เช็กลิสต์ 10 คำถามที่ควรถามตัวเอง ก่อนเปลี่ยนสายงาน

เปลี่ยนสายงาน

ไม่ว่าใครก็เคยมีช่วงเวลาที่รู้สึกหมดไฟกับงาน บางคนรู้สึกเหนื่อย เบื่อหน่าย ถูกกดดัน หรือรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่มีความหมาย จนเกิดคำถามในใจว่า “เราควรเปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสายอาชีพเลยดีไหม”

แต่อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจ เพราะบางครั้งสิ่งที่เราต้องการอาจไม่ใช่การเปลี่ยนสายงานครั้งใหญ่ แต่อาจเป็นแค่การเปลี่ยนบทบาท หรือย้ายสภาพแวดล้อมการทำงานเท่านั้นเอง ดังนั้นก่อนจะก้าวสู่การเปลี่ยนอาชีพครั้งสำคัญ ลองถามตัวเองด้วย 10 คำถามนี้ เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ชัดเจนและมั่นใจมากขึ้นว่า ทางไหนคือเส้นทางที่ใช่สำหรับคุณจริง ๆ

1. ตอนนี้อะไรคือ “สิ่งสำคัญที่สุด” ในชีวิต

ชีวิตกับงานบางทีเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ ลองถามตัวเองว่า ตอนนี้คุณให้ความสำคัญกับอะไร

  • ความมั่นคงทางการเงิน
  • Work  life balance
  • การเติบโตในสายอาชีพ
  • ความสุขและความเป็นอิสระ 

เมื่อคุณชัดเจนกับเป้าหมายในชีวิต การตัดสินใจเรื่องงานจะง่ายขึ้น

2. ข้อดีของงานที่ทำอยู่ตอนนี้มีอะไรบ้าง?

หลายคนโฟกัสแต่เรื่องที่ไม่ดี จนอาจลืมมองสิ่งที่ดีในงานปัจจุบันไป เช่น

  • เพื่อนร่วมงานดี
  • เวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
  • ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองถนัด

การมองเห็นข้อดีจะช่วยให้คุณวางแผนการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจด้วยอารมณ์ชั่ววูบ

3. อะไรคือ “ปัญหาหลัก” ที่ทำให้คุณไม่มีความสุขในการทำงาน

ต้องแยกให้ออกว่า อะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้คุณไม่พอใจในการทำงาน

  • วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เข้ากับตัวคุณ
  • หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่ทำให้รู้สึกแย่หรือเป็นเรื่องของรายได้

การเจาะจงปัญหาให้ชัด จะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณควรเปลี่ยน “สถานที่ทำงาน” หรือ “เปลี่ยนทั้งสายงาน”

4. สัญชาตญาณบอกอะไรคุณ

บางครั้งใจเรารู้คำตอบก่อนสมองจะวิเคราะห์ทัน ลองถามตัวเองว่า...ถ้าจะต้องอยู่ในสายงานนี้ไปอีก 5 ปี คุณรู้สึกอย่างไร แล้วถ้าได้เริ่มต้นใหม่ คุณรู้สึกโล่งใจ หรือกลัวมากกว่าเดิม สัญชาตญาณของเรามักไม่โกหก ลองฟังเสียงข้างในดู

5. คุณเคยคิดอยากลาออก “เกือบทุกวัน” 

ความเบื่อหน่ายเป็นเรื่องปกติของการทำงาน แต่ถ้าคุณรู้สึกอยากหนีตลอดเวลา หรือจินตนาการถึงการได้ทำอาชีพอื่นอยู่บ่อย ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า “คุณไม่ได้อยู่ในที่ที่เหมาะกับตัวเองแล้ว”

6. คุณเคยลองเปลี่ยนงานในสายเดิมมาแล้วหรือยัง

ถ้าคุณเคยลองเปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนบริษัท หรือเปลี่ยนทีมแล้ว แต่ความรู้สึกหมดไฟก็ยังตามมาทุกที่ นั่นอาจหมายความว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่องค์กร แต่อยู่ที่ “สายงานนั้น” อาจไม่เหมาะกับคุณ

7. งานนี้กระทบสุขภาพคุณหรือเปล่า

ถ้าคุณเริ่มมีอาการ เช่น ปวดหัว เครียด นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า หมดแรง หรือแม้แต่ซึมเศร้า ลองสังเกตดูว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานที่คุณทำหรือไม่ 

8. คุณเคยฝันอยากทำงานอย่างอื่น

หากคุณรู้สึกสนใจหรือชื่นชมคนที่ทำอาชีพอื่นอยู่บ่อย ๆ เช่น ชอบดูคลิปอาชีพใหม่ ๆ อ่านบทสัมภาษณ์คนในสายอื่น หรือลองเรียนอะไรใหม่ ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่ามีสิ่งที่เหมาะกับคุณมากกว่า

9. คนใกล้ตัวเคยแนะนำให้คุณเปลี่ยนสายงาน

บางครั้งคนรอบข้างอาจมองเห็นสิ่งที่เราไม่เห็น เช่น แววตาหมดไฟ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือศักยภาพของคุณที่ยังไม่ได้ใช้ ลองฟังความเห็นจากคนที่คุณรู้จัก แม้คำตัดสินใจจะเป็นของคุณ แต่คำแนะนำเหล่านั้นอาจช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ได้ 

10. คุณมี “ทักษะ” หรือ “จุดแข็ง” อะไรที่สามารถต่อยอดในสายงานใหม่ได้

การเปลี่ยนสายงานไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเริ่มจากศูนย์ ทักษะหลายอย่างที่คุณมี เช่น การสื่อสาร การบริหารจัดการ การคิดวิเคราะห์ หรือความสามารถเฉพาะทาง สามารถนำไปใช้กับงานใหม่ได้ มองตัวเองให้ลึกขึ้น แล้วคุณจะเห็นว่า “คุณมีต้นทุนมากกว่าที่คิด”

การลาออกหรือเปลี่ยนอาชีพไม่ใช่ทางเดียวที่จะหาความสุข บางครั้งแค่เปลี่ยนบทบาท ปรับมุมมอง หรือหาองค์กรที่ใช่ ก็อาจทำให้คุณกลับมารักงานได้อีกครั้ง สิ่งสำคัญคือการที่คุณได้ทบทวนชีวิตและตัดสินใจเลือกเส้นทางของตัวเอง

อ้างอิง: cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จากวันที่ล้มเหลว สู่ผู้พลิกโฉมโลก: 3 เรื่องเล่าจาก Steve Jobs ที่จะทำให้คุณกล้าเดินตามฝันของตัวเอง

ย้อนรำลึกสุนทรพจน์ Steve Jobs ณ สแตนฟอร์ด ที่เปลี่ยนชีวิตคนทั่วโลก ผ่าน 3 บทเรียนสำคัญจากเรื่องเล่าส่วนตัว ทั้งการเชื่อมต่อจุด (Connecting the Dots), ความรักและการสูญเสีย (Love and...

Responsive image

Lucy Guo ผู้ร่วมก่อตั้ง Scale AI มหาเศรษฐีวัย 30 ปี ที่ยังขับ Honda Civic และช็อป Shein

Lucy Guo มหาเศรษฐีผู้ร่วมก่อตั้ง Scale AI รวยกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ แต่ยังขับ Honda Civic และใส่เสื้อผ้าจาก Shein ด้วยแนวคิด “Act broke, stay rich”...

Responsive image

Mark Zuckerberg กับ “กฎ 80%” สูตรลับบริหารเวลาที่ Google, Einstein และ Steve Jobs Jobs ก็ใช้

Mark Zuckerberg ใช้กฎ 80% เพื่อเว้นที่ว่างในตารางงาน ลดการประชุม เพิ่มเวลาคิดกลยุทธ์ แบบที่ Google และ Steve Jobs ก็เคยใช้...