ส่องแผนลงทุน 5 ปี วงเงิน 1.8 แสนล้าน ของ ปตท. รับมืออย่างไรในยุค Energy Transition | Techsauce

ส่องแผนลงทุน 5 ปี วงเงิน 1.8 แสนล้าน ของ ปตท. รับมืออย่างไรในยุค Energy Transition

จากการเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้า ความเสี่ยงทางมาตรการแทรกแซงต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนแล้วส่งผลกระทบในตลาดพลังงานทั้งสิ้น ดังนั้น ณ ตอนนี้จึงต้องยอมรับว่าเรากำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านของพลังงาน (Energy Transition) สำหรับกลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจข้ามชาติของไทยที่มีบทบาทในตลาดพลังงานเป็นอย่างมากจึงต้องมีการวางแผนการลงทุนในระยะ 5 ปี นับจากนี้ (2563-2567) เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และกำหนดทิศทางในการเดินหน้าธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต 

(อ่าน ปตท.ประกาศผลการดำเนินงานปี 2562 ประกอบ คลิกที่นี่)

ปตท. ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563 เตรียมแผนการลงทุนในปี 2563 – 2567 วงเงินรวม 180,814 ล้านบาท โดยใช้ในการร่วมทุนและลงทุนในบริษัทที่ ปตท.ถือหุ้น 100% ได้แก่ การขยายธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก โครงการมาบตาพุดเฟส 3 ชอง PTT Tank เป็นเงินรวมประมาณ 93,181 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52% ของวงเงินลงทุน

ขณะที่ธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ในโครงการท่อก๊าซบนบกเส้นที่ 5 ใช้เงินลงทุน 31,725 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18% ส่วนการลงทุนใน PTT LNG ในโครงการ LNG Terminal2 ใช้เงินจำนวน 29,054 ล้านบาท คิดเป็น  16%  พร้อมกันนี้ยังมีการวางงบลงทุนที่ใช้ในโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ อันได้แก่ EECi วังจันทร์วัลเล่ย์ การลงทุน Venture Capital และธุรกิจ New Energy เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 15,182  ล้านบาท หรือคิดเป็น 8% และส่วนที่เหลืออีก 6% หรือวงเงินจำนวน 11,672 ล้านบาท ใช้ในธุรกิจก๊าซ ซึ่งเป็นการปรับปรุงโรงแยกก๊าซฯ

นอกจากนี้ ปตท.ยังได้จัดเตรียมงบลงทุนในอนาคต (Provisional Capital Expenditure) ในระยะ 5 ปีข้างหน้า จำนวน 203,583 ล้านบาท โดยอาจจะใช้ในการลงทุนใน LNG Value Chain LNG Hub โครงการ Gas to Power ธุรกิจพลังงานใหม่ ซึ่งจะขออนุมัติเป็นรายโครงการ

ธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น (Upstream) 

FYI : บริษัทในเครือปตท. ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้งกับปิโตรเลียมขั้นต้น ได้แก่ PTT  ,PTTEP ,PTT Global LNG ,PTT LNG และ GPSC

ปตท. มุ่งเน้นขยายการเติบโตนำโดยก๊าซธรรมชาติ (LNG) และลงทุนตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ก๊าซฯสู่ไฟฟ้า (Gas to Power) โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน จากการที่มองว่าประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีความต้องการใช้อีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงการดำเนินธุรกิจ LNG ครบวงจร และเป็นผู้เล่น LNG ระดับโลก พร้อมกับปั้นไทยสู่การเป็น LNG  Hub ระดับภูมิภาค (Regional LNG Hub) ับเคลื่อนความมั่นคงทางพลังงานและสร้างเศรษฐกิจ

ธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย (Downstream) 

FYI : บริษัทในเครือปตท. ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้งกับปิโตรเลียมขั้นต้น ได้แก่ PTT  ,GC ,Thaioil ,IRPC และ OR

