หากพูดถึงผู้คร่ำหวอดในวงการ Startup ไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่าชื่อของคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ หรือคุณหมู จะต้องได้รับการพูดถึงแน่นอน ทั้งบทบาทของ Founder ของ Startup และผู้จัดการกองทุน 500TukTuks และล่าสุดกับการเป็น CEO ของ “SIX Network” Blockchain Platform ที่ประสบความสำเร็จจากการระดมทุนผ่าน ICO ในปีนี้ ด้วยเหตุนี้ Techsauce จึงขอพูดคุยกับคุณหมูอีกครั้ง ทั้งการอัพเดทมุมมองต่อ Startup Ecosystem ในไทย และประเด็นที่ทุกคนอยากรู้คือ ICO อย่างไรให้สำเร็จ
ต้องบอกว่ายังคงมีการระดมทุนได้เรื่อยๆ VC เยอะขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะนักลงทุน Series A เข้ามาเยอะขึ้น ถ้าในไทย Series A จะได้จาก CVC เยอะ แต่ถ้า B หรือ C อาจจะต้องไประดมทุนที่ต่างประเทศ
หลายๆ CVC ในไทยตั้งงบไว้ปีละ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าลงทุนใน Series A อาจจะลงได้หลายราย แต่ถ้าลงทุนใน Series B อาจจะลงได้แค่รายเดียว เพราะฉะนั้นเรื่องขนาดหรือความพร้อมของ CVC ตอนนี้ เขาก็ยังไม่ได้มองในระดับ Series B ขึ้นไป
Startup ที่เป็น Series B จะ Raise เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Series C ในไทยก็ยังไม่รองรับหรือไม่ก็พยายามรวบรวม CVC หลายๆ เจ้า ซึ่งปกติ CVC จะมี agenda ในการลงทุน โดย CVC lวนใหญ่เป็นบริษัท แล้วบริษัทเหล่านี้เขาก็ต้องลงทุนในสิ่งที่เกี่ยวกับธุรกิจ แต่การที่เราจะไปรวม CVC หลายๆ เจ้าในตลาดที่เขาเป็นคู่แข่งกัน ความเป็นไปได้ที่จะรวม CVC ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็จะยากกว่า ท้ายที่สุดก็ต้องมี Financial VC เข้ามารวมอยู่ด้วย ซึ่งจะถึงจุดนั้นได้ก็ต้องออกไปต่างประเทศ
ไม่เชิงว่าไปต่างประเทศ แต่หมายถึงการหา Partner จากต่างประเทศที่อาจขยายเข้ามาในประเทศไทย เป็นการหาเงินลงทุน อย่างเช่นเขาเข้ามาก็ต้องคิดว่าลงทุนกับเราหรือทำเองอันไหนคุ้มกว่ากัน ต่อให้เขาใหญ่กว่าแต่เขารู้สึกว่าเรามีค่าและมีประโยชน์ มีเว็บ มีลูกค้า ทีมงานดีมันก็ win-win ทั้งคู่ ก็ต้องพยายามพาตัวให้เองให้ไปอยู่จุดนั้น
ถ้าพูดตรงๆ ในอนาคตอันใกล้อาจจะยาก การระดมทุนผ่าน ICO ให้สำเร็จมันประกอบด้วยอะไรหลายๆ อย่าง
อย่างแรกคือ การลงทุนที่เป็น ICO ต้องหาตลาดจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาด้วย ฉะนั้น Startup ในเมืองไทยก็อาจจะต้องมี story ที่ทำให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน เพราะต่างประเทศเขาอาจจะไม่ได้รู้จักตลาดไทยเลย ตลาด Crypto ในเมืองไทยยังไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น ทำให้เวลาจะระดมทุนก็มีทั้งในและต่างประเทศให้ระดมทุนได้ เทียบกับ Bitcoin หรือ Eterium จุดแตกต่างของเหรียญเราชัดเจนมากหรือไม่ อย่างเช่นที่เราทำ เราเป็นบริษัทที่คนรู้จักแล้วส่วนหนึ่ง เมื่อมาทำ ICO เขาก็ต้องดูว่า Project ที่เราทำคืออะไร และที่แน่ๆ คือที่ผ่านมาเราทำอะไร ถ้าเป็น Startup หน้าใหม่แล้วยังไม่เคยทำมาก่อนเลย ก็จะยากตรงที่ไม่มี Background ให้ดูว่าเคยทำอะไรมาก่อน หรือถ้า Scale ยังไม่ใหญ่ก็ต้องดูว่าต่างประเทศเขามาลงทุนกับเรา เขาจะรู้จักเราได้อย่างไร แล้วจากมุมมองของนักลงทุนอกประเทศไทย ว่าเขามองเราอย่างไร
อย่างที่สองคือ ตลาด Crypto กำลังเป็นขาลง ซึ่งตลาด ICO ในปัจจุบันเริ่มขยับไปเป็นการลงทุนกับนักลงทุน Private ซึ่งก็เหมือน VC เป็นการนัดคุยกันไม่ได้เปิดเผยมาก เป็นการนำ Project ไปเสนอขายแต่ว่าอาจจะขายแบบ Equity หรือ Token ด้วย แล้วก็คุยกับนักลงทุนทีละคนๆ จากเมื่อก่อนที่ตลาดกำลังบูม ทุกคนบอกว่าลงทุนใน crypto หรือตัวไหนก็ขึ้นหมดเลยหลายเท่า พอเปิดก็จะมีนักลงทุนทั่วโลกเข้ามา แต่ตอนนี้ตลาดลง ทุกคนก็หนีตาย ไม่กล้าลงทุน อาจจะขายออกมาเป็นเงินบาทหรืออาจจะถือเป็นสกุลหลักๆ ไว้ เพราะฉะนั้นเหรียญใหม่จะเขามาก็ยากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะเหรียญใหม่ด้วยซ้ำ เหรียญเก่าที่ออกไปแล้วก็จะมีความยากเหมือนกัน ตอนนี้ตลาด ICO ทั่วโลกก็ชะลอตัวไปมาก มี ICO ออกมาเรื่อยๆ แต่ ICO ที่ประสบความสำเร็จมีน้อยมากๆ และหลายๆ คนก็พักแผนที่จะทำ ICO เอาไว้ก่อน แต่ถ้าตลาดมันกลับมาดี ก็อาจจะกลับมาคึกคักเหมือนเดิม ซึ่งก็คงต้องดูต่อไป
สรุปคือ เราก็ต้องมองไปยัง Community ต่างประเทศ เพราะตลาดในไทยตอนนี้ยังเล็กไป ต้องใช้เวลาที่ค่อยๆ เติบโต ถ้า Scale ไม่ใหญ่มากก็ยังพอทำอยู่ แต่ถ้าเป็น scale เป็นหลายล้านเหรียญตอนนี้มันช้าไปแล้ว ประเด็นที่สองคือ ตลาดไม่ดี ICO ใหม่ๆ ก็ระดมทุนยาก ตอนนี้เทรนด์ก็เปลี่ยนไปเป็นการระดมทุนแบบส่วนตัว (Private) แทน
อีกประเด็นคือ การมี Regulation มันดี เพราะทำให้คนมั่นใจมากขึ้น แต่มันก็ทำให้ช้าออกไป ตอนนี้ก็มีหลายเจ้าที่ต่อคิวรอ แต่ก็ไม่ใช่ว่าได้ Regulation แล้วก็จะระดมทุนกันได้ง่ายๆ
อันที่จริงมันต้องมีการรับรองอยู่แล้ว ตอนที่ไม่มีเราก็ต้องไปเปิดที่สิงคโปร์ เราไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้ถูกกฎหมายไทย พอมีกฎหมายมันก็ทำให้รู้ว่าควรจะเดินไปตามแนวทางนั้น ทำแบบไหนเรียกว่าถูกหรือทำแบบไหนเรียกว่าผิดกฎหมาย ซึ่งในระยะยาวมันดีแน่นอน แต่อาจจะต้องใช้เวลาสัก 2-3 ปี อย่างถ้า Startup บอกว่ามองเรื่องการระดมทุน แต่มองไม่กี่เดือนข้างหน้า ผมว่าก็ต้องมาดูสถานการณ์กันก่อนว่าสภาพในตลาดเป็นอย่างไร
ถ้าในระยะเวลาอันใกล้ก็มองว่ายังยากอยู่ เพราะตลาดมันเปลี่ยน อยู่ดีๆ Bitcoin กลับมาบูมขึ้นไปราคาเท่าต้นปี และพอขึ้นทั้งกระดานเงินก็ไหลเข้า ช่วงนี้เป็นช่วงที่เงินไหลออก ซึ่งยากมากที่ Project เล็กๆ มันจะได้รับความสนใจ
