ความสามารถของ AI ที่นับวันจะอัจฉริยะมากขึ้นกลายความท้าทายอย่างหนึ่งขององค์กร เพราะองค์กรที่ไม่ได้นำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ โอกาสการเติบโตและขีดความสามารถในการแข่งขันก็จะลดน้อยถอยลงตามเวลาที่ผ่านไป ขณะเดียวกัน ความท้าทายก็เกิดขึ้นกับพนักงานด้วยเช่นกัน เพราะถ้าไม่สนใจ ไม่มีมายด์เซ็ตเปิดรับการเรียนรู้ อาจต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ว่า ‘คนที่ใช้ AI เป็น จะมาทดแทนคนที่ใช้ AI ไม่เป็น’
Digital Disruption ส่งผลกระทบต่อบุคลากรในสายงานเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และคนทำงานในสายงานนี้ ส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ชาย แม้จะมีการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาทำงานในแวดวงนี้มากขึ้น แต่สิ่งที่ยังคงเกิดขึ้นในบางองค์กร ไปจนถึงบางประเทศ คือ ผู้หญิงถูกจำกัดสิทธิ เสรีภาพ ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เช่น ถูกกีดกันไม่ให้เติบโตในสายงาน ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย ไม่ได้รับการยอมรับจากหัวหน้า ไม่ได้สิทธิและสวัสดิการทัดเทียมคนอื่นๆ
ความไม่เท่าเทียมทางเพศในอดีตส่งผลให้มีผู้หญิงจำนวนมากถูกกดขี่ข่มเหง ถูกทำร้ายร่างกาย เมื่อออกไปทำงานนอกบ้านก็ถูกกดค่าแรง ถูกบังคับให้ทำงานเกินเวลา หากตั้งครรภ์ก็จะถูกไล่ออก นำมาสู่การเรียกร้องความเป็นธรรมของผู้หญิงที่เป็น ‘แรงงานสตรี’ ซึ่งต่อมาก็มีการเสนอให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็น ‘วันสตรีสากล’ เพื่อปกป้องสิทธิและสร้างความตระหนักรู้ในบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงอย่างที่ควรจะเป็น
เนื่องใน วันสตรีสากล 2567 เวียนมาอีกครั้ง ทีม Techsauce จึงนำประเด็นเกี่ยวกับ ‘ผู้หญิงในที่ทำงาน’ ซึ่งได้รับโอกาสและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน จาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS บิ๊กคอร์ปอเรตของไทยอีกแห่ง ซึ่งมีจำนวนพนักงานผู้หญิงในสัดส่วนพอๆ กันกับพนักงานเพศชาย มานำเสนอเพื่อ Inspire ว่า เพศใด ก็สามารถสร้างโอกาสสู่ความสำเร็จได้
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เป็นหนึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ของไทยที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็น การให้ความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันในการทำงาน/การจ้างงาน โดยไม่นำเรื่องความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา การศึกษา ฐานะทางสังคม หรือความพิการทางร่างกาย มากดขี่และเลือกปฏิบัติ ทั้งยังส่งเสริมให้ทุกเพศ รวมถึง ผู้หญิงมีโอกาสทำงานในสายงานเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงสนับสนุนการเรียนรู้และช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
คุณโอปอล เลิศอุทัย หัวหน้าฝ่ายงานบริหารข้อเสนอและผูกพันกับลูกค้า AIS ผู้วางรากฐานโปรแกรมดูแลลูกค้า เป็นคนแรกที่เล่าถึงโอกาสที่ AIS มอบให้
“AIS มอบโอกาสให้ปอลเข้าถึงงานบริการลูกค้ากว่า 45 ล้านราย ผ่าน Digital Platform อย่าง myAIS ที่บอกว่าเป็นโอกาสของปอล เพราะปอลไม่เคยทำงานด้าน Telco (Telecommunication) มาก่อน แต่หลังจากได้ทำงานร่วมกับพี่ๆ น้องๆ ที่เต็มเปี่ยมด้วยหัวใจบริการ รักลูกค้าขั้นสุด และเป็นห่วงลูกค้าในทุก Journey มันจึงสนุกและท้าทายเรามาก เพราะสำหรับปอล การอินทิเกรตเส้นทางดูแลลูกค้าให้เป็นเส้นเดียวกัน ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีที่ผ่านมาในสายงานซึ่งไม่ใช่ Telco แต่สามารถสร้าง Growth และความพึงพอใจให้ลูกค้าแบบก้าวกระโดดได้ เป็นเพราะ AIS ให้โอกาสเราก่อน”
เมื่อถามว่า ได้รับโอกาสด้านใดอีกหรือไม่ พี่โอปอลตอบทันทีว่า ที่ AIS ให้โอกาสในการแสดงความสามารถอย่างเสมอภาค แต่ในขณะเดียวกัน การที่ผู้หญิงมีข้อได้เปรียบในเรื่องความอ่อนโยน อะลุ้มอล่วย อดทนต่อแรงกดดันได้ จึงเห็นว่าควรใช้ข้อได้เปรียบนี้ในการผลักดันภารกิจขององค์กรและสร้างทีมให้ทำงานได้บรรลุตามเป้าหมาย
ต่อด้วยหญิงแกร่งแห่งวงการสตาร์ทอัพ ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการโครงการ AIS The StartUp อีกส่วนงานสำคัญที่ช่วยต่อยอดและเติมเต็มศักยภาพ สนับสนุนสตาร์ทอัพในเมืองไทยให้เติบโตได้อย่างสวยงาม
“โอกาสที่ได้รับในการทำงานที่ AIS ถือเป็นความท้าทายตรงที่ต้องมี ‘ความเป็นผู้นำสูง’ เพราะการทำงานกับกลุ่มสตาร์ทอัพ ‘เราไม่ได้นำแค่กลุ่มคน แต่เรานำธุรกิจและอุตสาหกรรม’ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญที่ AIS มอบให้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ และไม่ว่าจะได้รับบทบาทไหน ก็พร้อมทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด เพราะงานที่ทำไม่ใช่แค่เพียงช่วยให้ AIS บรรลุพันธกิจขององค์กรสู่เป้าหมาย Cognitive Tech-Co แต่สิ่งสำคัญคือ การช่วยส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพในเมืองไทยให้เติบโตไปพร้อมกับ AIS และเมื่อเราสร้างกลุ่มธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีแล้ว กลุ่มธุรกิจเหล่านั้นจะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้ต่อไป”
ดร.ศรีหทัย กล่าวเพิ่มถึงแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการทำงานว่าเป็น ‘Charismatic Leadership’ หรือ การมีภาวะผู้นำที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ “จากการที่ต้องทำงานในบทบาทผู้นำหญิง จึงดึงจุดเด่นจากแนวคิดดังกล่าวมาช่วยส่งเสริมการทำงาน และการที่ AIS ให้ความเท่าเทียมกับทุกคน ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ อายุ หรือตำแหน่งงาน พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสพัฒนาตัวเอง เนื่องจาก AIS เชื่อว่า เมื่อพนักงานได้รับโอกาส ทุกคนก็จะแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่”
อีกมุมของผู้หญิงเก่ง อย่าง ดร.น้ำทิพย์ ทาตะนาม ผู้จัดการด้านการวางแผนกลยุทธ์ AIS Call Center ส่วนงานที่เป็นหัวใจสำคัญคือ การพัฒนา AI เพื่อดูแลลูกค้าผ่าน Call Center สุดล้ำ โดย ดร.น้ำทิพย์ เล่าถึงโอกาสซึ่งกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการทำงานว่า
“จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เราสามารถเปลี่ยนแนวทางการทำงานแบบเดิมๆ มาเป็นการใช้เทคโนโลยี AI ช่วยจัดระบบ Workforce ของพนักงาน คือ ‘การได้รับโอกาสและความไว้วางใจจากหัวหน้า’ ให้นำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การใช้ AI ยังตอบโจทย์แนวทางของบริษัทที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาลดเวลาการทำงานแบบ Routine ลง แต่พนักงานสร้างผลิตภาพได้มากขึ้น และได้พัฒนาศักยภาพใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ”
ถามในมุมของผู้หญิงที่ทำงานในบริษัทที่ผลักดันเรื่องเทคโนโลยี ดร.น้ำทิพย์แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาว่า เป็นผู้หญิงที่เติบโตมากับสายงานในโลกของ IT อยู่แล้ว ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าลองอะไรใหม่ๆ
“เรามีมุมมองว่า เมื่อโลกนี้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาได้ แสดงว่าก็ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราต้องลองหา How to หรือหาว่า ทำอย่างไรให้ได้ก่อน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ไม่ได้มีผลต่อการทำงานสาย IT ในองค์กรแห่งนี้เลย เพราะบริษัทให้เราทำงานร่วมกันอย่างเสมอภาค ทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ถ้ามองอีกมุม โดยส่วนตัวคิดว่า การเป็นผู้หญิงอาจมีความได้เปรียบบ้างตรง Soft Skill ในด้านที่มีความละเอียดอ่อนและสามารถบริหารจัดการบางเนื้องานได้ละเอียดกว่าผู้ชาย”
มาต่อกันที่มุมมองของ 2 วิศวกรสาว กับบทบาทผู้ดูแลโครงข่ายโทรคมนาคมอัจฉริยะของ AIS คนแรก คุณลักษิกา วิฑูรรัตน์ เล่าว่า การทำงานที่ AIS ในตำแหน่งวิศวกร เพศหญิงมีสิทธิทัดเทียมเพศชาย มีโอกาสลงมือทำสิ่งต่างๆ โดยไม่ถูกปิดกั้น ทั้งยังได้รับการยอมรับจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน จนไม่รู้สึกถึงความแตกต่างทางเพศ
“จริงอยู่ที่วิศวกรส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย แต่หากมองในมุมที่เราเป็นผู้หญิงซึ่งประสบความสำเร็จในสายอาชีพวิศวกร และได้รับการยอมรับ เท่ากับว่า เราก้าวข้ามความท้าทายมาแล้วระดับหนึ่งแล้ว และการทำงานที่นี่ยังเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีเลยว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนได้รับ ‘โอกาส’ ในการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน”
ปิดท้ายด้วย คุณวริษา ไชยมงคล ที่มาเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำงานอาชีพวิศวกร
“แรงบันดาลใจของการทำงานสายวิศวกร เริ่มต้นจากการที่เรามองเห็นความสำคัญของการใช้อินเทอร์เน็ตและสัญญาณมือถือเพื่อการติดต่อสื่อสาร จึงเกิดความตั้งใจที่จะพัฒนาระบบโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ และเมื่อได้เข้ามาทำงานตรงนี้ หน้าที่หลักคือ มอนิเตอร์สัญญาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตของลูกค้า ทำงานได้ระยะหนึ่ง ทาง AIS ก็เปิดโอกาสให้เขียนโปรแกรมระบบอัตโนมัติ ตรวจสอบพื้นที่ที่พบปัญหาในการใช้งาน ทำให้เราพัฒนาจนสามารถใช้งานได้จริง ยิ่งทำให้ภูมิใจว่า ความสนใจของเราเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและผู้ใช้งานในคราวเดียว”
อย่างไรก็ตาม การได้เข้าไปทำงานในทีมวิศวกรของ AIS นั้น มีข้อดีหรือมีโอกาสอะไรที่อยากต่อบอกคนอื่นๆ ต่อ ทั้งคู่ตอบตรงกันว่า การทำงานที่ AIS นั้นมีข้อดีคือ ทุกคนทำงานร่วมกันบนความเท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และเปิดโอกาสให้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ การเติบโตในสายงานวิศวกรจึงทำสิ่งใหม่ได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ
นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่งของชาว AIS จากหลากหลายสายงานซึ่งตอกย้ำว่า ไม่ว่าจะทำงานในตำแหน่งใด ทุกคนมีโอกาสแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ เพราะบริษัทมีกลไกในการสนับสนุน รับฟังความคิดเห็น และเปิดกว้างให้ทดลองอะไรใหม่ๆ ทั้งยังให้ความสำคัญในเรื่องความเท่าเทียมในที่ทำงาน พนักงานจึงทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ขณะเดียวกัน ต่างก็สามารถพัฒนาตัวเองได้แบบไร้ขีดจำกัด
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด