ชี้ 5 เทรนด์เทคโนโลยีในไทยปี 2018 องค์กรจะต้องปรับตัวอย่างไรในยุค Digital Transformation | Techsauce

ชี้ 5 เทรนด์เทคโนโลยีในไทยปี 2018 องค์กรจะต้องปรับตัวอย่างไรในยุค Digital Transformation

แน่นอนว่าในเวลานี้ ธุรกิจต่าง ๆ กำลังถูก Disrupt กับการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัล และเป็นประจำทุกปีที่เราจะได้เห็นการคาดการณ์ 'เทรนด์เทคโนโลยี' ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีถัดไป โดยในประเทศไทย บริษัทอย่าง G-ABLE ผู้ที่คว่ำหวอดในวงการเทคโนโลยีมาหลายสิบปี ได้ร่วมเปิดเผยให้ Techsauce ทราบถึง 5 เทรนด์เทคโนโลยีในปีหน้าที่กระทบต่อไทย พร้อมคำแนะนำสำหรับบริษัทต่างๆที่จะต้องเตรียมรับมือและปรับตัวในยุคของ Digital Transformation

โดยในการเปิดเผยถึงเทรนด์เทคโนโลยีครั้งนี้ ผู้บริหารของ G-ABLE ได้แก่ คุณสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท G-ABLE และ คุณปาจรีย์ แสงคำ ประธานบริหารกลุ่มงานโซลูชันทางธุรกิจและบริการกลุ่มบริษัท G-ABLE เป็นผู้ให้สัมภาษณ์กลุ่มย่อยแบบเจาะลึก

5 เทรนด์เทคโนโลยีที่กระทบต่อคนไทยในปี 2018

1. Voice & Visual Search การค้นหาด้วยเสียงและภาพ

ปัจจุบันเราเริ่มค้นหาด้วยเสียงกันมากขึ้น จะเห็นได้ว่าบริษัทเจ้าใหญ่ ๆ ด้านไอทีได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Voice Personal Assistant (VPA) เกือบหมดแล้ว เช่น Amazon เปิดตัว  Alexa, Google เปิดตัว Google Assistant, Microsoft เปิดตัว Cortana หรือ Apple เปิดตัว Siri ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านวัตกรรมการ Search มีความก้าวหน้ามากขึ้น เป็นผลดีต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่ม E-Commerce และ Home Automation ซึ่งการใช้คำสั่งเสียงที่น่าสนใจคือ กลุ่มผู้ใช้งานนั้นยังรวมถึงผู้สูงอายุ ที่ใช้งานมากกว่าการพิมพ์  โดย G-ABLE คาดการณ์ว่าเทคโนโลยี Voice & Visual Search จะเข้ามาแทนที่ยุคของ Mobile Application และในปี 2020 ก็คาดว่าในหนึ่งครอบครัวจะมี Voice Personal Assistant  จำนวน 2 เครื่องในบ้าน

ส่วนเรื่องของการค้นหาด้วยภาพ เราอาจได้เห็นกันในตลาด E-Commerce ที่ให้เราสามารถนำภาพมาค้นหาสินค้า ทำให้สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าที่ใกล้เคียงกันได้

ปัญหาของ Voice Search เรื่องภาษาไทย

หนึ่งในอุปสรรคของ Voice Search คือเรื่องของการใช้ภาษาไทย ซึ่งคุณปาจรีย์ ได้ให้ความเห็นว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความยาก แต่คิดว่าจะใช้เวลาไม่นานในการพัฒนาให้สมบูรณ์ เนื่องจากมีความต้องการด้านการใช้งานมาก หลายบริษัทจึงกำลังพัฒนาภาษาไทยให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น รวมถึง G-ABLE ด้วย

2. Conversational Platform (การสื่อสารในรูปแบบของ Chat Bot)

มีงานวิจัยระบุว่า Chat Based Conversation หรือการสนทนาผ่านแชท จะช่วยให้ผู้ใช้บริการเปิดใจในการพูดถึงความรู้สึกต่อบริการของเราอย่างเปิดใจมากกว่าช่องทางอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญมากต่อธุรกิจ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ Conversational Platform ซึ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่ Machine ทำงานโต้ตอบกับมนุษย์ คนไทยจะรู้จักในชื่อ Chatbot แต่ Chatbot ยังมีข้อจำกัดในเรื่องในการโต้ตอบให้ได้อย่างแม่นยำ และ มีประสิทธิภาพ โดยปีหน้าคาดว่า Chatbot จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยจะมาในรูปแบบของ Voice Personal Assistant (VPA) ดังที่กล่าวไปแล้ว และ Virtual Customer Assistant (VCA) ที่จะเข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดย VCA จะช่วยดำเนินการบางอย่างแทนผู้ให้บริการได้ทันที เช่น การนัดหมาย การจอง การเปลี่ยนโปรโมชัน เป็นต้น โดยจะสามารถช่วยลดต้นทุนด้าน Operating Cost ลงได้

3. Cryptocurrency (เงินดิจิทัล)

จากกระแสของ Bitcoin ที่มาแรงในต่างประเทศ รวมถึงการนำ Blockchain เข้ามาใช้ในแวดวงการเงินและการธนาคารทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่มาจากกลุ่มธุรกิจที่เป็น Fintech ในต่างประเทศ ประกอบกับการคาดการณ์ของ Gartner ที่ระบุว่าในปี 2020 จะมี Blockchain Based Cryptocurrency ในธุรกิจธนาคารจะมีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านเหรียญ ทำให้เราเริ่มเห็นว่ามีการโอนและแลกเปลี่ยน Cryptocurrency ผ่านทาง E-Wallet มากขึ้น สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ แล้วเงินในโลกจริงจะหายไปหรือไม่? หลายประเทศตื่นตัวกับเรื่องนี้ เช่นประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ประกาศผูกเงินเยนกับ Bitcoin แล้ว ในไทย ดังนั้นหน่วยงานกำกับดูแลหรือ Regulator ด้านการเงินและการธนาคารของแต่ละประเทศต้องปรับบทบาทการทำงานเพื่อรับกับ Cryptocurrency ที่มีเข้ามาใหม่อยู่เรื่อย ๆ

4. Counterfeit Reality (เทคโนโลยี เสมือนจริง)

Gartner นิยามคำว่า “Counterfeit Reality” หรือ “ความเสมือนจริง” ว่าคือการสร้างเนื้อหาและเรื่องราวแบบสมจริงขึ้นมา โดยการคัดลอกมาจากเหตุการณ์จริง สถานที่จริง และสิ่งมีชีวิตจริง ซึ่งทำให้เห็นว่า Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR) และ Digital Twins จะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ หรือนำเอาประสบการณ์ในอดีตมาทำให้เกิดขึ้นอีกครั้งได้

แต่สิ่งที่น่ากังวลอีกอย่าง คือ การเอา AI มาสร้าง Counterfeit Reality ที่เป็นข้อมูลเท็จ แล้วเผยแพร่ลงสู่โลกออนไลน์ ทำให้การตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้อาจมีความยากขึ้น ทั้งนี้เราอาจจะได้เห็น Veracity Algorithm ที่ใช้ในการหาข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ (Truth Information) ซึ่งอาจจะสามารถตรวจจับข้อมูลบน Counterfeit Reality ได้ โดยแบรนด์ใหญ่ ๆ อย่าง YouTube, Google, Facebook ต่างพัฒนาเครื่องมือการตรวจจับข้อมูลที่เป็นเท็จให้ได้แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อแบรนด์ได้ในอนาคต

5. Internet of Things (IoT)

จากการเกิดขึ้นของ Voice Personal Assistant (VPA) และ Home Automation ที่เอามาผสานงานกันในปัจจุบันจนเกิดเป็นระบบต่าง ๆ เช่น ระบบรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน ระบบการเข้า-ออกบ้าน เป็นต้น คงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า IoT ในประเทศไทยจะเติบโตได้อีกมาก  ซึ่งเราคาดการณ์ว่า 95% ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นมาใหม่ จะฝังเอาเทคโนโลยี IoT เข้าไว้ภายในอุปกรณ์เหล่านั้นด้วย ส่วนอุปสรรคของ IoT ในประเทศไทย คงเป็นเรื่องของ IoT Network ในปัจจุบันที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ และมีค่าบริการที่สูง ทำให้ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดเนื่องจากการลงทุนด้านเครือข่าย ไม่คุ้มค่าในการลงทุน

จาก 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนี้ จะทำให้อุตสาหกรรมไหนถูก Disrupt หรือได้รับผลกระทบบ้าง แล้วองค์กรจะปรับตัวอย่างไร?

อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากเทรนด์ที่เกิดขึ้น

  1. Retail : ในกลุ่มของ E-Commerce หากไม่ปรับตัว ก็อาจไม่สามารถดำเนินธุรกิจไปได้ โอกาสรอดคือการอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ และหากนำเรื่องของ Voice & Visual Search มาใช้ในการค้นหาสินค้า เปรียบเทียบราคา
  2. Regulator  : บทบาทของภาครัฐหรือหน่วยงานกำกับดูแลต้องมีการปรับตัวอย่างมาก โดยในปีหน้า คาดว่าจได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จะมีนโยบายต่างๆที่ออกมาประกาศอย่างต่อเนื่อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยกับเรื่อง Sandbox
  3. Media : จะเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก VR / AR โดยมีทั้งทางบวกและทางลบ โดยในแง่บวก บริษัทด้าน Entertainment จะนำเทคโนโลยีไปใช้สร้างประสบการณ์กับผู้ชมได้ เพิ่มมูลค่าให้กับเนื้อหา แต่ในขณะเดียวกัน เราอาจแยกไม่ออกว่าสิ่งไหนคือเรื่องจริง หรือเรื่องที่สร้างขึ้น ทำให้ต้องมีการตรวจสอบควบคู่กันไป
  4. Service : ธุรกิจด้านการบริการเช่น ประกัน หรือ Call Center จะได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของ AI , Chatbot  ต้องแยกให้ออกว่า บริการแบบไหนที่เหมาะกับลูกค้า เพราะการตอบคำถามบางเรื่อง Chatbot ก็เหมาะสม แต่เรื่องของอารมณ์ หรือการรองรับความต้องการบางอย่างของลูกค้า ยังต้องการมนุษย์เข้าไปช่วยอยู่
  5. Manufacturing และ Real Estate : เทคโนโลยีด้าน IOT จะเข้ามามีบทบาทมากที่สุด และสามารถใช้ในการลดต้นทุนได้ เช่นการทำ Home Automation , Building Management , Smart Factory เป็นต้น