พูดถึง VC กับ Angel ให้นึกถึง Crowdfunding ซึ่งก่อนที่จะมี ICO ประเทศไทยเคยมี Concept ที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดขึ้นมา เป็นรูปแบบของ Equity crowdfunding ที่ให้นักลงทุนที่อยากลงทุนใน Startup ช่วยกันระดมทุนคนละเล็กละน้อยรวมกันเป็น Equity ไปถือหุ้นอยู่ในบริษัท
ICO ก็คล้ายกัน ถ้าทำแล้วสำเร็จ นักลงทุนก็จะมีสัดส่วนเป็นรายย่อยจำนวนมาก ไม่ใช่มีแค่ไม่กี่คนเหมือน VC ถ้ามีไม่กี่คนอำนาจการต่อรองของเราก็ไม่เยอะมาก เพราะต้องเน้นต่อรองเงื่อนไขกับคนจำนวนน้อยกว่า แต่ในขณะที่การระดมทุนแบบ crowdfunding เราเป็นคนกำหนดเงื่อนไข เราบอกว่าอยากได้เงินเท่านี้ เราจะให้ Equity เท่านี้ หรือถ้าเป็น ICO ก็จะให้ coin เท่านี้ ทุกคนจะมาลงเขาก็ดูเงื่อนไขว่าเขาพอจะรับได้ไหม ถ้าความเสี่ยงมันอยู่ในระดับที่รับได้ แม้ว่าเงินมันจะไม่เยอะมากแต่พอมารวมๆ กันด้วยความที่มีคนเยอะแล้วมันก็เลยรวมเงินกันได้เยอะ ผมว่าเรามี potential ซึ่งเราเองก็ทำมาแล้ว ถ้าจะระดมทุน 20-30 ล้านเหรียญ ถ้าเราไม่ทำ ICO แล้วลงทุนกับ VC มันยากกว่าเยอะ เพราะอำนาจในการต่อรองต่างๆ ต้องพูดคุยกับ VC แต่ละราย
โดยทั่วไปแล้วอันนี้ (ICO) ง่ายกว่า ถ้าทำสำเร็จ ซึ่งก็ต้องดูเวลาและ Story ด้วย
ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จก็ต้องขึ้นอยู่กับ Project กับสภาวะตลาดด้วย แต่สิ่งที่แน่ๆ ก็คือ ICO มันคล้ายกับ crowdfunding มีนักลงทุนรายย่อยจำนวนเยอะๆ Startup ก็สามารถกำหนดเงื่อนไขได้ และถ้า Project เราน่าสนใจ ก็มีโอกาสที่จะทำให้เราระดมทุนได้เยอะ
เมื่อก่อนเรามี ICO ที่มัน Early และระดมทุนได้เยอะ แต่ตอนนี้มันมี ICO เยอะแล้วและโอกาสน้อยมากที่จะเป็น concept ที่ไม่มี background มาก่อน
แนะนำให้เริ่มทำ Product Project ไปก่อน เมื่อวันหนึ่งเราพร้อมจะ ICO ก็มี Story ให้นักลงทุนได้เห็นทันที วันนี้คุณสามารถระดมทุนขั้นต้นจาก VC ระดับ Pre-Seed และ Seed ได้ง่ายขึ้น เงินที่ใช้ในขั้นนี้ก็ไม่ได้เยอะมาก
ผมว่าก็เหมือนสตาร์ทอัพทั่วไป ท้ายที่สุดก็คือโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน มีรูปแบบรายได้ที่ชัดเจน ทีมงาน แต่ที่มันต่างของ ICO คือการนำเอา Blockchain Technology มาใช้ในการทำธุรกิจ ส่วนเรื่องอื่นๆ มันคือการเตรียมความพร้อม ให้มอง ICO เป็นทางเลือก ซึ่งในระยะยาวอาจจะต้องมีการผสมกันระหว่างการระดมทุนแบบ VC หรือ private แล้วมาลงทุนกัน จากนั้นก็เริ่มทำ Project ไปก่อน แล้วถ้าเรารู้สึกว่า Project นั้นไปได้ดี เรามีความพร้อม ค่อยไประดมทุนกับข้างนอก
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด