ถ้าไม่อยากให้ธุรกิจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง มาคาดการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับโลกอนาคตไปด้วยกัน Techsauce ได้เชิญคุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธาน KBTG, 500 TukTuks, Disrupt Technology Venture, dtac Accelerate founder มาพูดคุยกันเป็นครั้งแรกบน Clubhouse ในหัวข้อ คิดแบบ CXO โตแบบ Exponential โดยเนื้อหาจากการพูดคุยกันมีดังนี้
ตอนนี้เราอยู่ในช่วงเกือบจะ Post-Covid แล้ว ถือว่าเป็นช่วงฟื้นไข้ โดยข้อมูลจาก The Economist ระบุว่าช่วง 2020-2030 คือ Roaring Twenties หมายถึงว่าจะเป็นช่วงยุคสมัยใหม่ของ innovation เป็นรุ่งอรุณของนวัตกรรม
2016 : กำลังเข้าสู่ยุคของการ Disruption
2018-2019 : Disruption Domino พอธุรกิจหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดตามๆ กันไปเรื่อยๆ
2021-2030 : เกิดเป็น Continuous Disruption คือการ Disruption อย่างต่อเนื่อง และต่อมาเรียกว่า Complete Overhaul of World Economy คือการยกเครื่องใหม่ในทุกๆ sector ของ world economy โดยช่วง 2024-2025 จะเป็นช่วงจุดหักศอกแรกของการเปลี่ยนแปลง และ 2028-2030 จะเป็นช่วงจุดหักศอกรอบสองและถ้าหากตัวเราหรือองค์กรยังไม่เปลี่ยน ตอนนั้นหลายๆคนอาจจะเปลี่ยนอะไรไม่ทันแล้ว
ดังนั้นในช่วงหลัง covid นี้ธุรกิจ e-commerce และ retail เป็น 3rd wave แล้ว ถัดมาคือ Payment ต่อมาคือ Logistic ต่อมาคือ Fintech ที่เกิด wave แรกมาแล้วในรูปแบบของ application ก็คือฉีกธนาคารออกไปเป็นชิ้น ๆ ด้วย application ต่อมาคือ Blockchain ใน wave ที่ 3 ซึ่งเรียกว่า Decentralize Finance ต่อมาคือ Insurance และต่อมาคือ Health จะเห็นได้ว่ามันเป็น domino ถัดๆ กันไป และจะเริ่มเกิดขึ้นพร้อมๆกัน และทำให้เกิดความท้าทายขึ้นมากมาย
นอกจากนี้แล้วหลังจาก Covid ทุกคนจะป่วยไข้หมดเลยและจะค่อยๆฟื้นขึ้นมาแบบช้าๆ แต่คนที่ได้ประโยชน์สุดคือ จีน และ อเมริกา (Silicon Valley)
1. การรับมือกับ Covid และการกระจายวัคซีนออกไปให้ประชาชน
2. Reverse Trump Damage แก้ไขในสิ่งที่ Trump ได้ทำให้เกิดความเสียหายเอาไว้
3. Re-establish American community ที่แตกแยกมากๆ ในยุคของทรัมป์ เห็นต่างได้แต่ต้องไม่แตกแยกเช่นนี้ (เพราะประเทศมีความแตกต่างสูงมาก คนขาว คนดำ คนเอเชีย คนในเมืองและนอกเมืองอีกที่แบ่งแยกอย่างชัดเจน)
