สจล. ผนึก AIRBUS ตั้ง ACT for Academy ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในอนาคต | Techsauce

สจล. ผนึก AIRBUS ตั้ง ACT for Academy ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในอนาคต

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ จับมือแอร์บัส (Airbus) ผู้ผลิตอากาศยานชั้นนำระดับโลกจัดตั้งโปรแกรมโซลูชันการฝึกอบรมด้านการบำรุงรักษา “ACT for Academy” เน้นปูพื้นฐานการบำรุงรักษาเครื่องบินไปสู่ขั้นสูง ผ่านการเรียนรู้และทดลองขับแอร์บัสเสมือนจริง เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สจล. เข้าทำงานในอุตสาหกรรมการบิน 

สจล. ผนึก AIRBUS ตั้ง ACT for Academy ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในอนาคต

โดยนักศึกษาจะได้ฝึกประสบการณ์ผ่านเครื่องมือหลากรูปแบบ อาทิ ทดลองขับเครื่องบินแอร์บัสเสมือนจริงแบบสามมิติ จำลองสถานการณ์จริงเพื่อดำเนินการบำรุงรักษาระบบอากาศยานทั่วไป สลจ.เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่ได้เป็นพันธมิตรกับแอร์บัส ทั้งนี้ พิธีลงนามความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้นพร้อมกับการเปิดหลักสูตรวิศวกรรมการบินและอวกาศระดับปริญญาตรี เพื่อเร่งผลิตบัณฑิตรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

ACT for Academy หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับวิศวกรรมการบินรุ่นใหม่

ผศ. ดร.เสริมศักดิ์ อยู่เย็น คณบดี วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า สจล. โดยวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ร่วมมือกับแอร์บัส (Airbus) ผู้ผลิตอากาศยานชั้นนำระดับโลก พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับวิศวกรรมการบินรุ่นใหม่ในชื่อ “ACT for Academy” (Airbus Competence Training (ACT) for Academy) 

เพื่อฝึกอบรมด้านการบำรุงรักษาเครื่องบินขั้นพื้นฐาน ที่พร้อมเติมเต็มความรู้นับตั้งแต่ขั้นตอนการบำรุงรักษา เทคโนโลยีล่าสุดของเครื่องบินแอร์บัส ฯลฯ ผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Virtual Aviation) อาทิ ทดลองแอร์บัสแบบเวอร์ชวล เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาด้านการบินและอวกาศรุ่นใหม่ ให้สามารถเติบโตในสาขาอาชีพด้านอุตสาหกรรมการบินได้อย่างมืออาชีพ ทั้งนี้การฝึกอบรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในบริการการฝึกอบรมของแอร์บัส (Airbus Training Services) ที่ได้รับการบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของนักศึกษาวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สจล. 

นักศึกษาจะได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้เสมือนจริง ผ่านเครื่องมือการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้ 

1. เครื่องบินแอร์บัสเสมือนจริงแบบสามมิติ ประกอบด้วยห้องนักบินและเครื่องยนต์เสมือนจริง รวมถึงผู้ฝึกสอนคอยดูแล 

2. แบบฝึกหัดจำลองสถานการณ์จริงเพื่อดำเนินการบำรุงรักษาระบบอากาศยานทั่วไป

3. การสร้างความคุ้นเคยทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรมบทเรียน (Courseware) ของเครื่องบินแอร์บัสเพื่อนำเสนอและอธิบายถึงเครื่องบิน และระบบต่างๆ ของเครื่องบิน 

นอกจากนี้ ยังมีทักษะที่จำเป็นทั้ง Soft Skill และ Hard Skill อย่างไรก็ดี การทำงานในสถานการณ์จริงไม่เพียงแต่ช่วยให้นักศึกษาได้รับความรู้ความชำนาญด้วยประสบการณ์ตรงเท่านั้น แต่ยังถือเป็น “ความพร้อมลงมือปฏิบัติ” อีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นสำหรับนายจ้างในอนาคต 

