7 Tips ช่วยให้พูดคุยเรื่องที่เห็นต่างอย่างราบรื่นและเข้าใจกัน | Techsauce

7 Tips ช่วยให้พูดคุยเรื่องที่เห็นต่างอย่างราบรื่นและเข้าใจกัน

‘เห็นต่าง’ เป็นเรื่องปกติของสังคม ยิ่งคนในสังคมมีความหลากหลายมากเท่าไหร่ ความคิดเห็นก็มีมากขึ้นเท่านั้น และล้วนแตกต่างกันไปตามพื้นเพ การเลี้ยงดู การศึกษา ขนบธรรมเนียม หรือช่วงอายุ ซึ่งการพูดคุยกับคนที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ย่อมทำให้รู้สึกไม่สบายใจและอาจนำมาสู่การทะเลาะ

จะยิ่งเป็นเรื่องยากขึ้น หากเราเป็นคนส่วนน้อยหรือเป็นผู้น้อยที่คิดเห็นแตกต่างออกไป เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาทั้งในที่ทำงาน โรงเรียน หรือแม้แต่ภายในครอบครัว คนบางส่วนเลือกที่จะไม่พูดเพื่อหลีกเลี่ยงการมีปากเสียง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องพูด จะต้องพูดคุยอย่างไรให้เข้าใจและหลีกเลี่ยงการทะเลาะ

บทความนี้ของ Techsauce จะพาไปรู้จักกับ 7 Tips ที่ช่วยให้คุณพูดคุยในเรื่องที่เห็นต่างได้อย่างราบรื่น และเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย

1. เริ่มต้นบทสนทนาด้วยความเป็นกลาง

เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เมื่อต้องพูดคุยกันในประเด็นที่ต่างฝ่ายต่างมีความเห็นที่แตกต่างกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสงบสติอารมณ์ หลีกเลี่ยงการพูดข่ม และเริ่มต้นบทสนทนาด้วยความเป็นกลางและเปิดใจ การทำแบบนี้จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นแก่ทั้ง 2 ฝ่าย

อาจจะเริ่มจากการคำถามง่าย ๆ ที่ทำให้คุณเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายโดยที่ไม่ทำให้พวกเขาไม่พอใจ เช่น ช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อยได้ไหม ทำไมถึงคิดแบบนั้น การแสดงออกว่าเคารพในความเห็นของอีกฝ่าย ทำให้พวกเขากล้าที่จะแบ่งปันความคิดเห็นกับคุณ ซึ่งช่วยให้คุณเข้าใจถึงมุมมองของกันและกันได้มากขึ้น

2. แสดงออกให้เห็นถึงความเข้าใจ

เมื่อเริ่มพูดคุยถึงประเด็นที่เห็นต่างกัน การแสดงออกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าเราก็เข้าใจในมุมมองของเขา แทนที่จะตัดสินทันทีว่าพวกเขาผิดและเราไม่เห็นด้วย หลังจากนั้นจึงเริ่มอธิบายในมุมมองของคุณ ว่าทำไมคุณถึงไม่เห็นด้วยกับความคิดเหล่านั้น จะช่วยหลีกเลี่ยงการทะเลาะและมีปากเสียงของทั้ง 2 ฝ่ายได้

ข้อดีของการทำความเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายและแสดงออกให้พวกเขาเห็น ทำให้ทั้งคุณและเขาโฟกัสไปที่ประเด็นปัญหาและการแก้ไข มากกว่าการพูดถกเถียงเพื่อเอาชนะกัน 

3. มองหาจุดร่วมที่เห็นตรงกัน

เป้าหมายของการพูดคุย คือ เพื่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมถึงเรียนรู้จากกันและกัน ไม่ใช่เพื่อทะเลาะถกเถียงและพิสูจน์ว่าใครถูกหรือใครผิด ดังนั้นแทนที่จะมองไปในจุดที่คุณไม่เห็นด้วย ลองเปลี่ยนมาหาจุดที่คุณเห็นไปในทำนองเดียวกันแทน

เมื่อรับฟังและทำความเข้าใจในความเห็นของอีกฝ่ายและได้อธิบายถึงความเห็นของตัวเองแล้ว การที่ทั้ง 2 ฝ่ายเปลี่ยนมามองหาสิ่งที่เห็นพ้องต้องกันในประเด็นที่ขัดแย้ง อาจช่วยให้คุณทั้งคู่พบกับทางออกที่เหมาะและพอใจกับทุกฝ่าย

4. รับฟังให้มาก โต้เถียงให้น้อย

“เมื่อมีคนพูด จะต้องมีคนฟัง” มันคงไม่เรียกว่าการพูดคุยถ้าหากมีเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้พูดและแสดงความคิดเห็นอยู่ข้างเดียว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ทั้ง 2 ฝ่ายควรมีโอกาสได้พูดและแบ่งปันมุมมองของกันและกัน เหมือนผลัดกันพูดผลัดกันฟัง ยิ่งรับฟังได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายมากขึ้นเท่านั้น 

เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้เริ่มต้นพูด หลังจากนั้นค่อยแสดงความเห็นของคุณ และหยุดเพื่อให้อีกฝ่ายได้แสดงความเห็นบ้าง การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้คุณได้ฟังความเห็นของอีกฝ่ายแล้ว ยังทำให้มีเวลาคิดใช้เหตุผลหากมีสิ่งที่ต้องการโต้แย้ง 

5. ไม่ใช้คำว่า ‘แต่’ เพื่อโต้แย้ง

การใช้คำว่า ‘แต่’ เพื่อโต้แย้ง มักให้อารมณ์ความรู้สึกไปในทางลบ เหมือนเป็นการปิดกั้นแทนที่จะเปิดกว้างและรับฟัง ซึ่งอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกเสียอารมณ์ไปด้วย ดังนั้นการเลือกใช้คำพูดก็เป็นเรื่องที่จำเป็น คุณอาจจะเปลี่ยนมาใช้คำว่า 'นอกจากนี้แล้ว' หรือเปลี่ยนมาเป็นการถามกลับไปแทน เช่น ทำไมถึงคิดแบบนั้น, อะไรที่ทำให้คิดแบบนั้น เป็นต้น

6. เล่าให้เห็นภาพ ยกตัวอย่างให้ชัดเจน

เมื่อกำลังพูดคุยถึงเรื่องที่มีความคิดเห็นต่างกัน การอธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจถึงแนวคิดและมุมมองของเราด้วยการยกตัวอย่างสถานการณ์ขึ้นมาเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะช่วยให้ทุกคนเข้าใจภาพรวมของปัญหาและเหตุผลของคุณมากขึ้น เช่น ปัญหาในที่ทำงานอย่างการที่แผนกของคุณมีคนไม่พอ แต่ก็ไม่มีการจัดสรรคนมาช่วยงานสักที

แทนที่คุณจะพูดว่า “แผนกของเราไม่เคยได้รับสิ่งที่ต้องการเลย” คุณอาจจะเปลี่ยนเป็นยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ผ่านมาว่าทำไมคุณต้องการคนมาช่วย เช่น “เมื่อเดือนที่แล้วเราขายงานให้ลูกค้าได้มากขึ้น การมีคนเข้ามาช่วยประสานงานจะทำให้งานเดินเร็วขึ้น” การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้อีกฝ่ายเข้าใจมุมมองของคุณแล้ว ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดูมีวุฒิภาวะให้คุณอีกด้วย

7. หลีกเลี่ยงการปลุกปั่นให้เกิดการทะเลาะวิวาท

อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของการพูดคุยในประเด็นที่เห็นต่าง คือการทำความเข้าใจทุกฝ่ายและหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นการพยายามยั่วยุหรือสร้างความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งคำพูดและพฤติกรรมที่รุนแรง ถึงแม้จะทำให้ผู้คนเริ่มสนใจถึงประเด็นของคุณ แต่อาจนำไปสู่ความเข้าใจประเด็นนั้นได้ยากนั่นเอง ทางที่ดีคือการสื่อสารด้วยเหตุผลและพยายามทำความเข้าใจในมุมมองอื่น ๆ ร่วมด้วย

อ้างอิง: nbcnews

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ข้อแตกต่างที่ทำให้ Jensen Huang เป็นผู้นำใน 0.4% ด้วยพลัง Cognitive Hunger

บทความนี้จะพาทุกคนไปถอดรหัสความสำเร็จของ Jensen Huang ด้วยแนวคิด Cognitive Hunger ความตื่นกระหายการเรียนรู้ เคล็ดลับสำคัญที่สร้างความแตกต่างและนำพา NVIDIA ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ...

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...