5 สิ่งต้องรู้สำหรับ SMEs ปี 2021 | Techsauce

5 สิ่งต้องรู้สำหรับ SMEs ปี 2021

SMEs เป็นขนาดของธุรกิจที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการอยู่มากกว่า 90% จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของคน เพราะฉะนั้นธุรกิจจึงต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ทันเวลา หลาย ๆ องค์กรทั้งที่เป็น SMEs และไม่เป็น จึงต้องนำพาธุรกิจไปต่อข้างหน้าและเพิ่มประสิทธิภาพให้บริษัทด้วยการทำ Digital Transformation 

แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรจะทำ Digital Transformation ได้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น Process การดำเนินการจึงสำคัญมาก การต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการทำงานของธุรกิจแบบ SMEs ถือเป็นส่วนที่ค่อนข้างยากในการทำ Digital Transformation รวมไปถึงงานด้านเอกสารที่เข้ามาที่เป็นอีกปัญหาในการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร

ในบทความนี้จึงรวบรวมเอา 5 สิ่งที่ SMEs ต้องรู้ในปี 2021 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อเป็นแนวทางในการรับมือ ปรับตัว และเดินหน้าทำ Digital Transformation ให้กับธุรกิจ

1. เข้าใจลูกค้า

ในการทำธุรกิจ สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ‘ลูกค้า’ ทำอย่างไรที่จะสามารถรักษาลูกค้าให้ใช้บริการเราต่อไป หลักการคือ การเข้าใจและต้องรู้จักสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า พร้อมมีความ Empathy

Empathy คือ การเข้าใจ และรู้สึกเหมือนกับที่รู้ลูกค้ารู้สึก หากได้ยินลูกค้า comment หรือพูดสิ่งใด เราต้องให้ความสำคัญ ทบทวน feedback อย่างเข้าใจ เอาใจเขา มาใส่ใจเรา 

เช่น เมื่อลูกค้ารู้สึกไม่พอใจกับบริการ เราก็จะรู้สึกเสียใจ เหมือนกับที่ลูกค้าไม่พอใจ และพร้อมจะรีบปรับปรุงในบริการ และการให้ความมั่นใจว่า เมื่อเกิดปัญหา หรือลูกค้าต้องการถามจะมีเราอยู่ข้างในการช่วยเหลือเสมอ ไม่ว่าจะมากน้อยอย่างไร

 2. Data เครื่องมือสำคัญนำพา SMEs เติบโต 

ในการที่จะเข้าใจความต้องการของลูกค้าและปัญหาของกลุ่มเป้าหมายประสบพบเจอนั้น เราต้องพึ่งพาชุดข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าที่ถูกต้องและแม่นยำ เพราะ Data นั้นเป็นชุดข้อมูลดิบที่รวบรวมเส้นทางการเข้าซื้อสินค้าและบริการของลูกค้าอย่างละเอียด (Customer Journey) เช่น ลูกค้าคนนี้เข้าซื้อสินค้าไหนบ่อยที่สุด และเหตุผลที่ตัดสินใจซื้อคืออะไร, เพราะเหตุใดลูกค้าคนนั้นถึงให้คะแนนสินค้าและบริการ 1 ดาว โดยที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น, ลูกค้าส่วนใหญ่สั่งซื้ออาหารวันจันทร์ ฯลฯ แน่นอนว่าข้อมูลในช่วงแรกอาจจะกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบเท่าไรนัก แต่ถ้าเราได้นำมาจัดลำดับความสำคัญให้ตรงกับจุดประสงค์ทางธุรกิจด้วยโปรแกรมต่าง ๆ  แล้วนำไปวิเคราะห์เป็นข้อมูลที่สรุปแล้วออกมา เราก็จะทราบปัญหาที่แท้จริงมากขึ้น เช่น การที่ลูกค้าที่ให้คะแนน 1 ดาว ก็เพราะว่าเกิดปัญหาด้านขนส่งล่าช้า เหตุผลนี้เองก็จะทำให้เราไปพัฒนาบริการขนส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. หมั่นตรวจสอบการนำข้อมูลลูกค้าไปใช้อย่างรัดกุม