4. Post-Covid Economic ระบบเศรษฐกิจที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปมหาศาล
5. Climate Change
6. Trade การค้า
7. Health care
8. Debt and fiscal deficit คือ หนี้ที่รัฐมีมากกว่าเงินภาษีที่เก็บได้
9. Immigrant ผู้อพยพ
10. Tech and anti-trust คือการผูกขาดทางเศรษฐกิจของพวกบริษัท Tech ใหญ่ๆ เช่น Google, Facebook, Amazon, etc.
11. ความสัมพันธ์กับประเทศอื่น
ถ้าดู World GDP แบ่งเป็น % ของ Purchasing Power Parity (PPP) ตอนนี้จีนชนะอเมริกาไปแล้ว ซึ่งจีนจะขึ้นมาเป็นผู้นำโลกแน่นอน และหลายประเทศใน SEA จะมีความโดดเด่นขึ้นมา
1. Aging society
2. ความสัมพันธ์กับอเมริกา
3. Income inequality ความไม่เท่าเทียมทางรายได้
4. Environment Pollution การทำลายสิ่งแวดล้อม
5. ทรัพยากรทางธรรมชาติ
6. หนี้ 300% มากกว่า GDP (จริงๆ แล้ว หนี้เป็นปัญหาทั่วโลกเพราะตอนนี้ทั่วโลกมีหนี้อยู่ 281 Trillion USD เท่ากับเป็น 3 เท่า (3X) ของ global gap ก็คือโลกต้องกลับมานั่งใช้หนี้ ซึ่งจีนก็มีปัญหาเรื่องหนี้)
7. Deregulation โดยเฉพาะ financial sector และการค้าขายที่ย่อหย่อนเรื่องกฎหมายที่ทำให้เกิด บริษัทอย่าง peer-to-peer lending และก่อให้เกิดบริษัทใหญ่ Ant Financial เลยต้องไปแก้โดยการ re-regulation กับบริษัทพวกนี้ เหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Jack Ma คือการที่บริษัทเหล่านี้มีอำนาจมากขึ้น ต้องทำการควบคุมให้เล็กลงและอยู่ในอำนาจ
8. ปัญหาบริเวณ “ทะเลจีนใต้” เป็นบริเวณที่น่ากลัวที่สุดในโลก เพราะจีนกับอเมริกาแผ่อิทธพลไปใกล้ๆ กันอาจเกิดการปะทะกัน
Africa: unemployment อัตาราการว่างงาน 29%
Middle East: เปลี่ยนจากการพึ่งพา oil economy ไปทำอย่างอื่น เช่น Saudi Vision 2030
นับได้ว่าทั่วโลกเกิดความท้าทายทั้งหมด แต่อยู่ที่ว่าใครหรือประเทศไหนจะฟื้นขึ้นมาทันต่อสู้กับการหักศอกแรก ซึ่งเป็นความท้าทายแรกในปี 2024-2025 ได้ก่อน
ตอนนี้การมาของ Starlink โครงการอินเตอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูงของ Elon Musk ที่จะเข้ามา disrupt วงการแน่นอน
นอกจากนี้สิ่งที่จะได้เห็นอีก คือ At Home Economy เศรฐกิจที่เกิดจากคนอยู่บ้าน เช่น Peloton ที่ฮิตมากในอเมริกาช่วง Covid ที่เป็นเครื่องออกกำลังกายแบบที่สามารถ stream live คลาสเรียนออกกำลังกายได้ และยังมีเรื่องของ Decarbonisation โดยย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว Bill Gate ได้พูดไว้เกี่ยวกับโรคระบาด ไวรัส แต่ตอนนี้เขาได้พูดถึงเรื่องของ Climate Change ซึ่งจะกลายเป็นสึนามิลูกที่ใหญ่กว่า COVID-19 อย่างมหาศาล
ดังนั้นในประเด็นของ Zero carbon ผู้คนเริ่มกลับมาตื่นตัวหลัง Biden เข้ารับตำแหน่งและดูท่าทีว่าจีนก็จะกลับมาด้วย เดี๋ยวจะมี regulation เกี่ยวกับสิ่งเวดล้อมมากขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อเศษฐกิจแน่นอน ต่อไปจะทำให้เกิดการเปลี่ยนของ energy mix ที่จากตอนนี้ใช้ นำ้มัน ถ่านหิน แต่เพื่อที่จะไม่ให้อุณภูหมิเพิ่งสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเมื่อเทียบกับยุค pre-industrial เราจะต้องเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่เป็น electrification ใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมี Young Old (YOLD) economy หมายความว่า Young Old and Rich คือ แก่แต่ใจเด็กแถมมีเงิน ไม่ยอมแก่ไม่ยอมเกษียณ
