ย้อนรอย App War แอปชนแอป หนังไทยเรื่องแรกที่กล้าเล่าเรื่อง Startup | Techsauce

บทวิเคราะห์ 'App War แอปชนแอป' หนังไทยเรื่องแรกที่กล้าเล่าเรื่อง Startup

เข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันนี้แล้วแล้วสำหรับภาพยนตร์เรื่อง App War แอปชนแอป หนังที่มีเนื้อหาพูดถึงการแข่งขันของ Startup 2 บริษัท ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่กล้าหยิบประเด็นของ Startup ไทยมาเล่า

ทำไมถึงบอกว่ากล้า? ในวงการธุรกิจและเทคโนโลยี เรารู้ว่า Startup ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มันก็ยังไม่ใช่เรื่องแมสสำหรับคนทั่วไป ยังมักมีคำถามว่า Startup คืออะไรให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง และอย่างที่ทราบกันว่าบริษัท T Moment ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการแยกตัวของ GTH ได้ทำหนังออกมาหนึ่งเรื่องคือโอเวอร์ไซส์ ทลายพุง และทำรายได้ไม่ดีนัก โดย App War แอปชนแอป เป็นหนังเรื่องที่ 2 ของค่าย การจะหยิบประเด็นที่มาเล่า จึงเป็นความกล้าหาญอย่างยิ่งในวงการภาพยนตร์

บทความนี้ ผู้เขียนไม่ได้เขียนวิเคราะห์วิจารณ์หนังในเชิงภาพยนตร์  แต่จะเล่าถึงโลก Startup ใน App War ว่าหนังเรื่องนี้เผยให้ผู้ชมเห็นวงการ Startup ได้อย่างไร

App อะไรที่ฟาดฟันกันใน App War ?

สำหรับคนที่ไม่ได้ดูตัวอย่างหนังมาก่อน เรื่องราวฉบับย่อของหนังคือ บอมและจูน ผู้เป็นเจ้าของไอเดียทำแอปที่คล้ายกันและออกมาระยะเวลาใกล้กัน ต้องฟาดฟันกันเพื่อชิงเงินทุนมูลค่าร้อยล้าน (อ้างอิงจำนวนเงินจากที่หนังมีการ PR ไว้) จากแทนไทผู้เป็นนักลงทุน การแข่งขันจึงเริ่มขึ้นพร้อมกับวิธีไม่สะอาดของทั้งสองทีม โดยมีเรื่องราวความสัมพันธ์มาเกี่ยวข้องตามแบบฉบับหนัง Romantic Comedy

แอปลักษณะคล้าย App War

แอปลักษณะคล้ายๆกันนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วอยู่จริงโดยคนไทย หากใครจำกันได้ Techsauce เคยนำเสนอเรื่องราวของแอป dipify - startup แอพหาคู่เจ้าแรกๆ ที่จับคู่คนจากความชอบและสิ่งที่ทำในโลกออนไลน์ โดยในปัจจุบันแอปนี้ได้ปิดตัวลงแล้ว ดูแล้วอาจจบไม่สวยเท่าไหร่ มาดูต่อว่า ยังมีแอปหาคู่โดยคนไทยอยู่ในตลาดหรือไม่?

ตอนนี้มีแอปหาคู่อะไรอยู่ในตลาดบ้าง?

  • Noonswoon - แอพหาคู่โดยใช้ concept การ match ทุกเที่ยงวัน โดยปัจจุบันได้รวมกิจการ 100% กับ DateTix Group บริษัทหาคู่ในตลาดหุ้นออสเตรเลียไปแล้ว
  • MOREMATE – แอพหาคู่กึ่ง Social Network
  • Available - แอพหาคู่ทำโดย meetnlunch บริษัทจัดหาคู่
  • Kooup - แอพหาคู่จากดวงสมพงษ์ สเปคในฝัน หรือตำแหน่งใกล้เคียง ออกแบบมาสำหรับคนเอเชีย

นอกจากนั้นมีแอปหาคู่อันดับต้นๆอย่าง Tinder ที่ได้ถูกกล่าวถึงในหนังด้วย ซึ่งแอปตัวนี้เป็นที่นิยมมากในไทยและในหลายประเทศ

หนังพูดถึง Startup อย่างไร?

หากไม่ใช่คนในวงการธุรกิจและเทคโนโลยี อาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคนที่จะเข้าใจว่า Startup คืออะไร กำลังทำอะไร และหาเงินอย่างไร? แต่หนังสามารถอธิบายด้วยบทที่เข้าใจได้ง่าย และทำให้ Startup น่าสนใจและดู Cool! อย่างมาก ทั้งนี้ขอชื่นชมคนเขียนบทสำหรับหลายประโยคที่สร้างแรงบรรดาลใจ นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์หลายคำที่ถูกนำมาใช้ในหนังเช่น ยูนิคอร์น , Serie A , Exit เป็นต้น

อะไรที่เป็น Bug ในหนัง?

ฉากสำคัญฉากหนึ่งในหนังคือการ Pitching และอาจเป็นฉากตัดสินที่หลายคนเฝ้ารอตั้งแต่ได้ชมตัวอย่าง แต่เวที Pitching ในหนังนั้น Pitch ด้วยภาษาไทย ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในวงการ Startup ว่า ทุกเวทีต่าง Pitching ด้วยภาษาอังกฤษ (แต่เนื่องจากเป็นหนังไทย จึงอาจต้องอนุโลมให้สำหรับเวทีนี้) โดยสิ่งสำคัญที่น่าสงสัยคือ คำว่า Pitching ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการ Startup กลับหายไปจากฉากสำคัญในหนังอย่างน่าเสียดาย หากใครที่ชมตั้งแต่ตัวอย่างภาพยนตร์ จะได้ยินอย่างชัดเจนว่า หนังเลือกใช้คำว่า Present แทน

อีกเรื่องคือตัวเลขการระดมทุนจำนวนร้อยล้าน หรือระดับ Serie A ที่หนังได้กล่าวถึง โดยความเห็นจากคุณดรล ตันเจริญ CTO & Co-founder แอป Kooup มองว่า "การระดมทุนด้วยจำนวนเงินเท่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่แอปต้องมีผู้ใช้งานเยอะพอสมควรถึงเหมาะกับตัวเลขนี้" ทั้งนี้ในหนังไม่ระบุชัดเจนว่า นักลงทุนลงทุนในแอปไปจำนวนเท่าไหร่

นอกจากนี้ทั้ง Inviter และ Amjoin เราไม่เห็น Business Model ของหนัง หนังไม่ได้เผยให้เห็นโมเดลที่จะทำเงินได้อย่างชัดเจน ซึ่งมักเป็นคำถามสำคัญจาก Judge และ Investor ที่จะถามว่าคุณจะทำเงินได้อย่างไร?

สิ่งสำคัญสุดท้ายที่หนังไม่ได้พูดถึง หนึ่งคำที่มากับ Startup คือคำว่า Disruption แต่คำนี้ไม่ได้กล่าวถึงในหนังว่า Startup อย่าง Uber , Airbnb , Grab ได้เข้ามา Disrupt อะไรกับโลกในยุคนี้

สรุป

App War อาจไม่ใช่หนังที่สมบูรณ์แบบซะทีเดียว แต่หนังกล้าที่จะเล่าเรื่องที่ไม่เคยมีใครพูด มีบทพูดในหนังที่กล่าวว่า "ผู้ใหญ่คงไม่เข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรกันอยู่" นี่แหละคือโลกของ Startup ที่หนังสะท้อนว่า มีคนยุคใหม่ที่ไม่ต้องการเป็นไม่อยากเป็นพนักงานออฟฟิศหรือทำงานประจำ โอแต่กลับต้องการแก้ไขปัญหาบางอย่าง เปลี่ยนโลกนี้ให้ดีขึ้น และส่วนหนึ่งที่หนังบอกกับคนดูผ่านตัวละครคือ คนคิดทำ Startup ไม่จำเป็นต้องเขียน Code ได้ แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องมีทีม หาคนที่เขียน Code ได้ ออกแบบได้ ทำ Marketing ได้ อีกทั้ง Founder ของแอปก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชายเสมอไป สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่กล้าเสี่ยงกับ Startup

หนึ่งในตัวละครสำคัญที่สร้างสีสันอย่าง ‘อร BNK48’ ได้เผยในบทสัมภาษณ์ของ SF ไว้ว่า

“เราไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยจนมาเล่น หนูคิดว่าสตาร์ทอัพเป็นการอุปโลกน์ขึ้นมาด้วยซ้ำ ก็งงว่ามันมีจริงด้วยเหรอ หนูคิดว่าเด็กบางคนก็ไม่รู้จักเหมือนหนูแหละ แต่พอหนังเรื่องนี้ออกมันจะทำให้เขารู้จักสตาร์ทอัพมากขึ้น”

นี่เป็นหนึ่งตัวอย่างง่ายๆในการบอกว่า Startup ถูกจับมาในโลกแมสแล้ว พิสูจน์ด้วยตัวคุณเองในโรงภาพยนตร์

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...