ปรับ Mindset คนในองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และแนะวิธีการใช้ Big Data ให้ได้จริง | Techsauce

ปรับ Mindset คนในองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และแนะวิธีการใช้ Big Data ให้ได้จริง

ทุกวันนี้ Big Data เป็นคำที่คงคุ้นหูทุกคนและถูกใช้ในหลากหลายแวดวง ด้วยการเติบโตของเทคโนโลยี ทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาลที่สามารถนำเอามาใช้งานต่อได้อย่างมากมาย ซึ่ง Data เหล่านี้ก็คือขุมทรัพย์ใหม่ที่ทุกองค์กรต่างให้ความสนใจ เพราะสร้างประโยชน์ที่หลากหลาย ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการงานและช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ 

และการที่องค์กรจะนำ Big Data มาใช้นั้น จะต้องมีการเตรียมพร้อมองค์กรสำหรับความเปลี่ยนแปลง แต่ปัญหาที่องค์กรมักจะต้องเจอคือเรื่อง Mindset ของคนในองค์กรที่อาจจะยังมองไม่เห็นข้อดีของ Data หรือขาดความเข้าใจในการนำมาปรับใช้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก ๆ คือ การสร้างความเข้าใจและทำให้เห็นถึงความสำคัญของ Data เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนา 

เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจมากขึ้นในด้าน Data และการนำมาปรับใช้ ICHI ผู้ให้ความรู้ด้าน Digital Solution จึงได้เชิญ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ซึ่งปัจจุบันได้รับผิดชอบภารกิจทั้งในด้าน AI Governance รวมถึงการผลักดัน Digital ID Framework ของประเทศที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในหลาย ๆ มิติมาประกอบการวางแผนการดำเนินงานที่สำคัญมาร่วมแบ่งปันความเห็นและความรู้ให้ทุกคนได้เข้าใจเกี่ยวกับ Big Data มากขึ้น 

Big Data ในปัจจุบันและการนำมาปรับใช้ในองค์กร

ดร.ศักดิ์ ให้ความเห็นว่าในยุคสมัยที่ข้อมูลถูกสร้างขึ้นได้ง่าย เพราะมีอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลที่มีความพร้อมและมีความสะดวกอย่าง Smart Phone ทำให้การเก็บข้อมูลและนำไปใช้สามารถทำได้ง่าย จากความสะดวกนี้เองที่ทำให้มีข้อมูลจำนวนมหาศาลจนเรียกว่า ‘Big Data’ ที่ผ่านมาในอดีตแต่ละองค์กรต่างใช้ข้อมูลสำหรับการจัดการแบบดั้งเดิม อย่างการนำมาใช้เพื่อดูยอดขาย ดูกำไรหรือขาดทุนเพียงเท่านั้น แต่ด้วยเทคโนโลยีในทุกวันนี้ทำให้เกิด Smart Phone และ Social Media ที่เข้ามามอบข้อมูลเชิงลึกให้กับธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการและนักการตลาดรู้ถึงกลุ่มผู้บริโภคว่าเป็นใคร หรือมีความคิดเห็นอย่างไรกับผลิตภัณฑ์และบริการของเรา 

 ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด

 “เราได้เห็นว่ามีบริษัทที่นำเอาข้อมูลมาทำให้เกิดเป็นธุรกิจ และสร้างรายได้จำนวนมาก จนเติบโตเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับ top10 ของโลกได้ ดังนั้น ต้องย้อนกลับมามองว่าที่องค์กรของเราเองว่ามีการเก็บข้อมูลหรือไม่ รวมถึงตั้งโจทย์ให้ได้ว่าจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไร”

และสำหรับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเมื่อมีการนำ Big Data มาใช้ในองค์กรนั้นก็แบ่งออกเป็น 2 ด้านหลักคือในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร และการเพิ่มรายได้รวมถึงโอกาสทางธุรกิจ 

สิ่งหลักที่ต้องคำนึงเพื่อทำให้เกิด Big Data  

  • การมีโจทย์ที่ชัดเจนว่าองค์กรจะทำอะไร 
  • ทีมงานในองค์กรที่ทำหน้าที่ด้าน Data จะต้องตรวจสอบความพร้อมในทั้งด้านข้อมูลและองค์กรว่าสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
  • ผู้นำองค์กรจะต้องรู้จักวิธีที่จะดึงศักยภาพจาก Data และนำมาใช้อย่างมีประโยชน์

3 คำถามเช็คความพร้อมก่อนทำ Big Data

  1. Why - เริ่มต้นด้วยคำถามที่ชวนให้คิดต่อว่าทำไมองค์กรถึงต้องการใช้งาน Big Data โดยควรเริ่มต้นจากการตั้งโจทย์หรือเป้าหมายว่าจะนำ Big Data ไปใช้ในด้านไหน เช่น ต้องการเพิ่มรายได้ของธุรกิจ ดังนั้นอาจจะมีการตั้งโจทย์ว่าต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้า 30 เปอร์เซ็นต์ การทำเช่นนี้จะทำให้เห็นภาพว่าควรจะหยิบเอา Data ส่วนไหนมาใช้งาน 
  2. What - หลังจากที่ทราบโจทย์แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะมาวิเคราะห์ต่อว่าองค์กรต้องการใช้งาน Data แบบไหน โดยเลือกข้อมูลที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ให้มากที่สุด
  3. How - เมื่อทราบแล้วว่าจะใช้ข้อมูลอะไร ก็ต่อด้วยการหาเครื่องมือที่จะนำมาใช้ ที่เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับข้อมูลแต่ละประเภท 

นอกจากนี้อีกเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือเรื่องของ ‘คนในองค์กร’ ต้องมีการสร้างความเข้าใจใหม่ให้เกิดขึ้น อย่างการมองว่า Data เป็นงานของฝ่าย IT ทั้งที่ในความจริงแล้วอาจจะต้องครอบคลุมไปถึงฝ่ายขายหรือเจ้าหน้าที่การตลาดด้วย เพราะงานด้าน Data ไม่ใช่แค่เรื่องของเครื่องมือ แต่ยังมีเรื่องของการวิเคราะห์และนำไปพัฒนาต่อยอด  

 ทั้งนี้ ดร.ศักดิ์ เสริมว่า การทำ Big Data ภายในองค์กรต้องมีกรอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานสากลเรียกว่า Data Governace ซึ่งเป็นการกำกับดูแลข้อมูลและมีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอย่างเป็นระบบ ดังนั้นองค์กรจึงควรต้องมีการทำ Data Governace เป็นอันดับแรก เพื่อจะได้มีผู้รับผิดชอบในกรณีต่าง ๆ

“สิ่งที่เป็นหัวใจของ Data Governace คือการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องของข้อมูลมานั่งคุยกัน เพื่อช่วยกันคิดว่าข้อมูลที่จะตอบโจทย์องค์กรควรเป็นอย่างไร หากไม่ทำ Data Governace ไม่มีทางที่ Big Data จะสำเร็จ เพราะ Data Governace จะเป็นการวางกรอบให้เรา และองค์กรจะต้องนำกรอบเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้เป็นของใครของมัน”

สิ่งที่ผู้นำควรมีคือ Mindset ที่พร้อมและเข้าใจในการทำ Big Data

เมื่อพูดถึงการจัดการด้าน Data Governance กันไปแล้ว มาลองดูในฝั่งของผู้บริการและผู้นำองค์กรกันบ้าง เพราะถือเป็นผู้ที่จะนำพาทิศทางขององค์กร ดังนั้นผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับ Big Data เพราะข้อมูลเหล่านี้เองที่จะไปช่วยให้การตัดสินใจในงานมีความแม่นยำมากขึ้น ผู้นำองค์กรจึงควรมีความเข้าใจและมี Mindset ที่พร้อมรับกับการทำงานใหม่ ๆ โดยอาจะเริ่มต้นง่าย ๆ อย่างการศึกษาดูงานจากองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จในการทำ Big Data 

“คนที่เป็นเบอร์ 1 เบอร์ 2 ขององค์กรต้องเป็น Data owners ซึ่งไม่ได้หมายถึงต้องเข้าใจข้อมูลในทางเทคนิค แต่ต้องเข้าใจข้อมูลที่รับผิดชอบว่าจะเอาข้อมูลมาทำยังไงเพื่อให้ตอบโจทย์ภารกิจองค์กร นอกจากนี้ทีม Data ขององค์กร ต้องวางรูปแบบและแนวปฏิบัติให้ดี ขณะที่ผู้ใช้ข้อมูลต้องมีความเข้าใจและเรียนรู้ที่จะใช้ข้อมูลด้วยเช่นกัน” ดร.ศักดิ์ กล่าว 

ปัจจัยหลักที่ทำให้ BIG DATA ไม่เกิดในองค์กร

ทาง ดร.ศักดิ์ ให้ความเห็นว่าปัญหาในอดีตหลายองค์พบกับปัญหาในเรื่องเครื่องมือ แต่ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีและราคาของเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่ายทำให้ปัญหานี้น้อยลง 

“ในขณะที่ปัจจุบันนี้ปัญหาที่ทำให้องค์กรไม่สามารถทำ Big Data ให้เกิดขึ้นจริงได้นั้นมาจากการตั้งโจทย์ที่ไม่ชัด และความไม่เข้าใจใน Big Data อย่างแท้จริงของคนในองค์กร”

นอกจากนี้ยังมีประเด็นในเรื่องของความเข้าใจผิดด้านระยะเวลาการทำ Big Data ที่คิดว่าจะสามารถสำเร็จได้ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ ดร.ศักดิ์ มองว่า การจะประสบความสำเร็จในด้าน Big Data ต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 3 ปี โดยได้ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จจากการทำ Big Data อย่างกลุ่มธนาคาร ที่ผ่านมาธนาคารต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนเผื่อให้ทันเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ อย่าง FinTech ธนาคารหลายแห่งได้ทำการเก็บข้อมูลเป็น Big Data และออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาตอบโจทย์พฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบัน

“ธนาคารตีโจทย์แตกแล้ว ว่าทำยังไงถึงจะรู้พฤติกรรมลูกค้ามากที่สุด ดังนั้นเมื่อธนาคารมี BIG DATA ก็จะทำให้มองเห็นเทรนด์ต่าง ๆ และสร้างโปรดักต์ออกมาตอบโจทย์ได้ โดยสิ่งสำคัญที่ข้อมูลต้องมีคือ สามารถตอบได้ว่า ที่ไหน เวลาอะไร และกับใคร ซึ่งธนาคารสามารถเก็บข้อมูลทั้ง 3 ส่วนได้ทั้งหมดแล้ว พวกเขาจึงสามารถตอบโจทย์คนในยุคปัจจุบันได้”

โดย ดร.ศักดิ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “DATA จะวิวัฒนาการไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นการทำ DATA ไม่มีวันจบ เพียงแต่เราต้องวางกลไกภายในองค์กรเพื่อจะทำให้เกิดการใช้ข้อมูล และการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่าคาดหวังว่าวันแรกทุกสิ่งจะสำเร็จ 100% แต่เราจะต้องวางรางฐานโดยเริ่มจากการตั้งโจทย์เป็นอันดับแรก”

จากความเห็นของ ดร.ศักดิ์ ทั้งหมดนี้ ทำให้ทุกคนได้เห็นว่า Big Data มีความสำคัญอย่างไรและในฐานะองค์กรที่ต้องการทำ Big Data ให้เกิดขึ้นจริง และจะต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้างเพื่อให้องค์กรเดินหน้าเท่าทันเทคโนโลยี 

สำหรับผู้อ่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน Big Data สามารถติดตามได้จาก ICHI ที่ https://www.jrit-ichi.com/cutting/2022/05/17/1100/ 


บทความนี้เป็น Advertorial 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พลิกโฉมการจัดการโรคด้วย AI เปลี่ยนการรักษาสู่การป้องกันเชิงรุก

AI กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการโรค ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรักษาอีกต่อไป แต่ยังครอบคลุมไปถึงการตรวจหาโรคตั้งแ...

Responsive image

Translucia ใช้ Generative AI อย่างไร ให้ผู้คนมีสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี

ชวนดูแนวทางที่ Translucia บุกเบิกการใช้เทคโนโลยี AI เพิ่มความสามารถให้ AI Agent เรียกว่า ‘Empathetic AI’ ที่เข้าใจและใส่ใจความรู้สึกของผู้ใช้ ทั้งยังโต้ตอบได้แบบเรียลไทม์ใน Metaver...

Responsive image

7 เหตุผลที่ไทยต้องลุยอุตสาหกรรม Semiconductor ก่อนตกขบวนเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง !

ค้นพบ 7 เหตุผลสำคัญที่เซมิคอนดักเตอร์กำลังกลายเป็นหัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในประเทศไทย ตั้งแต่การส่งออก การลงทุน จนถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรม EV...