คุยกับ Power Ledger 'ถ้ารัฐฯ ปรับไม่ดี Smart City ก็เกิดไม่ได้!' | Techsauce

ถ้ารัฐฯ ปรับตัวไม่ดี Smart City ก็เกิดไม่ได้! คุยกับ Power Ledger เรื่องพลังงานของเมืองอนาคต

  • คุยกับ Dr.Jemma Green แห่ง Power Ledger ถึง Project ด้านการจัดการพลังงานในไทยและต่างประเทศ
  • ย้ำความสำคัญของภาครัฐฯ ควรมองการจัดการพลังงานเป็นแกนหนึ่งที่สำคัญในการเกิด Smart City
  • Blockchain ยังเป็นเทคโนโลยีที่มี Potential สูง และการใช้งานที่ก่อ Impact จริง กำลังจะมีให้เห็นในอนาคตอันใกล้
Photo by Matteo Catanese on Unsplash

หากพูดถึงการเป็น Smart City นอกเหนือจากเรื่องของเทคโนโลยี 5G และ IoT แล้ว การจัดการพลังงานก็ถือเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้เทคโนโลยีต่างๆ ใน Smart City ขับเคลื่อนได้อย่างมั่นคง ซึ่งอันที่จริงแล้ว ประเทศไทยเองก็มีนวัตกรรมหลายอย่างที่พร้อมผลักดันการจัดการพลังงานไปอีกขั้น โดยเฉพาะนวัตกรรมจากเทคโนโลยี Blockchain ที่ถูกนำมาใช้แล้วในบางพื้นที่ ดังนั้น การจะผลักดันในเวลานี้ อาจไม่ใช่เรื่องของนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐฯ ที่กำหนดมาตรการให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้

หลายคนคงสงสัยแล้วว่าทำไมเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับภาครัฐฯ และในประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไรอย่างไร Techsauce จึงพูดคุยกับ Dr. Jemma Green Chairman & Co-Founder ของ Power Ledger ผู้พัฒนาระบบจัดการพลังงานชั้นนำที่มี Project อยู่ในที่ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพื่อขยายความว่าการสนับสนุนภาครัฐฯ จำเป็นต่อการจัดการพลังงานที่นับเป็นอนาคตของเราอย่างไร

Dr. Jemma Green Chairman & Co-Founder ของ Power Ledger

Power Ledger คือใคร ทำอะไรเกี่ยวกับการจัดการพลังงาน

Dr.Jemma: Power Ledger เป็นบริษัทเทคโนโลยี เราดำเนินการมาได้ 2 ปีครึ่งแล้ว เทคโนโลยีของเรามุ่งเน้น 3 อย่าง ได้แก่ ทำให้เกิดการซื้อขายพลังงาน Energy Trading, จัดการการเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์พลังงาน และทำให้เกิดตลาดคาร์บอร (Carbon Market) สำหรับการซื้อขายพลังงาน Product ขึ้นชื่อของเราคือ Peer-to-Peer Electricity Trading เราช่วยให้บ้านที่มี Solar Rooftop ขายพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินให้กับผู้ใช้ไฟรายย่อยได้ เราใช้ Blockchain ทำให้ระบบนี้ใข้งานได้ ซึ่งนอกจากระบบที่ซับซ้อน Solar Rooftop แล้ว เรายังรองรับระบบง่ายๆ ส่วนเกินจากแบตเตอรี่ ช่วยแบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้าได้

เราทดลองระบบ Peer-to-Peer Energy Trading ที่เมือง Perth ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาเรานำเข้ามายังประเทศไทยโดยมี Partner อย่าง BCPG และ T77 ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนสิงหาคม และเรายังมีอีก 2 Project ที่เชียงใหม่กับ BCPG ที่จะเปิดใช้ภายในปีนี้ Project แรกเป็นในพื้นที่มหาวิทยาลัย ส่วนอีก Project เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เรายังมี Project สนับสนุนการสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ Osaka ประเทศญี่ปุ่นกับ CAPCO ผู้พัฒนาสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเรายังมี Peer-to-Peer Trading Project รวมถึง Carbon Market ที่สหรัฐฯ

