7 คำแนะนำสำหรับ Startup ไทยสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน | Techsauce

7 คำแนะนำสำหรับ Startup ไทยสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

startups ยอมรับว่าวงการ Startup ไทยในช่วง 2 ปีหลังมานี้กลายเป็นกระแสร้อนแรง ที่ใครหลายคนให้ความสนใจ ทั้งสื่อใหญ่, กิจกรรมแทบจะมีทุกสัปดาห์ และจำนวนเงินที่ระดมทุนนั้นสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดอย่างเห็นได้ชัด ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนอยากกระโดดเข้ามาในวงการ วันนี้เรามีคำแนะนำ 7 ข้อสำหรับใครที่กำลังคิดอยากมีธุรกิจ Startup ของตัวเอง หรือกำลังเริ่มมาฝากกัน

1) ค้นหาตัวเองให้เจอ ค้นหาตัวเองให้เจอค่ะ เรื่องนี้สำคัญมาก ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ "อยากเป็น" ผู้ประกอบการจะ "เป็น" ผู้ประกอบการได้ ผู้ประกอบการนั้นต้องแบกภาระหลายอย่างมากมายที่มากกว่าชีวิตมนุษย์เงินเดือนปกติ มันไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด เรามักดูคนที่สำเร็จเมื่อเขาสำเร็จไปแล้ว แต่ลืมมองดูว่าเส้นทางกว่าเขาจะสำเร็จได้นั้น เค้าต้องผ่านอุปสรรคอะไรมาบ้าง กล้าที่จะเสี่ยงในตอนแรกยังไม่พอ ใจคุณต้องพร้อมที่จะลุกขึ้นอีก (หลายๆ) ครั้งเมื่อเจออุปสรรคและความล้มเหลว เรื่องนี้ไม่ได้ขู่ แต่อยากให้คุณค้นหาตัวเองให้เจอค่ะ เชื่อว่าแต่ละคนมีความสามารถและเก่งกันคนละด้าน อาจไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการทั้งหมดเสมอไปก็ได้ เพราะคำนิยามของคำว่า "สำเร็จ" ในชีวิตการงานของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน

2) คิดระดับภูมิภาคตั้งแต่วันแรก การคิดใหญ่ตั้งเป้าหมายให้สูงนับตั้งแต่วันแรกคือสิ่งที่ Startup ควรคำนึงเอาไว้ด้วย  การทำธุรกิจ Tech Startup โดยเฉพาะสาย Software-as-a-Service (SaaS) ตัวเทคโนโลยีมีศักยภาพพอที่ทำให้คุณสามารถขยายธุรกิจออกไปได้ แตกต่างจากเมื่อ 10 กว่าปีก่อนมาก ดังนั้นถ้าจะเหนื่อยทั้งทีก็ต้องวางเป้าหมายให้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อวันนึงที่ธุรกิจของคุณต้องการเติบโต (Scale) นักลงทุนจะมองว่าโมเดลธุรกิจของคุณสามารถขยายได้หรือไม่ มีอุปสรรคและปัจจัยอะไรในการที่จะ Scale ออกไปสู่ระดับภูมิภาคหรือหยุดได้เพียงแค่ตลาดไทย ซึ่งอาจเล็กไปสำหรับนักลงทุนระดับ VC

3) ล้มไว เรียนรู้ไว ลุกให้ไว ไม่มีใครที่ทำถูกตลอดและประสบความสำเร็จเลยค่ะ การทำธุรกิจ Startup ก็เป็นการทดสอบสมมติฐานที่เราคิดเอาไว้ แนวคิด Lean Startup คือการทดสอบตลาดลองผิดลองถูกมากมาย ได้รับฟีดแบคมา ไม่มีคนใช้บริการเรา  ล้มได้ค่ะ แต่สิ่งสำคัญคือต้องเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก รีบลุกขึ้นกลับมาแก้ให้ไว แล้วออกไปทดสอบตลาดใหม่ เป็นวงโคจรแบบนี้ ยิ่งทำจนชำนาญขึ้น Cycle ตรงนี้เราจะเชี่ยวชาญและไวขึ้นด้วย

4) อย่าพึ่งรีบร้อนขยาย ตราบใดที่ Product ของคุณยังไม่แข็งแรง อ่านเสร็จแล้ว เอ๊ะ! เหมือนขัดแยังกับข้อ 2 หรือเปล่า ในข้อ 2 ไม่ได้หมายความว่าเมื่อคุณเปิดบริการ ก็ให้เปิด ตู้ม! ใหญ่เลย ทำตลาดหนักๆ นั่นเท่ากับฆ่าตัวตายเลยทีเดียว คุณต้องทดสอบตลาดกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ของคุณก่อน ถ้าคุณรีบขยายและมีผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายจริงของคุณหลุดเข้ามาใช้บริการ อาจทำให้คุณหลงทางกับผลทดสอบที่ได้ นอกจากนี้แล้วเมื่อมีคนจำนวนมากเข้ามาใช้ในขณะที่บริการของคุณยังไม่แข็งแรงพอ เขาก็จะเอาไปพูดบอกต่อกระจายความไม่พร้อมของบริการของคุณออกไปในทางเสียๆ แทน...

