ถือเป็นอีกก้าวที่น่าจับตามองของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)ในฐานะแหล่งวิจัยและผลิตองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ หลังจากที่มีการกำหนดนโยบายเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดและทักษะการเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มนักศึกษาและบุคลากร และส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้และชิ้นงานเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นภายในมหาวิทยาลัยออกไปต่อยอดในรูปแบบธุรกิจเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์จริงอย่างเป็นรูปธรรม จึงเกิดการจัดตั้ง Hatch ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการระดับนักศึกษาขึ้นในปี 2559 โดยที่ผ่านมา Hatch ได้จัดโครงการบ่มเพาะทั้งในระดับเบื้องต้นที่มุ่งเน้นการทำความเข้าใจโจทย์ความต้องการที่มีในสังคมและพัฒนาชิ้นงานที่มีศักยภาพทางธุรกิจ ไปจนถึงระดับที่มีความพร้อมต่อยอดเป็นธุรกิจจริง รวมถึงกิจกรรมอื่นๆเพื่อสร้างการตระหนักรู้และกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับประเด็น startup ในกลุ่มนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง
หลังจากดำเนินโครงการมากว่า 6 เดือน ก็ถึงเวลาที่ทั้ง 8 ทีมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยจะมานำเสนอผลงานนวัตกรรมและแนวคิดเชิงธุรกิจในงาน Hatch Startup Demo Day 2017 ในวันที่ 7 มีนาคม 2560 เวลา 12:00-17:00 น. ตึก Knowledge Exchange for Innovation (KX) สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
พร้อมกันนี้ ยังมีการเปิดตัวพื้นที่ co-working space ของ Hatch ที่ตึก KX อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นพื้นที่รองรับนักศึกษาในการเข้ามาทำงานและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับบุคลากรและผู้ที่สนใจเรื่อง Startup ในวันเดียวกันนี้ด้วย
Startup ทั้ง 8 ทีมที่จะขึ้นเวที pitch ในครั้งนี้ ได้แก่
- Ingarage assistive: “Visionear” เป็นเทคโนโลยีด้าน IoTs ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนตาบอดในการใช้ชีวิตประจำวัน ตัวอุปกรณ์ใช้งานผ่านการสั่งการและตอบกลับด้วยระบบเสียง โดยตัวอย่าง features คือ การตรวจหา barcode สินค้าในซุปเปอร์มาเก็ต การบอกสี และ การระบุธนบัตร
- BotTherapist: "BLISS" หุ่นยนต์กึ่งอัตโนมัติแบบเคลื่อนที่ได้ สำหรับสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ออทิสติกในด้านการเรียนรู้และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- Project23: Auto-Karyotyping Application สำหรับตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซมแบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี Machine Learning โดยระบบสามารถตรวจหาความผิดปกติของลักษณะ รูปร่าง ขนาด และจำนวนโครโมโซม ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญระบุความน่าจะเป็นของโรคทางพันธุกรรมได้ง่ายและเร็วขึ้น
- Bhornnij: “อิสระ” นวัตกรรมการออกแบบกล่องปลอดเชื้อเคลื่อนที่สำหรับการเปลี่ยนถุงน้ำยาล้างไตนอกสถานที่เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- AllIncode: “Zcard” การ์ดคำศัพท์สำหรับช่วยส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ของเด็กๆผ่านการใช้เทคโนโลยี AR
- Cupcode: “IRIS” application ช่วยให้การสื่อสารภายในองค์กรเป็นไปได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถกระจายข่าวสารจากฝ่ายบริหารไปยังพนักงานทุกระดับชั้นได้ภายในขั้นตอนเดียว ทำให้พนักงานทุกภาคส่วน ในองค์กรได้รับข้อมูลที่ตรงกันในเวลาอันรวดเร็ว
- MixVR: ระบบจำลอง indoor cycling experience ที่จำลองบรรยากาศและสร้างความเหนื่อยล้าได้สมจริง และ group exercise monitoring ที่จะช่วยคลาสออกกำลังกายแบบกลุ่มมีความพร้อมกันและการแข่งขันที่สนุกยิ่งขึ้น
- T-BAD: แพลตฟอร์มเพื่อสร้าง community ของผู้เล่นแบตมินตั้นและโค้ชจากยิมต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง League ของกิฬาแบดมินตันที่สามารถให้ Rating แก่นักกิฬาสมัครเล่นตามระดับความสามารถได้ ผู้เล่นสามารถร่วมก๊วนที่มีฝีมือใกล้เคียงที่ยิมทั่วประเทศเพื่อเล่นสนุกหรือแข่งขันได้
วัตถุประสงค์: เพื่อให้ตัวแทนจากทั้ง 8 ทีมได้นำเสนอผลงานต้นแบบนวัตกรรมและไอเดียเชิงธุรกิจต่อนักลงทุน องค์กรผู้ให้ทุน ภาคเอกชน รวมถึงผู้เข้าร่วมที่สนใจต่างๆ เพื่อต่อยอดผลงานของนักศึกษาที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะฯสู่การทำเป็นธุรกิจจริง
รูปแบบกิจกรรม
กิจกรรมในงาน Hatch Startup Demo Day 2017 จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก อันได้แก่
- การนำเสนอผลงาน (Pitching) ของทีมนวัตกรของมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยทั้ง นักศึกษาปัจจุบัน นักวิจัย บุคลากรต่างๆ รวมถึงศิษย์เก่าที่มีไอเดียในการทำ startup หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการและต้องการขยายธุรกิจ จำนวนทั้งสิ้น 8 ทีม
- การพูดคุยต่อยอดเชิงธุรกิจแบบ 1-1 (Business talk) ระหว่างแขกผู้เข้าร่วมกับทีมนวัตกรตามความสนใจ โดยจะมีการออกแบบกิจกรรมในลักษณะ marketplace ที่ผู้เข้าร่วมสามารถเดินชมบู้ทของแต่ละทีมและเข้าไปสอบถามข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมกับทีมนวัตกรที่ตนสนใจเป็นพิเศษได้ ทั้งในมุมของความสนใจในการมาร่วมลงทุน รวมถึงการสร้างความร่วมมือในรูปแบบอื่นๆ
รายละเอียด
วันอังคารที่ 7 มีนาคมพ.ศ. 2560
เวลา: 12:00 - 16:00น
สถานที่: ตึก Knowledge Exchange for Innovation (KX)
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
และลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่นี่