Carbon Market นั้นน่าตื่นเต้นมาก ประชาชนสามารถนำรถยนต์ไฟฟ้ามาชาร์จที่แท่นและรับ Carbon Credit เทคโนโลยีของเราช่วยให้ Process นี้เป็นระบบอัตโนมัติ ต่างจากเดิมที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเก็บข้อมูลและส่งเครดิตด้วยมือ

ในปีนี้ เราจะเปิดตัว Product ทางการเงินจากสินทรัพย์ด้านพลังงานเรียกว่า Asset Germination เราจะนำแหล่งผลิตพลังงานมาแปลงเป็นสินทรัพย์ (Asset) บน Blockchain ประชาชนสามารถร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของแหล่งพลังงานเหล่านี้ผ่านการซื้อสินทรัพย์ด้วยกระบวนการ Tokenising โดยเทคโนโลยี Blockchain คุณสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ในรูป Token ได้อย่างอิสระ แน่นอนว่า Product นี้จะต้องอาศัยนวัตกรรมจำนวนมาก เรากำลังดำเนินการขั้นสุดท้ายเพื่อให้มันสำเร็จออกมาได้ โดยมีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์และระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

สิ่งที่ Power Ledger ร่วมมือพัฒนากับ BCPG คืออะไร?

Dr.Jemma: Project แรกคือ T77 เป็นโครงการ Peer-to-Peer Energy Trading ระหว่าง 6 ยูนิต กำลังไฟรวมกันประมาณ 600-700 กิโลวัตต์ โดยในโครงการมีทั้งโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และตึกพักอาศัย นับเป็น Project ขนาดใหญ่ แต่ละอาคารใช้พลังงานเยอะมาก เน้นที่การแลกเปลี่ยนกันระหว่างภาคธุรกิจมากกว่าผู้บริโภค ในส่วนการผลิตก็มีเพียง 4 อาคารที่มี Solar Rooftop ดังนั้น ต้องคิดหาวิธีขายพลังงานไปยังอาคารที่ไม่มีระบบผลิตด้วย

ภาครัฐฯ ที่ออสเตรเลียปรับตัวและสนับสนุนเรื่อง Peer-to-Peer Energy Trading อย่างไรบ้าง?

Dr.Jemma: ที่เมือง Perth เราได้เริ่ม Peer-to-Peer Energy Trading เมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บ้านที่มี Solar Rooftop สามารถนำพลังงานส่วนเกินเข้ามาขายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในชุมชนได้ เราก็หวังว่าในปีนี้จะมีผู้เข้าร่วม Platform เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จะเห็นได้ว่าภาครัฐของออสเตรเลียได้อนุมัติการแลกเปลี่ยนพลังงานแล้ว อันที่จริง Project นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลียด้วย โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่เรียกว่า Smart City และ Suburbs Program

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 เราจะติดตั้งแบตเตอรี่เพิ่มเติม ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มี Solar Rooftop สามารถนำไฟฟ้าส่วนเกินมาเก็บยังแบตเตอรี่กลางของระบบ โดยจะทำได้ทั้งจ่ายพลังงานเพิ่มเติมในตอนกลางคืน ขายไฟฟ้าคืนเข้าระบบส่วนกลาง ซึ่งไม่เพียงแต่นำเงินที่ขายคืนมาลดภาระค่าไฟฟ้าเท่านั้น แต่ระบบนี้เปรียบเสมือนโรงไฟฟ้าอีกแห่งหนึ่งเลยทีเดียว

ในขั้นต่อไป เรากำลังพยายามนำ Blockchain ประยุกต์ใช้กับการประปา เพื่อให้เกิด Smart City เต็มรูปแบบมากขึ้น

ภาครัฐของออสเตรเลียได้อนุมัติการแลกเปลี่ยนพลังงานแล้ว อันที่จริง Project นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลียด้วย โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่เรียกว่า Smart City และ Suburbs Program

อะไรคือความท้าทายในการประยุกต์ใช้ Blockchain Solution ระดับ Mass?

Dr.Jemma: ปัจจุบันระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังเป็น Centralise Energy การที่ผลิตและส่งไฟฟ้าจากแหล่งผลิตขนาดใหญ่ที่ประชาชนเป็นเพียงผู้ใช้ ความท้าทายจึงอยู่ที่การผสานใช้ทั้งระบบเดิมอย่าง Centralise Energy เข้ากับระบบใหม่ที่ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า เราเองยังไม่มีรูปแบบหรือ Solution ที่ดีที่สุดในตลาดตอนนี้ เราจึงทำได้แค่ให้ตลาดซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากผู้บริโภค เหมือนที่ตลาดซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกกันเองในบ้าน

อีกความท้าทายหนึ่งคือ Blockchain ที่ทำหน้าที่กลไกการทำงานของธุรกรรมในระบบไฟฟ้าจะต้องส่งเสริมให้เกิดกลไกตลาดที่เหมาะสม อาจกล่าวได้ว่าหากคุณสามารถจำหน่ายไฟฟ้าส่วนเกินจากแบตเตอรี่ได้ราคาที่สูงในช่วงเวลาการใช้งานขึ้น Peak ผู้บริโภคก็จะขายไฟฟ้าในช่วงเวลานั้นเพิ่มขึ้น เราก็จะสามารถควบคุม Supply ให้มากพอในเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้า Peak สุดของวันได้ กระบวนการนี้จะทำให้เกิดกลไกตลาดได้อย่างแท้จริง

อะไรกระตุ้นให้ประชาชนหันมาติดตั้ง Solar Rooftop มากขึ้น

Dr.Jemma: ชาวออสเตรเลียได้รับการสนับสนุนให้ติด Solar Rooftop บ้านเรือนกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ดำเนินการติดตั้ง Rooftop และมีผู้ติดตั้งมากขึ้นกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตอนนี้ประชาชนหันมาติดตั้งแบตเตอรี่กันแล้ว แถมภาครัฐฯ ก็มีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มอบให้ ซึ่งสิทธิประโยชน์เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงระบบการใช้พลังงาน

สิทธิประโยชน์หนึ่งที่น่าสนใจคือ Feed-in Tariff หรือการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้ส่งไฟฟ้าเข้าระบบ โดยรัฐบาลจะจ่ายประมาณ 40 เซนต์ (ประมาณ 8 บาท) ต่อไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ ซึ่งถ้าคำนวณดูแล้ว สิทธิประโยชน์นี้จะคืนทุนค่าติดตั้งภายใน 3 ปี

แต่ยังต้องจ่ายค่าติดตั้ง Solar Rooftop เองอยู่ดีไม่ใช่หรือ

Dr.Jemma: นี่เป็นคำถามที่ดี ต้องยอมรับว่าแม้จะมีผลตอบแทนที่ดีแต่ใช่ว่าทุกคนจะอยากเสียเงิน 3,000-4,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 66,000-88,000 บาท) เพื่อติดตั้งระบบนี้ บริษัทพลังงานจึงเสนอทางเลือกด้วยการเสนอว่าจะติดตั้งระบบนี้ฟรี หลังจากนั้นก็ให้คุณเซ็นต์สัญญาซื้อไฟฟ้าจาก Solar Rooftop บนหลังคาโดยมีส่วนลดให้เกินครึ่งเมื่อเทียบกับค่าไฟฟ้าเดิม และบริษัทจะยก Solar Rooftop ให้คุณไปเลยหลังจากติดตั้งระบบนี้ได้ 8 ปี

มีคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการชาวไทยที่ต้องการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ไหม

Dr.Jemma: ด้วยความสัตย์จริง ฉันว่าคงไม่มีอะไรแนะนำคนไทย ฉันมีโอกาส 2 วันที่ไทย เพื่อพบเจอกับนักพัฒนานวัตกรรม Blockchain มากมาย ไม่ใช่แค่ด้านพลังงาน แต่ยังมีภาคการเงินที่คืบหน้าไปอย่างน่าทึ่ง อันที่จริงฉันเคยเขียนบทความว่าประเทศไทยทำให้โลกเห็นได้ว่านวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไรด้วย

แม้ว่า Bitcoin จะมีอายุ 10 ปีแล้ว แต่หากดูการนำไปใช้ของทั้ง Blockchain ก็นับว่าอยู่ในจุดที่ Early แทบจะทุก Sector ยังไม่มี Sector ไหนที่ทำเทคโนโลยีนี้ไป Commercialise ได้ ถ้าคุณลองดู Top 100 Blockchain Company ไม่ว่าที่ไหน คุณก็ยังไม่เห็นว่ามีบริษัทไหนที่ Scale ขึ้นไปได้

ปี 2019 ฉันคิดว่าจะได้เห็นการ Scale และคาดหวังจะเห็นการ Commercialise ของเทคโนโลยีนี้ ถ้าพูดถึงรูปแบบการใช้งาน ก็จะพบว่ามันไปอยู่ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นการติดตามผลผลิตตั้งแต่ปาล์มน้ำมันจนถึงเพชร การซื้อขายที่ดิน การตรวจสอบและยืนยันตัวตน รวมถึงการจัดการความเป็นเจ้าของของพลังงาน ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งที่ Blockchain ไปถึงได้ ซึ่งสำหรับประเทศที่มีการผลักดันเทคโนโลยีอยู่เสมอนั้น Blockchain จะเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่พัฒนาได้รวดเร็วที่สุดและกลายเป็นนวัตกรรมที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายที่สุดแน่นอน

สัมภาษณ์ BCPG Partner ผู้ผลักดันให้ Project เกิดในประเทศไทย

แม้ Power Ledger จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเพียงใด แต่การจะผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในประเทศไทย อย่างไรก็ต้องมี Partner คอยสนับสนุน ซึ่ง Power Ledger ได้รับการสนับสนุนจาก BCPG บริษัทด้านพลังงานอนาคตในเครือบางจาก เราจึงเชิญคุณบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ BCPG มาพูดคุยถึงการร่วมมือกับ Power Ledger ใน Project ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

คุณบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ BCPG

เป้าหมายทางธุรกิจของ Project กับ Power Ledger ก่อนที่จะนำ blockchain มาใช้

คุณบัณฑิต: ยุทธศาสตร์ของ BCPG มีธุรกิจรูปแบบ Wholesale หมายความว่า เราสร้างโรงไฟฟ้าและมีสัญญาระยะยาวของรัฐบาล มีราคาและกำไรชัดเจน เราทำมาตั้งแต่ค่าไฟฟ้า 12 บาท ตอนนี้ลดลงเหลือ 3 บาท เรารู้สึกว่าค้าส่งลดลงและควรทำอะไรให้มีกำไรมากกว่านี้ ก็มองว่าราคาค้าส่งเหลือ 3 บาท แต่ราคาค้าปลีก 4 บาท ถ้าผมขายตรงก็จะทำกำไรได้มากขึ้น เราจึงขยับจาก Low Margin ไปสู่ High Margin ในขณะเดียวกันเราทำ Retail ก็ต้องการ Customer Insight เพราะการทำ Retail ไม่ใช่การขายของเสร็จแล้วเลิกกันไป ต้องเข้าใจและรู้จักลูกค้าให้ดี เราก็คิดว่าทำอย่างไรถึงจะได้มา ก็คงหนีไม่พ้น Digital เป็นที่มาในการนำ Blockchain มาใช้กับ Service ด้านพลังงาน ต่อไปผู้ใช้จะเป็นผู้ผลิต โดยที่ถ้าเหลือก็สามารถเก็บไว้หรือขายต่อได้

Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เป็นนักบัญชีที่ชาญฉลาด สามารถจัดการ Real-Time Complex Transaction ได้ Real-time ในที่นี้หมายความว่าทุกๆ วินาทีที่เกิดการค้าขายขึ้น มันสามารถที่จัดการการขายรวมทั้งการจ่ายเงินในวินาทีนั้นได้เลย สมมุติผมขายไฟ สิ้นเดือนขายมิเตอร์ อีก 45 วันไปเก็บเงิน ถามว่าใช้เวลาเท่าไร รวม ๆ แล้วก็ 60 วันกว่าจะเก็บเงินได้ แต่นี่ขายปุ๊บ เก็บเงินปั๊บในเสี้ยววินาที ฉะนั้นเงินทุนที่เคยหมุนอยู่ในช่วงเวลา 60 วันจะหมุนอยู่ในช่วงเวลาแค่เป็นวัน ก็เห็นได้ว่า Economy มันเปลี่ยนไป

จากที่เริ่ม implement และมีการใช้มา บทเรียนและความท้าทายของ Project นี้

คุณบัณฑิต: เรื่องความท้าทาย ผมคิดว่าเป็นในเรื่องของกฎหมาย คือสิ่งที่เราพัฒนาเขาเรียกว่าเป็นดินแดนใหม่ที่เพิ่งค้นหาเจอ ไม่มีใครเคยทำเรื่องนี้มาก่อน พอเราทำขึ้นมาฝ่ายกำกับก็ไม่รู้ว่าจะกำกับอย่างไร เรื่องของกฎหมายก็ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด เพราะถ้าผิดก็ต้องมีการบัญญัติว่าทำแบบนี้แล้วผิด และมีบทลงโทษอย่างไร ถ้าถูกก็ทำต่อไปได้ ทุกวันนี้ทาง Regulator กำลังเขียนกฎกติกาขึ้นมาใหม่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จเร็วๆ นี้ เพราะรัฐบาลเองก็จะสนับสนุนให้กับประชาชนผลิตไฟใช้เองและขายให้กันเองได้ ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น ถึงแม้ว่าจะเป็น Community ที่อยู่ใน Compound เดียวกัน แต่สายไฟที่อยู่ระหว่างบ้านยังเป็นของรัฐบาลอยู่ ในวันที่เราทดสอบระบบ หรือ Technical Prove การไฟฟ้าก็อนุเคราะห์ให้เราใช้สายไฟได้ จึงมีอิเล็กตรอนวิ่งผ่านกันไปมา ค้าขายได้จริง ซึ่งมี Regulator บอกว่าแล้วการไฟฟ้าคิดค่าการใช้สายไฟเท่าไร ก็ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ตกผลึกว่าตกลงแล้วจะคิดเท่าไร คิดสูงไปก็ไม่ดี ต่ำไปก็ไม่ได้ แล้วประชาชนเขากำลังมี Economy ใหม่ หมายความว่าเมื่อก่อนบ้านหนึ่งหลังใช้ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แต่ตอนนี้สามารถเป็นผู้ผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้นและมี Value เพิ่มขึ้น

เมื่อก่อนถ้าหากเอาบ้านไปจำนองกับธนาคารจากบ้านที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทก็อาจจะได้ไม่ถึง แต่ถ้ามีรายได้จากโรงไฟฟ้าบนหลังคาด้วยก็เพิ่ม Value ให้กับบ้านตัวเองมากขึ้น ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ผมคิดว่ามันเป็นผลประโยชน์ของประชาชน และที่สำคัญพลังงานก็เป็นพลังงานของประชาชน โดยที่เขาผลิตเองและมีสิทธิในการใช้ของเขาเอง หากรัฐบาลซื้อกลับก็จะดี ในส่วน T77 ก็ได้แสนสิริลงทุนด้วย เรากำลังทำที่เชียงใหม่ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เราก็ได้รับคัดเลือกให้ไปพัฒนาในเรื่องนี้ มีผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นแสน ๆ คน ในส่วนนี้เราทดลองให้เห็นก่อนว่ามันทำได้จริง แต่ว่าการทำจริงถ้ายังติดขัดในเรื่องสายส่งว่าจะคิดเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าทาง Regulator ทำงานได้เร็วขนาดไหน ถ้าออกมาเร็วแล้วทุกคนอยู่ด้วยกันได้ก็เดินหน้าต่อไป

ถ้าอยากมีบ้านและ Rooftop เป็น Solar Cell ตอนนี้ต้องทำอย่างไร

คุณบัณฑิต: ที่เชียงใหม่คือเราจัดการเรื่องการลงทุน โดยที่ประชาชนอยู่เฉย ๆ รอรับส่วนลดหรือรอจ่ายค่าไฟถูกลง รอรับรายได้จากการที่ขายให้คนอื่นได้ และบ้านมี Value ที่สูงขึ้น

ขึ้นอยู่กับว่าทาง Regulator ทำงานได้เร็วขนาดไหน ถ้าออกมาเร็วแล้วทุกคนอยู่ด้วยกันได้ก็เดินหน้าต่อไป

มองทิศทางในอนาคตโดยรวมของธุรกิจพลังงานได้อย่างไรบ้าง

คุณบัณฑิต: ผมคิดว่าทุกประเทศมีเป้าหมายเดียวกัน ไม่น่าจะต่างกันมาก ผมคิดว่ามีอยู่ 2 ข้อ

ข้อแรกคือ ต้นทุน ควรจะทำให้มัน Competitive เพื่อที่ในด้านของการส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือการทำให้ประชาชนมี Cost of Living ที่สามารถอยู่ได้ เหมาะสมกับ GDP และรายได้ของประชาชน

ข้อสองคือ อากาศมันไม่ค่อยดี โลกร้อน ฉะนั้นการทำให้โลกนี้สะอาดและน่าอยู่เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

ดังนั้นใน 2 ข้อนี้มันต้องสมดุลกัน สมัยก่อนก็จะบอกว่าพลังงานสีเขียวหรือพลังงานสะอาดแพง แต่ทุกวันนี้มีราคาถูกแล้ว

ในอนาคตของพลังงานก็เป็นการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล สัดส่วนสีเขียวกับสีน้ำตาลก็ต้องดูให้ดี เมืองไทยเขียนแผนออกมาสนับสนุนให้ประชาชนช่วยกันเปลี่ยนพลังงานสะอาด อันนี้ก็ดี ซึ่งอาจจะยังไม่พร้อม ทั่วโลกเขาไปทางนี้กันหมด ซึ่งประเทศไทยจะยังไง ผมคิดว่าเรื่องนี้ประชาชนต้องออกมาช่วยกัน เรื่องมลพิษต่าง ๆ มันเกิดขึ้นมาจากคาร์บอนที่ขึ้นสู่บรรยากาศ มันต้องเปลี่ยนวิธี

คำแนะนำสำหรับองค์กรที่กำลังค้นหา Deep Tech เพื่อนำมาใช้ในองค์กรที่ไม่ใช่แค่ Blockchain แต่รวมถึง AI, Biotech ว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ

คุณบัณฑิต: ผมว่าเรื่องอนาคตเป็นเรื่องที่คาดเดายาก แต่เรื่อง Technology สามารถหาอ่านได้ในงานวิจัยหรือบทความต่างๆ ได้หมด Startup ทั้งหลายผมคิดว่าต้องลุกขึ้นมาแล้วลงมือทำเลย อย่าไปกลัวที่จะล้มเหลว ล้มได้แต่ลุกขึ้นมาให้เร็ว ไม่ใช่กลัว ไม่กล้าทำอะไรซักอย่าง ถ้ามัวแต่ช้าไป 1 ปี เทคโนโลยีมันก็เปลี่ยนไปแล้ว เมื่อก่อนมี R&D แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่ยุค R&D แล้ว จะวิจัยอีกทีต้องรออีก 3 ปี ฉะนั้นใน 1 ปีถ้ายังประดิษฐ์อะไรออกมาไม่ได้ ไปทำอย่างอื่นดีกว่า ดังนั้นผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของความกล้าที่จะออกมาทำอะไร สำหรับผมแล้วก็ไม่ค่อยได้คาดการณ์เรื่องของอนาคต แต่ผมสร้างอนาคต อย่างสิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้มันก็เป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งผมไม่ได้นั่งดูมันเฉยๆ แต่ผมลงมือทำเลย ทำเป็นคนแรกของประเทศและทำเป็นคนแรกๆ ระดับโลก ที่สำคัญคือคิดอะไรให้ลงมือทำเลย อย่าไปกลัวมัน

พบกับ Dr.Jemma Green หนึ่งใน World Class Speaker ที่งาน Techsauce Global Summit 2019!

Dr.Jemma Green หญิงเก่งแห่งวงการ EnergyTech เป็นหนึ่งใน World Class Speaker ที่จะร่วมเปิดมุมมองใหม่ด้าน EnergyTech และ Smart City แก่ทุกท่านที่ Techsauce Global Summit 2019 งาน Tech Conference ที่ดีที่สุดใน Southeast Asia

เตรียมพบกับ Session จาก Speaker ระดับโลกมากถึง 12 Theme ครอบคลุมทุกประเด็นที่จำเป็นในโลกอนาคต พร้อม Innovative Showcase จาก Startup กับ Corporate มากมาย และโอกาส Networking เพื่อ Connect สู่ Global พบกันที่ Centara Grand at CentralWorld วันที่ 19-20 มิถุนายน รีบคว้าบัตรราคาพิเศษก่อนใครได้แล้วที่นี่!

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...

Responsive image

“อยากได้อะไร ก็แค่พูดตรงๆ” เคล็ดลับความสำเร็จจาก Sam Altman

Sam Altman CEO ของ OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT แนะนำ วิธีช่วยให้คุณได้ในสิ่งต้องการ และทำได้ง่ายๆ...

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...