ต้องบอกว่า ในปี 2024 ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมาก ๆ อันจะเห็นได้จากการมาของเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเต็มตัว
Self Driving Car : Apple จะออกรถที่ขับเคลื่อนได้เองโดยเป็นรถไฟฟ้า ตอนนั้นจะน่าตื่นเต้นมาก เพราะจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เช่น in-car economy, การเรียนรู้บนรถ education tech และไม่เกิน 2035 Self Driving Car จะกลายเป็น mainstream เลย
Vertual Reality: เริ่มจากใน 2022 จะมี VR ที่น่าสนใจออกมาแต่จะยังเป็นแค่เริ่มต้น เพราะถ้าหากอยากให้อุปกรณ์พวกนี้มันดีเหมือนโลกเสมือนที่ให้ประสบการณ์เหมือนโลกจริง และมีราคาถูกเหมือนซื้อมือถือซักเครื่อง อาจจะต้องรอถึง 2028-2030 แต่ก่อนหน้านั้นใน 2023-2024 ก็จะเป็นในอีก platfom หนึ้ง ซึ่งนี่ถือเป็นข้อดีของ Disruption เพราะทำการ Disrupt อุตสาหกรรมเก่า และสร้าง platfom ใหม่ขึ้นมา และทำให้เราสามารถสร้าง killing application ไปอยู่บนนั้นได้ เช่น FB, IG ที่สร้างขึ้นมาบน mobile internet เหมือนกับ Clubhouse ที่เราพูดคุยกับ สิ่งนี้สร้างยอดขายให้กับ Iphone อย่างแน่นอน พอบริษัทใหญ่ๆสร้าง platfom ขึ้นมา Disrupt คนอื่น ก็จะทำให้เกิด economy ขึ้นมา อย่าง VR (Vertual Reality) หรือ MR (Mixed reality) อุตสาหกรรมนี้มหาศาลแน่นอน เป็นอุตสาหกรรมที่เรียกว่าเป็น Trillion dollar economy
นอกจากนี้ สิ่งที่เราจะได้เห็นอีก คือ คนที่รวยที่สุดในระดับ Trillionaire เป็น The first Trillionaire อาจจะเกิดขึ้นในช่วง 2021-2030 ซึ่งจะเกิดจาก Food Agri Bio โดยมีการคาดการณ์ว่า Food Agri Bio tech จะมีมูลค่า 4 เท่า (4x) ของมูลค่าอินเตอร์เน็ต หรือ 250B USD ใน 2023 และ Alternative Protein ที่ทำจากแมลงหรือทำจากพืช (มีมูลค่าตลาดถึง 1.7 Trillion USD)
เหตุที่เป็นเช่นนี้อันเนื่องมาจาก หากย้อนกลับไปมอง Animal Farming ใช้น้ำ 30% ของทั้งโลก ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15% ของทั้งโลก แต่สำหรับ Alternative Protein หรือ Plant Base Protein ใช้น้ำลดลง 74% ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง 87% ใช้แรงน้อยลง ใช้พื้นที่น้อยลง 95% อีกทั้งยังมีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ Sustainable Supply Chain ของอาหาร คือจะเกิด disruption ตั้งแต่ Farm to Fork แล้วจะเกิด Value-chain ใหม่เป็น emerging economy
ยกตัวอย่างธุรกิจ Bio อย่าง CEO ของ Modena ที่ผลิตวัคซีน Covid ทำ Digitize แยกส่วนที่เป็น Data ออกมาจากส่วนที่เป็น Bio แล้วก็ทำแพลตฟอร์มของ Bio ขึ้นมาใหม่ คือ messenger RNA แล้วเอามาทำ Data Analytic คือ Deep learning digital 2.0 เพื่อต่อไปในอนาคตการเขียนวัคซีนแต่ละตัวจะกลายเป็นเหมือนการทำ application
ทุกๆ 4 ปีจะมี wave ของการเปลี่ยนแปลง อย่างช่วง 2024 เป็นช่วงหักศอกแรก และช่วง 2028 จะเป็นหักศอกที่สอง
ในปี 2030-2040 คนกลุ่มอายุ 60+ จะมี consumption growth ที่โตเร็วกว่าเด็กๆ 4 เท่า (x4) เพราะเป็นคนตัดสินใจซื้อของในครอบครัว คิดเป็น 55% ของ consumption growth
