เทคโนโลยี AI กับ Localization แบบไทยๆ ปรับใช้ตรงไหนได้บ้างในอนาคต

เทคโนโลยี AI กับ Localization แบบไทยๆ ปรับใช้ตรงไหนได้บ้างในอนาคต

หากถามว่าเทคโนโลยีอะไรที่กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ใครคว้าก่อนก็ได้โอกาสก่อน เทคโนโลยีนั้นก็คือ AI หรือปัญญาประดิษฐ์นั่นเอง หากพูดคำนี้ปุ๊บ หลายคนมักนึกภาพ AI ในรูปแบบของหุ่นยนต์ แต่แท้จริง AI คือทักษะที่เลียนแบบและอาจทำได้ดีกว่ามนุษย์ จนสามารถแทนที่งานบางส่วนของมนุษย์ได้ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก AI และแนวโน้มการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในประเทศไทย

AI คืออะไร

AI (Artificial intelligence) หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีแห่งยุคที่ถูกนำมาพูดถึงไม่น้อยไปกว่า Blockchain และทุกบริษัทกำลังมุ่งพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่จริง AI ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาหลายสิบปีแล้ว เพียงแต่ปัจจุบันโลกเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคของ AI อย่างแท้จริงจากการเข้ามาของสมาร์ทโฟน และการเกิด Big Data มหาศาล ที่เป็นส่วนขับเคลื่อนให้ AI สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันเราได้เห็นความสามารถของ AI ที่มีทักษะที่มีความคล้ายมนุษย์ หรือมีการเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ และทำได้ดีกว่ามนษุย์ ทั้งสามารถ ‘คิด’ แก้โจทย์ต่างๆ สามารถ ‘มองเห็น’ จดจำ แยกแยะ ระบุสิ่งต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถ ‘ได้ยินเสียง’ และ ‘โต้ตอบ’ กับมนุษย์ได้  

โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา AI เผยให้เห็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดด เราได้เห็นการนำ AI มาใช้ในการวินิจฉัยโรค การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ หรือการที่ Alpha Go สามารถชนะแชมป์โลกหมากล้อม  ดังนั้นกระแสของ AI ในเวลานี้เองไม่ใช่แค่ Buzzword อีกต่อไป แต่เกิดมูลค่าทางธุรกิจขึ้นมาจริงๆ แล้ว จากการสำรวจของ Gardner รายงานว่าตลาดการพัฒนา AI จะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2022 ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอื่น  

วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียได้กล่าวไว้ว่า “ใครเป็นผู้นำในด้าน AI จะเป็นผู้ครองโลก” AI จึงเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในแผนพัฒนาของประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างประเทศจีน ที่มีแผนยุทธศาสตร์ ในการสร้างประเทศให้เป็นผู้นำด้าน AI ภายในปี 2030 โดยมีการร่วมมือกับบริษัทใหญ่ในจีน ได้แก่ Baidu และ Tencent ในการพัฒนา AI

นอกจากนี้ AI ก็ยังถูกพัฒนาโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น Apple, Google, Microsolf, Amazon, LINE, Huawei เป็นต้น ซึ่งเราได้เห็นในเชิงพาณิชย์กันบ้างแล้ว ทั้งผู้ช่วยบนมือถือ ผู้ช่วยภายในบ้าน หรือการใช้ AI วิเคราะห์การถ่ายภาพเป็นต้น

AI ในไทยมีการพัฒนาอย่างไรบ้างในปัจจุบัน

หากมองกลับมาที่ประเทศไทย เรียกได้ว่าหลายบริษัทตื่นตัวในการพัฒนา AI อยู่พอสมควร เราเริ่มเห็นหลายธุรกิจที่นำ AI มาใช้ในเชิงพาณิชย์กันแล้ว ทั้งยังมีการวางแผนพัฒนาต่อ ยกตัวอย่างเช่น ภาคธนาคารที่มีการนำ AI ทำงานเบื้องหลัง หรือวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และนำเสนอบริการที่ตรงใจ เช่น SCB Abacus ที่นำ AI มาให้บริการ โปรเพื่อคุณ บนแอป SCB Easy และ สินเชื่อแม่มณีออนไลน์ ที่ให้กับ SME บน Lazada รวมทั้ง KBTG ที่มี KADE เป็น AI ทำงานเบื้องหลังในแอป K PLUS

ทีเห็นกันบ่อยในภาคธุรกิจ ก็มีการพัฒนา Chatbot ที่ทำหน้าที่แทนคอลเซ็นเตอร์ ในการตอบคำถาม ดูแลลูกค้า ช่วยวางแผนและหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด คุ้มที่สุด ให้บริการได้ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกัน Chatbot ก็ยังต้องพัฒนาอีกมาก

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า ในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและนำไปสู่การปรับปรุงบริการ และการให้บริการส่งเสริมการขาย

AI ในไทยมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต

อย่างที่กล่าวไปว่า หลายบริษัทก็มุ่งพัฒนา AI มาใช้ประโยชน์ ซึ่งหากแบ่งตามภาคธุรกิจต่างๆ หรือแม้กระทั่งภาครัฐแล้ว มาดูต่อถึงแนวโน้มการใช้งาน AI ในอนาคต

ด้าน Logistic

ด้วยเทคโนโลยี AI ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเพิ่มเติมในอุตสาหกรรม Logistic  ตัวอย่างเช่น การต่อยอดประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experiences) ผ่านการสนทนา และยังสามารถคาดเดาพฤติกรรมเพื่อวางแผนจัดส่งสินค้าล่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะสั่งซื้ออีกด้วยโดยภาค Logistic สามารถนำ AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานตั้งแต่ส่วนของระบบหลังบ้าน งาน Operation และการให้บริการลูกค้า ด้วยความสามารถด้านการคาดเดาเหตุการณ์ ที่ได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ตัวอย่างการใช้งาน AI ได้แก่ ใช้ AI จดจำสินค้าจากรูปภาพและรูปแบบ พร้อมกับดำเนินการย้ายสินค้าใน Store อัตโนมัติได้ และสามารถคาดการณ์ข้อมูลที่จำเป็นได้รวดเร็ว เช่น ความผันผวนของปริมาณการจัดส่งสินค้าทั่วโลกล่วงหน้าก่อน จากข้อมูลหลายส่วนที่ได้รับมาประกอบกัน

ด้านการศึกษา

ด้วยความสามารถของ AI จะช่วยลดเวลาการทำงาน ดังนั้น AI อาจสามารถช่วยครูในการทำกิจกรรมที่ต้องซ้ำๆ อย่างการตรวจการบ้านได้ เช่นการตรวจการบ้านที่เป็นตัวเลือก ก็สามารถใช้ AI มาช่วย เพื่อให้เวลาครูได้มีเวลาที่จะพัฒนาทำกิจกรรมอย่างอื่นกับนักเรียนมากขึ้น

ด้านการเงินและธนาคาร

หลายธนาคารกำลังมุ่งพัฒนา AI ไปในทิศทางเดียวกัน ในอนาคต เราจะได้เห็นหลากหลายบริการ ทั้งการเป็นผู้ช่วยให้กับลูกค้า เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นต้น โดยปัจจุบัน เราได้เห็นหลายธนาคารนำ AI มาใช้แล้วอย่างที่กล่าวไป ซึ่งไม่เพียงแค่ในด้านของธนาคารเท่านั้น ยังมี FinTech Startup ที่นำ AI มาวิเคราะห์ด้านการลงทุน หรือการออมเงิน เป็นต้น

ภาครัฐ

ปัจจุบัน ภาครัฐมีแนวโน้มการนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์แทนกิจกรรมที่ใช้คนทำมากขึ้น เช่นกรณีของ สรรพากรที่เล็งพัฒนา AI มาวิเคราะห์การยื่นภาษีของประชาชน ทั้งยังมีแผนในการพัฒนาใช้งานด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ

ด้านอสังหาฯ

ในฟากอสังหา AI สามารถเข้ามาช่วยในงานก่อสร้าง  เช่น การวิเคราะห์ วางแผน สำรวจโครงสร้างต่างๆ ก่อนก่อสร้าง เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านสุขภาพ

เราเริ่มเห็นการพัฒนา AI มาช่วยวินิจฉัยโรคกันบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำ IBM Watson เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์การรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการนำ AI มาวินิจฉัยโรคอื่นๆ

นอกจากนี้ประเทศไทยยังสามารถพัฒนา Solution จาก Pain Point ที่พบเจอในอุตสาหกรรมหลักของประเทศได้ เช่น AI Solution ใน AgriTech, Food Tech ไปจนถึงธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่ง Solution เหล่านี้ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพภายในเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งออกไปแก้ปัญหาที่ต่างๆ นับเป็นโอกาสที่ไทยจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมที่เราถนัดอยู่แล้ว

แม้ว่าในวันนี้ประโยชน์ของ AI ในประเทศไทยจะอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่จะต้องมีบทบาทกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่นอน เป็นการดีที่เราจะเริ่มเตรียมพร้อมในส่วนที่เกี่ยวข้อง และช่วยกันกระตุ้นเตือนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะทุกความเปลี่ยนแปลงคือโอกาสสำหรับคนที่เตรียมพร้อมนั่นเอง

นอกจาก AI แล้ว ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆที่ขับเคลื่อนอนาคต อ่านข้อมูลจากภาครัฐและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.depa.or.th

อ้างอิง

https://techsauce.co/tech-and-biz/dhl-ibm-report-ai-in-logistic/

https://techsauce.co/tech-and-biz/aritificial-intelligence-industry-landscape-2018/

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...