AI and Robotics Ventures ส่ง HORRUS เทคโนโลยีโดรนไร้คนขับ สำรวจวิเคราะห์ปัญหาจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่ | Techsauce

AI and Robotics Ventures ส่ง HORRUS เทคโนโลยีโดรนไร้คนขับ สำรวจวิเคราะห์ปัญหาจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ AI and Robotics Ventures (ARV) ผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ของไทย ภายใต้กลุ่มปตท.สผ. จับมือ กรมทางหลวง ในการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ “HORRUS” (ฮอรัส) ในรูปแบบ Drone-in-a box-solution เป็นรายแรกในประเทศไทย มาใช้ตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพการจราจร และเฝ้าระวังอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2565 – 2 มกราคม 2566 ซึ่งอยู่ในช่วง 7 วันอันตรายในเทศกาลปีใหม่

ดร. ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) กล่าวว่า “ARV ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาต่อยอด เพื่อยกระดับการบริหารจัดการการจราจร จึงได้มอบหมายให้หน่วยธุรกิจภายใต้การกำกับดูแล ที่ชื่อว่า ‘Bedrock’ (เบดร็อค) ผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการและวิเคราะห์ฐานข้อมูลขั้นสูงเชิงตำแหน่งและพื้นที่อัจฉริยะ ด้วยการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ HORRUS มาสำรวจสภาพการจราจรให้กับกรมทางหลวงเพื่อบริการประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา 

โดยนำเทคโนโลยีที่สำคัญ Location Intelligence Platform และเทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรหรือหน่วยงาน โดยนำข้อมูลที่มีมาเพิ่มมูลค่าและช่วยในการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นความตั้งใจของ ARV และ Bedrock ที่ต้องการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์มาใช้เพื่อแก้ไขข้อจำกัดด้านการสำรวจและวิเคราะห์สภาพการจราจร พร้อมมอบความสุขให้กับคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลปีใหม่ ด้วยความโดดเด่นของ HORRUS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ ที่ทำงานโดยการตั้งโปรแกรม และควบคุมการทำงานจากระยะไกล ทำให้นอกจากจะสามารถปฏิบัติภารกิจซ้ำแบบเป็นกิจวัตรในเวลาที่กำหนดได้อย่างสมบูรณ์แล้ว 

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขอบเขตพื้นที่ในการปฏิบัติงานได้มากขึ้น ลดข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ลง อาทิ การพึ่งพานักบินโดรนมืออาชีพ ช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติงานให้สั้นลง ลดความเสี่ยง และลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ 
  • ลดเหตุขัดข้องอันเกิดจากข้อจำกัดของมนุษย์และสภาพอากาศ สามารถสอดส่องเส้นทางที่กำหนดและรายงานสภาพการจราจร รวมถึงจุดที่เกิดอุบัติเหตุไปยังห้องควบคุมของเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ให้สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และประเมินเส้นทางเดินรถ ทั้งยังเข้าปฏิบัติงานในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และแจ้งรายงานเหตุไปยังประชาชนได้ทันท่วงที”

คุณพงศกร จุลละโพธิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารบำรุงทาง กรมทางหลวง ระบุว่า “ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของทุกปี ถือเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง การท่องเที่ยว และการเดินทางกลับภูมิลำเนา ของคนไทยทั่วประเทศโดยเฉพาะเส้นทางหลวงที่มุ่งหน้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนืออย่างถนนพหลโยธิน และจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน และถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ที่มีผู้สัญจรโดยรถยนต์เฉลี่ยมากถึงปีละ 1 ล้านคันในช่วง 7 วันอันตรายในเทศกาลปีใหม่ ซึ่งมีการเดินทางเป็นจำนวนมาก ทางกรมทางหลวงมีความยินดีอย่างยิ่งได้ร่วมมือกับ Bedrock หน่วยธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ARV ในการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ “HORRUS” มาช่วยอำนวยความสะดวกและบริหารจัดการจราจร เพิ่มโอกาสให้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2565 – 2 มกราคม 2566 

นอกจากนี้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ HORRUS ยังสามารถช่วยลดโอกาสผิดพลาดทางเทคนิคที่อาจเกิดขึ้น ด้วยโดรน เนื่องจากระบบ HORRUS สามารถส่งภาพเคลื่อนไหวให้กับห้องควบคุม ส่งผลให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินสถานการณ์เบื้องต้นได้ และลดความล่าช้าในการเตรียมการอุปกรณ์ซ่อมบำรุง สามารถประหยัดเวลา และต้นทุนในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการเดินทาง รวมถึงต้นทุนในเชิงของจำนวนเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน  สุดท้ายนี้ ทางกรมทางหลวงคาดหวังว่า การร่วมมือกันในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดสำหรับการอำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชน และหวังว่าจะได้มีโอกาสได้นำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาสร้างประโยชน์ในการจราจรได้เพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้”