อย่างในประเทศไทยปีนี้ 2021 ได้ก้าวเข้าสู่ยุค Completely Aged เรียบร้อยแล้ว คือ 20% ของประชากรทั้งหมดมีอายุมากกว่า 60 ปี และในปี 2031 ประเทศไทยจะกลายเป็น Super Aged คือมีคนอายุเกิน 60 ปี มากกว่า 28% ของประชากรทั้งหมด เป็นคนแก่ที่ aged successfully แต่สมองทำงานได้ สุขภาพแข็งแรง productive มีเงิน และยังอยากทำงาน มันจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นมหาศาล โดยมี assisted living ใน Health Wealth และ Wellness เช่น Tele health, Tele care, Tele medicine, Tele coaching, Mobile health, Robotic technology, Wealth planing และ 59% ของคนแก่เหล่านี้ยินดีจะยอมจ่าย premium สำหรับสินค้าหรือบริการที่ออกแบบมาให้ friendly กับคนแก่
ตอนนี้ไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูก AI มา distrupt เพราะมันมาแน่นอนแต่มันก็ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ เกิดอุตสาหกรรมขึ้นมามหาศาลด้วยเช่น new demographic อันนี้ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นมหาศาล
ใน 10 ปีต่อไป Young Old (YOLD) economy เกิดขึ้นแน่นอน 100% ต่อมาจะเกิดการ Transition ไปสู่ Self Driving Car ซึ่ง 2030 เราอาจจะได้เห็นกันไม่ว่าจะเป็น Tesla / Apple แล้วราคานั้นก็จะถูกกว่ารถน้ำมันแน่ๆ นอกจากนั้นก็ยังมี microsoft ร่วมมือกับ MG และที่สำคัญคือ Xiaomi ที่ไม่ลงมาไม่ได้ หลังจากนั้นการ transportation ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด โครงสร้างเศรษฐกิจจะบางลง middle class จะเหนื่อยมากขึ้น จะเห็นเป็นข้างบนและข้างล่างแบบชัดเจนขึ้น
อุตสาหกรรม Education จะใหญ่ขึ้นมา เพราะทุกคนต้องการ upskill reskill กันทั้งหมด อุตสาหกรรม food ก็จะโตขึ้นมาแน่นอน แต่จะทำอย่างไรให้ online กับ offline ประสานกันได้
สิ่งสำคัญ คือ เราอย่าไปกลัวเรื่อง disruption เพราะจะมีแพลตฟอร์มใหม่ๆเกิดขึ้นมาเสมอ แต่เราต้องเกาะติดสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ และอย่าไปยึดติด ต้อง diversified เสมอ จงจำไว้ว่าคุณต้องมีกระดูกสันหลัง คุณต้องมีแพลตฟอร์มของคุณเสมอ ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็น app เท่านั้น แบรนด์ก็เป็นแพลตฟอร์มเช่นกัน และไม่ใช่แค่ online ที่เป็นแพลตฟอร์ม แต่ offline ก็เป็นได้เช่นกัน แม้กระทั่งตัวคุณเองก็เป็นแพลตฟอร์มได้
ประเทศไทยเล็กเกินไปแล้วสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ยุคนี้ เพราะ South East Asia is the next China ผมพูดเสมอในทุกที่ที่ไปสัมภาษณ์ว่าเราเกิดถูกที่ถูกเวลาแล้ว แต่ถูกที่ถูกเวลาใช่แค่ประเทศไทย และเราต้องไปโตที่อื่นในภูมิภาคอื่น ประเทศอื่น ยกตัวอย่างเศรษฐกิจ Vietnam คือฟื้นจาก COVID-19 เร็วมาก คนของเขาต่อไปจะกระหายการบริโภคเพราะเขาจะมีรายได้เพิ่มขึ้น จะกินใช้มากขึ้นแล้วเขาจะมามองที่เมืองไทย
ส่วนคน gen X มีหน้าที่ rebuild the foundation ของประเทศนี้ให้ แต่สุดท้ายเป็นหน้าที่ของคนรุ่นถัดไปที่จะทำให้ก้าวต่อไปยิ่งใหญ่ขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่เหนื่อย ยากลำบาก แต่เป็นยุคที่มีโอกาสแบบมหาศาล เพราะจะมีโอกาสใหม่ๆ แพลตฟอร์มใหม่ๆ เข้ามาเสมอ
ส่วนศักยภาพบ้านเรามีพวกสมุนไพรที่น่าจะนำมาต่อยอดที่มาจากการทำวิจัยแต่ว่าไม่สามารถ commercial ได้ค่อนข้างมาก ซึ่งการดึงศักยภาพของสิ่งเหล่านี้ออกมาได้นั้น ต้องเพิ่ม productivity ต่อไร่ เพราะตอนนี้เรามี productivity ต่ำมาก เพิ่มสินทรัพย์หลังบ้านของ ต่อยอดจากงานวิจัยแล้วสร้างเป็นสินค้า premium เพราะเรื่อง food ของเราสามารถเอาไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าได้เยอะมาก และมุ่งเน้นเรื่อง Bio ต้องเจาะลึกลงไปเลย