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ต้องระวังถึงการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าเพื่อใช้ในการพัฒนาออกเป็นชุดข้อมูลและปรับปรุงธุรกิจ เนื่องจากหากนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้โดยปราศจากการยินยอม จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์แบรนด์ ลูกค้าอาจสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวธุรกิจในแง่ของการรักษาความปลอดภัยลูกค้าได้ 

ยิ่งไปกว่านั้น ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เรียกว่า ‘พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562’ หรือ PDPA จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 2564 หากธุรกิจละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานเช่น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน  หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) เช่น เชื้อชาติ ความคิดเห็นทางการเมือง พฤติกรรมทางเพศ หรือข้อมูลสุขภาพ ทั้งหมดนี้ธุรกิจควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้นอาจมีผลต่อบทลงโทษทางกฎหมาย ทั้งการปรับเงินและจำคุกได้ สำหรับรายละเอียดของ PDPA สามารถอ่านได้ที่นี่

4. เพิ่มประสิทธิภาพให้บริษัท ด้วยการทำงานแบบ Paperless

ลดปริมาณกระดาษ เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กร อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณขยะ และการลดการใช้กระดาษยังเป็นอีกหนึ่งขั้นของการเริ่มต้น Process ของการทำ Digital Transformation ให้กับองค์กร เพราะมีหลายครั้งที่งานต้องล่าช้าเพราะเอกสารไม่ครบ หรือหาเอกสารสำคัญไม่เจอจากเอกสารกองโตบนโต๊ะทำงาน หรือปวดหัวที่ต้องเตรียมเอกสารมากมายเพื่อยื่นภาษี และบางครั้งก็ต้องสับสนวุ่นวายกับการส่งเอกสารให้เจ้านายเซ็น ทั้งการอนุมัติเอกสารนั้นอาจต้องใช้เวลาในการรออนุมัติเพิ่มขึ้น หากเจ้านายหรือผู้มีอำนาจอนุมัติไม่อยู่

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกองค์กรเจอและพยายามมองหา Solution ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไข ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการธุรกิจ ในบทความนี้เราขอแนะนำ บริการของ Brainergy

ด้วย 3 บริการ คือ SmartFLOW, SmartSIGN และ SmartTAX ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป และยังสามารถปูทางให้องค์กรในการสร้าง Digital Transformation ให้สำเร็จได้อีกด้วย

SmartFLOW (สมาร์ตโฟลว์)

แปลงเอกสารกองโตเป็นไฟล์จิ๋วพร้อมเรียกใช้งานได้เสมอผ่านปลายนิ้ว ปัญหาเรื่องการค้นหาเอกสารกองโตในองค์กรจะหมดไป ด้วยระบบการจัดเก็บเอกสารสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบของ “เอกสารอิเล็กทรอนิกส์” และยังช่วยลดปริมาณกระดาษ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในระบบออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้งานผ่าน Web Browser ได้ทั้งรูปแบบ Intranet และ Internet ควบคู่กับการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานได้หลากหลายผ่าน Username และ Password พร้อมทั้งรูปแบบการใช้งานที่ง่าย และผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้คล่องตัวด้วยเครื่องมือที่ผู้ใช้งานทั่วไปคุ้นชิน

ประโยชน์

  • ค้นหาได้ง่าย ประหยัดพื้นที่การจัดเก็บ
  • สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข และจัดเก็บเอกสาร โดยการแยกหมวดหมู่เอกสารของเอกสารได้
  • กำหนดการแจ้งเตือนวันหมดอายุของเอกสารได้ เช่น เอกสารสัญญาหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร เป็นต้น
  • ลดความสับสนในการส่งขออนุมัติ โดยสามารถเลือกสายอนุมัติได้จาก สายงานอนุมัติมาตรฐานตามโครงสร้างขององค์กรที่กำหนดได้ในระบบ
  • มีระบบตรวจสอบและยืนยันเอกสาร ไม่สามารถปลอมแปลงเอกสารได้ 
  • ตรวจสอบประวัติเอกสารย้อนหลังได้
  • จัดทำเอกสารได้ตามรูปแบบมาตรฐานขององค์กร โดยการเลือกใช้รูปแบบสำเร็จ (Template)
  • สามารถส่งอีเมลสำเนาเอกสารไปให้บุคคลอื่นได้