 

นายภาคภูมิ เกรียงโกมล หัวหน้าทีมโรโบติกส์ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) เผยถึงกระบวนการทำงานของโครงการนี้ว่า “HORRUS ได้ทำหน้าที่สำรวจตรวจสอบ สภาพการจราจรตามพื้นที่ที่ทาง ARV และกรมทางหลวง ร่วมกันกำหนดและพิจารณาแล้วว่าเป็นจุดที่มีภาวะการจราจรค่อนข้างหนาแน่นมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ 3 จุด ได้แก่ ถนนพหลโยธินขาเข้า กม.55+700, ถนนพหลโยธินขาออก กม.55+700, ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ตัดถนนพหลโยธิน  โดยมีการตั้งโปรแกรมการปฏิบัติการล่วงหน้าเพื่อให้ HORRUS ปฏิบัติการบินสำรวจ 5 รอบต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2565 – 2 มกราคม 2566 โดยใช้เวลาต่อปฏิบัติการเฉลี่ยครั้งละ 30 นาที ในช่วงเวลา 09.00 น., 11.00 น., 13.00 น., 15.00 น., 17.00 น. 

HORRUS สามารถเก็บข้อมูลรูปภาพ วิดีโอ และข้อมูลอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์สภาพการจราจรระหว่างการบินปฏิบัติการ พร้อมจัดเก็บข้อมูลไปยังระบบคลาวด์แบบอัตโนมัติ ทั้งยังสามารถเรียกดูภาพแบบ Live Streaming ให้กับเจ้าหน้าที่ในห้องควบคุมนำไปวิเคราะห์ต่อได้แบบเรียลไทม์ 

นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องการบินออกนอกเส้นทางยังสามารถควบคุมการบินระยะไกลผ่านสัญญาณ 5G และตรวจสอบการทำงานได้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ไม่ว่าอยู่ที่ใดอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีระบบแยกแยะวัตถุที่กล้องมองเห็น ที่ใช้การประมวลผลด้วยเทคโนโลยี machine learning ที่สามารถตรวจจับพร้อมประมวลผลภาพการจราจรได้ตั้งแต่ความแตกต่างของชนิดรถ การเคลื่อนไหวของคน รวมถึงสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนท้องถนนได้ ทั้งยังตรวจจับความเร็วการเคลื่อนตัวจราจร เพื่อช่วยประเมินได้ว่าเส้นทางสายใดที่มีรถติดเป็นพิเศษ หรือทางสะดวกสำหรับเดินทาง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อมูลให้กับประชาชนเพื่อหลีกเลี่ยง หรือใช้งานเส้นทางดังกล่าวได้ 

ซึ่งในปัจจุบันเราได้ให้ HORRUS ทำหน้าที่ประสานงานภาคสนามผ่านทางเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวง และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน HORRUS จะสามารถตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว และรู้จุดเกิดเหตุได้ชัดเจนพร้อมทั้งส่งวิดีโอเรียลไทม์จากหน้างานให้เจ้าหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินสถานการณ์ได้แม่นยำ และสื่อสารข้อมูลขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อเตรียมอุปกรณ์และความพร้อมในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ และเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยคาดว่าในอนาคต เทคโนโลยีนี้จะสามารถต่อยอดในเรื่องของการเก็บ Data โดยการสำรวจข้อมูลเส้นทางได้ด้วยตนเอง เพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไปได้อย่างง่ายดายและทั่วถึง ผ่านแพลตฟอร์มของกรมทางหลวง รวมถึงพัฒนาให้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ สามารถลงพื้นที่ปฏิบัติการพิเศษบนเส้นทางจราจรในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ได้อีกด้วย”


“นอกจากนั้น โครงการนี้ยังนับเป็นการดำเนินการเชิง PoC (Proof of Concept) ครั้งแรกในการช่วยบริหารจัดการการจราจรของ HORRUS ซึ่งก็แสดงผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งทาง ARV และ Bedrock จะนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่จริง ไปพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อความพร้อมสำหรับเข้าร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ ที่สนใจนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตพลังงาน, อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน, อุตสาหกรรมการก่อสร้าง, นิคมอุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม, ธุรกิจภาคการเกษตร, ธุรกิจขนส่ง, การสำรวจสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ยกระดับศักยภาพทางธุรกิจ 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...