5 Exponential Change Mode
1. Follower: ถ้าเป็นพนักงานบริษัทก็คือทำงาน 9-5โมงเหมือนเดิม ข้อดีก็คือไม่เครียดแต่ก็อาจจะเสี่ยงถูก disrupt หรือเจอคนที่เก่งกว่าเข้ามา
2. Rebel: คือพวกที่ไม่เอาเทคเลย technology detox ต่อต้าน
3. Hussler: เหมือนพวกผู้ประกอบการ คือจะต้อง front load ชีวิตขึ้นมา ทำงานหนักมหาศาลในช่วง 5 ปีนี้เพราะจะมีเวลาที่จะหักศอกแรก ในช่วง 2021-2025
4. Designer: ดีไซน์ชีวิตให้มีระบบให้ balance ครบทุกอย่าง เช่น เหมือนหนังสือ The 4-Hour Work Week by Tim Ferriss ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งและการทำแบบนี้พอมันเป็นระบบแล้วมันสามารถที่จะ generate asset ที่จะทำให้เกิด income ขึ้นมา ไม่ได้หมายความว่าเค้าไม่ work hard แต่ work hard อย่างมี balance
5. Compound: คือกลุ่มที่น่าสนใจ เพราะเป็นกลุ่มคนที่เรียนรู้เรื่อยๆไม่ได้ front load ไม่ได้เติบโตเร็วมากเหมือน Hussler แต่จะค่อยๆ โตสะสมความรู้ไปเรื่อยๆ ที่หลากหลายแล้วถึงในจังหวะหนึ่งมันจะหักศอก สร้างความรู้ที่หลากหลายขึ้นมาเป็น Exponential Growth ชื่อของมันคือ Chief Exponential Officer (CXO)
การคิดแบบ exponential คิดแบบ disruption เป็นการคิดที่เหมือน Startup เหมือนที่ Elon Musk ใช้ first principle thinking ที่ challenge กระบวนการการคิดของอุตสาหกรรมปัจจุบันว่ามัน base on ความเชื่ออะไรแล้วตั้งคำถามแย้งกลับไปว่าถ้ามันไม่จริงขึ้นมาจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง
และยังรวมไปถึงการ connect the dot อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เวลาจะทำ marketing เราจะสร้าง marketing squad ขึ้นมา โดยเรามีคนที่เป็น traditional marketer, user research, UX & UI designer, data analytics, machine learning เอาเขามานั่งด้วยกันเพื่อที่จะ connect the dot เพื่อแก้โจทย์ที่เกี่ยวกับ marketing
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Experimentation คือการทดลองอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ใช้ budget ของทั้งเวลาและเงินมาใช้ทดลองเพื่อให้มันเต็ม pipeline ทั้งหมด เพราะอย่างน้อยถ้าอุตสาหกรรมนั้นถูก disrupt ขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนความรู้นี้ไปทำอย่างอื่น มันคือ model แห่งโลกอนาคต คือเราต้องเลือกให้ออกว่าเราอยากเป็นอะไร หรือจะดึงจุดเด่นของทุก model มารวมกัน แต่จำไว้ว่าคุณไม่สามารถเป็น follower ได้อีกต่อไป คือการใช้ชีวิตแบบธรรมดาไม่ได้แล้วเพราะเรามีเวลาอีกแค่ 4-5 ปีในการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเกิดการหักศอกแรก
ส่วนเรื่องการทำ Corporate Transformation กลายเป็นเรื่องปกติของทุกบริษัทไปแล้ว แต่การจะ transform และทำให้เกิด innovation เราต้องเริ่มจาก empathy คือการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง ซึ่งสิ่งนี้มันทำได้ยากมากเพราะยิ่งเราประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่เราจะยิ่งพิการ พิการแรกจะตาบอดมองไม่เห็นโลกข้างนอกว่าเป็นอย่างไร เพราะเรามั่นใจว่าเราทำสำเร็จ ต่อมาจะหูหนวก คือไม่ฟัง ฟังแล้วไม่ได้ยิน ฟังแล้วไม่ถูกใจ แล้วพอไปทำ emphaty เราจะไม่เข้าใจ ยิ่งกส่าฟังหูซ้ายทะลุหูขวา เพราะจะได้ยินแต่สิ่งที่ส่งเสริม Ego ของเรา เราเลยต้องมีความเป็น humanity ด้วย ต้องตาไม่บอด ต้องเห็นสถานการณ์ที่เป็นจริง ต้องฟัง และได้ยินจริงๆ และสิ่งที่สำคัญ ที่น่ากลัวมากคือใจพิการ
