัท ในงาน ‘Amplify Thailand’ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ทำให้เห็นสุดยอดนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีทั้งหมดสำหรับองค์กรธุรกิจ รวมทั้งเครือข่ายเคลื่อนที่ เครือข่ายคลาวด์ และเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย ซึ่งคัดสรรมาเป็นพิเศษจากผลงานที่นำไปจัดแสดงในงานระดับโลกอย่าง Mobile World Congress 2023 (MWC’23) ณ กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน อาทิ

  • MX Industrial Edge
    • Nokia MX Industrial Edge คือ โซลูชัน Edge สำหรับองค์กรที่พร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งสามารถเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของเทคโนโลยีด้านปฏิบัติการ (OT) ที่เป็นการผสานความรวดเร็วเข้ากับความง่ายในการใช้งานของโมเดล edge-as-a-service เข้ากับสถาปัตยกรรมเอดจ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ยืดหยุ่น และปลอดภัย โซลูชันนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในภารกิจที่สำคัญสำหรับสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมที่เน้นความสำคัญในสินทรัพย์
    • Nokia MX Industrial Edge ที่เอื้อต่อกรณีการใช้งานด้านธุรกิจที่สำคัญสำหรับองค์กร เช่น การติดตามแบบเรียลไทม์ของสัญญาณวิดีโอและการแจ้งเตือน รวมทั้งโซลูชันการวิเคราะห์วิดีโอขั้นสูงสำหรับการใช้งานในภารกิจสำคัญ อาทิ การรับรองคุณภาพและความปลอดภัย

  • NetGuard Cybersecurity Dome
    • NetGuard Cybersecurity Dome คือ โซลูชันด้านความปลอดภัยระบบ Orchestration ระดับรางวัล ที่มาพร้อมกับกรณีใช้งาน 5G ที่ติดตั้งล่วงหน้าสำหรับการรับรองความปลอดภัยเครือข่าย ทีมดูแลด้านความปลอดภัยผ่านระบบ Orchestration สามารถเลือกกรณีใช้งาน 5G ได้จากแคตตาล็อกแบบครบวงจร (Comprehensive catalogue) ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด ตั้งแต่สถานีฐาน (RAN) จนถึงโครงข่ายขนส่ง (Transport) และโครงข่ายหลัก (Core)
    • บริการเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบตรวจหาและตรวจสอบแบบขยาย หรือ XDR (Extended Detection and Response) ที่เก็บข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์ และเทียบเคียงความสัมพันธ์ของข้อมูลความปลอดภัยจากแหล่งข้อมูลจากหลากหลายที่มา และทำให้สมบูรณ์ขึ้นด้วยบริบทด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่จะช่วยให้ทีมฝ่ายปฏิบัติการด้านความปลอดภัยเข้าถึงความเสี่ยงทางธุรกิจ ปรับปรุงพัฒนาการตัดสินใจ รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น 

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันเครือข่ายออปติคอล (Nokia Optical Product Solutions Portfolio)
    • ผลิตภัณฑ์และโซลูชันเครือข่ายออปติคอลของโนเกีย ช่วยให้สามารถใช้งานเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไม่จำกัด เพื่อเปิดใช้งานการเชื่อมต่อพื้นฐานสำหรับการสื่อสารแบบเครือข่าย โซลูชันของโนเกียที่เพิ่มความสามารถของเครือข่ายนับจากเครือข่ายเอดจ์ (Edge) และข้ามไปถึงระบบการเชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลแบบระยะไกล/ แกนหลัก (long-haul/core) และใต้ทะเล ไปพร้อมกับการลดความซับซ้อนในการทำงานของเครือข่ายให้มีความฉลาดและเป็นอัตโนมัติยิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและลดค่าใช้จ่ายการเป็นเจ้าของเครือข่าย (TCO)
    • โซลูชันเครือข่ายอัตโนมัติ (Network Automation) ของโนเกียจะช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ Webscale และองค์กรขนาดใหญ่สามารถเพิ่มผลประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Nokia 5GPerry Poehlmann Head of Marketing, Nokia Asia Pacific and Japan

  • ชิปเซ็ต ReefShark ของโนเกีย 
    พัฒนาเพื่อเสริมพอร์ตเครือข่าย 5G แบบครบวงจรให้โนเกีย โดยเป็นการเพิ่มความชาญฉลาดและประสิทธิภาพให้กับเสาอากาศ MIMO ขนาดใหญ่ และโมดูลระบบ AirScale สำหรับชิปเซ็ตที่โนเกียพัฒนาขึ้นและนำไปต่อยอดเพื่อประสบการณ์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นนี้ มาพร้อมกับซิลิคอนดีไซน์ เช่นเดียวกับความชำนาญของบริษัทในการพัฒนาเสาอากาศสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่และนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์จาก Nokia Bell Labs มาทำให้โซลูชันที่มีสมรรถนะสูงและประสิทธิภาพสูงเกิดขึ้นจริง

  • แพลตฟอร์มที่เปิดใช้งานชิป PSE-6s ของโนเกีย 
    ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเครือข่ายมั่นใจในเครือข่ายการส่งข้อมูลออปติคอลว่า สามารถปรับขนาดสัญญาณให้สอดคล้องกับความต้องการความจุที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เพื่อส่งมอบบริการคลื่นความถี่แบบไฮสปีดสูงด้วยประสิทธิภาพที่รวมถึง 400GE และ 800GE ขณะเดียวกันยังช่วยลดการใช้พลังงานในเครือข่ายลงอีกด้วย

  • ชิปเซ็ต Quillion รองรับโมดูล GPON, XGS-PON, NG-PON2 และ Multi-PON (เช่น GPON+XGS-PON) ของโนเกีย 
    มาพร้อมความหนาแน่นของพอร์ตในระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม และความสามารถในการไม่ปิดกั้นแบบเต็มขั้น และยังประหยัดพลังงานได้ถึง 50% ช่วยเพิ่มคุณสมบัติทางการแข่งขัน รวมถึงการนำเสนอนวัตกรรมและสิ่งที่แตกต่างในเวลาที่เหมาะสม โนเกียได้ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถในการออกแบบ ASIC การประมวลผลเครือข่ายประสิทธิภาพสูงที่เป็นที่ยอมรับ และพัฒนาชิปเซ็ต Quillion ขึ้นมา

  • ซิลิคอนประมวลผลเครือข่าย FP5 ของโนเกีย 
    มากับคุณสมบัติที่พัฒนาแบบก้าวกระโดดของเครือข่าย IP ซึ่งพร้อมปกป้องการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อีกด้วย โดยชิปเซ็ต FP5 คือ ซิลิคอนรูตติงที่มาพร้อมการเข้ารหัสแบบ Integrated Line Rate Encryption สำหรับบริการเครือข่ายแบบ L2, L2.5 และ L3 ที่ความเร็วสูงสุดได้ถึง 1.6 Tb/s โดยชิปเซ็ต FP5 ได้สร้างนิยามใหม่ด้านความยั่งยืนให้กับการวางเส้นทางเครือข่าย IP โดยช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานได้ถึง 75% เมื่อเทียบกับชิปเซ็ตรุ่นก่อน

สรุปได้ว่า โนเกียนำความสามารถอันหลากหลายของเทคโนโลยีเครือข่ายมาให้บริการผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับการใช้งานในระดับบุคคลไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม โดยทำงานร่วมกับโอเปอเรเตอร์ในหลายประเทศ บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (SI : Software Integration) และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ในการสร้างสรรค์บริการและแอปพลิเคชันด้านดิจิทัล เพื่อทำให้บริการในภาคอุตสาหกรรมมีความเสถียรและทำให้ระบบอัตโนมัติ (Autonomous) ทำงานง่ายขึ้น 

ส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ระบุไว้ในบทความนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า โนเกียมีจุดยืนที่ชัดเจนในด้านการกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมในประเทศไทย และร่วมผลักดันความก้าวหน้าในด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยการช่วยสนับสนุนผู้ให้บริการเครือข่ายและองค์กรในประเทศไทย ตลอดเส้นทางของการพัฒนาเทคโนโลยี 5G และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล นอกจากนี้ โนเกียยังกำหนดแผนดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG อาทิ ลดการใช้พลังงาน ลดการสร้างคาร์บอนฟุตพรินต์ในทุกๆ กระบวนการทางธุรกิจ ปรับปรุงกระบวนการจัดการขยะ ฯลฯ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นจับมือ! Honda-Nissan เตรียมควบรวมกิจการ

รายงานระบุว่า ทั้งสองบริษัทกำลังพิจารณารวมตัวกันภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงในเร็วๆ นี้ โดยมีแผนจะดึงมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่นิสสันถือหุ้น 24% เข้ามาร่วมด้วย เพื...

Responsive image

เกาหลีใต้คุมความปลอดภัยรถ EV อย่างไร ? ส่องมาตรการหลังเหตุเพลิงไหม้ EV ที่เกาหลีใต้

ช่วงเดือนสิงหาคม 2024 เกิดเหตุเพลิงไหม้รถเก๋งไฟฟ้า Mercedes-Benz ที่จอดไว้เฉยๆ ในลานจอดรถใต้ดินโดยไม่ได้เสียบชาร์จ นักดับเพลิงต้องใช้เวลา 8 ชั่วโมงในการควบคุมเพลิง ซึ่งส่งผลให้รถยน...

Responsive image

Waymo จับมือ Nihon Kotsu ดันแท็กซี่อัตโนมัติสู่ถนนโตเกียว เตรียมให้บริการปี 2025

ญี่ปุ่นกำลังจะมี Taxi ไร้คนขับให้บริการในปี 2025 ซึ่งเป็นโปรดักส์ของ Waymo บริษัทเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับภายใต้ Alphabet (บริษัทแม่ของ Google)...