The more compassionate our mind, the more we’ll be able to lead our lives หรือ การมองตัวเรา มองคนอื่น จะนำความสมานฉันท์และทำให้ตัวเราสามารถใช้ชีวิต ไลฟสไตล์ และทำงานได้อย่างเป็นสุข นั้นคือ คีย์เวิร์ดแห่งความสุข หรือ “Mindset – มายด์เซตองค์ดาไลลามะ กล่าว
คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “สำหรับช่วงวิกฤตที่ผ่านมา หลากหลายองค์กรต้องโอบกอดสภาวะความไม่แน่นอนเอาไว้ และไม่รู้ว่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้เมื่อไร SEAC ในฐานะผู้นำด้านการเรียนรู้ ตลอดชีวิต เรามีพันธกิจ EMPOWER LIVES THROUGH LEARNING เร่งสร้างทักษะผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อตอบทุกเป้าหมายของการใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ ย้ำเสมอว่า ธุรกิจจะเติบโตและประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มที่ “คน” เพราะคนคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาธุรกิจ ดังนั้นจึงต้องลงให้ลึกถึงราก โดยการสร้างมุมมองความคิดแบบร่วมกันทำงาน แบบ Collaboration มองเห็นเป้าหมายเดียวกันคือเป้าหมายขององค์กร หรือที่เราเรียกว่า มุมมองแบบ Outward Mindset หนึ่งในซิกเนเจอร์คอร์สของ SEAC ที่ทำหน้าที่เสมือนเครื่องมือประสายรอยร้าวให้องค์กรสามารถฝ่าฟันวิกฤต และกลับมามองว่าวิกฤตยิ่งสร้างองค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น สิ่งสำคัญที่เราต้องตระหนัก คือเราต้องลดช่องว่างของความไม่เข้าใจ (Empathy Gap) คนในองค์กรต้อง กล้าคิด ไม่กลัวโดนกล่าวโทษกล้าลองอะไรใหม่ กล้าผิดพลาด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายแบบองค์รวม แม้การเปลี่ยนแปลงจะสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้างแต่สุดท้ายเราก็ได้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง”
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่าง “คน” ทั้งในสังคมและองค์กรล้วนเกิดจาก Empathy Gap ช่องว่างที่ทำให้คนเรายากที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้วยเหตุผลที่ว่า เราไม่เห็นด้วยหรือรู้สึกเช่นเดียวกันกับเขาเพราะไม่เคยมีประสบการณ์แบบเดียวกันกับเขามาก่อน จึงทำให้เราจินตนาการไม่ออกว่าทำไมเขาต้องทำหรือรู้สึกแบบนั้น แล้วถ้าเป็นเราเราจะทำอย่างไร แน่นอนว่า แม้แต่คนที่ฉลาด รอบคอบ ซื่อสัตย์ บางครั้งก็ตัดสินใจผิดพลาดได้เมื่ออยู่ในสภาวะอารมณ์ ที่ไม่ปกติ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง คือ เราต้องมีความคิดที่ว่า จริงๆ แล้วเราไม่สามารถบังคับหรือเปลี่ยนใครได้ สิ่งที่เราเปลี่ยนได้คือมุมมองและวิธีคิดของเราเท่านั้น หรือที่เราเรียกว่า มุมมอง “Outward Mindset - เอาท์เวิร์ด มายด์เซต” กับการเปลี่ยนวิธีมอง มองในมุมของคนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เราเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหา และเห็นเรื่องราวต่างไป
จากครอบครัวเล็กๆ สู่อาณาจักรที่รวบรวมคนกว่า 4,000 ชีวิต ต้องพูดเลยว่ามันไม่ง่ายเมื่อการดำเนินธุรกิจ ต้องมาสะดุด หากมองย้อนกลับไป ฟู้ดแพชชั่น คือหนึ่งในองค์กรที่มีเป้าหมายต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง ที่มีผลบวกกับชีวิตคนในวงกว้าง และแนวทางการบริหารธุรกิจด้วยแนวคิด องค์กรแห่งความสุขที่ให้ความสำคัญกับคน ผ่านการรณรงค์แนวคิด Outward Mindset มาอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าช่วงวิกฤตที่ผ่านมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับสำหรับฟู้ดแพชชั่น หากแต่หัวใจหลักที่ บริษัทฯ ทำและยึดคือตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญคือหันหน้าเข้ามาคุยกันให้มากขึ้น โดยฟู้ดแพชชั่น มีการรวมทีมทำงานแบบ SCRUM เพื่อคิดกลยุทธ์การตลาดถึง 16 โปรเจคใน 2 เดือน จากแผนเดิมที่จะทำโปรเจคเหล่านี้ใน 2 ปี โดยมีสิ่งที่อยู่เบื้องหลังที่ทำให้การทำงานแบบนี้สำเร็จคือ Outward Mindset เพื่อสร้าง Strong Collective Teamwork เพราะพื้นฐานของการสร้างทีมเวิร์คที่แข็งแรงคือการมี Mindset ที่ถูกต้อง ไม่โยนปัญหาหรือชี้นิ้วใส่กัน สงสัยอะไรหรือ อยากเสนออะไรให้ยกมือถาม ทำให้ลดความไม่เข้าใจ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เปิดโอกาสให้ลูกน้องเป็นคนตัดสินใจได้ทันที กล้าคิด กล้าลงมือ ทำให้เกิดผลลัพธ์แบบทวีคูณที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นมุ่งสู่เป้าหมายใหญ่ขององค์กรคือการเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสถานการณ์ไม่ปกติ
