จริงหรือไม่ ? คนไทยเริ่มห่วงความปลอดภัยในข้อมูลมากขึ้น | Techsauce

จริงหรือไม่ ? คนไทยเริ่มห่วงความปลอดภัยในข้อมูลมากขึ้น

จากที่มีเคส Data Privacy โด่งดังมากมายใน 1-2 ปีก่อน ทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตัวกันมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยและสิทธิ์ส่วนบุคคลในข้อมูล ปีนี้ทาง We are Social จึงทำการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติม  ผลคือเมื่อเทียบกับชาวโลกแล้ว ชาวไทยมีการช็อปออนไลน์และใช้อินเตอร์เน็ตในอัตราที่สูงมากเป็นอันดับต้นๆของโลก และมีความใส่ใจเรื่องการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดสูงถึง 59%  สอดคล้องกับการสำรวจที่ Analytist ได้จัดทำไปเกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็นต่อพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

มาดูข้อมูลจาก We are Social จากเดือน JAN 2020 กันค่ะ

ชาวไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์ต่อวันมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และมากถึง 9 ชั่วโมง

ชาวไทยซื้อของออนไลน์เป็นอันดับที่ 2 ของโลก
82% ของกลุ่มตัวอย่างมีการซื้อของออนไลน์ภายในเดือนที่ผ่านมา

ชาวไทย 59% กังวลเรื่องที่องค์กรนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด  ( สูงเป็นอันดับที่ 33 ของโลก)

อาจไม่ได้สูงเป็นอันดับต้นๆเหมือนกับชาร์ตก่อนหน้า 

แต่ 59% คือ ประมาณ 3 ใน 5 คน ก็นับว่าไม่น้อยเลยทีเดียว

สอดคล้องกับข้อมูลจากผลสำรวจ kNOW ของบริษัท Analytist ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดาต้าและการวิจัยทางดิจิตัล ที่ได้สำรวจกับผู้บริโภคชาวไทย 500 คนผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ สำรวจช่วงวันที่ 11-22 ก.พ. 2563 คือ ช่วงเวลาก่อนที่พรบ.จะบังคับใช้จริง 3 เดือน โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหา Awareness และ Acceptance ของการมีพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึง Attitude และ Understanding  เพื่อเป็นการช่วยองค์กรต่างๆในการเตรียมความพร้อมต่อความคาดหวังที่กำลังจะเกิดในอีก 3 เดือนข้างหน้า  

ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า 

Awareness

  • 61% ของผู้บริโภครู้เกี่ยวกับพรบ. และในกลุ่มนี้มี 
  • 12 % ที่ศึกษาข้อมูลแล้ว  
  • 49% ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลเลย
  • 39% ยังไม่ทราบเกี่ยวกับพรบ.นี้เลย  

Acceptance

  • ผู้บริโภคเห็นด้วยมาก ( ในอัตรา 9 .1 จาก 10 ) ว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นสำคัญและเป็นของส่วนตัว ไม่ควรมีการนำไปขาย หรือ ใช้เพื่อการค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 
  • เห็นด้วยมากกับพรบ.นี้ ( ในอัตรา 9 จาก 10) เท่าๆกันในทุกกลุ่มอาชีพ
  • อายุที่มากขึ้นทำให้เห็นด้วยมากขึ้น ตามเทรนด์คือผู้ที่เห็นด้วยน้อยสุดคืออายุต่ำกว่า 20 ปี (นักศึกษา) และผู้ที่เห็นด้วยมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 40-49 ปี และ 60 ปีขึ้นไป
  • 68% คิดว่าพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลนี้ให้ประโยชน์มากกว่าโทษ, 
  • 30% ไม่แน่ใจ และมีเพียง 2% ที่เห็นว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์
  • 78% ยังไม่ทราบว่าบทลงโทษทางอาญา คือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาทและ/หรือ จำคุกสูงสุด 1 ปี
  • 57% เข้าใจถูกต้องว่าพรบ.บังคับให้บริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง
  • 45% ตอบว่า สิทธิ์ที่คิดว่าจะใช้แน่นอนเมื่อมีพรบ.นี้  คือ คัดค้านการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้และเปิดเผย

ถ้าเลือกได้ 

  • 49% บอกว่าจะไม่ยินยอมแน่นอนที่จะให้เก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูลของเค้า (โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง)
  • 48% บอกจะอ่านรายละเอียดก่อนการยินยอม ถ้าเป็นประโยชน์ก็โอเค  
  • มีเพียง 2% ที่จะยินยอมแน่นอน 
  • แล้วถ้าทำเงื่อนไขยาวๆนี่จะอ่านกันจริงหรือไม่ ? 
  • ที่ผ่านมาส่วนใหญ่อ่านเงื่อนไขกันคร่าวๆประมาณ 50%  และอีกส่วนอ่านแค่ 20% 
  • ที่อ่านโดยละเอียดครบถ้วน มี 18%  
  • และมีอยู่ 13% ไม่เคยอ่านเลย 
  • ข้อมูลใดบ้างที่ผู้บริโภคไม่ชอบกรอก 
  • รู้ไว้ เพื่อนักการตลาดจะได้เลือกถามเฉพาะที่จำเป็นและผู้บริโภคไม่รังเกียจ
  • ส่วนข้อมูลที่พอกรอกได้ (แต่ก็ไม่ได้ชอบกรอก) คือ ชื่อ นามสกุล, อีเมล, การศึกษา, อาชีพ และวันเดือนปีเกิดค่ะ 
  • ข้อมูลที่ไม่ชอบกรอกมากที่สุด คือ รายได้ ( โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง )
  • รองลงมาคือเบอร์โทรศัพท์ และ ที่อยู่ ( น่าจะเกิดจากการขอบ่อยและซ้ำซ้อนมากเกินไป)
  • เลขบัตรประชาชนก็มาแรงมาก

มี Segment หนึ่งที่มีคำตอบเด่นชัดกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ ผู้บริหารระดับสูง ส่วนใหญ่ไม่ชอบกรอกข้อมูลรายได้ ไม่อ่านเงื่อนไขยาวๆ  และ มักเลือกที่จะไม่ยินยอมให้เก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูล ถึงแม้จะยังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพรบ.นี้เลยจึงไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับบทลงโทษ แต่ก็เห็นประโยชน์มากกว่าโทษ มีโอกาส 80% ที่จะใช้สิทธิ์ในการคัดค้านการเก็บข้อมูล 

และหากสินค้าหรือบริการของเรามีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร ถ้าไม่จำเป็นก็ควรเลิกถามเรื่องรายได้ โดยเฉพาะการขายออนไลน์ เพราะจากการสำรวจนี้ ผู้บริหารระดับสูงกว่า 40% ซื้อของออนไลน์สูงที่สุดสูงกว่าทุกกลุ่ม และมากกว่า 20 ครั้งต่อปี

สรุป  

ผู้บริโภคส่วนมากรู้เกี่ยวกับพรบ.นี้แต่ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูล แต่ก็สนับสนุนการมีพรบ. และเห็นประโยชน์มากกว่าโทษ เกือบครึ่งตอบว่าสิทธิ์ที่คิดว่าจะใช้แน่นอนเมื่อพรบ.มีผล คือ คัดค้านการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้และเปิดเผย  คาดว่าเกิดจากประสบการ์ณที่ไม่ดีที่โดนติดต่อจากองค์กรที่ตนไม่ได้ให้ข้อมูล โดยเฉพาะในกลุ่มที่โดนบ่อยจะยิ่งมีการต่อต้าน

แต่ส่วนใหญ่อ่านเนื้อหาเงื่อนไขกันคร่าวๆ ประมาณ 50%  ไม่ได้อ่านทั้งหมด

ข่าวร้าย คือ มีครึ่งนึงที่อาจตัดสินไม่ให้ Consent โดยไม่สนใจเงื่อนไข ซึ่งหากแบรนด์ทำให้กลุ่มนี้ผิดหวังอาจเสียลูกค้าไปได้ง่ายๆเลย 

ข่าวดี ก็คือ มีอีกครึ่งนึงที่สนใจอ่านเงื่อนไข หากเราทำให้ดูโปร่งใส น่าเชื่อถือ หรือ มีสิ่งจูงใจให้เพิ่มเติมก็น่าจะขอ Consent มาได้ไม่ยาก 

ในยุคที่การแข่งขันสูงขนาดนี้ หากองค์กรอยากพลิกวิกฤตเป็นโอกาส  สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้มากกว่าคู่แข่ง พรบ.นี้ก็ถือว่าเข้ามาช่วยทำคะแนนได้อีก !  หากธุรกิจคุณยังทำ Cold Call อยู่ ต้องอ่านอีกบทความด้วยค่ะ เพราะมันจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจคุณโดยตรง 

ข้อมูลกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม

อายุ :  

  • กว่า 80% เป็นเจน X และ Y ที่อายุ 30-49 ปี 
  • 10% อายุ 20-29 ปี และ 7% อายุ 50-59 ปี 
  • อีก 1% ต่ำกว่า 20 ปี และ 1% 60 ปีขึ้นไป

อาชีพ : 

  • 50% เป็นพนักงานบริษัทเอกชน, 24% อาชีพอิสระ, 
  • 10% เป็นเจ้าของกิจการ, 10% รับราชการ, 
  • 2% เป็นผู้บริหารระดับสูง และ 1% นักศึกษา

ที่อยู่ : 

  • เป็นชาวกทม 58% 
  • และอีก 12 จังหวัดทั่วไทย อาทิ เช่น เชียงใหม่, นครสวรรค์, ระยอง, สงขลา, นครปฐม, เชียงราย เป็นต้น 

พฤติกรรมการบริโภค : 

  • กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 64% ช็อปออนไลน์มากกว่า 10 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา 
  • และ 64% มีการสมัครบัตรสมาชิก/บัตรต่างๆที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว 1-10 ครั้ง

หากสนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PDPA สามารถเข้าเว็บไซต์ PDPA Thailand  : https://sites.google.com/view/pdpa-2019/pdpa-home

หรือ  แนวทางปฎิบัติ Thailand Data Protection Guidelines 1.0 จากทางศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  : https://www.law.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/06/tdpg.pdf

ผู้เขียน : Analytist Team

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดรหัส 3 โมเดลธุรกิจทุนจีนบุกไทย จะรับมืออย่างไร ให้ธุรกิจไทยอยู่รอด?

กระแสทุนจีนกำลังรุกคืบหลายประเทศทั่วโลกไม่เว้นแต่ประเทศไทย นับเป็นปรากฏการณ์ที่เด่นชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นจากสินค้าและบริการจากแดนมังกรที่แทรกซึมเข้าสู่ทุกซอกมุมของส...

Responsive image

Sea (ประเทศไทย) เดินหน้าเสริมทักษะการเงินเยาวชนไทย ผ่านบอร์ดเกม “Wishlist จัดสรรเงิน เติมความฝัน”

บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงแนวคิดของบอร์ดเกมการเงิน “Wishlist จัดสรรเงิน เติมความฝัน” และความสำเร็จของการใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือเพิ่มพูนทักษะด้านการเงินในเยาวชนไทย...

Responsive image

Copilot มองเห็นแล้ว ! มัดรวม 7 อัปเดตล่าสุด

Microsoft ปล่อยอัปเดตครั้งใหญ่ของ AI เรือธงอย่าง Copilot เรียบร้อยแล้ว! โดยทาง Yusuf Mehdi รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดผู้บริโภค ได้ออกมาเผยว่าอัปเดตครั้งนี้จะเปลี่ยนประสบการณ์การใช้...