Dollar Doom Loop เหตุการณ์ที่กดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลก | Techsauce

Dollar Doom Loop เหตุการณ์ที่กดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ในแต่ละครั้งที่โลกประสบวิกฤตมักจะมีคนออกมาเตือนว่าบทบาทของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในโลกเริ่มลดบทบาทเข้าสู่จุดสิ้นสุดลงแล้ว ในวิกฤตโควิดครั้งนี้ก็เช่นกัน อาจเป็นไปได้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปในระยะยาวหากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นสกุลเงินหลักของโลกอีกต่อไป แต่ในขณะเดียวกันความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นกลับส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าจน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 1 ยูโร (เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2022) ซึ่งราคานี้ทําสถิติสูงสุดในรอบ 20 ปีเมื่อเทียบกับเงินยูโร และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนเช่นกัน

แล้วทําไมเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแข็งค่าขึ้น? แล้วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร? จากบทความของ Bloomberg ที่ได้พูดคุยกับ Jon Turek ผู้ก่อตั้ง JST Advisors และผู้เขียน the Cheap Convexity Blog เกี่ยวกับสาเหตุที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ามาก และความเสี่ยงของโอกาสที่จะเกิด "Doom Loop" ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกประสบปัญหาใหญ่ มาให้ทุกคนได้อ่านกัน


การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจจะนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจโลก แม้แต่ในขณะนี้ การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็สร้างความกังวลต่อโลกอย่างมาก และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของ “Doom Loop” ที่ไม่เหมือนครั้งไหน ๆ

ความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกได้ทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (US Dollar Index) ไปแตะจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เช่น เงินยูโร และเงินเยน รวมถึงการค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่ยังคงใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินหลัก เราจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“ท่ามกลางสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าที่คาดไว้และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความกังวลคือเราอยู่ใน Doom Loop ของดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน” Jon Turek กล่าว พร้อมเสริมว่า "สิ่งที่ทําให้ Doom Loop ในครั้งนี้น่ากลัวจริง ๆ คือมันค่อนข้างยากที่จะเห็นว่าวงจรเหล่านั้นจะให้ผลลัพธ์ออกมาแบบไหนในระยะเวลาอันใกล้นี้ ประกอบกับปัญหาในยุโรป นั้นซึ่งสร้างแรงกดดันต่อเงินยูโร ซึ่งทําให้ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ส่งผลซึ่งทําให้วงจรการผลิตแย่ลง แล้วก็วนกลับเข้าสู่วงจรนี้อีกครั้ง” 

แน่นอนว่ามีช่วงเวลาที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่าสูงมาก ๆ มาก่อน เช่น ในปี 2016 และ 2018 ซึ่งในตอนนั้นดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น จากนโยบายแบบตึงตัวของ Fed และเริ่มหยุดหลังจากที่ Fed ชะลอการใช้นโยบายแบบตึงตัว ดังนั้นจากข้อมูลเงินเฟ้อที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าดัชนี CPI ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 9.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน ดอกย้ำโอกาสที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่สูงตามถ้อยแถลงครั้งก่อน

ดังนั้นคําถามสําคัญ คือ การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะช่วยลดโอกาสที่ Fed ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่กี่เดือนข้างหน้าในแง่ใดได้บ้าง ซึ่งอาจช่วยบรรเทาผู้ส่งออกและผู้กู้ยืมที่ใช้ Leveraged ทั่วโลกได้บ้าง

“มันก็ค่อนข้างยากนะที่จะหยุดอะไรแบบนี้ และผมเดาว่าคำตอบที่ดีที่สุดก็คือ มันสามารถที่จะหยุดตัวเองได้” Turek กล่าวต่อ

“สิ่งที่ต้องเริ่มคิด โดยเฉพาะหลังการประชุม FOMC ในเดือนกันยายน ซึ่งเริ่มเข้าสู่ช่วงปลายปีจริงๆ ประกอบกับสภาพการเติบโตของเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป คือ Fed จะทำการปรับอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่”

มีอีกหลากหลายความคิดเห็นเมื่อพูดถึงวงจรของดอลลาร์สหรัฐฯ เช่น Gita Gopinath นักวิจัยของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และ Hyun Song Shin นักวิจัยจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ได้แสดงให้เห็นว่าบทบาทของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าโลก ส่งผลให้การแข็งค่าของค่าเงินสหรัฐฯอาจนำไปสู่ภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวและส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภาคธุรกิจต่าง ๆ

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯยังมีสถานะพิเศษในตลาดโลก คือการเป็นสินทรัพย์ประเภท  Safe-haven ดังนั้นเมื่อนักลงทุนมีความกังวล พวกเขามักจะให้ความสนใจ และลงทุนในทรัพย์สินที่พวกเขาคิดว่ามีความปลอดภัยสูง นั่นก็คือสินทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ   ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นอีก นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงแข็งค่าขึ้นเมื่อเกิดความกังวลในภาวะเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2020 และส่งผลจนถึงปัจจุบัน

เพื่อเป็นการสรุปให้ทุกคนได้เห็นภาพมากขึ้น “Dollar Doom Loop” คือวงจรที่เกิดจาก 

  1. ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 
  2. ธุรกิจภาคการผลิตและอุสาหกรรมแย่ลง
  3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่ำลง
  4. การค้าระหว่างประเทศลดลง
  5. ความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ตามลำดับ ซึ่งเมื่อผู้คนกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกแล้ว ก็จะกลับไปถือครองสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้วงจรนี้กลับสู่ข้อ 1. ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น อีกครั้ง ตลาดก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ในครั้งนี้จะไปสิ้นสุดลงที่ใด การแทรกแซงของ Fed จะช่วยบรรเทาได้หรือไม่

อ้างอิง Bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...