ถกประเด็น Leadership กับ 3 CEO ‘ผู้นำยุค 2020’ ควรเป็นอย่างไร? | Techsauce

ถกประเด็น Leadership กับ 3 CEO ‘ผู้นำยุค 2020’ ควรเป็นอย่างไร?

ในยุคที่คน Gen X กับ Gen Y มาทำงานร่วมกัน ย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างตามวัย ในบริษัทที่ต้องเจอกับคนต่าง Gen ผู้นำจะสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทอย่างไร ต้องสร้างความเข้าใจกับทีมอย่างไร และรับฟังคนรุ่นใหม่อย่างไร

บทความนี้เป็นสรุป Panel Session จากงาน CTC2020 โดยผู้นำระดับ CEOของ 3 องค์กร ได้แก่ คุณโศรดา ศรประสิทธิ์ CEO บริษัท Brilliant & Million , คุณมารุต ชุ่มขุนทด CEO & Founder บริษัท CLASS Cafe และคุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-founder บริษัท Techsauce Media มาร่วมถกประเด็น ผู้นำในยุค 2020

นิยามคำว่า Leadership

คุณอรนุชให้คำนิยามของผู้นำว่า ผู้นำต้องชัดเจนในเป้าหมาย สร้างความเข้าใจกับทีมว่าสิ่งที่ทำอยู่คืออะไร ทำไปทำไม

“Leadership ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน หากเป้าหมายชัดเจน เมื่อเจอปัญหา จะสร้างความเข้าใจกับทีมงานในทิศทางเดียวกันได้ ”

ทั้งนี้ผู้นำต้อง Unlearn และ Relearn  อย่าคิดว่าตนเองรู้เยอะ มีประสบการณ์เยอะ เพราะบางครั้งประสบการณ์อาจใช้ได้ แต่ Skil Set บางอย่าง ต้องฟังคนรุ่นใหม่ ฟังทีม การรับฟังทีมเป็นเรื่องสำคัญ

ด้านคุณโศรดา ให้ความเห็นว่า ผู้นำที่ดีต้องเข้าใจทีม รู้จักคำว่า “ใจเขาใจเรา” ให้มองว่าถ้าเราเป็นเขา เราจะคิดอย่างไร

“หนึ่งใน Mission ของ Leader คือ ต้องบริหารความขัดแย้ง คือต้องทราบข้อมูลทั้งหมด เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และเอา Company Culture ครอบไว้”

วิธีการดูแลพนักงาน

คุณโศรดาเผยว่า วิธีการดูแลกัน คือการรับฟัง โดยเฉพาะการรับฟังเด็กรุ่นใหม่ แม้การรับฟังอาจไม่ถูกใจ แต่ต้องถูกต้อง เพราะคน Gen ใหม่เติบโตกับข้อมูลที่หาเองได้ 

ปัจจุบันเราเห็นตัวอย่างของเด็กรุ่นใหม่ที่มาเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นให้ลอง “หาให้เจอ ฟังให้ดี แล้งลองดู” เมื่อฟังแล้ว เราเลือกที่จะไม่ทำตามทั้งหมด ก็ต้องบอกพนักงานว่า เราทำแบบนี้เพราะอะไร

“การเลือกเส้นทางของผู้บริหารต้องเลือกให้ชัดว่าจะไปทางไหน เราไปถึงเส้นทางได้แน่นอน แต่ต้องเลือกว่าจะไปทางไหน”

คุณสมบัติผู้นำในปี 2020

คุณอรนุช ให้ความเห็นว่า ในปีนี้หลายองค์กรเจอกับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้นำ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้นำจะต้องมีคือ Sense of Urgency เห็นวิกฤต ก่อนที่จะเกิดวิกฤต 

ในยุค Disruption จะเห็นว่าการแข่งขันในปัจจุบัน บางครั้งคู่แข่งก็มาจากต่างอุตสาหกรรม คำถามสำคัญคือ คนที่เป็นผู้นำรู้ตัวหรือไม่? หากคุณผู้เป็นผู้นำที่รู้สึกกำลังอยู่ใน Comfort Zone มันอาจกลายเป็นช่วงเวลาที่น่ากลัวที่สุด

ดังนั้นผู้นำต้องคอยสังเกต รับข่าวสารและวิเคราะห์ มองเห็น Sense of Urgency ก่อนที่วิกฤตจะเกิด

“มันไม่ได้แปลว่าเราต้องแข่งขันตลอดเวลา แต่ผู้นำต้องตระหนักะถึงการสร้าง Network หา Partner ที่จะทำอย่างไรให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะหากธุรกิจนั้นยังเป็นปลาตัวเล็ก”

