ย้อนรอยอวสาน Theranos สตาร์ทอัพจอมลวงโลก แห่งวงการแพทย์ | Techsauce

ย้อนรอยอวสาน Theranos สตาร์ทอัพจอมลวงโลก แห่งวงการแพทย์

ในวงการสตาร์ทอัพคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักประเด็นอื้อฉาวของ Theranos และซีอีโอสาว Elezabeth Holmes หนึ่งในบทเรียนสำคัญวงการสตาร์ทอัพ ล่าสุด Elizabeth Holmes ถูกตัดสินจำคุกมากกว่า 11 ปี หลังศาลพิจารณาว่ามีความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดในการฉ้อโกง โดยมีข้อกล่าวหาว่าเธอจงใจโกหกเกี่ยวกับเทคโนโลยีของตนที่สามารถรู้ผลวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดเพียงไม่กี่หยด ซึ่งเธอยืนกรานปฏิเสธต่อศาลอย่างต่อเนื่อง Techsauce พาย้อนรอยเรื่องจริงที่เกิดขึ้นของสตาร์ทอัพจอมลวงโลก Theranos ให้ได้รู้จักกันอีกครั้ง

April Fool's Day ย้อนรอยอวสาน Theranos สตาร์ทอัพจอมลวงโลก แห่งวงการแพทย์

โดยในปี 2002 บริษัทสตาร์ทอัพที่มีเป้าหมายเพื่อปฏิวัติวงการแพทย์ได้ถูกก่อตั้งขึ้นพร้อมกับความโดดเด่นของไอเดียการสร้างอุปกรณ์เก็บเลือด โดยเจาะผ่านปลายนิ้ว ที่สามารถนำไปตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ ได้แม่นยำ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็ง หลอดเลือด คอเรสเตอรอล และโรคอื่นๆ อีกกว่า 200 ชนิด ที่เรียกว่า Edison และจากการระดมทุนนี้ทำให้ “Elizabeth Holmes” เจ้าของสตาร์ทอัพ Theranos กลายเป็นมหาเศรษฐีหญิงที่อายุน้อยที่สุดในโลกกับมูลค่าบริษัทที่สูงถึง 9 กว่าพันล้านภายในไม่กี่ปี

แต่แล้ว John Carreyrou นักข่าวสืบสวนจาก The Wall Street Journal ก็ได้ออกมาเปิดโปงถึงแผนการสร้างวิมานบนความหวังของคนทั้งโลกด้วยการรายงานว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจเลือดนั้นไม่สามารถใช้งานได้จริง เครื่อง Edison ไม่สามารถให้ผลตรวจที่แม่นยำได้  

โดยผลตรวจเลือดที่ได้นั้นก็นำมาจากการเอาเลือดของคนไข้ไปเพิ่มปริมาณโดยใส่สารเคมีเข้าไป จากนั้นก็ทำการตรวจด้วยเครื่องตรวจปกติ ทำให้สตาร์ทอัพที่กำลังเป็นที่จับตามองกลายมาเป็นเพียงบริษัทลวงโลก และล้มละลายในปี 2018 

Carreyrou ได้กล่าวว่าสิ่งที่เป็นต้นตอของคำโกหกคือ วัฒนธรรมองค์กรที่เละเทะของ Theranos การเอาเปรียบพนักงานโดยเจ้านายที่มีเป้าหมายคือการเป็นผู้ชนะหนึ่งเดียวในวงการเทคโนโลยีการแพทย์ ทำให้การทำงานในองค์กรนั้นถูกเปรียบว่ามันคือโรงงานนรก พนักงานไม่มีความสุข และต้องตกอยู่ในสภาวะเครียดหลังจากต้องทำงานเพื่อแข่งขันที่จะพาบริษัทให้เป็นที่หนึ่ง รวมถึงการบริหารงาน และการเลือกใช้คนที่ผิดพลาดของ Holmes นั้นทำให้ Theranos เสียลูกจ้างฝีมือดีไปมากมาย 

สำหรับสตาร์ทอัพ Theranos เคยมีมูลค่าบริษัทถึง 9 พันล้าน และเคยเป็นที่ชื่นชอบของวงการเทคโนโลยีชีวภาพ และ Silicon Valley ทั้งยังเคยระดมทุนได้มากกว่า 900 ล้านดอลลาร์ จากบรรดามหาเศรษฐีในหลายวงการ อย่างเช่น Rupert Murdoch จากวงการสื่อ และ Larry Ellison แห่งวงการเทคโนโลยี

และแล้วพิพากษาคนโกหกก็มาถึง 3 มกราคม ของปีนี้ Elizabeth Holmes ถูกตัดสินให้มีความผิดใน 4 ข้อหา โดย 1 ข้อหาเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงนักลงทุน และอีก 3 ข้อหาเป็นการฉ้อโกงทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยคำพิพากษาว่า เธอจงใจโกหกเกี่ยวกับเทคโนโลยีว่าสามารถรู้ผลวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดเพียงไม่กี่หยด 

ซึ่งการพิจารณาคดีครั้งนี้มีพยานกว่า 30 คนที่ถูกเรียกมาเพื่อพิสูจน์ว่า Holmes รู้อยู่แล้วว่าเครื่อง Edison ที่ขายให้กับนักลงทุนเป็นสิ่งลวงโลกแต่เธอยังคงเพิกเฉย และบอกกับนักลงทุนว่าเทคโนโลยีนั้นกำลังถูกพัฒนาไปตามแผนการที่วางไว้

ในการตัดสินครั้งนี้เธอยอมรับในส่วนของความผิดพลาดของเครื่อง Edison แต่ยังคงยืนยันว่าเธอไม่รู้เห็นในเรื่องการหลอกลวงผู้ป่วยและบรรดานักลงทุน พร้อมกล่าวโทษอดีตหุ้นส่วนที่เป็นแฟนเก่าของเธอซึ่งเป็นซีโอโอคีย์แมนของ Theranos ที่เคยมีประเด็นในการไต่สวนเมื่อเดือน สิงหาคม ปี 2021 ไปว่าเธอตกอยู่ในอาณัติบังคับควบคุมของ Ramesh Balwani จนมีอาการทางจิต และไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองในการบริหารบริษัทได้ และหากว่าการยื่นอุธรณ์ไม่เป็นผล Holmes ก็จะต้องเดินเท้าเข้าคุกในเดือนกันยายนของปีนี้

ล่าสุด (18 พฤศจิกายน) ผู้พิพากษา Edward J. Davila แห่งศาลแขวงสหรัฐในเขต Northern District of California ได้ตัดสินจำคุก Holmes ถึง 135 เดือนในคุก ซึ่งมากกว่า 11 ปีเล็กน้อย ตามด้วยการปล่อยตัวภายใต้การดูแลเป็นเวลาสามปี อ้างอิงตามรายงาน The New York Times 


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่ 

ผู้ก่อตั้ง Theranos สตาร์ทอัพลวงโลก ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานฉ้อโกง  

จุดจบ Startup ลวงโลก : Theranos ต้นตอความล้มเหลวมาจากพิษร้าย 'วัฒนธรรมองค์กร'



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...