ผู้เชี่ยวชาญแนะ do and don't ในการทำ Agile เปลี่ยนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ | Techsauce

ผู้เชี่ยวชาญแนะ do and don't ในการทำ Agile เปลี่ยนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

ในยุคนี้ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีบริษัทไหนที่ไม่พูดเรื่อง Agile ทุกองค์กรอยากจะวิ่งให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ Agile จึงเป็นประเด็นฮอตฮิตและแนวการทำงานที่ทุกบริษัทอยากจะดึงเข้าไปใส่เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตัวเอง แน่นอนว่า Agile ไม่ได้เพิ่งมาใหม่ๆ มันเกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว ทำให้เราได้เห็นกรณีศึกษาจากทั้งองค์กรที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อีกทั้งเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าควรจะนำเข้าไปใช้อย่างถูกต้องได้อย่างไร เจาะไปให้ลึกกว่านั้น Techsauce จะมาสรุปให้เข้าใจกันอีกทีว่า Agile ทำอะไรได้บ้าง ใช้งานอย่างไร และเราพร้อมแค่ไหนที่จะนำมาประยุกต์กับองค์กรของคุณ โดย Shane Hastie ผู้เชี่ยวชาญด้าน Agile และ Director of Agile Learning Programs ที่ ICAgile ที่มาร่วมแบ่งปันความรู้ในงาน AgileTour Bangkok 2019 

Agile คืออะไร 

Agile (‘อไจล์) คือแนวคิดการทำงานหรือหลักการบริหารจัดการโปรเจคที่มีคำว่า “รวดเร็ว” เป็นจุดเด่น Agile จะมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารระหว่างทีม การพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการและการแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็ว ผ่านการแบ่งชิ้นงานใหญ่ให้เป็นชิ้นย่อยๆ แล้วแบ่งออกมาทำ เนื่องจากปกติเราอาจคุ้นชินกับการทำงานที่ได้รับคำสั่ง ทำงานรอบเดียว ส่งชิ้นงาน และรอการตรวจสอบ ซึ่งกว่าจะสำเร็จนั้นก็ใช้เวลายาวนานอย่างมาก ในขณะที่ Agile เข้ามามีบทบาทในการให้อิสระกับผู้พัฒนาในการที่จะทดสอบผลิตภัณฑ์บริการและเข้าแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วขึ้น พร้อมสามารถทดลองและแก้ไขได้ทันท่วงที โดยยึดเอาผู้ใช้งานเป็นหลัก 

Agile เกิดขึ้นมานานแล้ว และหลายบริษัทก็ใช้วิธีการทำงานเช่นนั้น 

จากแบบสำรวจ 14 STATE OF AGILE SURVE ชี้ว่าองค์กรส่วนใหญ่กว่า 96% มักใช้ Agile ในการสร้าง Software ซึ่งพวกเขาล้วนได้รับประโยชน์จากการนำ Agile ไปใช้ 

ทุกวันนี้หน้าที่หนึ่งของ Shane คือการร่วมขับเคลื่อน Community ใน InfoQ เว็บไซต์รวบรวมข่าวสารออนไลน์และเทรนด์ที่น่าสนใจ นอกจากส่งเสริมด้านเนื้อหาแล้ว ยังมีการจัด Conference อีกด้วย และในงานก็ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายบริษัทดัง ทั้ง Tesla Amzon Google Netflix รวมถึง Microsoft มาร่วมแชร์เรื่องราวและประสบการณ์การทำงาน ที่น่าแปลกใจคือหากย้อนกลับไปในปี 2001 องค์กรเหล่านี้ยังไม่รู้จักกับคำว่า Agile ถึงแม้พวกเขาจะได้ไม่ได้พูดถึงมัน แต่วิธีการทำงานที่พวกเขาใช้ล้วนเป็นการทำงานในรูปแบบที่ Agile เป็น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบที่ต้อง Feedback แบบสั้นๆและรวดเร็ว หรือการทำงานที่เน้นไปที่การสื่อสาร รวมถึงมีทีมงานที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจโดยไม่ต้องรอให้ถึงผู้บริหารระดับสูง 

นอกจากนี้ InfoQ ยังพบว่า เทรนด์ของการปรับใช้ Agile เริ่มต้นจากพวก Innovator จนกระทั่งปี 2019 ที่เริ่มมี Early adopter เกิดขึ้น หลายธุรกิจเริ่มเข้าสู่การนำเอากระบวนการ Agile ไปใช้ และมันเริ่มถูกนำไปปรับใช้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ถึงอย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้หลายองค์กรก็ใช้อะไรแบบนี้มาเสมอ เพียงแค่พวกเขาไม่ได้มีชื่อเรียกของแนวคิดนี้ 

ไม่ว่ามันจะมีชื่อเรียกหรือไม่มี สิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อน Agile ที่แท้จริง คือการที่บริษัทสามารถปล่อยให้พนักงานมีอิสระในการสร้างสรรค์และทดลองสิ่งใหม่ๆ 

อีกหนึ่งเรื่องที่ทาง InfoQ ค้นพบก็คือการส่งเสริมพนักงานและทีม ในการให้สิทธิ์ที่จะลองผิดลองถูก การปล่อยให้พวกเขาได้ทดลองทำและตัดสินใจการทำงานเองจะช่วยให้พวกเขามีความเข้าใจในตัวเนื้องานได้ดี รู้ว่ากำลังจะทำอะไร และจะต่อยอดอย่างไร ส่งผลให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพกว่าปกติ 

Key Takeaway ที่น่าสนใจ 

  • การเปลี่ยนแปลงจาก Top-down สู่ Down-top มีปัญหาคือการที่พนักงานระดับล่างจะส่งผลงานไปถึงผู้ดูแลระดับสูงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากต้องผ่านตัวกรองหลายขั้นอย่าง หัวหน้าแผนกต่างๆ ดังนั้นองค์กรจึงต้องหาคนที่เป็น Change Agency หรือคนที่เป็นสื่อกลาง ผู้มีความเข้าใจใน Agile และการ Transfrom องค์กร 
  • การสร้าง Agile ที่แท้จริงควรถูกปลูกฝังในทุกระดับและทุกคน บางทีการเปลี่ยนอาจจะต้องถึงขั้นปฏิวัติแนวคิดกันเลยทีเดียว แต่การจะมาปรับกันง่ายๆ ก็คงยากเพราะมันขึ้นอยู่กับ DNA ขององค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มี CEO เป็นหลัก ในขณะที่บริษัทที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักอย่าง Netflix, Amazon และ Spotify คือบริษัทที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก  
  • อีกอย่างที่ต้องจดจำคือบริษัทของคุณไม่ใช่ Spotify หยุดที่จะพยามเอาโมเดลของบริษัทรูปแบบนี้ไปใส่ในบริษัทตัวเอง จงมี Mindset ของตนเอง มีรูปแบบของตัวเอง อย่าลอกเลียนแบบพวกเขา 
  • หลายองค์กรพอได้ยินว่าการใช้ Agile มันช่างดีสะเหลือเกิน ก็กระโดดเข้ามาในวงการนี้นำเอา Agile ไปใช้ โดยไม่รู้ว่า Agile จำเป็นกับธุรกิจตัวเองจริงไหม หลายบริษัทยังไม่มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและการบริหารทำให้เกิดความล้มเหลวได้ง่าย 
  • ที่ผ่านมาองค์กรอาจจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของผลิตภัณฑ์บริการแต่ในตอนนี้ ลูกค้า คือหัวใจหลักของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการทำ Agile ต้องมุ่งเน้นไปที่การนำพาทุกส่วนการทำงานให้พัฒนาไปพร้อมกันทั้ง 9 ด้านเพื่อสร้างสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง

  •  ถึงแม้เราจะมีชื่อเรียกใหม่ให้กับกระบวนการทำงาน ตำแหน่ง หรืออะไรก็ตาม เพื่อให้เราดูทันสมัยขึ้น แต่ถ้าเราไม่มี Mindset ในเรื่อง Agile อย่างจริงจัง มันก็เป็นไปได้ยากที่จะสำเร็จ 
  • องค์กรส่วนใหญ่อาจจะใช้วิธีการทำงานแบบการทำโปรเจ็คไปเรื่อยๆ แต่ในหลายๆ ครั้งใช่ว่าการทำโปรเจ็คย่อยๆ จะเหมาะสมไปสะทุกงาน อย่างเช่น การสร้างถนน การสร้างบ้าน สิ่งเหล่านี้ต้องการความต่อเนื่อง เราควรสร้างไอเดียแห่งการ Built in to run it คือเมื่อคุณสร้างมันคุณก็ต้องสานต่อมัน 
  • การทำให้ทีมรู้สึกว่าการทำงานเป็นเรื่องสนุกคืออีกหนึ่งความสำคัญในการทำงานแบบ Agile 
  • Technical Agility และ Business Agility ต้องไปด้วยกัน องค์กรดิจิทัลต่างต้องพึ่งพาความรู้ด้านเทคนิค ดังนั้นฐานด้านเทคนิคหรือความรู้เฉพาะทางจึงมีความจำเป็นอย่างมาก 