ดังนั้น empathy คือจุดเริ่มต้นของทั้งหมด ทำยากมากเพราะเราต้องเปิดตาเปิดใจ ต้องฟังจริงๆว่าลูกค้าต้องการอะไร ฟังจริงๆ ว่าพนักงานของเราเขาเป็นยังไงเขารู้สึกยังไง ต้องฟังจนเรารู้สึกว่าเห็นจังหวะการเต้นของหัวใจขององค์กรให้ได้
1. Transform business model มองให้ออกว่า vision ของเราจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน ถ้าเราเห็นภาพไม่ชัดจะไปผิดทางทันที ต้องเห็น strategy ทิศทางของอุตสาหกรรมเราจะไปยังไง แล้วจะแบ่ง resource ออกมาอย่างไร แบ่งออกมาเป็น 60% Core 30% Second Bet และอีก 10% Moonshot Bet (ถ้าสำเร็จจะโตแบบก้าวกระโดด ถ้าเจ๊งก็เจ๊งไปเลย แต่ถ้าองค์กรอยากเปลี่ยนเป็น disruptor อยากเปลี่ยนเป็น fast follower ต้องลงตรงนี้ประมาณ 30% เลยด้วยซ้ำ) และต้องเป็นคนที่เก่งในเรื่องของ change machine เพราะการเปลี่ยนแปลงองค์กรใหญ่ๆคือต้องเปลี่ยน structure หลายครั้ง structure กับ culture ต้องไปด้วยกัน ถ้า culture ดีแต่ structure ไม่ไหว ก็จะเหนื่อย และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
2. ต้องมี tool & system ที่เปลี่ยนองค์กรและเปลี่ยน structure ให้ไปกับ culture ใช้หลัก 4Rs:
3. Nothing will change if people won’t change พอคนเห็นว่าเรากำลังจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีแล้วสุดท้ายเราต้องโชว์ให้เค้าเห็นว่าจุดหมายปลายทางมัน worth the sacrifice รึเปล่า คุ้มค่ากับการเสียสละและการทุ่มเทหรือไม่ จึงต้องมี purpose ของการ transform ที่จะสามารถ inspire คนได้ ต้องมี story ที่คุณ believe ต้องเป็น role model เช่น ที่ KBTG เวลามีอะไรออกมาใหม่ๆ จะให้ HR ทำก่อนแล้วดูว่าเขาทำได้ไหม ถ้าได้แล้วค่อย roll out ให้คนอื่นในองค์กร ถ้าเรายังทำไม่ได้ ยังไม่เชื่อในสิ่งที่ทำ แล้วจะไปให้คนอื่นทำได้อย่างไร
4.เราต้องมีวินัยในการเปลี่ยนแปลง discipline over and over again มันน่าเบื่อแต่ต้องทำ สุดท้ายกว่าจะทำสำเร็จอย่างน้อยๆ ต้อง 2-3 ปีกว่าจะเห็นผลที่เป็นรูปธรรม ไม่ได้หมายความว่าทำแค่วันทำงาน แต่ทุกๆวันคือวันที่ต้องทำเพื่อการเปลี่ยนแปลง
อย่างแรกคือ empathy ต่อไปคือมี envision โดย Leader จะต้องสร้าง strategy คือเริ่มต้นด้วยคณิตศาสตร์แล้วจบด้วยภาษาศาตร์เสมอ
เริ่มต้นด้วยคณิตศาสตร์ นั้นต้องไม่มั่วเรื่องการคำนวน อย่าทำงานชุ่ย ต้องดูจากข้อมูลต้องวิเคราะห์โดยไม่มีอารมณ์ ความยากของ leader ต้องมองกว้างมองความเป็นจริงแล้วเก็บข้อมูลขึ้นมาว่า context ขององค์กรเป็นยังไง พอคำนวณเสร็จช่วงแรกอาจจะช้า
แต่พอเสร็จแล้วต้องทำเป็น strategy ที่ทำแล้วต้องถ่ายออกมาเป็นเรื่องราวได้ แล้วเรื่องราวที่ดีต้องเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจของผู้ฟังให้ได้ leader ต้องทำทั้งงานที่น่าเบื่อและงานที่น่าตื่นเต้น งานที่น่าเบื่อคือพูดเรื่องเดิมๆ พูดเรื่องซ้ำๆ โดยไม่รู้จักเหนื่อย ทุกๆ วันมันคือ battle ทุกๆ วันคือ war time ของคุณ เช่น ทุกๆ วันที่มี interection กับใครหรือเจอพนักงานใหม่ๆ คุณจะต้องสามารถเล่า vision เล่าเรื่องที่ inspire ให้เขารู้สึกว่าอยากจะมาเป็นส่วนหนึ่งของ vision ที่คุณอยากจะไปให้ได้ จะต้องเล่าเรื่องเดิมๆซ้ำๆ ต้องเชื่อในเรื่องที่อยากเล่า ต้อง believe and have faith ในสิ่งที่เชื่อ นี่คือภาวะผู้นำ
strategy ต้องตามด้วย capability ที่ประกอบไปด้วย structure, technology, process และ people ขององค์กร เรามี strategy นำทางและต้องมี capability ประกอบ ทุกอย่างต้องลิงค์กันแล้วประกอบกันจนสามารถทำให้ strategy นั้นประสบความสำเร็จได้ ในฐานะผู้นำเราต้องสร้าง strategy ที่ตัวเราเองเชื่อและสร้างเรื่องราวที่เราเชื่อมั่นจริงๆ ว่าเราจะต้องไปถึง
ส่วน Vision คือ ความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดแต่ยังไม่เกิด ดังนั้น หน้าที่ผู้นำคืออยู่แถวหน้า ฟันฝ่า ขึ้นเขาไป หลายครั้งต้องมาอยู่ข้างหลังบ้าง ต้องมาอยู่ข้างๆบ้าง
อย่างแรก คือ The best communication is over communication หาช่องทางทั้งหมดในการสื่อสาร นี่คือการจบด้วยภาษาศาตร์ เช่น อย่างปีที่แล้ว KBTG ได้รางวัล HR: Asia for The Best Company To Work For เพราะเราลงไปคุยกับพนักงานตั้งแต่เรา design employee journey คอนเซ็ปเดียวกับ design thinking คือไปจับว่าเค้ามีปัญหาตรง touchpoint ไหนบ้างที่เราจะสามารถเข้าไปแก้ได้ ไปคุยขนาด exit interview เพราะตอนนั้นคือเขาไม่มีทางที่จะโกหกแล้วเพราะเค้าจะออกแล้ว เป็นวิธีการที่ได้ข้อมูลที่ตรงที่สุดในการหาทางแก้ไข วิธีการนี้เป็นเหมือน micro innovation คือหาจุดต่างๆ ที่มีปัญหาแล้วหา solution มาแก้ไข
ต่อมา Culture ต้อง support strategy ของเรา หลายครั้งเรา force fit culture เข้าไปโดยที่มันไม่ได้ตรงกับ strategy ของเรา แต่ละองค์กรมี flavour ของ culture ที่เยอะมาก แต่จำไว้ว่า เรียนรู้ culture เหล่านั้น และจงตั้งต้นที่ strategy
ปัจจุบันเรื่องของ Netflix culture ได้รับการพูดถึงกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการหา talent density ที่ต้องเป็น A player หมดเลย แต่ว่ามันใช้ไม่ได้กับทุกที่ อย่างของที่ KBTG คือรับพนักงานเข้ามาแน่นอนเราดูว่าเขาจะต้องมี potential ที่จะเติบโตได้ แต่ทำไมเราไม่สร้าง culture และ enviorment ที่จะทำให้คนขององค์กรเราสามารถที่จะเป็น A player ได้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการทำ transformation ที่ต้องตอบให้ได้ว่าเราจะทำไปทำไม ทำไปสู่อะไร แล้วถึงเอา technology เข้ามาช่วยเพราะ digital transformation เป็นแค่ subset ของ transformation เท่านั้น ยกตัวอย่างหนังสือบางเล่มชอบบอกให้ทำ 1 องค์กร 2 ระบบ operating model: legacy และ innovation แล้วหวังว่าวันหนึ่งมันจะสามารถ spin off มาเจอกันตรงกลางได้ แต่ของ KBTG เราเชื่อเรื่อง intergration คือไม่จำเป็นต้องมีแค่ 2 model เราก็สร้างไปเลย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเราตัดสินใจไปเปิด K-Tech ที่จีน และก็สร้าง Kasikorn X ซึ่งไม่มีใครรู้หรอกว่ามันจะสำเร็จหรือไม่ ต้องทำการศึกษาไว้ แต่จงจำไว้ว่าอย่าลอกการบ้านคนอื่น เพราะแต่ละองค์กรก็ไม่เหมือนกัน เราศึกษาได้แต่อย่าลอก ต้องตั้งสติว่า vision ของเราคืออะไรแล้วต้องสร้าง culture ที่เหมาะกับตัวเอง นั้นแหละคือหน้าที่ของ CXO
สร้าง Business Fundamentals ให้ดีก่อน ให้สามารถตอบโจทย์ได้ และ strategy ของเราเริ่มด้วย Culture > Structure > Process > Technology
สำหรับองค์กรใหญ่ ในบางครั้งอาจจะต้องเอาคนนอกที่มี credibility ไปเล่าให้ผู้บริหารระดับสูงฟัง อาจจะเป็น consult หรือ startup หรือบางทีเขาเห็นคลิปต่างๆ เขาได้ดูแล้วเกิดสะดุด เอาสิ่งเหล่านี้มาจุดประกายเขา การเปลี่ยนแปลงบางครั้งเกิดจากคนภายนอก outside in สักพักจะเริ่มเกิดการเปลี่ยนและเราก็ต้องช่วยเขาเปลี่ยน คนที่เป็น middle managment คือคีย์ในการเปลี่ยนแปลง เป็นตัวนำแต่ต้องช่วยในการย่อยข้อมูลต่างๆ take baby step for transformation
เช่น ทดลองทำ A ทดลองทำ B ที่ scale เล็กๆ ราคาถูก เช่น ทำ MVP for change พอเขาได้มาเห็น ได้ลงมาทำด้วยแล้วถัดไปมันสำเร็จ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นไปจากตรงนั้น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน อย่าเพิ่งสร้างจรวด
ในตอนนี้ผู้บริหารต้อง bite the bullet to transformation เพราะมันไม่เกิด result เร็ววันนี้ มันใช้เวลานานมากกว่าจะเห็นผล และมันจะไม่สำเร็จถ้าระดับสูงไม่ช่วย แล้วถ้าเขายังไม่เปลี่ยนคุณควรจะไป การสื่อสารระหว่างผู้บริหารระดับสูงสำคัญ และผู้บริหารระดับสูงก็ต้องเปิดใจฟัง กับผู้บริหารระดับกลางและพนักงาน หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงเกิดมาจากคนรุ่นใหม่ๆ ต้องเปิดใจฟัง ให้โอกาส
ตัวอย่างเช่น ขุนทอง by kbank การทำงานเป็นของน้องๆอายุ 20 ทั้งนั้น เพราะเขาเข้าใจ demographic ที่พี่ไม่เข้าใจ ผู้บริหารอายุ 50 กว่า กำลังตัดสินใจงานสำหรับผู้บริโภคอายุ 10 กว่า How can that be possible? เราคุยกับคนที่อายุน้อยกว่าเรา 10 ปี บางทียังไม่เข้าใจเลย จะให้ไปเข้าใจคนที่เด็กกว่าเรา 20-30 ปีได้ยังไง จะออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เขาได้อย่างไร นี่ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ผู้บริหารระดับสูงต้องเข้าใจและเปลี่ยน
ขณะเดียวกัน สำหรับ SME ไทย ต้องยอมรับว่าสามารถแก้ปัญหาของหลายๆ เรื่องเก่งมากๆ แล้วพวกเขาสู้มากถ้าอุกาบาตไม่ตกใส่หัว SME ไทยไม่มีวันตาย แล้วเขาสามารถสร้าง sense of ownership ให้พนักงาน ให้พนักงานสู้ไปด้วยกันได้ โดย SME หลายคนสร้างธุรกิจจาก 0 แล้วเติบโตขึ้นมาในตลาดหลักทรัพย์เป็นหมื่นหมื่นล้านได้ เขาสร้าง sense of ownership ให้พนักงาน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด SME ห้ามเสียตรงนี้ไปเป็นอันขาด เนื่องจากตรงนี้เป็นแก่น คือการเป็นเจ้าของร่วมกันกับพนักงานทุกคนและสู้ด้วยกัน
สำหรับ Startup แน่นอนว่าพวกเขามี digital mindset มี technology mindset มีความกล้า เขาไม่สนว่าเมื่อก่อนทำอย่างไร แต่ตอนนี้จะทำแบบนี้ แทบจะ bottom line arrogant คือมีความอหังการ เขาจะคิดว่ามันมีวิธีการที่ดีกว่าเสมอ คือการใช้ technology solutions ไม่ยึดติดกับ legacy อะไรเลย แต่โตไปในระดับหนึ่งจะไม่สามารถบริหารคนได้ ไม่มี process, ไม่มี coaching ที่ดี ซึ่งต้องมีระบบ มีการจัดการ จึงคิดว่าต้องนำมารวมกัน SME ต้องเอาส่วนที่ดีที่สุดของ Start Up บวกกับ Corporate
อีกอย่าง Start Up ก็ต้องเอาจิตวิญญาณของ SME สร้างจิตวิญญาณของ SME ให้กับพนักงานทุกคน พร้อมกับการนำ system ของบริษัทใหญ่ๆมา นอกจากนั้นยังต้องมีการจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงด้วย ซึ่งต้องประยุกต์กันเข้ามาใช้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด