เผยแนวคิด AIS Playground เมื่อนวัตกรรมต้องการพื้นที่เปิดกว้าง | Techsauce

เผยแนวคิด AIS Playground เมื่อนวัตกรรมต้องการพื้นที่เปิดกว้าง

เมื่อพูดถึงการสร้างนวัตกรรม หลายคนจะนึกถึงการพัฒนาด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ แต่อันที่จริงแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ “พื้นที่ทดลอง” ที่เปิดให้เทคโนโลยีได้ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งหากถามถึงพื้นที่ลักษณะนี้ในไทยแล้ว AIS Playground เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี

ล่าสุด AIS ได้เชิญ Techsauce ไปร่วมพิธีเปิด AIS Playground @ CMU Learning Space ไกลถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ถือโอกาสนี้สัมภาษณ์ คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม หรือ NEXT บริษัทแอดวานว์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)  ผู้บริหารที่ดูแลพื้นที่ด้านนวัตกรรมอย่าง AIS Playground  รวมถึงแนวคิดต่างๆ ทั้งวัตถุประสงค์การจัดตั้ง ไปจนถึงความร่วมมือเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ AIS พร้อมจะสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

จุดเริ่มต้นของ AIS Playground

คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าทีม NEXT AIS

คุณอราคิน เล่าถึงจุดเริ่มต้นของพื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมว่า AIS ได้เริ่มต้นใช้พื้นที่ AIS D.C. เมื่อปี 2017 ได้เห็นการพัฒนาไอเดียจากการผสานความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา อย่างไอเดียที่มีส่วนผสมของวิศวกรรมและการออกแบบเชิงศิลป์ ทำให้เชื่อว่าหาก AIS เปิดพื้นที่ให้ส่วนผสมเหล่านี้ได้ทดลองอย่างจริงจังโดยเป็นผู้สนับสนุนเทคโนโลยีก็จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้มาก จึงเป็นที่มาของการเปิด AIS Playground ในพื้นที่ AIS D.C. ที่ห้าง ดิ เอ็มโพเรียม

AIS Playground ในพื้นที่ AIS D.C. ที่ห้าง ดิ เอ็มโพเรียม

ปัจจุบัน AIS Playground เป็นหนึ่งในพื้นที่บ่มเพาะนวัตกรรมตามแผนงาน Open Innovation Framework ซึ่งภายในองค์กรมีโครงการ AIS InnoJump เป็นพื้นที่ให้พนักงาน AIS พัฒนาไอเดียต่างๆ ให้เป็นจริงด้วยการสนับสนุนจากภายในองค์กร ส่วนภายนอกก็มี AIS Playground อันเป็นพื้นที่ให้บุคคลภายนอกที่มาพร้อมไอเดียและต้องการรับการสนับสนุนจาก AIS ได้เข้ามาร่วมกันพัฒนานวัตกรรม

AIS Playground @ CMU Learning Space ก้าวใหม่สู่การขยายพื้นที่สร้างนวัตกรรมระดับภูมิภาค

คุณอราคิน กล่าวว่า สาเหตุที่เลือก จ.เชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของ AIS Playground ลำดับที่ 2 เนื่องจากเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีการขับเคลื่อนด้านการวิจัยนวัตกรรมที่ชัดเจน ทั้งงานวิจัยจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และความคึกคักของกลุ่มนักสร้างนวัตกรรมท้องถิ่น อย่าง Chiangmai Maker Club

Space for Creators

คุณอราคิน อธิบายว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีวิชาครบถ้วนทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ อีกทั้งคณาจารย์ยังมีความตื่นตัวในการพัฒนางานวิจัย และมีความเข้าใจปัญหาเฉพาะอย่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาในภาคการเกษตร การจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ โดยศึกษาจากสภาพปัญหาจริงที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ทำให้เกิดงานวิจัยที่ลงลึก รู้จริง และแก้ปัญหาได้อย่างเกิดผลมากมาย อีกทั้งเมื่อเสนอแนวคิดสร้างพื้นที่นวัตกรรม ยังได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้บริหาร AIS Playground @ CMU Learning Space จึงเกิดขึ้น

ทั้งนี้ AIS Playground @ CMU Learning Space จะบริหารงานรายวันโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เสนอบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของคนในพื้นที่ โดยมีโซน Space for Work, Space for Consulting, Space for Creators และ Space for Innovators ไว้ให้บริการกับนักศึกษาและประชาชนที่สนใจ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ พร้อมทั้งมี Network Infrastructure โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้ง 5G, NEXT G, IoT, Fibre และ AIS Super WiFi ให้นักพัฒนาสามารถทดลอง ทดสอบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริงได้เลย

Space for work

 ส่วนเทคโนโลยีจะได้รับการสนับสนุนจาก AIS แบบจัดเต็มเช่นกัน โดยเทคโนโลยีชุดแรกที่ AIS นำมาให้นักพัฒนาใช้ในพื้นที่ ประกอบด้วยเครือข่าย 5G, เครือข่าย Internet of Things, เทคโนโลยี 3D Print และเทคโนโลยีแสดงภาพแบบ Augmented Reality และ Virtual Reality ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เปิดให้ทุกคนที่มีไอเดียมาทดลองใช้ได้  นอกจากนี้ AIS ยังเตรียมจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ใช้พื้นที่ได้เชื่อมโยงธุรกิจกับทาง AIS เหมือนกับ Startup ที่ได้โอกาสจาก AIS Playground ที่กรุงเทพฯ

Space for Innovators

“Platform เชื่อม Local Innovation” เป้าหมายสูงสุดของ AIS Playground เพื่อประเทศไทย

เมื่อถามถึงเป้าหมายต่อไปของ AIS Plaground คุณอราคินก็ได้แชร์เป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทั้งหมดไม่ได้คิดแค่เป็นประโยชน์กับธุรกิจของ AIS แต่มองถึงการช่วยแก้ปัญหาและมีส่วนพัฒนาประเทศเลยทีเดียว

Space for Consulting

ในระยะสั้น คุณอราคิน กล่าวว่า ต้องการให้กลุ่ม Maker ทั้งหลายเข้าถึงและหันมาใช้งานสถานที่ AIS Playground ให้มากที่สุด โดยไม่เพียงแต่จะนำไปสู่การเกิดนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ AIS ได้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริงเพื่อปรับปรุงสถานที่และรูปแบบการสนับสนุนที่เหมาะสมในอนาคต

ส่วนในระยะยาว คุณอราคินตั้งใจให้ AIS Playground เป็น Platform ที่เชื่อม Local Innovation จากจุดต่างๆ ของประเทศ โดยจากประสบการณ์ทำงานของคุณอราคิน ได้เห็นความสามารถของนักวิจัยไทยที่เก่งไม่แพ้ใคร แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นมีด้วยกัน 2 กรณี กรณีแรกคืองานวิจัยมีความซ้ำซ้อนกัน โดยเป็นการวิจัยเรื่องเดียวกัน มุ่งแก้ปัญหาเดียวกัน แต่เริ่มต้นจากคนละสถาบัน กรณีที่ 2 คืองานวิจัยหลายชิ้นสามารถต่อยอดกันและกันเป็นนวัตกรรมใหม่ได้ ซึ่งทั้ง 2 กรณีนี้ เกิดจากการไม่มีพื้นที่เชื่อมโยงความรู้ ความสนใจ หรือแบ่งปันปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างนักวิจัยด้วยกัน ดังนั้น นอกจากการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีอันเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาแล้ว คุณอราคินจึงอยากพัฒนาให้ AIS Playground เป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงผู้คนหลากหลาย ทั้ง Researcher, Maker, Innovator, Developer รวมถึง Designer ให้เข้ามาสร้างสิ่งใหม่ไปด้วยกัน

ทั้งหมดที่คุณอราคินกล่าวมาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการสร้างพื้นที่เพื่อบ่มเพาะนวัตกรรมที่ AIS มีส่วนช่วยเตรียมพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์ของนักนวัตกรรมในประเทศไทย ซึ่งเชื่อได้ว่าหลังจากการเข้ามาของ 5G เราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ AIS อย่างแน่นอน

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

13 ทริคต้องรู้! วิธีใช้ Microsoft Copilot จากกูรู เพจวิศวกรเป็ด

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ Microsoft Copilot ได้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลาย คุณสามารถใช้ Copilot ในการสร้างภาพ วางแผนประ...

Responsive image

AI ฉลาดแค่ไหนขึ้นอยู่กับเรา! เรียนรู้วิธีเขียน Prompt AI ให้ได้ดั่งใจ เพิ่มโอกาสและสร้างความได้เปรียบในโลกยุคดิจิทัล

ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆ รวมถึงคนทั่วไปก็ต่างมองหาโอกาสในการนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในโลกยุคด...

Responsive image

เจาะสมองมนุษย์ พัฒนากลยุทธ์การตลาด โดยคุณทอย กษิดิศ ด้วยศาสตร์ Behavioral Economics

“อย่าทำอะไรที่สวนทางความเชื่อของคน” นี่คือประโยคที่คุณทอย นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของไทยย้ำในวิธีทำการตลาด และชี้ว่านักการตลาดจะได้แต้มต่อก็ต่อเมื่อเข้าใจวิธีการทำงานของสมอง เจาะลึกเน...