 “สจล. รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เป็นพันธมิตรร่วมกับแอร์บัส รังสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมให้กับนักศึกษาของเราได้อย่างแท้จริง ด้วยโซลูชันฝึกอบรม ACT for Academy นี้เอง นักศึกษาของเราจะได้รับความรู้ความชำนาญด้วยประสบการณ์ตรงจากเครื่องบินแอร์บัส สิ่งนี้ทำให้พวกเขามีทักษะที่ “พร้อมต่อการทำงาน” เพื่อตอบสนองความต้องการที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรมการบิน โดยในปัจจุบันแม้อุตสาหกรรมการบินจะได้รับผลกระทบจากภาวะโควิด-19 แต่เชื่อเหลือเกินว่าหลังจากนี้อุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเดินทางท่องเที่ยวของประชาชน” 

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรต่างประเทศเพื่อยกระดับศักยภาพนักศึกษาในหลักสูตรปกติให้พร้อมก้าวสู่โลกการทำงานจริงแล้ว วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สจล.ยังมีวิสัยทัศน์ในการมุ่งสร้างบัณฑิตเพื่อตอบโจทย์ภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ โดยการเปิดหลักสูตรใหม่ พร้อมเปิดรับนักศึกษาในระบบทีแคส 65 ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมการบินและอวกาศในระดับปริญญาตรี นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้ สามารถประกอบอาชีพด้านวิศวกรรมการบิน โดรนหรือยานบินระดับสูง รวมถึงด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศได้ 

หลักสูตรวิศวกรรมการบินและอวกาศ สจล.มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริมการเรียนและกิจกรรมพิเศษ เพื่อเน้นให้นักศึกษาทุกคนได้มีโอกาสสร้างนวัตกรรมการบินและอวกาศระหว่างการศึกษา อาทิ กิจกรรมส่งโดรนพิเศษไปบินที่ขอบอวกาศ ความสูงกว่า 30 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นระยะความสูงที่มีโอกาสขึ้นไปได้ยาก ซึ่งจะใช้เวลาอยู่นานถึง 100 วัน โดย สจล. เป็นสถานศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทยที่นักศึกษาในหลักสูตรทุกคนมีโอกาสได้สร้างการทดลองหรือดาวเทียมไปทดสอบที่ขอบอวกาศ 

ฝึกผ่าน Airbus ACT for Academy ซอฟต์แวร์การซ่อมบำรุงเครื่องบินรุ่นล่าสุดของ Airbus

รวมถึงการฝึกผ่าน Airbus ACT for Academy ซอฟต์แวร์การซ่อมบำรุงเครื่องบินรุ่นล่าสุดของ Airbus ซึ่งมีเพียงใน 8 หน่วยงานในโลกที่ Airbus ได้สนับสนุนให้นำมาใช้ในการเรียนการสอน และยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่นักศึกษาในหลักสูตรนี้จะได้เข้าร่วมผ่านความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สจล. กับหน่วยงานเครือข่ายด้านการบินและอวกาศทั้งในและต่างประเทศ 

ด้าน มร. เบิร์ท พอร์ตแมน หัวหน้าฝ่ายการฝึกอบรมและบริการปฏิบัติการบินประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของแอร์บัส กล่าวถึงการจับมือร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันการศึกษาไทยครั้งนี้ว่า นับเป็นหมุดหมายครั้งสำคัญในการขยายโซลูชันการฝึกอบรมของ Airbus มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการคาดการณ์ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกว่าจะเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตในภาคการบินสูงที่สุด และ ACT for Academy จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการฝึกอบรมช่างเทคนิคและวิศวกรรุ่นใหม่ในการให้บริการเครื่องบินรุ่นใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในอนาคต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...

Responsive image

ทีทีบี เปิดตัว ttb smart shop พร้อม “ปังปัง” มังกรน้ำเงินมงคล ผู้ช่วยร้านค้าแบบครบวงจร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี นำโดย นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ พร้อมด้วย นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ เปิดตัวฟีเจอร...

Responsive image

ดีลอยท์เผย IPO อาเซียนปี 67 ทรุดหนัก ระดมทุนต่ำสุดรอบ 9 ปี หวังฟื้นตัวหลังดอกเบี้ยลดปี 68

ดีลอยท์ เผย ตลาด IPO ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2567 ยังคงซบเซา แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวในปี 2568 กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และทรัพยากรและพลังงาน มีบทบาทสำคัญในการขับเ...