สมาคมฟินเทคฯ ชวนบริษัทกฎหมาย-กลต. คุยเรื่อง “กฎหมายสกุลเงินดิจิทัล” | Techsauce

สมาคมฟินเทคฯ ชวนบริษัทกฎหมาย-กลต. คุยเรื่อง “กฎหมายสกุลเงินดิจิทัล”

สมาคมฟินเทคประเทศไทยจัดงาน TFTA Forum ครั้งที่ 4 ภายใต้ชื่องาน “Digital Asset Talk เจาะจนเข้าใจเรื่องกฎหมายเงินดิจิทัล” เพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องการประกอบธุรกิจทรัพย์สินดิจิทัล ถือเป็นงานเสวนาแรกที่จัดขึ้นมาหลังจาก พ.ร.ก. ควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัล ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกด้วย

สมาคมฟินเทคประเทศไทยจัดงาน TFTA Forum ครั้งที่ 4 ภายใต้ชื่องาน “Digital Asset Talk เจาะจนเข้าใจเรื่องกฎหมายเงินดิจิทัล” ซึ่งงานเสวนานี้ได้นักกฎหมายจากบริษัทกฎหมายชื่อดังในประเทศไทย เช่น BakerMcKenzie, DFDL และ Tilleke & Gibbin ซึ่งในงานยังมีอีก 2 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ และลงสนามในหัวข้อดังกล่าวจริง อย่าง ดร.ภูมิ ภูมิรัตน (ที่ปรึกษาสมาคมฟินเทคประเทศไทย) และ คุณทิพยสุดา ถาวรมร (รองเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต.) ถือเป็นงานเสวนาแรกที่จัดขึ้นมาหลังจาก พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกด้วย

Session หัวข้อ “ว่าด้วยเรื่องกฎหมายเงินดิจิทัล” บรรยายโดย คุณทิพยสุดา ถาวรามร รองเลาขาธิการ ก.ล.ต. ได้กล่าวว่า “พ.ร.ก. ออกมาแล้ว ทาง ก.ล.ต. ต้องออกมากฎระดับรอง หากดีไม่ดีก็ค่อยมาแก้ไข เพราะทุกอย่างสามารถนำไปอัพเดตเพื่อไปปรับ เนื่องจาก Cryptocurrency ถูกสร้างเพื่อแลกเปลี่ยน สามารถชำระแทนเงินตรา แต่ตอนนี้มันก็มีวิวัฒนาการของมันไปเรื่อยๆ ซึ่งมันยังไม่เป็นหลักทรัพย์เสียทีเดียว ต่อมาก็มีคนที่หัวใสทำอยากให้มันเป็นหลักทรัพย์ ทำให้ทางเราต้องดูว่ามันเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ ต้องกำกับดูแลหรือเปล่า ทั้งนี้การกำกับดูแลที่เกิดขึ้นนี้ ก็เพื่อไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน”

ส่วนของ Session เสวนาจากนักกฎหมายที่พูดถึงกฎหมายเงินดิจิทัล หัวข้อ “นักกฎมายกับกฎหมายเงินดิจิทัล” ซึ่งมี ดร.ภูมิ ภูมิรัตน เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้ คุณกุลรัตน์ ผ่องสถาพร จาก Baker McKenzie, คุณอธิษฐาน จิตรานุเคราะห์ จาก Tilleke & Gibbin และคุณไกรศร เรืองกูล จาก DFDL

คุณกุลรัตน์ ผ่องสถาพร จาก Baker McKenzie กล่าวถึงมุมมองของตัวบทกฎหมายดังกล่าวว่า “หากคุณอยากจะออก ICO ต้องคิดก่อนว่ามันต้องเปิดขึ้นในเมืองไทยใช่ไหม พอมาดูหลักเกณฑ์ของเราก็จะเป็นว่ามีหลักเกณฑ์ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นถ้าจะออก ICO ในไทยต้องศึกษาให้ดี ต้องสามารถเปิดเผยข้อมูลของตัวเองได้ เพื่อดูว่ามันถูกต้องและสอดคล้องกับสิ่งที่พูดมาหรือไม่ หากมามองในมุมนักลงทุนก็ต้องดูกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต.เช่นกัน ว่าตัวเองเป็นนักลงทุนประเภทไหน และทำ KYC กับ CDD ให้เรียบร้อย”

ส่วนคุณอธิษฐาน จิตรานุเคราะห์ จาก Tilleke & Gibbin กล่าวเพิ่มเติมเรื่องตัวบทกฎหมายดังกล่าวว่า “เราต้องดูกฎหมายตัวนี้อย่างเข้มข้น ถ้าอยากจะทำ ICO ในไทยคุณต้องจดทะเบียนที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ เวลามองกฎหมายอยากให้มองรายละเอียดด้วยว่ามีอะไรที่กระทบเราบ้าง เช่น มีผู้ประกอบการต่างชาติมาหุ้นกับเราด้วย และส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งแน่นอนว่าหน่อยงานกำกับดูแลไม่ได้ขึ้นอยู่ที่เดียว และความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นอีกอยู่ เป็นต้น”

ทางด้านคุณไกรศร เรืองกูล จาก DFDL กล่าวถึงมุมมองของตัวบทกฎหมายดังกล่าวว่า การที่ ก.ล.ต ได้ออกกฎครั้งนี้ ถือว่าเป็นรัฐบาลไม่กี่ประเทศในโลกที่เข้ามาทำเรื่องนี้เต็มตัวและออกมาอย่างละเอียด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่หน่วยงานกำกับดูแลเพื่อมาทำประโยชน์ สร้างความปลอดภัยในแก่นักลงทุน โดยเรายินดีมากมันทำให้ Asset ชนิดนี้ดูมีความน่าเชื่อถือ และเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าถ้านำไปใช้จริงจะเป็นอย่างไร

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุปภาพรวมงาน The Secret Sauce Summit 2024 เคล็ดลับขับเคลื่อนธุรกิจในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

ภาพรวมของงาน THE SECRET SAUCE SUMMIT 2024: Winning the New Wave ทั้งสองวัน รวมผู้ประกอบการและนักธุรกิจรุ่นใหม่ในวันที่ 1 และ 2 เพื่อแบ่งปันแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาธุรกิจในโลกที่เปลี่...

Responsive image

Time เปิดรายชื่อ 100 ผู้ทรงอิทธิพลด้าน AI ปี 2024: Sundar Pichai และ Scarlett Johansson ติดโผ

นิตยสาร Time ได้เปิดเผยรายชื่อ TIME100 AI ประจำปี 2024 ซึ่งเป็นการรวบรวมบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุด 100 คนในโลกของปัญญาประดิษฐ์ รายชื่อนี้สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของสาขา AI ที่กำล...

Responsive image

Apple Intelligence ทำอะไรได้บ้าง บน iPhone, iPad และ Mac

Apple Intelligence ซึ่งเป็น AI บนอุปกรณ์ Apple จะพร้อมใช้งานบน iPhone, iPad และ Mac เริ่มตั้งแต่เดือนหน้านี้ จะมีเครื่องมืออะไรที่ให้เราได้ใช้กันบ้าง?...