โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยเปิดตัว Accelerator Lab เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาพัฒนาที่ยั่งยืนที่ใหญ่และเร็วที่สุดในโลกผ่านทางรูปแบบออนไลน์ โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและรัฐกาตาร์ Accelerator Lab ในประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 91 แล็บ ใน 115 ประเทศทั่วโลกในการรวบรวมนวัตกรรมระดับรากหญ้า การใช้ข้อมูลชนิดเรียลไทม์แบบใหม่ รวมถึงการทดลองเพื่อเร่งยกระดับการขับเคลื่อนเพื่อจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 สร้างความท้าทายต่อวาระของการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปีพ.ศ. 2573 อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน “ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรง และความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันและกำลังเปลี่ยนแปลงชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมาก Accelerator Lab จะเป็นส่วนสำคัญของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในการตอบรับกับปัญหาเร่งด่วนนี้” คานนี วิกนราชา ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ช่วยผู้บริหาร และผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาติ กล่าว
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวปราศรัยโดยเน้นย้า ถึงความสำคัญของนวตักรรมในการขับ เคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน “เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของผู้กำหนดนโยบาย นักวิทยาศาสตร์ และผู้สร้างนวัตกรรมทางสังคม จะเป็นกุญแจสำคัญในการเอาชนะความซับซ้อนของความท้าทายในปัจจุบัน และจะทำให้เกิดความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป” ดร.กิติพงศ์กล่าว
“การรับมือกับความท้าทายด้านการพัฒนาที่ซับซ้อนในปัจจุบันไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง สิ่งที่เราตอ้งการไม่ใช่แค่พันธมิตรใหม่ ๆ เท่านั้นแต่เรายังต้องการแนวทางการแก้ปัญหารูปแบบใหม่อีกด้วย เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Accelerator Lab ที่ตั้งอยู่ในสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในประเทศไทยนั้น จะสามารถเป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์การพัฒนาสำหรับคนไทยทุก ๆ คน ทีมงาน Accelerator Lab ของเรานั้น เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่พร้อมจะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการร่วมออกแบบและทดสอบทั้งนโยบายสาธารณะและวิธีแก้ปัญหารูปแบบใหม่ ๆ เพื่อจัดการกับความทา้ทายที่เร่งด่วนที่สุดของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น การฟื้นตัวจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19, มลพิษทางอากาศ, ความครอบคลุมทางสังคม และการจัดการขยะและของเสีย เป็นต้น” เรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าว
Accelerator Lab จะทำงานร่วมกับ ห้องปฏิบัติการนโยบาย (Thailand Policy Lab) ที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ด้วยการนำการทดลองและหลักฐานมาสนับสนุนการกำหนดนโยบาย หาเเนวทางแก้ปัญหาใหม่ ๆ ผ่านการทำแบบจำลองที่ใช้ข้อมูลเชิงลึกด้านพฤติกรรม วิทยาศาสตร์ ข้อมูล วิธีการทางชาติพันธุ์วิทยา และการใช้แนวคิดเชิงนวัตกรรม
“ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกระบวนการทำนโยบายที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองมากกว่าเดิมเพื่อที่จะมุ่งสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในปัจจุบันความร่วมมือระหว่าง Thailand Policy Lab และ Accelerator Lab คือหนึ่งกลไกสำคัญของพวกเรา ความร่วมมือนี้จะช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามหลักการที่ตั้งไว้ และยังช่วยให้ความสำเร็จเกิดขึ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น” สุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงานสำนักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าว
“Accelerator Lab จะเป็นพื้นที่ให้นวตักรได้นำความคิดของพวกเขามาทดสอบ พิสูจน์ หรือลองผิดลองถูก ที่นี่จะเป็นพื้นที่สำหรับความคิดสร้างสรรค์ ผมรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนโครงการ Accelerator Lab โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เช่นเดียวกับพันธมิตรรายอื่น ในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือระดับโลก การที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับเครือข่ายระดับโลกเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์นี้จะเป็นอีกหนึ่งมิติของความร่วมมืออันยาวนานของเยอรมนีกับประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย กล่าว
“เป้าหมายหลักของกองทุนกาตาร์เพื่อการพัฒนา (The Qatar Fund For Development) คือการพัฒนาที่ยั่งยืนและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การได้เป็นพันธมิตรกับ UNDP ถือว่าเป็นก้าวสำคัญ ที่จะบรรลุเป้าหมายนี้เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรรายอื่น ๆ ที่มีความสำคัญในการลดช่องว่างด้านการพัฒนามนุษย์ เราเชื่อว่า Accelerator Lab จะพลิกโฉมแนวทางการตอบรับกับปัญหาด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยวิธีใหม่ ๆ ที่ได้มาจากการทดสอบที่ถูกสนับสนุนด้วยหลักฐานและการลงมือปฏิบัติการทดสอบและทางออกที่ค้นพบจะถูกนำไปแบ่งปันและแลกเปลี่ยนให้กับหน่วยงานและพันธมิตรของ Accelerator Lab ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำงานร่วมกันในอนาคต” อะห์มัด อะลี เอ.เจ. อัตตะมีมี เอกอัครราชทูตรัฐกาตาร์ประจำประเทศไทย กล่าว
นอกจากนี้ภายในงานเปิดตัวยังมีวงเสวนาในหัวข้อ “การใช้นวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นสังคมที่มีความยั่งยืน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ชัยธร ลิมาภรณ์วนิชย์ ผู้จัดการกลยุทธ์นวัตกรรม ฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, กฤษณ์ ฉมาภิสิษฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารกรุงไทย, นาวี นาควัชระ กรรมการผู้จัดการ บริษัทนวัตกรรมชาวบ้าน และ ดร. อรอร ภู่เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาร่วมเสวนาในงาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอภิญญา สิระนาท Head of Exploration, UNDP Accelerator Labs อีเมล [email protected]
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด