อนาคตของการทำงาน (Future of Work) ถอดบทเรียนจาก Marvin Liao | Techsauce

อนาคตของการทำงาน (Future of Work) ถอดบทเรียนจาก Marvin Liao

พูดคุยกับสุดยอดนักลงทุนกับกว่า 400 บริษัททั่วโลก ผู้เป็นหุ้นส่วนกับกลุ่ม Startup กว่า 500 แห่ง และผู้เป็นอดีต Corporate Executive จาก Yahoo อย่างคุณ Marvin Liao ในประเด็นอนาคตของการทำงาน เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และ COVID-19 ก็เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ต้องปรับตัว เราจะรอดพ้นจากวิกฤตอย่างไร และ Skill sets ที่จำเป็นสำหรับอนาคตคืออะไร ถอดบทเรียนอนาคตของการทำงานในแต่ละประเด็น

AI จะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์จริงหรือไม่?

ถ้ามองย้อนกลับไป โลกของเราก็เจอมากับเหตุการณ์ที่เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่มนุษย์ อย่างช่วงยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งตอนนั้นมนุษย์เราก็ผ่านมันมาได้ สิ่งที่มองเห็นจากความเปลี่ยนแปลงนี้คือมนุษย์จะไม่ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามในช่วงแรกที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามา มนุษย์ก็อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง และต้องพยายามปรับตัว เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ 

ทั้งนี้คุณ Marvin ยังมองว่า การที่นำเอาหุ่นยนต์ หรือ AI เข้ามาช่วยในการทำงานบางอย่างที่ต้องอาศัยทักษะเดิม ๆ อย่าง งานขุดเหมือง งานด้านการผลิต เพราะมนุษย์มีทักษะในการทำอย่างอื่นมากกว่านั้น และการใช้เทคโนโลยีมันเหมาะกับการทำงานในระยะยาวที่ไม่ค่อยจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า การที่นวัตกรรมเหล่านี้เข้ามาอาจจะมีการ Disrupt งานบางงานไปก็จริง แต่จะเกิดงานใหม่ ๆ ขึ้นมาแน่นอน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือคนต้องคอยเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 

สำหรับเทคโนโลยีแล้ว มันจะส่งผลดีหรือผลเสียขึ้นอยู่กับการนำมาใช้งานของมนุษย์ ทุกวันนี้เทคโนโลยีกำลังเติบโตขึ้นก็จริง และงานบางงานอาจจะถูก Disrupt ไปก็จริง แต่จะใช้เวลา 5-10 ปีเลยที่เดียว

งานด้านที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) จะยังคงมีอยู่ต่อไป เพราะไม่มีทางที่เทคโนโลยีจะมาทำงานแบบนี้ได้ดีเท่ามนุษย์ รวมทั้งจะเกิดงานใหม่ ๆ ขึ้นมา อย่างเช่น UX Specialist, Data Scientist, AI Specialist อีกทั้ง BioTech Engineering ก็จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น

สำหรับกลุ่มธุรกิจ Startup มีโอกาสสูงมากที่จะหันไปเล่นด้าน DeepTech, Battery และ Climate Tech อย่างการหารูปแบบใหม่ของการสร้างพลังงาน บางรายก็อาจจะหันมาลงทุนด้าน AI เพิ่มมากขึ้น และอีกสนามหนึ่งที่น่าสนใจคือสนามของการผลิตชิพ (Chip) เพราะมีความจำเป็นในอุตสาหกรรมที่ผลิตนวัตกรรมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาก ๆ 

ความเปลี่ยนแปลงเมื่อมี COVID-19 ระบาดไปทั่วโลก

จริง ๆ แล้วโลกได้เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีมานานแล้ว แต่เมื่อมี COVID-19 ทำให้เห็นว่าเทรนด์หลายอย่างเกิดขึ้นมา และใช้งานได้จริงเร็วขึ้น อย่างเช่น E-commerce ที่มีการใช้งานในวงกว้างมากกว่าเดิม และการเปลี่ยนจากระบบออฟไลน์มาเป็นออนไลน์เสียส่วนใหญ่

สำหรับในบางอุตสาหกรรมจะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการทำงาน เพื่อช่วยให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างโรงงานผลิตสินค้าในจีนที่ได้มีการติดตั้งหุ่นยนต์ในโกดังเก็บสินค้า และในส่วนของการผลิต รวมทั้งมีการนำเอา AI และระบบอัตโนมัติไปใช้อีกด้วย

จากการที่ COVID-19 ระบาดนี้ยังส่งผลให้หลาย ๆ คนต้องมีการเปลี่ยนงาน หรือทำงานในทักษะที่ตนไม่ถนัดเพิ่มขึ้นมา ส่งผลให้เกิดผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งกับองค์กรและกับตัวผู้ทำงานเอง ที่อาจจะต้องสร้างทักษะ และเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ทางออกที่ดีคือ ทางรัฐบาลของแต่ละประเทศควรให้การสนับสนุนที่ดีในช่วงของการเปลี่ยนงาน เช่น ให้การศึกษา หรือการฝึกอบรมให้พวกเขาพร้อมสำหรับงานใหม่ รวมทั้งให้เงินสนุบสนุนในระหว่างเรียนรู้ทักษะ และในช่วงที่ยังไม่ได้ทำงาน

ระบบการศึกษากับอนาคตของการทำงาน

สำหรับคุณ Marvin นั้นได้พูดถึงการศึกษาในสหรัฐอเมริกาที่มองว่าเป็นประเทศ Dystopian country หรือประเทศที่ไม่พึงปราถนาในแง่ของการศึกษา เพราะมหาวิทยาลัยและโรงเรียนกลายเป็นกับดักสร้างหนี้ให้กับนักเรียน อีกทั้งเมื่อเรียนจบออกมายังต้องเจอกับปัญหาการว่างงาน

อีกประเด็นสำคัญคือ ความไม่เท่าเทียมกันทั้งเรื่องของการทำงานและการศึกษาที่ยังเป็นปัญหาไปทั่วโลก ตัวอย่างที่ชัดเจนเมื่อช่วงล็อกดาวน์คือ ต้องทำงานแบบทางไกล (Remote working) ทำให้บางงานต้องปิดกิจการ หรือคนที่ไม่มีการสนับสนุนที่ดีพอทางด้านเทคโนโลยีก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

และจากการเรียนออนไลน์ของเด็ก ๆ ทั่วโลก ทำให้เห็นว่าหลาย ๆ สิ่งได้เปลี่ยนแปลงไป การใช้โปรแกรมอย่าง Zoom ในการเรียนทำให้เด็ก ๆ ขาดการเข้าสังคมไปบ้างก็จริง แต่สิ่งที่เด็ก ๆ ได้มากกว่าเดิมคือ พวกเขาได้เรียนในสิ่งที่พวกเขาสนใจมากกว่าเดิม พวกเขาสามารถค้นหาสิ่งต่าง ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตได้ตามต้องการ และเรียนรู้ได้ทุกเวลา โดยก่อนหน้านี้มองว่ามีหลากหลายวิชาที่สอนในห้องเรียนแล้วไม่เกิดประโยชน์กับเด็ก ๆ เลย บทเรียนหลาย ๆ อย่างทำให้เด็กขาดความคิดสร้างสรรค์ ขาดความสนุกกับการเรียน การเรียนออนไลน์ก็เหมือนกับการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญในยุคสมัยนี้คือการมีทักษะของ Self-learning การที่เด็ก ๆ ได้สร้าง Skill sets ของตัวเองขึ้นมา และให้พวกเขาได้ต่อยอดในสิ่งที่ชอบไปเป็นอาชีพในอนาคต

การปรับตัวเพื่อรับมือกับโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

คำว่า Resilience และ Flexibility สำคัญมาก การยอมรับและปรับตัวให้ทันกลายเป็นประเด็นสำคัญในการอยู่รอดเมื่อเทคโนโลยีเข้ามา โลกหมุนเร็วขึ้น และความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกเวลา ต้องพยายามปรับ Mindset ให้ยอมรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และปรับ Mental attitude ให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์

สำหรับทักษะที่ทางคุณ Marvin มองว่าสำคัญมาก ๆ ในช่วงนี้และหลังจากนี้ ตัวอย่างเช่น 

  • ทักษะ Online marketing เพราะทุกคนเปลี่ยนไปใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ และเราสามารถหารายได้จากมันได้อย่างง่าย ๆ 
  • ทักษะ Copywriting และ online writing เมื่อเอกสารในห้องเรียนมีความน่าเบื่อ คอนเทนต์ออนไลน์ก็จะได้รับความนิยมในการนำไปเสริมทักษะความรู้ของคนสมัยใหม่
  • ทักษะด้านการขายพื้นฐาน เพราะทักษะแบบนี้เหมาะสำหรับโลกออนไลน์ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีทักษะเยอะมากมาย แค่เพียงพื้นฐานก็สามารถขายสินค้าและบริการบนโลกนี้ได้แล้ว
  • ทักษะจิตวิทยาการเข้าใจมนุษย์และสังคม เพราะต้องตามให้ทันความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ต้องสามารถคาดการณ์อนาคต และรับมือกับความแตกต่างของมนุษย์ให้ได้

ท้ายที่สุดแล้วแต่ละคนก็อาจจะมีความสนใจ และความเข้าใจในสิ่งที่แตกต่างกัน แต่อยากจะให้ลองพยายามเรียนรู้หลาย ๆ ทักษะ เพื่อสร้าง Skill sets ใหม่ ๆ ให้ลองทำหลาย ๆ อย่าง ทั้งเรียนออนไลน์ในสิ่งที่ไม่เคยเรียน หรือลองทำอาชีพเสริมอื่น ๆ เป็นต้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...