ศาสตร์และศิลป์ของ Corporate Venture Capital : ตัวอย่างเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จและบทเรียนจากทั่วโลก | Techsauce

ศาสตร์และศิลป์ของ Corporate Venture Capital : ตัวอย่างเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จและบทเรียนจากทั่วโลก

ในโลกของการลงทุนนั้นมีปิรามิดของการลงทุน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การลงทุนจากเม็ดเงินของตัวเอง (bootstrapping) ไล่ไปเป็นการระดมทุนจากสาธารณชน (crowd-funding) ต่อด้วยการลงทุนของเหล่านักลงทุนแบบ angel ไปถึง Venture Capitalists (VC) ก่อนที่ยอดบนสุดของปิรามิดจะเป็น Corporate Venture Capitalists (CVC) นั่นเอง มีผู้ประกอบการมากมายที่แม้จะไม่ได้เงินลงทุนแต่ก็หวังเพียงแค่จะได้คำแนะนำจาก CVC ซึ่งโดยปกติการเข้าถึงองค์กรเหล่านี้ถือเป็นเรื่องไม่ง่ายเอาเสียเลย แต่ถึงอย่างนั้นในงาน Techsauce Global Summit 2017 ที่ผ่านมาก็ได้เปิดโอกาสให้เหล่าผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อย (SME) จากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับฟังและพูดคุยกับเหล่า CVC ในหัวข้อซึ่งมี Zack Piester, co-founder ของ blockchain VC Intrepid Ventures เป็นผู้ดำเนินรายการ และผู้ร่วมแสดงทัศนะยังประกอบไปด้วย

  • Dr. John Millar ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์จาก Ananda Development
  • คุณ Tim Casio ผู้อำนวยการจาก Samsung NEXT M&A team
  • คุณ Hiro Saijou ประธานเจ้าหน้าที่ฝายบริหารและกรรมการผู้จัดการ จาก Yamaha Motors Ventures และ Laboratory Silicon Valley
  • คุณพลภัทร อัครปรีดี (Paul Ark) กรรมการผู้จัดการ Corporate Venture Capital จาก Digital Ventures
  • คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจและ DTAC Accelerate

เหล่าตัวแทนจาก CVC ทุกท่านมารวมตัวบนเวทีเดียวกันเพื่อให้คำแนะนำที่ตรงไปตรงมา รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้ที่สั่งสมมา รวมถึงเล่าถึงหลักการในการลงทุนของพวกเขา โดยทั้งห้องนั้นเต็มไปด้วยเหล่าผู้ประกอบการ SME และบรรดานักลงทุนที่กระตือรือร้นที่จะได้ฟังมุมมองจาก CVC เหล่านี้

CVC นั้นเป็นศิลป์หรือศาสตร์ หรือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัวเอง?

คำถามที่น่าสนใจคำถามหนึ่งจากผู้ดำเนินรายการอย่าง Zach Piester คือ “CVC นั้นเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งหรือเป็นศิลปะกันแน่?” ตัวแทนจาก CVC หลายท่านเห็นตรงกันว่างานของพวกเขานั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เหตุผลคือ ในมุมของศิลปะแล้วกล่าวได้ว่าไม่มีสูตรตายตัวใดที่จะสามารถใช้ในการวัดหรือประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในทีมหรือวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละทีมที่พวกเขาจะตัดสินใจลงทุนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นศาสตร์ด้วยองค์ประกอบอย่างเช่นวิธีการที่จะประเมินแนวโน้มของความสามารถในการขยายขนาดของธุรกิจของโมเดลธุรกิจต่างๆ ในโลกความเป็นจริงก็เข้ามามีบทบาทเช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วอีกปัจจัยสำคัญก็คือธุรกิจหรือผู้ประกอบการรายนั้นๆ เหมาะสมกับ CVC แห่งนั้น ๆ หรือประเทศนั้น ๆ หรือไม่ เพราะถึงแม้ว่าตลาดจะมีความแตกต่างกันไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เป้าหมายของแต่ละธุรกิจก็ย่อมเปลี่ยนไปเมื่อเวลาผ่านไป อะไรที่สามารถขายได้ใช้งานได้ในช่วงระยะเริ่มต้น ก็อาจจะไม่เป็นไปเช่นเดิมเมื่อเวลาผ่านเลยไป หรือบางทีบางสิ่งที่ใช้ได้ผลในอินโดนีเซียอาจจะไม่ได้ผลแบบเดียวกันในประเทศไทยเพราะแต่ละประเทศมีความต้องการที่ต่างกัน มีโครงสร้างและกลุ่มของผู้บริโภคที่ต่างกัน ดังนั้นมันจึงเป็นการลองผิดลองถูกเพื่อที่จะชำนาญทั้งศาสตร์และศิลป์ในการที่จะสร้าง startup รายใหม่ที่ประสบความสำเร็จขึ้นมาสักราย