อีกสิ่งสำคัญคือ ต้องสื่อสารกับพนักงานอย่างชัดเจน ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร โดยผู้นำต้องชี้ให้ทีมเห็นวิกฤต เพื่อที่จะกล้าคิดรอบด้านมากขึ้น และสร้างคนที่จะเป็น The Next Leadership ต่อไป อีกทั้งพร้อมฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน

ด้านคุณมารุต เผยว่า ผู้นำต้อง Drive ให้ทีมเข้าสู่ Passion ให้ได้ “เวลานี้เรากำลังเจอสิ่งที่ยากในการทำงานกับทีม ท่ามกลางการแข่งขันทีรุนแรง ไม่ว่าจะออกบริการอะไร เราต้องสุด แต่ปัญหาคือบางครั้งเราไม่อาจทำให้สุดขั้นได้”

โดยคุณมารุตได้ยกตัวอย่างการ Drive เข้าสู่ Passion ของ CLASS Cafe ที่เคยทำ คือเมื่อจะขายกางเกงยีนส์ สำหรับคุณมารุต แค่กางเกงใส่สบาย ก็ใส่ได้ แต่คน Gen ใหม่กลับใส่กางเกงตัวหลักหมื่นบาท 

คุณมารุตอยากเข้าใจว่าทำไมคน Gen นี้ถึงซื้อกางเกงราคานี้ ก็ไปซื้อกางเกงที่ร้านดังกล่าว ก่อนเข้าใจ pain point ว่า กางเกงดังกล่าวมีลักษณะ ผ้าหนาและแข็ง คนใส่เพราะไม่อยากซักกางเกง

เมื่อเห็น pain point ก็จะเกิดโอกาส ในการหานวัตกรรมกางเกงที่ไม่ต้องซัก สิ่งสำคัญจากตัวอย่างนี้ คือการสร้างให้ทีมเห็น และมี Passion เดียวกัน

คุณโศรดาได้ยกตัวอย่างผู้นำด้วยตัวอักษร 4 ตัวคือคำว่า LEAD ได้

  • Love to share , Love to give : ผู้นำต้องมีความความเสียสละ

  • Educate : ผู้ต้องไม่หยุดเรียนรู้ อาจต้องเรียนรู้จากทีม

  • Adaptibility : ไม่ใช่ผู้นำเป็นคนกำหนดแนวทางบริษัทอย่างเดียว แต่ลองทำในสิ่งที่ทีมแนะนำ

  • Decission Making: การตัดสินใจของผู้นำต้องอธิบายได้ว่ามาจากอะไร 

การตัดสินใจของผู้นำต้องตัดสินใจอย่างไร

คุณอรนุชแนะนำว่า ให้นึกถึงสิ่งเลวร้ายที่สุดไว้ก่อน รีบทำสิ่งที่จะกระทบกับองค์กรมากที่สุด และต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดที่ผ่านมา 

ทั้งนี้ผู้นำต้องทำให้ทีมดูเป็นตัวอย่าง อย่าพูดอย่างเดียว และชี้ให้ทีมเห็นประโยชน์สูงสุดจากการทำสิ่งนั้นหรือตัดสินใจสิ่งนั้นๆ

เมื่อพนักงานมี Goal ต่างกัน ผู้นำทำอย่างไร

คุณโศรดาแนะนำว่า การสังเกตพนักงานในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ mission ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องสังเกต เข้าใจพื้นฐานพนักงานแต่ละคน ซึ่งบางคนไม่มีปัญหาด้านการเงิน ให้เงินเยอะก็ไม่ได้แปลว่าตอบโจทย์เป้าหมายของเขา ดังนั้นต้องทำความเข้าใจและ set goal ให้กับพนักงาน ให้มี step ต่อๆไปเป็นภาพเดียวกัน

feedback คนในทีม

คุณมารุตพูดถึง feedback กับพนักงานว่า ปัจจุบัน โลก Social Network อยู่ในชีวิตของคนรุ่นใหม่ เราสามารถเห็น feedback ของคนในทีมได้จาก Social เมื่อองค์จะทำอะไรต้องโปร่งใสมากๆ

สิ่งผิดพลาดที่ผู้นำไม่ควรทำ

คุณอรนุช : Toxic Culture อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบแก้ปัญหา เพราะหมึกหยดเดียวสามารถกระจายไปทั่วกระดาษได้ 

คุณโศรดา : อย่าพยายามสร้างความกลมเกลียวมากเกินไป เพราะทุกองค์กรมีการแข่งขัน องค์กรเป็นพิระมิด ทุกคนต้องเดินขึ้นไปที่ยอด ไม่ใช่ทุกคนจากฐานเดินขึ้นไปได้

คุณมารุต : หากพนักงานจะลาออก อย่ายื้อ ให้เปลี่ยนวิธีคิด และ support พนักงาน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...