SmartSIGN (สมาร์ตไซน์)

เพิ่มความปลอดภัยให้กับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล และป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ไม่ประสงค์ดี ด้วยระบบ “ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)” สร้างความน่าเชื่อถือ ประหยัดเงินลงทุน อีกทั้งง่ายต่อการจัดเก็บ โดยทาง Brainergy มีบริการดำเนินการจดทะเบียนเพื่อขอ Certificate Authority (CA) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังลดภาระหน้าที่งานดูแลระบบให้กับองค์กรของลูกค้า

ประโยชน์

  • จัดเก็บเอกสารบน Cloud Storage แบบส่วนตัว สามารถกำหนดพื้นที่การใช้งานได้ตามต้องการ
  • ใช้งานผ่าน Web Portal โดยสามารถกำหนด Username/Password ได้ด้วยตนเอง
  • ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยระบบ SSL Certificate (การเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
  • ลงลายมือชื่อดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา 
  • ตรวจสอบได้ว่าผู้ส่งข้อมูลมีตัวตนอยู่จริง เพิ่มความมั่นใจให้กับคู่ค้าทางธุรกิจ
  • เชื่อถือได้ เป็นที่ยอมรับทางกฎหมาย
  • สามารถตรวจสอบข้อมูลและสถิติการลงลายเซ็นได้

SmartTAX (สมาร์ตแท็กซ์)

มิติใหม่ของการทำเอกสารธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เรื่องภาษีขององค์กรกลายเป็นเรื่องง่าย และไม่ยุ่งยากอีกต่อไปด้วยบริการการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร เพิ่มความมั่นใจ ปลอดภัย ด้วยระบบการจัดการ และอุปกรณ์จัดเก็บ Certificate ที่ได้รับมาตรฐาน

ประโยชน์

  • ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทางบัญชี การเงิน ปริมาณการใช้กระดาษและการจัดส่งเอกสาร
  • สามารถจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบและมีระเบียบตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำเอกสารจนถึงขั้นตอนการชำระภาษีสำหรับองค์กรธุรกิจ
  • ลดการสูญหาย และการเสียหายของเอกสาร
  • ระบบการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนด
  • มีความปลอดภัยในการนำส่งข้อมูล โดยได้รับมาตรฐานการรับรองระบบสารสนเทศให้เป็นผู้นำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกรมสรรพากร ( Service Provider Cerfiticted) โดย สพธอ. (ETDA)

5. ให้ AI ช่วยให้ระบบการเงินบริษัทสบายขึ้น

จากสถิติพบว่าความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐาน (Financial Literacy) ของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสวนทางกับความสำคัญของการเงินอันเป็นหัวใจของการดำเนินการธุรกิจ SMEs ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานด้านบัญชี รายงานเคลื่อนไหวทางบัญชี การขอสินเชื่อ สิทธิประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคล กฎหมายธุรกิจ ดังนั้น หากผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs มีความรู้ความเข้าใจอันดีในข้อมูลเหล่านี้ จะยิ่งเสริมธุรกิจ SMEs ให้มีผลการดำเนินงานที่ดี และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคตได้

ในส่วนนี้เอง ผู้ประกอบการจะสามารถดำเนินการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทุ่นเวลาได้อย่างมหาศาลผ่านการช่วยเหลือจาก AI (Artificial Intelligence) ในการจัดการภาษีระบบ E-Payment เพราะ AI มีความสามารถเรียนรู้ภาษาทางกฎหมาย และมีศักยภาพในการวิเคราะข้อมูลเฉพาะด้านให้ถูกต้องและเป็นระบบ โดยประเทศไทยได้ริเริ่มนำ AI มาใช้ในภาษี e-Payment ในการตรวจสอบข้อมูลของผู้เสียภาษีได้อย่างละเอียดในปี 2563 ที่ผ่านมา อำนวยความสะดวกให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในการวางแผนภาษีได้อย่างรวดเร็ว และลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้ 

 บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...