ในช่วงแรกการระดมทุนไม่ใช่เป้าหมายหลักเลย คุณต้องโฟกัสการทำ Product ของคุณให้ดี ให้เกิด Traction การสร้างธุรกิจที่ช่วยตอบโจทย์ผู้ใช้ หรือลูกค้าคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่เรื่องการตลาดหรืออะไร (การตลาดนั่นเป็นเรื่องหลังๆ เลย หลังจากการทำ Product ให้ดี) จนถึงจุดนึงที่เราครองตลาดได้และต้องการ Scale เมื่อนั้นการเสริมทัพด้วยการระดมทุนจาก VC จะตามมา

5) เรียนรู้การวัดผล เมื่อคุณได้ยอดผู้ใช้มาช่วงแรก มียอดคน Activate อย่าพึ่งตื่นเต้นดีใจ คุณต้องดูว่าเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ใช้ของคุณที่ใช้ซ้ำ เป็นลูกค้าประจำเหลืออยู่เท่าไหร่ หรือเป็นเหมือนกระเชอก้นรั่ว เข้ามาเท่าไหร่ก็ไหลออกตลอด แบบนี้อันตราย ต้องมองว่าจะทำอย่างไรให้ Product ของเราเข้าไปกลมกลืนตามพฤติกรรม เป็นสิ่งที่เค้าต้องอยากใช้ อะไรคือคุณค่าตรงนั้น ไม่ใช่เพราะเพียงการตลาดชั่วครั้งชั่วคราว Product ที่ดีจะเป็นสิ่งที่ดึงลูกค้าไว้ได้ไม่ใช่โปรโมชั่นข้ามคืน

6) โฟกัสคือสิ่งสำคัญ Startup หลายคนเกิดจากการผันตัวมาจาก Software House และธุรกิจ Out source  และมีความฝันอยากสร้าง Product ของตัวคุณเองด้วย Startup ไทยหลายรายล้มเลิก เพราะประสบปัญหาเรื่องนี้เป็นส่วนใหญ่  เมื่อ Product ที่สร้างมายังไม่ก่อให้เกิดรายได้ และต้องหาเงินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องรับงานนอกไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายเมื่อสายป่านที่จะทำ Product ของตัวเองหมด พอหลุดโฟกัสก็เลิกทำไปในที่สุด

7) ความเป็นผู้นำและทีมงาน การเป็น Startup แน่นอนชีวิตไม่ได้สวยหรู หลายครั้งต้องกลุ้มใจมาก ชนิดเงินหมุนไม่ทันกันแบบเดือนชนเดือน แม้คุณจะมีโหมดท้อบ้างด้วยธรรมชาติของมนุษย์ แต่ไม่ควรถ่ายทอดเรื่องลบๆ สู่ทีมงาน ความเป็นผุ้นำขององค์กรนั้นสำคัญที่สุด คนที่จะทำงานกับคุณแน่นอนเขาอาจไม่ได้รับเงินเดือนเยอะดังเช่นองค์กรใหญ่ การที่จะดึงดูดคนเก่งให้ทำงานกับเราได้ วิสัยทัศน์ของผู้นำเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ต้องทำให้ทีมงานเห็นและเข้าใจไปในทิศทางเดียวกับคุณ จงสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับพวกเขา "แม่เหล็กที่ดี จะดึงดูดแม่เหล็กที่ดีเข้าหากัน"

ท้ายสุดแล้วในช่วง Bootstrapped startup คุณต้องรู้จักที่จะวางแผนและใช้จ่ายเงินอย่างฉลาด และมอนิเตอร์ Cashflow ของคุณให้ดีด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมคนสหรัฐฯ เดือดร้อนกับการแบน TikTok ? 3 เหตุผลที่ TikTok สำคัญกับชาวสหรัฐฯ มากกว่าที่คิด

เจาะลึก 3 เหตุผลที่การแบน TikTok อาจส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันมากกว่าที่คิด ทั้งด้านเศรษฐกิจ อาชีพ และการเชื่อมโยงในยุคดิจิทัล...

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...