ปตท.เน้นการสร้างพลังร่วมของกลุ่มและบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่ธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่าน Project One และ Hydrocarbon Value Chain รวมถึงการพัฒนา Bio-Circular-Green ในกระบวนการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการผลักดันกระบวนการผลิตด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามแนวทาง Circular Economy และขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีความชำนาญและได้เปรียบในการแข่งขันไปสู่การลงทุนในผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมูลค่าสูง

นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ (Innovation & New Business)

ปตท.มุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนทันที โดยเป็นการขยายการเติบโตด้วยการร่วมทุนหรือเข้าซื้อกิจการ (JV/M&A) ในธุรกิจพลังงานใหม่ (New Energy) อาทิ ธุรกิจไฟฟ้าครบวงจร พลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น  พร้อมกันนี้ยังมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ เตรียมพร้อมพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเมืองอัจฉริยะ (Smart City Development) โดยเน้นในด้านการบริหารจัดการพลังงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพ 

และเพื่อเป็นการแสวงหาโอกาสลงทุนในพลังงานรูปแบบใหม่และสร้างธุรกิจใหม่ ปตท. ได้พัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เพื่อสร้าง “วังจันทร์วัลเลย์” ให้เป็นเมืองนวัตกรรมแห่งอนาคตของประเทศไทย สนับสนุนแนวคิดทางด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ ผ่านการลงทุนประเภท Prototype   เพื่อผลักดันงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การดำเนินการเชิงพาณิชย์มากขึ้น  ได้แก่ การพัฒนาวัสดุปิดแผลจากไบโอเซลลูโลสคอมโพสิต เพื่อช่วยเร่งการรักษาบาดแผลด้วยเทคโนโลยีที่เป็นเอกสิทธิ์ของสถาบันนวัตกรรม ปตท. การวิจัยและพัฒนา EV Charger ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรมของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 

รวมถึงการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมรถสามล้อไฟฟ้าและจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นต้นแบบยานพาหนะในอนาคต การสนับสนุนการวิจัย “VISBAT” แบตเตอรี่คุณภาพสูงโดย KVIS เพื่อเป็นอุปกรณ์กักเก็บพลังงานต้นแบบสำหรับรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า และการมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และองค์การเภสัชกรรม ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ให้ต้นทุนยาลดลง และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านยาของรัฐ

ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของคนไทย ยังคงขับเคลื่อนองค์กรในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานของชาติ สร้างความแข็งแกร่ง และเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจภายใต้ความท้าทายที่เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืน และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Elon Musk ส่งอีเมลถึงราชกาให้เลือกลาออกหรืออยู่ต่อ เหมือนที่เคยทำกับพนักงาน Twitter ปี 2022

เกิดแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ในระบบราชการสหรัฐฯ หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แต่งตั้ง อีลอน มัสก์ ให้เป็นหัวหน้ากระทรวงเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ หรือ DOGE โดยมัสก์และทีมงานได้เดินหน้...

Responsive image

SparkCat คืออะไร ทำงานอย่างไร ? มัลแวร์ตัวแรกบน AppStore ลอบขโมยข้อมูลคริปโตผ่านรูปภาพ

มัลแวร์ SparkCat ถูกพบใน AppStore และ Google Play ใช้เทคโนโลยี OCR ขโมยข้อมูลคริปโตจากรูปภาพในแกลเลอรี ระวังการให้สิทธิ์แอปที่ไม่น่าไว้วางใจ...

Responsive image

นักวิจัยสหรัฐฯ สร้างคู่แข่ง AI จีน DeepSeek ด้วยต้นทุนแค่ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ

นักวิจัยจาก Stanford และ University of Washington สร้างโมเดล AI ด้านการให้เหตุผล s1 คู่แข่ง OpenAI o1 ด้วยต้นทุนต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ โดยใช้เทคนิค Distillation และข้อมูลจาก Gemini 2.0...