ChillPay Me อนาคตของ Payment Gateway กับบทบาทที่เป็นมากกว่าช่องทางชำระเงินออนไลน์ | Techsauce

ChillPay Me อนาคตของ Payment Gateway กับบทบาทที่เป็นมากกว่าช่องทางชำระเงินออนไลน์

สถานการณ์ Covid-19 ซึ่งเป็นตัวแปรให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นทั่วโลก ทำให้ทั้งในฝั่งของผู้บริโภคและธุรกิจเร่งปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัล แนวโน้มที่สำคัญคือการปรับตัวใหญ่ในครั้งนี้จะไม่ย้อนกลับไปยังจุดเดิมอีกต่อไป อัตราการเปลี่ยนเข้ามาใช้จ่ายออนไลน์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้บทบาทของ Payment Gateway หรือช่องทางชำระเงินออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้น คำถามที่น่าสนใจคือหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องเปลี่ยนเป็นดิจิทัลเกือบทั้งหมด เรามีระบบชำระเงินออนไลน์ที่รองรับกับการใช้จ่ายในรูปแบบใดบ้าง ครอบคลุมคนทุกกลุ่มหรือไม่ หรือปริมาณ Data ที่เพิ่มขึ้นมาอย่างมหาศาลในช่วง Covid-19 จะทำให้โจทย์ของ Payment Gateway เปลี่ยนไปอย่างไร

ชวนทุกท่านมาเจาะลึกบทบาทของ Payment Gateway กับคุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต Founder และ CEO ของ Prain FinTech เจ้าของบริการ Payment Gateway อย่าง ChillPay ซึ่งจะมาช่วยฉายภาพให้เห็นโจทย์สำคัญของการชำระเงินออนไลน์ของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมถึงเทรนด์การเติบโตของ Social Commerce ที่มีโอกาสเติบโตอย่างมหาศาลในตลาดประเทศไทยรวมถึงในเอเชีย โดยมีหัวใจสำคัญคือเรื่องของการที่ธุรกิจจะ Utilize Data และยกระดับการทำธุรกิจ Social Commerce ได้อย่างไร

‘จับจ่ายออนไลน์’ กิจกรรมออนไลน์ที่เติบโตมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต

จุดที่น่าสนใจในการปรับตัวสู่พฤติกรรมดิจิทัลของผู้บริโภคคือในบรรดากิจกรรมออนไลน์ทั้งหมด ตั้งแต่การใช้ Social Media ทำธุรกรรมทางการเงิน ดูหนังฟังเพลง เล่นเกม ไปจนถึงการเรียนออนไลน์ ETDA สำรวจพบว่าสองอันดับแรกของกิจกรรมออนไลน์ที่มีการเติบโตของผู้ใช้งานมากที่สุดคือการสั่งอาหาร และการชำระค่าสินค้าและบริการ ผลสำรวจจาก McKinsey & Company ตอกย้ำแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันเมื่อพบว่าในช่วงวิกฤต Covid-19 นี้ กลุ่ม Grocery คืออุตสาหกรรมที่ผู้บริโภคหันมาใช้จ่ายในช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ (เพิ่มขึ้นมา31%) มากไปกว่านั้นคือ 75% ของผู้บริโภคที่พฤติกรรมเปลี่ยนไปนี้บอกว่าจะไม่กลับไปใช้จ่ายในรูปแบบเดิม

การใช้จ่ายออนไลน์ต้องเข้าถึง ‘ทุกคน’ และครอบคลุม ‘ทุกช่องทาง’

ธุรกิจออนไลน์จะเก็บเงินจากลูกค้าได้อย่างไร? คำถามง่ายๆ แต่เป็นพื้นฐานสำคัญในโลกเศรษฐกิจดิจิทัล แน่นอนว่ากลุ่มธุรกิจ Payment Gateway เป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาตอบโจทย์นี้ ทุกวันนี้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการจ่ายเงินอยู่จำนวนมาก แต่เมื่อเข้าสู่การจ่ายเงินแบบออนไลน์คนเป็นจำนวนมากมักจะคุ้นเคยกับการผูกการจ่ายออนไลน์กับบัตรเครดิต แต่ในปัจจุบันประเทศไทยมีบัตรเครดิตอยู่ประมาณ 22 ล้านใบ จากจำนวนคนถือบัตร 8 ล้านคน ดังนั้นจึงมีคนจำนวนอีกประมาณ 85% ที่ไม่มีบัตรเครดิต กรณีนี้กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำอาจจะเข้าไม่ถึงบริการ ในทางกลับกันตอนนี้ประเทศไทยมีอินเทอร์เน็ตให้บริการครอบคลุมกว่า 95% ของทั้งประเทศ ดังนั้นโจทย์สำคัญของธุรกิจ Payment Gateway คือจะทำอย่างไรให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงการซื้อของออนไลน์ได้ และจะทำอย่างไรให้ขั้นตอนการชำระเงินเป็นไปได้ง่าย และสะดวก  ดังนั้นบริการของ ChillPay จึงรองรับช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย ตั้งแต่ Internet & Mobile Banking, บัตรเครดิต, Counter Bill Payment, Kiosk Machine ต่างๆ ไปจนถึง QR Code

คุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต Founder และ CEO ของ Prain FinTech  

“ChillPay พยายามคิดในมุมที่ครอบคลุมคนทั้งหมด สำหรับกลุ่มคนรายได้น้อยตัวเลือกในการชำระเงินออนไลน์ก็จะมีช่องทางค่อนข้างจำกัด ตั้งแต่ว่าพวกเขาสามารถเข้าถึง Internet Banking หรือ PromptPay ได้หรือไม่ หรือถ้าเป็นกลุ่มคนที่ใช้แต่เงินสด ไม่มีบัญชีธนาคารเลย จะใช้วิธีอะไรที่จะทำให้เขาจ่ายเงินได้บ้าง ซึ่ง ChillPay ของเราก็มีบริการตู้  Kiosk Machine ที่ร่วมทำกับตู้บุญเติมซึ่งมีจุดให้บริการกว่า 130,000 จุดทั่วประเทศที่สามารถรองรับการจ่ายผ่านเงินสดได้เลย ซึ่งเป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มคนรายได้น้อยตามต่างจังหวัดได้มาก”

การให้บริการของ Payment Gateway สำหรับ ChillPay จะแบ่งออกตามSegment ของลูกค้า หมายถึงต้องมีช่องทางการชำระเงินหรือ Payment Channel ที่ตอบโจทย์ทุกพฤติกรรมลูกค้าใน Segment นั้นๆ  เช่น สำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าพรีเมียมลูกค้าอาจต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือหากเป็นเด็กๆ ที่เล่นเกมออนไลน์ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีบัตรเครดิตหรืออาจจะยังเข้าไม่ถึง Internet Banking หรือแม้แต่บัญชีธนาคาร ก็อาจจะเป็นการชำระเงินออนไลน์ผ่านทางตู้บุญเติม หรือเคาน์เตอร์ร้านสะดวกซื้อที่รองรับการจ่ายเงินสด

ประสบการณ์ใช้จ่ายออนไลน์ของผู้บริโภคที่ต้อง ‘ราบรื่น’ ตั้งแต่ต้นจนจบ

ประสบการณ์ของผู้บริโภคดิจิทัลเป็นเรื่องที่ทุกธุรกิจให้ความสำคัญเป็นปัจจัยต้นๆ เมื่อแบรนด์ที่เป็นเจ้าของสินค้าและบริการต่างต้องการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ Journey ของลูกค้า บริการ Payment Gateway นอกจากจะต้องตอบโจทย์ประสิทธิภาพด้านความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย โจทย์ที่ ChillPay คิดต่อคือเรื่องของประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์สินค้าและบริการ คือที่มาของสิ่งที่เรียกว่า White Label Service

“อย่างแรกเลย ChillPay เป็นบริการที่เรียกว่า White Label Service หมายความว่าเราสามารถ Integrate เข้ากับ Mobile Application, Website หรือช่องทางการชำระเงินอื่นๆ ได้ ดังนั้นเวลาที่ลูกค้าจะชำระเงินจะแทบไม่เห็นโลโก้ของ ChillPay เลย ตัวอย่างเช่นตอนนี้เราให้บริการกับ กฟผ.(การไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) เวลาที่ผู้ใช้บริการจะชำระค่าไฟฟ้าก็สามารถกดจากแอปฯ ของกฟผ.ได้เลย ผู้ใช้บริการมีความเชื่อถือในแบรนด์ของกฟผ.โดยที่ไม่ต้องมาทำความรู้จักกับ ChillPay ใหม่ นี่คือความหมายของ White Label Service ที่เราจะไป Intregrate กับผู้ให้บริการเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างไม่สะดุด ชำระเงินได้อย่างสะดวก”

ChillPay เป็นบริการที่เรียกว่า White Label Service หมายความว่าเราสามารถ Integrate เข้ากับ Mobile Application, Website หรือช่องทางการชำระเงินอื่นๆ ได้ ดังนั้นเวลาที่ลูกค้าจะชำระเงินจะแทบไม่เห็นโลโก้ของ ChillPay เลย

เมื่อ ‘Cash is King’ กับความเร็วที่ร้านค้าสามารถรับเงินได้ในวันถัดไป

กระแสเงินสดเป็นหัวใจสำคัญสำหรับทุกธุรกิจ และยิ่งสำคัญขึ้นไปอีกท่ามกลางวิกฤต Covid-19 จนมีคำกล่าวกันว่าในช่วงเวลานี้คือเวลาที่เรียกว่า Cash is King หนึ่งใน Pain Point สำหรับร้านค้าเมื่อรับการชำระเงินออนไลน์คือการที่ร้านค้าต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ‘ทันที’ แต่ในส่วนของการรับเงินต้องรอรอบเวลาการจ่ายเงินจาก Payment Gateway โดยอาจจะเป็นรอบเวลา 7 วัน หรือ 15 วัน รอบเวลาการจ่ายเงินดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งปัญหาสำคัญสำหรับสภาพคล่องของธุรกิจ

จุดนี้คือความแตกต่างสำคัญสำหรับ ChillPay ที่สามารถให้ร้านค้ารับเงินแบบ T+1 หรือวันทำการถัดไป นั่นคือหลังจากที่ลูกค้าชำระเงินผ่านระบบ ChillPay แล้ว ร้านค้าจะสามารถได้รับเงินจากทาง ChillPay ได้ในวันทำการถัดไป

โอกาสเติบโตของ Social Commerce กับ Product ใหม่ 'ChillPay ME'

จากการประเมินของ Priceza สถานการณ์ Covid-19 อาจทำให้ตลาด E-Commerce ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35 % หรือคิดเป็นมูลค่า 220,000 ล้านบาท ทั้งยังชี้ว่าตลาด E-Commerce มีมูลค่าเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของตลาดค้าปลีกทั้งหมดในประเทศ นั่นหมายถึงโอกาสในการเติบโตที่จะเกิดขึ้นได้อีกมาก

ETDA บ่งชี้ข้อมูลที่น่าสนใจของตลาด E-Commerce ไทยในปัจจุบัน ขณะที่ช่องทางการขายสินค้าและบริการผ่านทาง Social Media จะเป็นที่นิยมมากที่สุดในฝั่งของผู้ขาย แต่ในฝั่งของผู้บริโภคนั้นกลับยังนิยมซื้อสินค้าและบริการผ่านทาง E-Marketplace มากที่สุด แต่หากมองจากการใช้งาน Social Media ซึ่งเป็นกิจกรรมออนไลน์อันดับหนึ่งของคนไทยในปีที่ผ่านมา (2019) ก็อาจบอกได้ว่า Social Commerce มีโอกาสในการพัฒนาได้อีกมาก โดยเฉพาะเรื่องคุณสมบัติเด่นในเรื่องของการเชื่อมต่อและโต้ตอบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และการแก้ Pain Point ที่สำคัญอย่าง ‘การชำระเงิน’

“ทุกวันนี้ถ้าเราลองสำรวจตลาด ร้านค้าต่างๆ ในประเทศไทยใช้ช่องทาง Social Media ในการขายสินค้าร่วมด้วยกว่า 95 เปอร์เซนต์  ตั้งแต่ร้านค้าเล็กๆ ไปจนถึงแบรนด์ใหญ่ต่างก็มีช่องทางการขายผ่าน Social Media เราจะเห็นการมาของ Chatbot ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนที่การซื้อของออนไลน์เป็นการเลือกสินค้าใส่ตะกร้าและชำระเงิน กลายเป็นความต้องการที่จะแชทถามข้อมูลก่อนซื้อของ”

“พอตัดสินใจซื้อสินค้า ขั้นตอนของการชำระเงินในตอนนี้ 90 กว่าเปอร์เซนต์ในประเทศไทยใช้วิธีManual คือการส่งเลขบัญชีให้โอนเงิน แต่อย่างกรณีที่ลูกค้าอยากชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เพราะไม่มีเงินสดหรืออยากสะสมแต้มก็ไม่สามารถทำได้สำหรับร้านค้าเล็กๆ หรือการชำระเงินด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ชำระผ่าน eWallet ก็มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก”

การมองเห็นโอกาสดังกล่าวจึงเป็นที่มาของ Product ตัวใหม่ของบริษัทฯ อย่าง ChillPay ME ซึ่งเป็น Social Network Payment Gateway ที่ถูกออกแบบให้กับกิจกรรมการซื้อขายบน Social Media โดยเฉพาะ รองรับการจ่ายเงินออนไลน์ที่เป็นมิตรกับSocial Network ทุก Platform ไปจนถึงระบบสำหรับร้านค้าไม่ว่าจะเป็นการส่งหลักฐานชำระเงิน หรือการแจ้งเตือนยอดโอนเข้า

“ซึ่งพฤติกรรมและ Pain Point ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับประเทศไทย เราพบว่าเกิดขึ้นกับทั้งเอเชียที่โดยภาพรวมกว่า 80 เปอร์เซนต์ของร้านค้ามีช่องทางการขายผ่าน Social Media ซึ่งเรามองว่าบริการของ ChillPay ME จะตอบโจทย์ทั้งตลาดในประเทศไทยและต่างประเทศ”

Payment Gateway สู่ ‘Smart Payment Gateway’

ผู้บริโภคที่เข้าผันสู่โลกดิจิทัลอย่างฉับพลันทำให้เกิด Data จำนวนมหาศาล ตรงจุดนี้เองได้สร้างโจทย์ใหม่ให้กับ Payment Gateway ที่อาจจะไม่ได้เป็นเพียงตัวแทนในการชำระเงินออนไลน์อย่างเดียวอีกต่อไป เพราะสิ่งที่ Payment Gateway มีคือ Data ที่เป็นธุรกรรมแบบเจาะจงของการขายออนไลน์ ซึ่งเป็น Data ที่แม้แต่สถาบันทางการเงินไม่สามารถที่จะเข้าถึงหรือแยกแยะธุรกรรมประเภทนี้ได้ ซึ่งการ Utilize Data ที่มีอยู่นี้เองที่จะมายกระดับการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทาง Social Media ด้วยการต่อยอดไปสู่การสร้าง ‘CRM’

“เรามองว่า Social Media แตกต่างจากแพลตฟอร์ม E-Marketplace ตรงที่ Social Media ไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างมาเพื่อการขายของโดยตรง แต่เกิดการ Apply ไปปรับใช้ในการขายของ ทำให้ไม่มีระบบ CRM ที่ช่วยสนับสนุนการขายอย่างที่ควรจะเป็น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นคือร้านค้าหากอยากจัดโปรโมชั่น ก็ต้องมาจัดการข้อมูลหลังบ้านเองแบบ Manual หรือสมมติอยากแจกคูปองส่วนลดแบบออนไลน์ก็ทำไม่ได้ เพราะไม่สามารถสร้างฟีเจอร์การใช้คูปองขึ้นมาเองได้ ดังนั้นสำหรับร้านค้าออนไลน์เหล่านี้การทำโปรโมชั่นบนระบบ Social Media จึงเป็นไปได้ยาก และมีข้อผิดพลาดได้ง่าย”

ดังนั้น ChillPay ME จึงใช้จุดแข็งจากการสามารถเข้าถึงพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินและ Integrate ระบบ CRM เข้ากับ Social Media ร้านค้าจึงสามารถตัดสินใจได้แบบ Data-Driven ในเรื่องของการจัดโปรโมชั่น หรือลูกเล่นการตลาดในรูปแบบต่างๆ และทำออกมาได้อย่างเป็นระบบ

Social Media แตกต่างจากแพลตฟอร์ม E-Marketplace ตรงที่ Social Media ไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างมาเพื่อการขายของโดยตรง แต่เกิดการ Apply ไปปรับใช้ในการขายของ ทำให้ไม่มีระบบ CRM ที่ช่วยสนับสนุนการขายอย่างที่ควรจะเป็น

Credit Scoring แก้ Pain Point ของร้านค้าที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อเพื่อขยายกิจการ

อีกการต่อยอดของการ Utilize Data คือการสามารถทำ Credit Scoring ให้กับร้านค้า เพราะด้วยบทบาท Payment Gateway ทำให้สามารถเข้าใจถึงสภาพธุรกิจและยอดขายของกิจการร้านค้าได้ดีกว่าสถาบันทางการเงิน ปัญหาในอดีตที่เคยเกิดขึ้นคือสถาบันการเงินอยากปล่อยกู้ แต่ไม่มีข้อมูลของร้านค้า ขณะที่ฝั่งร้านค้าก็ไม่มีหลักฐานยืนยันรายได้ที่เพียงพอ การทำ Credit Scoring จึงเหมือนเป็น Lending Matching ที่ช่วยทั้งในฝั่งของสถาบันทางการเงินและร้านค้า ท้ายสุดคือเป็นกลยุทธ์ที่ย้อนมาสร้าง Royalty ให้กับตัว ChillPay ME เอง

“นี่คือความแตกต่างจาก Payment Gateway เจ้าอื่นๆ ที่จะมีรายรับเพียงทางเดียวจาก Transaction Fee เราพยายามจะคิดออกไปนอกกรอบและสร้างความแตกต่างออกไปจากรายอื่นในตลาด ซึ่งโมเดลนี้เราก็จะได้  Royalty จากร้านค้าด้วยเพราะหากเขาทำธุรกรรมผ่าน ChillPay ME เขาก็ได้  Credit Scoring จากเรา นี่ก็คือโมเดลของทาง ChillPay ME ที่เราเอา Data ที่มีมา Utilizeและทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้น.”

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...