นอกจากตัวแทนจาก CVC หลายท่านยังเห็นตรงกันว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในโครงสร้างของ CVC ซึ่งแน่นอนว่ามันย่อมไม่ได้เกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน ดังนั้นสิ่งที่แต่ละแห่งกำลังลงมือทำคือการสร้างทีมสำหรับนวัตกรรม มีทีมการสร้างนวัตกรรมภายใน และการพัฒนาวิธีการทำงานของ CVC เพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะก้าวล้ำนำหน้านวัตกรรมต่างๆ ได้

อะไรคือทางเลือกที่ดีที่สุดระหว่างการทำลาย Startup ที่ disrupt หรือเข้าซื้อบริษัทเหล่านั้น?

หลายๆ startup ต่างก็นำไอเดียของตัวเองมาระดมทุนกับสาธารณชน (crowdfunding) บ้างกับ accelerators บ้าง หรือกระทั่งด้วยเงินลงทุนของตัวเอง ซึ่งมักจะมากับแนวคิดที่จะ disrupt อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเหล่าธุรกิจที่ไม่มีใครสามารถแตะต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดทางธุรกิจ เป็นธุรกิจที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นในภาคธุรกิจเช่น ธนาคาร การคมนาคม และอสังหาริมทรัพย์ แต่ Uber, Grab, Airbnb, และ Food Panda ต่างก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือ CVC ต่างก็ไม่ได้ปลอดภัยจากการถูก disrupt เลยแม้แต่น้อย คุณพอลเองได้เล่าถึงประสบการของเขาอย่างกระตือรือร้นในการทำงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพื่อร่วมมือและปลุกปั้น FinTech startup ต่าง ๆ ว่า “พวกคุณ (เหล่า startup) ไม่ disrupt เราก็ทำให้บริการของเราดียิ่งขึ้น ดังนั้นคนที่ทำงานในภาคธุรกิจการเงินการธนาคารจะไม่ทำลายเทคโนโลยีเพื่อให้บริการของพวกเขาดูเป็นนวัตกรรมขึ้นมา” คุณพอลยังอธิบายต่อไปอีกด้วยว่าโครงสร้างของบริษัทเองยังอาจจะทำให้ CVC กลายเป็นคู่แข่งตัวฉกาจที่สุดของตัวเองก็เป็นได้  ด้วยเหตุนั้นคำแนะนำของเขาสำหรับเหล่า CVC คือให้ลงทุนในบรรดา startup ที่สามารถช่วยให้บริษัทของพวกเขาดีขึ้น แล้วเพิ่มไอเดียของนวัตกรรมต่าง ๆ เพิ่มเติมลงไป รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ startup เหล่านั้นไม่เคยมีมาก่อน

คำฮิตติดกระแสใหม่ในช่วงนี้: Blockchain

หนึ่งในผู้ร่วมพูดคุยกล่าวว่า “มันเป็นเรื่องที่ใหม่และน่าตื่นเต้น ทุกคนต่างก็พูดถึง blockchain เป็นคำฮิตติดกระแส แต่คนเหล่านั้นจะรู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร” สำหรับเหล่าคนที่ไม่คุ้นเคยกับ blockchain คำอธิบายง่าย ๆ อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นเหมือนระบบฐานข้อมูลออนไลน์คล้ายกับลักษณะของการบันทึกบัญชีที่ถูกดูแลโดยกลุ่มคนทั้งหมดในฐานข้อมูลนั้น ทุกคนต่างรับรู้ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในฐานข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนเสียด้วยซ้ำ ซึ่งข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจที่ถูกกล่าวถึงโดยคุณพอลคือการลงทุนครั้งแรกของ SCB ในฐานะ VC นั้นเป็นการลงทุนใน blockchain นี่เอง เนื่องจากเป็นการมองถึงความเป็นไปได้ของ startup ในสายนี้ในระยะยาวที่อาจจะเลือกกลยุทธ์ที่ซึ่งธนาคารโดยปกติแล้วไม่มีข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ (เช่น การป้องกันการฟอกเงิน การค้าเงิน เป็นต้น) ซึ่งนี่เป็นมุมมองที่ซ้ำคัญมากเมื่อย้อนกลับไปยังคำพูดของเขาว่า “ช่วยทำให้เราดีขึ้นหรือ disrupt เรา?” และเขาเลือก startup นี้เพราะมันช่วยทำให้ธุรกิจของธนาคารดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ในแง่ของการลงทุนแล้วเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือไม่?

เนื่องจากการลงทุนนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์จึงมี CVC น้อยมากที่มีสถิติการเลือกลงทุนที่สมบูรณ์แบบกับเหล่า startup ที่ประสบความสำเร็จทั้งหมด แต่ดูเหมือนว่า Yamaha Ventures ซึ่งดำเนินการมาแล้วถึง 2 ปีจะเป็นข้อยกเว้นเมื่อคุณ Hiro Saijou ได้เล่าว่า Yamaha Ventures นั้นยังไม่เคยตัดสินใจผิดพลาดในช่วงเวลาที่ผ่านมา  ในขณะที่คุณ Tim Casio (จาก Samsung NEXT) กล่าวต่อว่า “การที่จะตัดสินใจว่าเป็นความสำเร็จหรือความล้มเหลวนั้นขึ้นอยู่กับว่านิยามของคำว่าประสบความสำเร็จคืออะไร เพราะฉะนั้นการติดสินใจที่แย่จึงต้องขึ้นกับการให้ความหมายของคำว่าความสำเร็จ ซึ่งการตัดสินใจที่แย่อาจจะเป็นการลงทุนในธุรกิจที่ไม่ได้เป็นธุรกิจที่ส่งเสริมหรือดีกับธุรกิจของเราก็เป็นได้” ซึ่งผู้ร่วมวงสนทนาท่านอื่น ๆ ในครั้งนี้ก็เผยว่าเกือบ 1 ใน 4 ของสิ่งที่พวกเขาเลือกนั้นผิดพลาด ศิลปะใช้ไม่ได้ผลหรือไม่ก็ทีมนั้นไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นสิ่งที่ยากจะคาดการณ์ในช่วงแรก ๆ ของ startup

ก้าวนำหน้านวัตกรรมและต่อสู้กับ disruption

ในขณะที่เหลือเพียง 30 วินาทีสุดท้ายในการพูดคุย เหล่าตัวแทนของ CVC ต่างก็แสดงทัศนะไปในทางเดียวกันถึงแนวทางที่เหล่า CVC จะก้าวนำหน้าในการแข่งขันที่กำลังดำเนิน

  • คุณ Paul Ark จาก Digital Ventures ให้ความเห็นว่า ควรเข้าร่วมงานประชุมสัมมนาเช่นงานนี้เพื่อเรียนรู้จากเหล่าคนที่เป็นที่สุดของที่สุด และเก็บเกี่ยวไอเดียใหม่ ๆ ก่อนจะนำไปคิดต่อยอดว่าจะทำให้ไอเดียเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ๆ อย่างไร
  • คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ จาก DTAC Accelerate ยกเอาประโยคที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยอย่าง Stay hungry, stay foolish เป็นข้อคิดสำหรับทุกคน
  • คุณ Hiro Saijou จาก Yamaha ให้มุมมองว่า  เราต่างก็มีแผนที่ที่ถูกต้องแม่นยำวางอยู่ตรงหน้า แต่คำถามคือว่าเราจะเลือกถนนสายที่ดีที่สุดที่จะไปถึงได้อย่างไร และสำหรับสังคมของกลุ่ม startup แล้วแผนที่ของคุณคืออะไร และเราจะสร้างและพัฒนาแผนที่ของเราเองได้อย่างไร ซึ่งหากมองในมุมนี้แล้วเราจะเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางด้วยกันได้หรือไม่?
  • คุณ Tim Casio กล่าวว่า งานของของผมคือการเข้าใจว่าทุกคนที่นี่กำลังทำอะไรกันอยู่บ้างแล้วคิดให้ออกว่างานของผมและสิ่งที่ทุกคนทำนั้นจะเข้ากันได้อย่างไร
  • John Millar จาก Ananda ทิ้งท้ายไว้ด้วยประโยคเด็ดที่ว่า จงใช้เงินของ CVC นำคนที่เก่งที่สุดในโลกทั้งหลายมารวมกันและพัฒนาไอเดียเหล่านั้นให้เร็วกว่าใคร ๆ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...