ควรปรับตัวอย่างไรในยุค Digital Transformation

G-ABLE ได้ร่วมให้คำตอบถึงการปรับตัวขององค์กรต่างๆ ที่มองว่า ‘ทำคนเดียวไม่ได้’ แต่สิ่งสำคัญคือการหาพาร์ทเนอร์เข้ามาไปช่วยทำในเรื่องต่างๆ โดยคุณสุเทพได้ชี้ให้เห็น 2 สิ่งสำคัญที่ต้องคิดไว้เสมอ คือ Speed และ Impact ถ้าองค์กรสามารถทำสองสิ่งนี้ได้สูง ก็จะสามารถอยู่รอดได้ในยุค Digital Transformation  โดยสำหรับ G-ABLE ได้กำหนดบทบาทง่ายๆ 3 แบบ ในการทำงานกับองค์กรที่ G-ABLE ได้เข้าไปช่วย

  1. บทบาทในฐานะ Accelerator : คือช่วย Accelerate ให้ปรับตัวได้เร็วขึ้น โดยเข้าไปช่วยงานด้านไอที หาเทคโนโลยีให้กับองค์กร เพื่อให้บริษัทสามารถ Focus กับสิ่งอื่นได้
  2. บทบาทในฐานะ Digital Builder : ช่วยเข้าไปสร้างแพลตฟอร์มพื้นฐานที่มีความซับซ้อน เช่น Big Data , IOT , Security เป็นต้น
  3. บทบาทในฐานะ Digital Partnership : การสร้างธุรกิจใหม่ไปด้วยการ การ Co-Creation และ การร่วมลงทุน เพื่อให้ธุรกิจเกิดสินค้าและบริการใหม่

นอกจากนี้ G-ABLE ยังเน้นย้ำถึงความโดดเด่นที่แตกต่างจากผู้อื่นคือ

  1. สินค้าและบริการ :มีบริการที่ทันสมัย และเข้ากับความต้องการของลูกค้า
  2. กระบวนการทำงาน : เน้นการทำงานที่เป็นมาตรฐานรวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับการทำงานแบบใหม่
  3. บุคลากร : มีความเชี่ยวชาญที่ลึกแล้วยังเข้าใจความต้องการของลูกค้า
  4. ระบบนิเวศน์ :มีพาร์ทเนอร์อื่นๆที่แข็งแกร่งเช่น Regulator, Academia , Startups, Merchants ซึ่งมองว่าสามารถตอบโจทย์องค์กรได้

เกี่ยวกับ G-ABLE   

G-ABLE คือบริษัทผู้พัฒนา, ติดตั้งจนถึงให้บริการด้านระบบ IT และ Digital ในไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรกับบริษัทชั้นนำระดับโลกในด้าน modern digital solutions, enterprise business solutions และ IT infrastructure solutions โดยมีกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำในภาคเอกชนและรัฐบาล

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ตะลุย Davos ส่อง 5 ประเด็นหลัก ใน World Economic Forum

สำรวจประเด็นสำคัญจากงาน World Economic Forum 2025 ที่ Davos เวทีประชุมระดับโลกที่รวมผู้นำหลากหลายวงการ เพื่อหารือเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พร้อมบทบาทไทยในเวทีนานาชาติ...

Responsive image

สรุป AI อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดย Eric Grimson ศาสตราจารย์จาก MIT

ภายในงาน MIT Bangkok Symposium - Unleashing AI: Transforming Industries, Empowering Futures ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร. Eric Grimson อธิการบดีฝ่ายวิชาการ จากสถาบันเทคโนโลย...

Responsive image

รู้จักเทรนด์ Brand Chem กลยุทธ์ TikTok 2025 การตลาดที่ต้อง ‘เป็นเพื่อน’ กับผู้บริโภค

สำรวจ TikTok What's Next Report 2025 และแนวคิด Brand Chem ที่เปลี่ยนการตลาดด้วยความร่วมมือระหว่างแบรนด์ ครีเอเตอร์ และชุมชน TikTok พร้อมเทรนด์สำคัญที่ขับเคลื่อนปี 2025...