คุณค่าและบทบาทของครูที่เปลี่ยนไปในโลก Disruptive กับงาน EDUCA 2018

คุณค่าและบทบาทของครูที่เปลี่ยนไปในโลก Disruptive กับงาน EDUCA 2018

ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเติบโตอย่างก้าวกระโดด สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ ภายใน พ.ศ.2579 “ประเทศไทยต้องหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิต และความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่ประเทศไทย 4.0” ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนในทุกภาคส่วน คำถามที่สำคัญคือ “การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด กระทบต่อการพัฒนาคนอย่างไร ที่สำคัญกระทบต่อคุณค่าวิชาชีพที่สร้างคนอย่างวิชาชีพครูมากน้อยเพียงใด”

บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงาน EDUCA 2018 หรือ มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งจัดต่อเนื่องโดยปีนี้นับเป็นปีที่ 11 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยสนับสนุนให้ “ครู” เป็นวิชาชีพที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นายศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "สังคมจำเป็นต้องให้คุณค่าแก่วิชาชีพครู เพราะงานวิจัยก็พิสูจน์มาแล้วว่า ทุกประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการศึกษาให้ความสำคัญและคุณค่าแก่ครู ครูเหล่านั้นปรับตัวเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกๆ เรื่อง รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะตระหนักดีว่าตัวเองมีคุณค่ามากเพียงใดต่ออนาคตของประเทศตน ส่วนสังคมก็สนับสนุนการเรียนรู้ของครูอย่างเต็มที่ จึงอยากให้ทุกคนได้ใคร่ครวญว่า สังคมไทยให้คุณค่าแก่ครูไทยอย่างไร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หากเราอยากประสบความสำเร็จเรื่องการศึกษา เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประสบการณ์ของประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้"

นายศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

งานวิจัยทางการศึกษาระดับสากล พบว่า ในบางประเทศคุณค่าของครูถูกลดทอนลงเรื่อยๆ เช่น รายงานของ OECD ปี 2018 เรื่อง การให้คุณค่าแก่ครู และยกระดับสถานภาพของครู วิธีที่ชุมชนจะช่วยครูได้ (Valuing our Teachers and Raising their Status: How Communities Can Help) โดย Andreas Schleicher พบว่า คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ครูเครียดและหมดพลังในการสอน เช่นเดียวกับ งานวิจัย TALIS ที่พบว่า มีครูน้อยกว่าหนึ่งในสามเชื่อว่า “อาชีพของตนมีคุณค่าในสังคม” แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการศึกษาที่ส่วนใหญ่ สังคมเหล่านั้นให้คุณค่าแก่วิชาชีพครูอย่างมาก และตัวครูเองก็ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของตนในการพัฒนาประเทศ เช่น สิงคโปร์ เกาหลี ฟินแลนด์ และ นิวซีแลนด์ เป็นต้น

การจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงการสร้างคนคุณภาพที่มีความสมบูรณ์ โดยให้ความสำคัญทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี “ครู” เป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างนโยบายของรัฐสู่ความเป็นจริงในห้องเรียน ในโลกที่ไม่แน่นอน และก้าวสู่เทคโนโลยีดิจิทัล ห้องเรียนในวันพรุ่งนี้ยังคงต้องการ “ครู” ที่ไม่ใช่เพียงผู้ถ่ายทอดความรู้ ซึ่งเทคโนโลยีสามารถมาทดแทนได้ในไม่ช้า แต่คือ ผู้ปลูกฝังเยาวชน ในวิชาความเป็นคน รู้ถูกผิด มีน้ำใจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สอดคล้องกับงานวิจัยที่กล่าวถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่พบว่า ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ทักษะการเรียนรู้ในเรื่องอารมณ์และสังคม อย่างทักษะการทำงานอย่างร่วมมือรวมพลัง การสื่อสาร การแก้ปัญหาจะกลายเป็นทักษะที่สำคัญมากกว่าทักษะอื่นๆ

คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด กล่าวเสริมในเรื่องทักษะสำคัญที่คนรุ่นใหม่จำเป็นต้องพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่โลกของการทำงานว่า "Hard Skills หรือทักษะด้านความรู้นั้นแน่นอนว่ามีความสำคัญ แต่จะเป็นในช่วงที่อยู่ในระบบการศึกษาและในช่วงระยะแรกหลังจบการศึกษา เมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน ทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงานหรือ  Soft Skills เป็นทักษะที่สำคัญ โดยเฉพาะทักษะการทำงานเป็นทีม จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่พบว่า ไม่ว่าเด็กจะจบการศึกษาด้วยผลการเรียนยอดเยี่ยมแค่ไหน พอเข้าสู่โลกของการทำงานจะไม่สามารถทำงานคนเดียวได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้นการฝึกเรื่องของการทำงานเป็นทีมจึงสำคัญ ซึ่งทักษะนี้สามารถทำการปลูกฝังได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันได้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกการทำงานเป็นทีม เช่น การแข่ง Hackathon ให้เด็กได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาจากความรู้และประสบการณ์ที่มี โดยจะเป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักตั้งคำถาม ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตัวเอง อีกทั้งยังต้องอาศัยทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นสำคัญ"

คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด

ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนและการเรียนรู้ อีกทั้งจะมีเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังมีความท้าทายในเรื่องของความเหลื่อมลํ้าและโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรอยู่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันผลักดันและพัฒนาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียม เพื่อที่คนในอนาคตจะได้เตรียมตัวพร้อมรับกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้ทัน

คุณฐานิตา ภูวนาถนรานุบาล ผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 2 ที่ปรึกษาด้านหลักสูตรสำหรับ Girl Rising Thailand  ผู้แทนจากมูลนิธิ Teach for Thailand (TFT) กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า "ในเรื่องความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยนั้นยังคงพบได้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยความที่มีทรัพยากรที่จำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคทั้งต่อตัวบุคลากรและนักเรียนในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเตรียมพร้อมในโลกอนาคต"

คุณฐานิตา ภูวนาถนรานุบาล ผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 2 ที่ปรึกษาด้านหลักสูตรสำหรับ Girl Rising Thailand  ผู้แทนจากมูลนิธิ Teach for Thailand (TFT)

แน่นอนว่า การพัฒนาระบบการศึกษาจะเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพประชากร และจะนำไปสู่การมีสังคมที่ดีกว่า เมื่อการนั่งในห้องเรียนแลัวท่องจำ อาจไม่ใช่รูปแบบการเรียนที่สามารถใช้ในโลกอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ คุณครูจึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ไม่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น การเรียนรู้นอกห้องเรียนก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน

คุณกรรณิการ์ เฉิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช) กล่าวว่า "ปัจจุบันมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากมาย เราได้เล็งเห็นในเรื่องของการพัฒนาทั้งกับคุณครูและเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้ให้ความตระหนักคือ คุณครูยังมีความสำคัญในการเตรียมเด็กให้พร้อมรับกับโลกในอนาคตอยู่ การที่คุณครูมีความรู้และความเข้าใจในด้านดิจิตัลนั้นแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ เราจะทำอย่างไรให้เด็กยุคใหม่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีในการแก้ปัญหาแก้ปัญหา โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้การยอมรับในเรื่องความหลากหลายก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ การที่คนรุ่นใหม่สามารถยอมรับในความคิดเห็นที่หลากหลาย แล้วใช้ความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาต่อยอด ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาได้นั้นเป็นสิ่งที่เราต้องการเห็นมากขึ้น นอกจากนี้คือเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบ เพราะในอนาคตเรื่อง Disruption นั้นไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว อีกทั้งการเรียนรู้นั้นไม่ได้จบเพียงแค่ในระบบการศึกษาเท่านั้น แต่ยังต้องต่อเนื่องไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิตหรือ Lifelong learning ก็เป็นอีกทักษะที่สำคัญเช่นกัน"

คุณกรรณิการ์ เฉิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช)

คุณฐานิตา ภูวนาถนรานุบาล กล่าวเสริม "จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับเด็กในโรงเรียนพบว่า เด็กส่วนใหญ่มักจะประเมินศักยภาพของตัวเองค่อนข้างต่ำ ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง คุณครูจึงมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปทำให้เด็กเห็นว่าพวกเขาก็มีศักยภาพเช่นกัน และศักยภาพนั้น แม้จะแตกต่างจากสิ่งที่บรรทัดฐานทางวิชาการ หรือบรรทัดฐานทางสังคมกำหนด ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีศักยภาพ การที่ครูจะเข้าไปกระตุ้นให้เด็กเห็นคุณค่าของตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ยังคงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดในการศึกษา แม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีผลกระทบอย่างไรก็ตาม นอกจากนี้คุณครูในปัจจุบันอาจจะไม่ต้องเน้นเลกเชอร์เหมือนแต่ก่อน แต่จะทำอย่างไรให้เด็กอยากเรียนรู้ จะผลักดันให้พวกเขาค้นพบตัวเองว่าชอบอะไรได้อย่างไร คุณครูมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปส่งเสริมในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในห้องเรียนนอกห้องเรียน และการเป็นต้นแบบให้เด็กๆ ในการเป็นผู้รักเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลง อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมเหล่าเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ให้พร้อมเข้าสู่โลกในอนาคตได้"

บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดย EDUCA เป็นมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งเป็นแห่งเดียวที่จัดบนฐานของงานวิจัยทางการศึกษาจากประเทศชั้นนำระดับโลก (Research based Educational Event) ที่ต่างก็ตระหนักว่า “ครู” คือ ผู้ให้ ผู้นำ และผู้หล่อหลอมความแข็งแกร่งอนาคตของประเทศชาติ ในปี 2561 นี้ EDUCA มีแนวคิดการจัดงาน คือ Value of Teacher : คุณค่าของครู เพื่อกระตุ้นสังคมให้ตระหนักถึง “คุณค่าของครู” ท่ามกลางกระแสโลกดิจิทัลและวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0

งาน EDUCA 2018 หรือ มหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด “Value of Teachers : คุณค่าของครู” จะจัดขึ้นในปีนี้ ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันพุธที่ 17 ­– วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2561 ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.educathai.com

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

“Money 20/20 Asia” ปักหมุดศูนย์ฯ สิริกิติ์ 3 ปี ส่งเสริมไทยสู่ศูนย์กลางฟินเทคชั้นนำของเอเชีย

เปิดประตูบานใหม่สู่ “Money 20/20 Asia” ครั้งแรกของเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 23 – 25 เมษายน 2567 ที่ดึงดูดผู้คร่ำหวอดด้านฟินเทค และบริการทางการเงินกว่า 20,00...

Responsive image

เตรียมพบกับงานสัมมนา Social Value thailand Forum 2024 เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

งานสัมมนาเปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม Accelerating Education and Partnership for the SDGs...