ไม่ใช่ท้องเสีย ไม่ใช่ไมเกรน แต่สาเหตุหลักที่คนส่วนใหญ่ขอลาป่วยนั้นมาจาก ‘ความเครียด’ ทำให้อัตราการลาป่วยพุ่งสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ! หรือนี่จะเป็นสัญญาณเตือนองค์กรและบริษัทต่าง ๆ ให้หันมาสนใจสุขภาพจิตของพนักงานได้แล้ว
สถาบันของบุคลากรและการพัฒนา (CIPD) ได้สำรวจสุขภาพของพนักงานในองค์กรต่าง ๆ กว่า 918 แห่ง โดยมีพนักงานทั้งหมด 6.5 ล้านคนเข้าทำแบบสำรวจ ผลสำรวจชี้ชัดว่าพนักงานกว่า 76% ลาป่วยเนื่องจากปัญหาความเครียด
และนอกจากนั้นปัจจัยรองลงมาได้แก่ การติดโควิด 19 และผลกระทบจาก long Covid รวมถึงปัญหาค่าครองชีพสูง อีกสาเหตุหนึ่งที่พวกเขาเลือกลาป่วยเพื่อที่จะได้อยู่แต่บ้าน
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ในปี 2022 จำนวนวันที่คนไม่ได้มาทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.8 วัน ทำลายสถิติเดิมที่ 5.8 วัน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010
ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า สำหรับการลาหยุดในระยะยาวมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพจิตถึง 63% แต่ในการลาหยุดช่วงสั้น ๆ มาจากการเจ็บป่วยเล็กน้อยถึง 94% ซึ่งเห็นได้ชัดว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาใหญ่ที่ดึงพนักงานออกมาจากองค์กรได้มากที่สุด และยาวนานที่สุด
โดย CIPD และ Simplyhealth (บริษัทประกันสุขภาพ) กำลังเรียกร้องให้องค์กรต่าง ๆ มีสวัสดิการที่ให้พนักงานได้ทำงานแบบยืดหยุ่น และจัดหาบริการด้านสุขภาพให้แก่พวกเขา ซึ่งบริษัทหลายแห่งกำลังดำเนินการช่วยเหลือพนักงานในเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เช่น
แต่การแก้ปัญหาแบบนี้ มันใช่การแก้ปัญหาที่ต้นตอของความเครียดหรือเปล่า ?
เมื่อความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ทำให้พนักงานเลือกที่จะไม่มาทำงาน องค์กรจึงควรตระหนักและใส่ใจกับพนักงานของตนเอง ก่อนที่การ “ลาป่วย” จะเปลี่ยนเป็น “การลาออก”
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้พนักงานจำนวนมากเครียดและมีปัญหาสุขภาพจิตก็คือ Toxic Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ เพราะหากมีวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษก็ย่อมส่งผลให้การทำงานในองค์กรเป็นพิษไปด้วย ซึ่งองค์กรที่ Toxic มักจะมีการทำงานแบบนี้…
1. ความไม่สมดุลขององค์กร: มี Work-overload หรือภาระงานมาก แต่กลับมีพนักงานทำงานน้อย พนักงานบางคนอาจจะต้องทำงานที่ตนเองไม่ถนัด จึงทำให้ขาด Work life balance และต้องทำงานตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้สร้างแรงกดดันมหาศาลแก่พนักงาน
2. สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ: การทำงานที่แวดล้อมไปด้วยคนที่มีพฤติกรรมไม่ดี ย่อมสร้างบรรยากาศที่เป็นพิษต่อคนทำงาน เช่น อิจฉา แข่งขันกัน หรือการนินทาว่าร้าย ผลสำรวจพบว่ากว่า 70% ของพนักงานที่เครียดและหมดไฟ เพราะเจอกับบรรยากาศในการทำงานที่ Toxic
ดังนั้นสิ่งที่บริษัทควรทำ ไม่ใช่การแค่ช่วยเหลือพนักงานในตอนที่พวกเขามีปัญหาสุขภาพ แต่ควรที่จะมองลึกถึงต้นตอเพื่อหยุดยั้งปัญหาสุขภาพไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก ซึ่งหากองค์กรของคุณมีการทำงานที่เข้าข่าย Toxic Culture ผู้นำขององค์กรก็ต้องเริ่มตระหนักได้แล้วก่อนที่พนักงานจะลาออกแทน
อ้างอิง: independent, theguardian
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด