ทำความรู้จักกับซิม IoT จาก SoftBank และ 1NCE จ่ายครั้งเดียว ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี | Techsauce

ทำความรู้จักกับซิม IoT จาก SoftBank และ 1NCE จ่ายครั้งเดียว ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี

การเชื่อมต่ออุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ให้ทำงานได้ต่อเนื่องและเสถียร เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจและการสื่อสารในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักในการติดตั้งอุปกรณ์ IoT คือการจัดการการเชื่อมต่อของอุปกรณ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ข้อมูลน้อย ซึ่งการใช้ระบบทั่วไปอาจมีต้นทุนสูงและซับซ้อนเกินความจำเป็น ธุรกิจจึงต้องการโซลูชันที่คุ้มค่า ใช้งานง่าย และช่วยลดค่าใช้จ่าย

1NCE  (ออกเสียงว่า 'Once') ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อและซอฟต์แวร์ IoT ได้ร่วมมือกับ SoftBank Corp. บริษัทโทรคมนาคมระดับโลกจากญี่ปุ่น พัฒนาซิมการ์ด IoT ที่รองรับการใช้งานในระดับสากล ด้วยจุดเด่นที่สามารถใช้งานได้นานถึง 10 ปี เพียงจ่ายค่าบริการครั้งเดียว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มเติม

รู้จักซิม IoT จาก 1NCE

ซิม IoT จาก 1NCE เป็นบริการที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์ IoT ที่ใช้ข้อมูลน้อย โดยมีค่าใช้จ่ายแบบจ่ายครั้งเดียวในราคาเริ่มต้นที่ 15 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 550 บาท) บวกค่าซิมการ์ด (1-2.5 ดอลลาร์สหรัฐ) คุณจะได้รับสิทธิ์ใช้งานข้อมูล 500 เมกะไบต์และส่ง SMS ได้ 250 ข้อความ ใช้งานได้ยาวนานถึง 10 ปี โดยไม่มีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าแพลตฟอร์ม ค่าเปิดใช้งาน หรือค่าใช้จ่ายขั้นต่ำรายเดือน ฯลฯ

ซิมการ์ดมีหลายขนาดให้เลือกเหมาะกับอุปกรณ์ IoT ทุกประเภท ได้แก่ 

  1. มินิซิม 
  2. ไมโครซิม 
  3. นาโนซิม 
  4. ชิปซิม

ซื้อซิม IoT จาก 1NCE เพียงครั้งเดียวได้อะไรบ้าง ?

  1. การเชื่อมต่อยาวนาน 10 ปี: ซิมการ์ดมาพร้อมกับการเชื่อมต่อที่ครอบคลุมระยะเวลา 10 ปี โดยไม่มีค่าบริการรายเดือนหรือค่าใช้จ่ายแอบแฝงอื่น ๆ จ่ายเพียงแค่ค่าบริการครั้งเดียวเท่านั้น
  2. ราคาเดียวครอบคลุมทั่วโลก: ซิมการ์ดสามารถใช้งานได้ใน 173 ประเทศและภูมิภาค ไม่มีค่าโรมมิ่ง ราคาเดียวกันไม่ว่าจะใช้ที่ไหน
  3. เครื่องมือซอฟต์แวร์และ API ฟรี: เข้าถึงเครื่องมือและ API ของ 1NCE ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ช่วยให้คุณเชื่อมต่อ ควบคุม และตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ได้อย่างง่ายดาย

พร้อมทั้งตัวเลือกเกรดมาตรฐานและเกรดอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับทุกการติดตั้ง IoT นอกจากนี้ บริการยังมาพร้อมซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการซิมทั้งหมดได้ผ่าน User Portal ช่วยลดค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการพัฒนาระบบ IoT

ทาง 1NCE ยังได้ร่วมมือกับ Deutsche Telekom บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ในยุโรป ซึ่งช่วยให้ 1NCE สามารถใช้โครงสร้างเครือข่ายของ Deutsche Telekom และเครือข่ายโรมมิ่งจากพันธมิตรทั่วโลกได้โดยตรง ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ครอบคลุมใน 173 ประเทศและภูมิภาค และสามารถบริหารจัดการอุปกรณ์ทั้งหมดได้จากซิมการ์ดเดียว โดยไม่ต้องใช้ซิมหลากหลายสำหรับแต่ละประเทศ

หากข้อมูลที่ได้รับมาแต่แรกหมด ก็สามารถเติมเพิ่มครั้งละ 500 เมกะไบต์ได้ตามต้องการ ผ่านเว็บไซต์ของ 1NCE โดยเลือกเติมเองหรือแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถเติมข้อมูลได้ผ่านระบบอื่น ๆ ด้วย API ซึ่งฟรี และทำได้บ่อยตามต้องการโดยไม่ต้องเปลี่ยนซิมใหม่

ปัจจุบัน 1NCE ให้บริการแก่บริษัทมากกว่า 23,000 แห่ง เชื่อมต่ออุปกรณ์กว่า 30 ล้านชิ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นมิเตอร์อัจฉริยะ หรือระบบติดตามยานพาหนะและทรัพย์สิน พร้อมเดินหน้าตอบโจทย์ตลาดไทยด้วยความเชี่ยวชาญที่พิสูจน์มาแล้ว

ในไทยหาซื้อ 1NCE ได้จากที่ไหนบ้าง?

สำหรับประเทศไทยสามารถหาซื้อซิม 1NCE ได้ง่าย ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของ 1NCE โดยเริ่มต้นที่ราคา 15 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 550 บาท)  บวกค่าซิมและค่าจัดส่ง ซิมที่ได้รับจะถูกเปิดใช้งานพร้อมใช้งาน คุณเพียงแค่ตั้งค่า APN ในอุปกรณ์ครั้งเดียวก็สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที

นอกจากนี้ยังมี SoftBank Corp. ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงในไทย โดยมีบริษัทในเครืออย่าง SB Telecom (Thailand) Co., Ltd. ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และคอยให้บริการและสนับสนุนลูกค้าอย่างใกล้ชิด

"เราคือบริษัทในเครือของ SoftBank Corp.ในประเทศไทย ที่รับผิดชอบด้านการจำหน่ายบริการของ 1NCE เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับ1NCE เพื่อขยายการเข้าถึงตลาดและให้การสนับสนุนที่เข้าถึงได้ง่ายในท้องถิ่น" คุณภาคย์ คงนันทะ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท SB Telecom (Thailand) Co., Ltd. กล่าว

คุณสามารถสั่งซื้อซิมการ์ด 1NCE ออนไลน์ได้ผ่านทาง เว็บไซต์ของ 1NCE โดยราคาเริ่มต้นที่ 15 ดอลลาร์สหรัฐ บวกกับค่าซิมและค่าจัดส่ง

"ลูกค้าสามารถสั่งซื้อซิมการ์ดออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย โดยซิมที่ส่งถึงมือคุณจะถูกเปิดใช้งานพร้อมแล้ว นอกจากนี้แค่ตั้งค่า APN ในอุปกรณ์เพียงครั้งเดียว คุณก็สามารถเริ่มต้นการใช้งานได้ทันที" คุณภาคย์ อธิบายถึงวิธีการซื้อและตั้งค่าซิมการ์ด 1NCE นั้นง่ายดายเพียงใด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...