AP ทำธุรกิจมาแล้วกว่า 29 ปี ซึ่งนับเป็นหนึ่งในบริษัทที่ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมานับครั้งไม่ถ้วน ตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งวิกฤตดอตคอม วิกฤตซับไพรม์ รวมถึงวิกฤต COVID ปีนี้ แม้จะต้องยอมรับว่าวิกฤตเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบไม่มากก็น้อยต่อทุกภาคธุรกิจ แต่การที่ AP THAILAND หนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อันดับต้นๆ ของประเทศสามารถปรับตัวและเตรียมตั้งรับกับวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จนส่งให้วันนี้เติบโตได้อย่างโดดเด่นนั้น ส่วนสำคัญ มาจากการนำแนวคิด Outward Mindset มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นจาก CEO และผู้บริหารระดับสูง ก่อนที่จะกระจายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานกว่า 2,000 คน ซึ่งคีย์เวิร์ดสำคัญคือการเปลี่ยน Mindset และเข้าใจ Behavior ของคน เมื่อเราไม่ได้มองจากแค่ตัวเอง แต่มองจากมุมมองของคนคนนั้นที่เราทำงานด้วยจริงๆ ค้นหาและทำความเข้าใจว่าจุดมุ่งหมายของเขาคืออะไร ปัญหาและอุปสรรคที่เค้ากำลังเผชิญคืออะไร และเมื่อเราเปลี่ยนมุมมองความคิด และเข้าใจกันและกันมากขึ้น ก็ทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมในที่สุด ควบคู่ไปกับการที่ AP ให้อิสระในการดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่สอนให้ทุกคนเป็น Independent Responsible Leaders โดยมีเป้าหมายองค์กร EMPOWER LIVING เป็นเหมือนเข็มทิศให้พนักงานทุกคนใช้เป็นหลักยึดในการดำเนินงาน Outward Mindset ไม่ได้ทำให้พนักงานทำงานดีขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ช่วยทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้น และสามารถช่วยให้การทรานฟอร์มองค์กรเกิดขึ้นได้ อย่างก้าวกระโดด
“ในภาพองค์กร หลายๆ ครั้งเราพยายามมุ่งไปหาผลลัพธ์ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว และเมื่อเราแก้ไขปัญหาผิดจุดอาจทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ช้า หรืออาจจะไปได้ไม่ถึง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบางครั้ง คนที่ลงมือขับเคลื่อน มุ่งหน้าทำอะไรบางอย่างเพื่อไปหาเป้าหมายนั้นไม่ได้มีใจอยากทำ เสมือนว่าเป็นการทำ เพราะต้องทำหรือโดนบังคับ SEAC เล็งเห็นว่าการเสริมทักษะ Essential Skills จะเป็นตัวเสริมความแข็งแกร่ง ขององค์กรในทุกๆ มิติ เพราะการขับเคลื่อนองค์กรไม่สามารถใช้เพียงแค่ทักษะเชิงเทคนิคได้ แต่ต้องเสริมด้วยเรื่องของมายด์เซตหรือสิ่งที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ หากมีมายด์เซทที่ถูกต้อง จะทำให้คนปรับมุมมอง เปลี่ยนวิธีการคิดทำให้เขาเข้าใจว่าบทบาทหน้าที่ของเขามีความสำคัญอย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อทั้งตนเองและ คนรอบข้าง และพร้อมมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายเพราะมีใจอยากทำ และ Outward Mindset คือหลักสูตรที่ได้รับ การพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยปลดล็อคปมความขัดแย้ง เร่งสร้างความสำเร็จ ฝ่าฟันวิกฤตและสร้างความเข้าใจ ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน” นางอริญญา กล่าวสรุป
SEAC เตรียมเปิดตัว The Most Important Move Campaign เพื่อเชิญคุณเข้าร่วมเป็นอีกหนึ่งคนที่จะมีโอกาส ได้ค้นหาและสัมผัสพลังของหลักสูตร Outward Mindset จากที่มีผู้เข้าร่วมเรียน และรับประสบการณ์แล้วหลายหมื่นชีวิตในเมืองไทย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เร็วๆ นี้ที่ https://www.facebook.com/seasiacenter
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด