ส่อง Green Manufacturing Plan แผนปฏิรูปสีเขียวของ Elizabeth Warren ผู้ชิงตำแหน่งปธน.สหรัฐ 2020 | Techsauce

ส่อง Green Manufacturing Plan แผนปฏิรูปสีเขียวของ Elizabeth Warren ผู้ชิงตำแหน่งปธน.สหรัฐ 2020

การแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2020 ที่จะถึงนี้ นับเป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องจับตาในเวทีโลก The Green New Deal แผนปฏิรูปเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เป็นอีกความหวังสำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งได้กลายเป็นบททดสอบสำคัญสำหรับผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ต่างกระโดดให้การสนับสนุนอย่างแข็งขัน

อเล็กซานเดรีย โอคาซิโอ-คอร์เตซ (Alexandria Ocasio-Cortez) และวุฒิสมาชิกเอ็ด มาคีย์ (Ed Markey) สังกัดพรรคเดโมแครต เป็นผู้นำเสนอให้สภาคองเกรสทำการพิจารณา Green New Deal เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แผนปฏิรูปดังกล่าวเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในสิบปี และนำร่องการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการสนับสนุนการทำเกษตรครอบครัวและการลงทุนในรถไฟความเร็วสูง

บางคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับโอกาสที่ข้อเสนอด้านนโยบายนี้จะประสบความสำเร็จหรือทำให้การสนับสนุนนั้นเป็นไปได้ อลิซาเบธ วอร์เรน (Elizabeth Warren) หนึ่งในวุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2020 ออกมาเผย 'Green Manufacturing Plan' อันเป็นกลยุทธ์สำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในการใช้เครื่องมือทั้งหมดของรัฐบาลในการปกป้อง และสร้างงานชาวอเมริกันมากกว่าดำเนินการเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของฝั่ง Wall Street และบริษัทข้ามชาติ เป็นตัวอย่างแรกที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อชาติ อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของคำมั่นสัญญาในการปฏิบัติตามข้อเสนอ Green New Deal

ด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในนักวิจัยอเมริกัน อุตสาหกรรมอเมริกัน และคนงานอเมริกัน เราจะสามารถก้าวเป็นผู้นำระดับโลกในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างงานกว่าล้านตำแหน่งในอเมริกา

อลิซาเบธ กล่าวว่า "ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกอย่างแท้จริง ในขณะหลายฝ่ายกำลังถกเถียงในข้อเสนอ Green New Deal เกี่ยวกับการมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในครัวเรือน แต่ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความชัดเจนว่า แม้เราจะลดการปล่อยมลพิษของอเมริกาให้เป็นศูนย์ภายในปี 2030 การลดการปล่อยมลพิษทั่วโลกก็ยังมีความจำเป็นอยู่ดี และเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการระดับโลกนี้ อเมริกาต้องสร้างนวัตกรรมที่รวดเร็วเทียบเท่ากับการแข่งขันในอวกาศ รวมถึงการรับเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ"

"ในอีกสิบปีข้างหน้าตลาดเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีมูลค่าถึง 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อเมริกาควรเข้าไปครองตลาดใหม่นี้ เรามีนักวิจัยที่มีทักษะอีกทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานขั้นพื้นฐานในการพัฒนาผลิตและส่งออกเทคโนโลยีที่โลกจำเป็นต้องเผชิญกับการคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

ที่มาภาพ facebook.com/ElizabethWarren

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ท้าทายของ Green New Deal อลิซาเบธ เผยถึงแผน Green Manufacturing Plan ในอีกสิบปีข้างหน้า ทั้งทำการลงทุน 2 ล้านล้านดอลลาร์ในงานวิจัยสีเขียว การผลิตและการส่งออกที่จะเป็นการเชื่อมโยงนวัตกรรมอเมริกันโดยตรงกับงานของคนอเมริกัน โดยมี 3 แผนหลักๆ ดังนี้

1. Green Apollo Program

ความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำของโลกด้านการพัฒนา การผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่โลกต้องการ (อย่างเช่นการที่อเมริกาได้ลงทุนในนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นประเทศแรกที่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์) นั่นหมายความว่า ภายใน 10 ปีข้างหน้าจะต้องมีการลงทุน 400 พันล้านดอลลาร์เพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานสะอาด มากกว่า 10 ปีที่แล้วถึง 10 เท่า ซึ่งนี่รวมทั้งการสร้างสถาบันพลังงานสะอาดแห่งชาติ (National Institutes of Clean Energy) และการสร้างบทบัญญัติเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่เสียภาษีและผู้ลงทุน จะได้รับประโยชน์จากการลงทุนในด้านวิจัยและเม็ดเงินที่ลงทุนจะอยู่ในประเทศ ไม่ใช่จากการ offshore ข้างนอก

2. Green Industrial Mobilization

ความมุ่งมั่นในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลกลางอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อกระตุ้นการสร้างนวัตกรรมและความต้องการผลิตภัณฑ์พลังงานสะอาดที่ผลิตในอเมริกา นั่นหมายความว่า ภายใน 10 ปี รัฐบาลกลางจะต้องมุ่งมั่นในการจัดหางบประมาณถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานสะอาด (สร้างโดยคนอเมริกัน) ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดมลพิษ สำหรับการใช้งานของทั้งรัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่นเพื่อการส่งออก ซึ่งปัจจุบันคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า สหรัฐจะมีการใช้เงินราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ในด้านยุทศาสตร์การป้องกันประเทศ (มากเกินกว่าที่ประเทศต้องการจริงๆ) อลิซาเบธแนะว่า เราควรใช้งบประมาณก้อนนั้นในการจัดซื้อเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ผลิตโดยชาวอเมริกัน เพื่อแก้ไขวิกฤติสภาพอากาศที่กำลังคุกคามเราทุกคน

3. Green Marshall Plan*

ความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้ประเทศอื่นทำการซื้อและปรับใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ผลิตขึ้นในอเมริกา รวมถึงการตั้งสำนักงานรัฐบาลกลางแห่งใหม่ ทำการขายเทคโนโลยีพลังงานสะอาดของอเมริกาที่ปลอดมลพิษ และการลงทุน 100 พันล้านเหรียญสหรัฐในการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการซื้อและปรับใช้เทคโนโลยีนี้

* Marshall Plan หรือแผนการมาร์แชล เป็นแผนของปธน.ทรูแมน เมื่อปี 1947 มุ่งช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ตกต่ำในช่วงหลังสงครามโลกที่ 2 เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าคอมมิวนิสต์ ผลทางเศรษฐกิจโดยอ้อมคือเป็นการขยายฐานตลาดการค้าของสหรัญให้กว้างขึ้น

อลิซาเบธ เน้นย้ำว่าแผนนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างงานใหม่มากกว่าล้านตำแหน่ง อีกทั้งจะเป็นการช่วยฟื้นฟูตำแหน่งงานที่หายไป เนื่องจากในช่วงสองสองทศวรรษที่ผ่านมาที่ได้สร้างความเสียหายให้กับชนชั้นกลางและคนผิวสี ซึ่งหากแผนการนี้สำเร็จจะทำให้อเมริกาเป็นผู้นำระดับโลกในการแก้วิกฤตการณ์โลกร้อน

แปลและเรียบเรียงเนื้อหาจาก Team Warren, The Hill

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bill Gates แนะนำ 'The Coming Wave' หนังสือ AI ที่ควรอ่าน ทำนายการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกการทำงาน

Bill Gates ผู้ก่อตั้ง Microsoft แนะนำหนังสือ "The Coming Wave" เขียนโดย Mustafa Suleyman ซีอีโอของ Microsoft AI ซึ่งเขายกให้เป็นหนังสือ AI ที่สำคัญที่สุดและอยากให้ทุกคนอ่าน เพื่อเต...

Responsive image

The Puzzle Principle เคล็ดลับของไอน์สไตน์ที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น

เรียนรู้หลักการ The Puzzle Principle ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแนวคิดจาก Adam Grant ที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้าง และทำให้คุณฉลาดขึ้น พร้อมตัวอย่างงานวิจัยที่ยืนยันผลลัพ...

Responsive image

บริหารแบบ Micromanagement ใส่ใจไม่จู้จี้ บทเรียนพลิกธุรกิจจาก Brian Chesky CEO ของ Airbnb

สำรวจว่าแนวทางการบริหารที่ใส่ใจในรายละเอียดของ Chesky ช่วยเปลี่ยน Airbnb ให้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกได้อย่างไร และเพราะเหตุใดการ micromanagement ...