การทำงานแบบ Remote คืออีกหนึ่งเทรนด์ใหม่ และเป็นเรื่องปกติ 

งานส่วนใหญ่ของ Shane ทำผ่านทางไกล และเรื่องจำเป็นคือเราต้องสร้างความเชื่อใจให้เกิดขึ้นในตอนที่สามารถพบเจอกัน เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นนั้นต่อเมื่อคุณต้องทำงานแบบห่างไกล การทำงานแบบ Remote คือเรื่องปกติไปแล้ว เพราะงานที่ดี ไอเดียที่ดี ไม่ได้เกี่ยวกับสถานที่ มันเกี่ยวกับผู้คน 

ประโยชน์ของ Agile 

  • เพิ่มรายได้ 
  • รอบของการทำงานที่เร็วขึ้น 
  • การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทีม 
  • ความโปร่งใสของการทำงาน 
  • ความพึงพอใจของลูกค้าและพนักงาน 
  • ความสำเร็จในตลาด 

เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อจะทำ Agile 

  • เปลี่ยนจาก Top-down สู่การที่ทุกระดับมี Leadership 
  • เปลี่ยนจากการทำมาก แล้วได้ผลน้อย สู่การทำน้อย แต่มีประสิทธิภาพ 
  • ลงทุนในผู้คน ให้อำนาจและสิทธิ์กับพนักงาน 
  • เปลี่ยนจากการวางแผนและกำนดกฏเกณฑ์ล่วงหน้าอย่างชัดเจน สู่การวัดผลแบบ Real-time 
  • ปรับจากแผนที่เป็นขั้นตอน สู่การกระจายงานอย่างเป็นระบบเท่าๆ กัน 
  • จากการมีทีมชั่วคราว สู่การสร้างทีมที่ทำงานอย่างต่อเนื่องในผลิตภัณฑ์และบริการ 

Shane ปิดท้ายว่า คำว่า "Change มันคือการเปลี่ยนแปลงและสามารถพลิกแพลงได้เสมอ ในขณะที่ Transformation ไม่ใช่แบบนั้น มันคือการเปลี่ยนไปตลอดกาล 

แต่ถึงอย่างไรการ Transform องค์กรให้ยั่งยืนก็ล้วนต้องการการ Transform เฉพาะบุคคลเช่นกัน การ Transform คุณไม่สามารถกลับมาทำใหม่ได้ มันเปลี่ยนทุกอย่าง วิธีการทำงาน วิธีคิด ดังนั้นคุณต้องก็คิดให้ดีว่าคุณอยากเปลี่ยนจริงๆ ไหม มันไม่ใช่การเปลี่ยนที่ง่าย มันคือเรื่องยาก คือการเปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนวัฒนธรรม คำถามคือแล้วคุณอยู่ที่จุดไหน คุณอยากเป็นแบบไหน" 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สงครามห้างไทย: ใครจะครองตำแหน่ง Landmark แห่งกรุงเทพ?

ห้างสรรพสินค้าในประเทศไทยนั้นกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว บทความนี้ Techsauce จึงอยากชวนมาจับตามองสงครามห้างใหญ่ใจกลางเมืองของไทยจาก 4 ผู้เล่นหลักอย่าง Siam Piwat , Central, เครือ TCC ...

Responsive image

จาง อีหมิง เจ้าของ TikTok ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งในจีน!

ปี 2024 ดูเหมือนเศรษฐกิจจีนจะไม่สู้ดีนัก ส่งผลให้จำนวนมหาเศรษฐีจีนเติบโตช้าที่สุดในรอบ 20 ปี รายงานจากสถาบันวิจัย Hurun เผยว่าในปีนี้มีเศรษฐีหน้าใหม่เพียง 54 คนที่ได้เข้าสู่รายชื่อ...

Responsive image

PwC นำประสบการณ์ผสานเทคโนโลยี SAP สร้างเครื่องมือ ‘ESG Solution’ ช่วยลูกค้าเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน

PwC ร่วมมือกับ SAP สร้างโซลูชันด้าน ESG เพื่อช่วยลูกค้าองค์กรเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน ชื่อว่า ‘SAP Sustainability Control Tower’...