โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีหากเทียบกับเมื่อก่อนการเข้าถึงข้อมูลต้องไปตามแหล่งเก็บข้อมูลนั้น รวมถึงการเก็บข้อมูลยังคงใช้กระดาษเพื่อจดบันทึก ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเรียนรู้และเข้าถึงองค์ความรู้เฉพาะทาง การนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนารูปแบบเดิมเป็นช่องทางใหม่ในการปลดล็อคปัญหาการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนยุคดิจิทัลที่นับได้ว่าเป็นผู้สืบทอดความรู้ทางวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ต่อไป
คุณอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า โครงการศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม (Digital Culture) จากวิสัยทัศน์ของกระทรวงวัฒนธรรมที่กำหนดบทบาทไว้
วัฒนธรรมสร้างคนดี สร้างสังคมดี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ประกอบกับเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การนำความสามารถของเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในด้านวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญในการรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรมมีจำนวนมากที่ถูกเก็บไว้ตามแหล่งข้อมูลต่างๆ การรักษาองค์ความรู้ นอกจากการเก็บรักษาแล้ว การเข้าถึงผู้คนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงนอกจากนี้ขั้นตอนการรวบรวมและบริหารต้องมีความรวมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพขึ้น
รมว กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า “นอกจากการรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมที่มีอยู่จำนวนมหาศาลแล้ว การนำข้อมูลออกมาเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างถูกต้องและเข้าถึงง่ายก็มีความสำคัญกระทรวงวัฒนธรรมจึงได้เพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับประชาชนในลักษณะของบริการผู้ช่วยอัจฉริยะ หรือ AI Chatbot บน Facebook และ Website ก็ยิ่งมีความจำเป็น ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดทำช่องทางสื่อสารอย่างครบวงจร”
เป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมที่มีปริมาณมหาศาล จากหน่วยงานภายในกระทรวงวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจและเปิดเผยสู่ประชาชน ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งยังจะบูรณาการข้อมูลด้านวัฒนธรรมจากแหล่งต่าง ๆ ภายนอกกระทรวงวัฒนธรรม
เพื่อให้เป็นระบบศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมระดับชาติ ทั้งยังเอื้อให้ประชาชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา สามารถค้นหาข้อมูลความรู้ได้อย่างกว้างขวาง และสามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ
กระทรวงวัฒนธรรมยังได้จัดทำระบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และนำไปต่อยอด ดังนี้
1. นักเรียน/นักศึกษา นักวิจัย คนทั่วไปสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลหายากที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับวัฒนธรรมได้ในที่เดียว รวมถึงข้อมูลนี้สามารถใช้อ้างอิงงานวิจัยได้
2. สามารถขอข้อมูลเฉพาะทางจากกรมศิลป์ผ่านเว็บไซด์ หรือขอคำปรึกษาได้หากต้องการดำเนินการขอข้อมูล
3. ค้นหาสถานที่น่าสนใจด้านวัฒนธรรมได้ทุกที่ในประเทศไทยผ่าน GIS แหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม
4. มีกิจกรรมน่าสนใจด้านวัฒนธรรมคอยอัพเดทให้ทราบโดยจะมีการอัพเดทล่วงหน้าก่อนเป็นเดือนเพื่อให้ผู้สนใจวางแผนการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมได้
5. เข้าดูพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงได้ทุกที่ ผ่านระบบ Virtual Museum
6. มีเทคโนโลยี AI Chatbot ชื่อ “อาสา” คอยตอบคำถามตลอด 24 ชั่วโมง และคอยรับความคิดเห็นจากผู้ใช้งานเพื่อนำมาปรับปรุงระบบ
7. ระบบการสร้างองค์ความรู้ วีดิทัศน์ ภาพ งานวิจัย บทความ สำหรับประชาชนหรือผู้สนใจทั่วไปที่สามารถเข้าไปสมัครสมาชิกเพื่อสร้าง แก้ไข ข้อมูลความรู้ งานวิจัย บทความด้านวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ให้ผู้สนใจอื่นสามารถค้นคว้า หาความรู้ด้านวัฒนธรรมที่เพิ่มเติมได้ https://social.m-culture.go.th/login
8.การสืบค้น (Search) องค์ความรู้ วีดิทัศน์ ภาพ บทความ และกิจกรรมด้านวัฒนธรรมให้บริการแก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป สามารถกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ที่ใช้ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถส่งออกข้อมูลจากหน้าการสืบค้นได้
ศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม หรือ Digital Culture สามารถใช้งานได้ที่ http://digital.m-culture.go.th
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด