รัฐบาลจีน-สิงคโปร์ สานต่อความร่วมมือทางการเงิน พัฒนาฉงชิ่ง เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์โลก ผลักดันบริการที่ลดต้นทุนทางการเงิน ช่วยเศรษฐกิจ | Techsauce

รัฐบาลจีน-สิงคโปร์ สานต่อความร่วมมือทางการเงิน พัฒนาฉงชิ่ง เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์โลก ผลักดันบริการที่ลดต้นทุนทางการเงิน ช่วยเศรษฐกิจ

สำนักสารสนเทศของเทศบาลนครฉงชิ่ง ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนว่า การประชุมสุดยอดการเชื่อมโยงทางการเงินจีน-สิงคโปร์ (ฉงชิ่ง) หรือ China-Singapore (Chongqing) Connectivity Initiative Financial Summit (CCI-FS) เตรียมจัดคู่ขนานกันที่นครฉงชิ่งและประเทศสิงคโปร์ ในระหว่างวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2564

การประชุมสุดยอด CCI-FS ในปีนี้จะจัดขึ้นในหัวข้อ “กระชับความร่วมมือทางการเงินจีน-อาเซียน สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการเชื่อมโยงกัน” (Deepening China-ASEAN Financial Cooperation, Creating a New Paradigm of Interconnectivity)

การประชุมสุดยอด CCI-FS เป็นกิจกรรมหลักภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนและสิงคโปร์ครั้งที่สาม และจัดมาแล้วสามครั้ง โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 โครงการสาธิตการเชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์จีน-สิงคโปร์ (ฉงชิ่ง) หรือ China-Singapore (Chongqing) Demonstration Initiative on Strategic Connectivity (CCI) ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยมีบริการทางการเงินเป็นหนึ่งในสี่ภาคส่วนที่มีความสำคัญ และตลอด 6 ปีที่ผ่านมา เราได้ทำให้วิสัยทัศน์ของเรากลายเป็นความจริง นั่นคือ การลดต้นทุนทางการเงินในภาคตะวันตกของจีนและการแบ่งปันผลประโยชน์กับทั่วโลก ผ่านการกระชับความร่วมมือทางการเงินระหว่างจีนกับสิงคโปร์

การขนส่งทางเรือและทางอากาศต้องหยุดชะงักนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านรถไฟด่วนจีน-ยุโรป กลับเพิ่มขึ้นสวนกระแส ซึ่งถือเป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่ช่วยยุโรปต่อสู้กับโควิด-19 และรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

ความสำเร็จของบริการรถไฟขนส่งสินค้าจีน-ยุโรป ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากเงินทุนข้ามพรมแดนจากโครงการ CCI

ภายใต้กรอบของโครงการ CCI นั้น ศูนย์กลางโลจิสติกส์นานาชาติฉงชิ่ง (Chongqing International Logistics Hub) ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีต้นทางของรถไฟด่วนจีน-ยุโรป นั่นคือ สถานีฉงชิ่ง ถวนเจี๋ยชุน ได้ออกพันธบัตรมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสิงคโปร์ ด้วยต้นทุนต่ำกว่าพันธบัตรในประเทศ โดยสามารถระดมทุนเพื่อนำมาใช้สร้างโครงสร้างพื้นฐานในศูนย์กลางโลจิสติกส์ดังกล่าว ดังนั้น ความร่วมมือทางการเงินจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท่ารถไฟให้ดีขึ้น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยของความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือทางการเงินภายใต้โครงการ CCI และจนถึงตอนนี้ นครฉงชิ่งระดมทุนข้ามพรมแดนภายใต้โครงการ CCI ได้กว่า 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่าระดับของประเทศ 1.03 จุดเปอร์เซ็นต์ และทั่วทั้งภาคตะวันตกของจีนสามารถระดมุทนได้กว่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในสิงคโปร์ 

ความร่วมมือทางการเงินภายใต้โครงการ CCI ได้แบ่งปันผลประโยชน์ให้กับทั่วโลก

ระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ หรือ New International Land-Sea Trade Corridor (ILSTC) ถือเป็นช่องทางโลจิสติกส์ที่สำคัญระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสินค้าจากภาคตะวันตกของจีนได้รับการขนส่งลงใต้ทั้งทางรถไฟ ทางทะเล และทางถนน เพื่อเข้าสู่ตลาดโลกผ่านทางท่าเรือและชายแดนเช่นในกว่างซีและยูนนาน โดยใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเส้นทางดั้งเดิมจากทางภาคตะวันออกของจีน

ขณะเดียวกัน บริการทางการเงินข้ามพรมแดนภายใต้โครงการ CCI ก็ช่วยเป็นแรงสนับสนุน ILSTC โดยแพลตฟอร์มบริการทางการเงินที่จีนและสิงคโปร์ร่วมกันสร้างขึ้นมาเพื่อILSTC ได้มอบบริการทางการเงินที่สะดวกสบายและต้นทุนต่ำให้แก่บริษัทด้านโลจิสติกส์ การค้า และการผลิต ทั้งยังมอบพลังให้แก่บริษัทที่ประกอบธุรกิจอื่นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากโรงงานของบริษัท แอลจี กรุ๊ป (LG Group) ในเวียดนาม ได้รับการขนส่งมายังนครฉงชิ่งผ่านทาง ILSTC จากนั้นส่งต่อไปยังยุโรปด้วยรถไฟด่วนจีน-ยุโรป โดยใช้เวลาในการขนส่งลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการขนส่งทางทะเล ในขณะเดียวกัน สินค้าที่ผลิตในเยอรมนีก็ได้รับการขนส่งมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางเดียวกันโดยใช้เวลาขนส่งลดลงกว่าครึ่งเช่นกัน

ดังนั้น ILSTC จึงช่วยลดทั้งเวลาและต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจีน ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในยุโรป ซึ่งช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถแบ่งปันผลสำเร็จจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและการบูรณาการในระดับภูมิภาค

“ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา นครฉงชิ่งและสิงคโปร์ได้ยกระดับการเชื่อมโยงทางการเงินระหว่างภาคตะวันตกของจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียน ผ่านความร่วมมือทางการเงินภายใต้โครงการ CCI” ราวี เมนอน ผู้ว่าการธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) กล่าว

“ตลอด 5 ปีข้างหน้า จีนและสิงคโปร์จะคว้าโอกาสใหม่ ๆ รวมถึงใช้แผนระยะ 5 ปีของความร่วมมือทางการเงินภายใต้โครงการ CCI ด้วยคุณภาพระดับสูง และบุกเบิกสิ่งใหม่ ๆ ในด้านความร่วมมือทางการเงินระดับทวิภาคี” หรวน ลู่ ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลทางการเงินนครฉงชิ่ง กล่าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

“Money 20/20 Asia” ปักหมุดศูนย์ฯ สิริกิติ์ 3 ปี ส่งเสริมไทยสู่ศูนย์กลางฟินเทคชั้นนำของเอเชีย

เปิดประตูบานใหม่สู่ “Money 20/20 Asia” ครั้งแรกของเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 23 – 25 เมษายน 2567 ที่ดึงดูดผู้คร่ำหวอดด้านฟินเทค และบริการทางการเงินกว่า 20,00...

Responsive image

เตรียมพบกับงานสัมมนา Social Value thailand Forum 2024 เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

งานสัมมนาเปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม Accelerating Education and Partnership for the SDGs...