บทเรียนสำคัญ จากการปลดพนักงานครั้งใหญ่ของ Meta องค์กรควรเรียนรู้อะไร? | Techsauce

บทเรียนสำคัญ จากการปลดพนักงานครั้งใหญ่ของ Meta องค์กรควรเรียนรู้อะไร?

เมื่อต้นปี 2024 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ประกาศเตือนพนักงานว่า ปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทาย พร้อมย้ำว่าบริษัทจะเข้มงวดกับการประเมินผลงานมากขึ้น โดยเฉพาะกับพนักงานที่ทำผลงานไม่เป็นไปตามคาด

บทเรียนสำคัญ จากการ Lay Off พนักงานครั้งใหญ่ของ Meta องค์กรควรเรียนรู้อะไร?

ไม่นานหลังจากนั้น Meta ได้ปลดพนักงานกว่า 3,600 คน หรือประมาณ 5% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่ "พนักงานที่ผลงานแย่" อย่างที่บริษัทกล่าวอ้าง ที่แย่กว่านั้นคือการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนและการจัดการที่ไม่แคร์ความรู้สึกพนักงาน ทำให้พนักงานจำนวนมากรู้สึกช็อกและไม่พอใจกับกระบวนการเลิกจ้างครั้งนี้ และสิ่งที่หลายคนกังวลก็คือการถูก Lay Off จาก Meta จะส่งผลเสียต่อการหางานในอนาคต

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริษัทใหญ่เจอปัญหา Lay Off ที่ส่งผลเสียมากมาย คำถามคือ องค์กรควรเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ เพื่อให้การ Lay Off เป็นไปอย่างเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์และลดความเสียหายที่ไม่จำเป็น?

1. การสื่อสารสำคัญที่สุด อย่าปล่อยให้พนักงานรู้สึกเหมือนถูกหักหลัง

ถึงแม้องค์กรจะมีเงินชดเชยหรือสวัสดิการที่ดี แต่ถ้าขาดการสื่อสารที่เหมาะสม การปลดพนักงานก็อาจสร้างความไม่พอใจและกระทบต่อชื่อเสียงองค์กรได้

องค์กรควรทำอย่างไร?

  • ชี้แจงเหตุผลให้ชัดเจน – อธิบายว่าทำไมบริษัทถึงต้องลดพนักงาน เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือการปรับโครงสร้างองค์กร
  • ให้ข้อมูลล่วงหน้า – การแจ้งกะทันหันทำให้พนักงานรู้สึกไม่มั่นคงและเกิดกระแสต้าน
  • มีแผนรองรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบ – เช่น การช่วยหางานใหม่ หรือให้เวลาปรับตัวก่อนออกจากงาน

2. ผู้บริหารต้องพร้อมรับมือกับการพูดคุยที่ตรงไปตรงมา

การแจ้งข่าวปลดพนักงานเป็นหนึ่งในเรื่องที่ยากที่สุดสำหรับผู้บริหาร หากไม่มีการเตรียมตัวที่ดี อาจทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก

องค์กรควรเตรียมตัวอย่างไร?

1. อบรมให้ผู้จัดการสามารถแจ้งการปลดพนักงานได้อย่างมืออาชีพและมีมนุษยธรรม

2. ให้คำตอบที่ชัดเจนต่อคำถามสำคัญ เช่น

  • ทำไมต้องเป็นพนักงานคนนี้
  • ใครเป็นคนตัดสินใจ
  • บริษัทจะช่วยเหลืออย่างไร

หากผู้จัดการตอบไม่ได้หรือให้ข้อมูลไม่ตรงกัน จะยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่าการปลดพนักงานครั้งนี้ไม่มีความเป็นธรรม

3. การแจ้ง Lay off ควรบอกแบบตัวต่อตัว ไม่ใช่ส่งผ่านอีเมล

หนึ่งในข้อผิดพลาดที่พบบ่อยคือการแจ้งข่าวปลดพนักงานผ่านอีเมลหรือการประชุมออนไลน์แบบกลุ่ม วิธีนี้ทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า

วิธีที่ดีที่สุด:

  • นัดพูดคุยตัวต่อตัว หรืออย่างน้อยเป็นวิดีโอคอลแบบรายบุคคล
  • อธิบายเหตุผลให้ชัดเจน พร้อมแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเงินชดเชยและความช่วยเหลือที่มีให้
  • เปิดโอกาสให้พนักงานถามคำถาม

แม้จะเป็นบทสนทนาที่ยาก แต่การสื่อสารโดยตรงช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรยังคงให้เกียรติและเคารพพวกเขา

4. อย่ามองข้ามพนักงานที่ยังอยู่ พวกเขาก็ต้องการความมั่นใจเช่นกัน

หลังจากการปลดพนักงาน บริษัทมักมุ่งไปที่พนักงานที่ออกไป แต่สิ่งที่หลายองค์กรมองข้ามคือ "ผลกระทบต่อพนักงานที่ยังอยู่"

Layoff Survivor Guilt คือเป็นภาวะที่พนักงานรู้สึกผิดที่ตัวเองยังมีงานทำ ขณะที่เพื่อนร่วมงานต้องออกไป หลายคนอาจรู้สึกไม่มั่นคงหรือหมดไฟ เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเป็นรายต่อไปหรือไม่

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น:

  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • ขวัญกำลังใจถดถอย
  • อัตราการลาออกเพิ่มขึ้น

องค์กรควรทำอะไร?

  • จัดประชุมเพื่อสื่อสารทิศทางของบริษัทหลังการปลดพนักงาน
  • เปิดโอกาสให้พนักงานที่เหลือได้แสดงความคิดเห็นและถามคำถาม
  • สร้างความมั่นใจว่าบริษัทมีแผนรองรับและช่วยให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย

ไม่ใช่แค่การปลดพนักงาน แต่อยู่ที่ “วิธีการ” ขององค์กรด้วย

การปลดพนักงานอาจเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกธุรกิจ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ "องค์กรทำให้พนักงานรู้สึกอย่างไร?"

  • ถ้าจัดการผิดพลาด อาจส่งผลเสียต่อชื่อเสียงองค์กรในระยะยาว
  • แต่ถ้าทำอย่างมีมนุษยธรรม พนักงานที่ออกไปอาจกลายเป็นผู้สนับสนุนองค์กรในอนาคต

อดีตพนักงานในวันนี้ อาจเป็นลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ในวันหน้า การให้เกียรติและช่วยเหลือพนักงานในช่วงเวลาที่ยากลำบาก จะช่วยสร้างความไว้วางใจและทำให้บริษัทแข็งแกร่งขึ้นในระยะยาว

อ้างอิง: forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

“ตั้งคำถามให้เป็น” ทักษะที่ Sam Altman ชี้ว่าสำคัญที่สุดในยุค AI

Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ชี้ว่าทักษะสำคัญในยุค AI ไม่ใช่แค่ 'รู้เยอะ' แต่ต้อง 'รู้จักตั้งคำถาม' เพราะการตั้งคำถามที่ดี จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูล เชื่อมโยงความคิดและสร้างนวัตกร...

Responsive image

เช็กวัฒนธรรมองค์กรให้ชัวร์ก่อนรับงาน! เคล็ดลับสัมภาษณ์จาก Adam Grant

เวลาสัมภาษณ์งานหลายคนมักถามว่า 'วัฒนธรรมองค์กรของที่นี่เป็นยังไง' แต่คำตอบที่ได้มักจะฟังดูดีเกินจริง เช่น 'เราทำงานเป็นทีม เหมือนครอบครัวและคอยช่วยเหลือกัน' ซึ่งคำตอบเหล่านี้ไม่ได้...

Responsive image

6 วิธีบริหารเวลาให้คุ้มค่าจากผู้นำระดับโลกที่ใช้ทุกวัน

แม้ทุกคนจะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ทำไมบางคนถึงใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่บางคนต้องวิ่งไล่ตามงานอยู่ตลอดเวลา? คำตอบคือ พวกเขามีระบบจัดการเวลาที่ดี หากคุณต้องการพัฒนาทักษะการ...