สำรวจมูลค่า Brands อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปี 2020 | Techsauce

สำรวจมูลค่า Brands อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปี 2020

แม้ปี 2020 นี้จะเป็นปีที่อุตสาหรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวได้รับความท้าทายอย่างมากจากวิกฤต COVID-19 แต่ในทางกลับกันหลายๆ Brands ในภาคการท่องเที่ยวก็ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจในวันนี้เราจะไปศึกษาผลการสำรวจมูลค่า Brands ในอุตสาหกรรม Leisure & Tourism ในปี 2020 จากเว็บไซต์ Brand Finance ซึ่งมีหลายประเด็นที่น่าสนใจประกอบด้วย 

1. ณ ตอนนี้ Brands ในอุตสาหกรรรม Leisure & Tourism ที่มีอิทธิพลและมีมูลค่าสูงสุดในอุตสาหกรรมยังคงเป็น Brands จากสหรัฐอเมริกาแต่สิ่งที่น่าสนใจถ้าเราลองดูในระดับ TOP 10 คือ Brands จากจีนเริ่มตีตื้นขึ้นมาติด TOP 5 และไล่หลังอเมริกามาแล้วอาจจะด้วยข้อได้เปรียบทางจำนวนประชากรหรืออะไรก็ตามแต่หลังจากนี้ต้องมาดูกันครับว่าท้ายที่สุดแล้ว Brands ในอุตสาหกรรมนี้จีนจะไล่ทันหรือแซงอเมริกาไปได้หรือไม่

2. Brands อันดับ 1 อย่าง Airbnb ประจำปี 2020 ซึ่งถ้าว่ากันตามตรง Airbnb เป็น Brands ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับธุรกิจโรงแรมแต่อาจจะไม่ใช่ Direct Competitor ถ้าพิจารณาจาก Business Model ที่เน้นการสร้างเครือข่ายในลักษณะของ Host ไม่ได้ลงทุนสร้างโรงแรมและรับบริหารจัดการโรงแรมโดยตรงแต่มีจุดแข็งและจุดขายของการอยู่ใน Sharing Economy ซึ่งเป็น Trend เศรษฐกิจแห่งอนาคตนอกจากนี้จากการที่ไม่มี Property เป็นของตนเองเลยจึงทำให้ไม่มีต้นทุนในการก่อสร้างและบริหาร Property เหมือน Hotel Chain ที่ในบางพื้นที่จะมีการลงทุนสร้าง Property ขึ้นมาเองนอกเหนือจากการทำเป็น Management Contract กับ Investors สำหรับ Airbnb มีมูลค่าในปี 2020 ที่ $10,498 Million ในขณะที่ Hilton Hotels & Resort ซึ่งเป็น Brand โรงแรมที่มีมูลค่าสูงสุดประจำปี 2020 จากการสำรวจของ Brand Finance  มีมูลค่าที่ $ 10,833 Million ผลต่างของ Hilton กับ Airbnb ต่างกันเพียง $ 335 Million ซึ่งถ้าว่ากันตามความเป็นจริงด้วยผลต่างในระดับนี้ Airbnb น่าจะมีศักยภาพในการลดช่องว่างตรงนี้ได้ไม่ยาก (ขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายบริหารและเงินทุนที่จะได้รับหลัง COVID-19 ว่าจะออกมาในลักษณะไหน) น่าสนใจว่าในท้ายที่สุด Airbnb ที่ชูจุดแข็งด้าน Sharing Economy จะสามารถแซงธุรกิจในลักษณะ Hotel Chain ได้หรือไม่? แม้ตอนนี้ Perception ของแขกกับ Airbnb คือ Platform การจองห้องพักและลักษณะที่พักที่ขายความเป็น Community ซึ่งแตกต่างจาก Perception ของแขกต่อ Brands โรงแรมต่างๆ เช่น Hilton, Marriott, Accor, ที่เมื่อได้ยินแล้วจะนึกถึงแหล่งที่พักและความสะดวกสบายเป็นหลักมากกว่าน่าสนใจว่าท้ายที่สุดแล้ว Airbnb จะแก้จุดนี้ยังไง? และจะสามารถขึ้นมาสร้างมูลค่าได้เทียบเท่ากับ Brands ในกลุ่ม Hotel Chain Management ได้หรือไม่เราคงต้องมาติดตามกันอีกครั้ง

3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกอย่างคือ "การท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ" สังเกตได้ว่ามีบริษัทลักษณะนี้ติดอันดับมาทั้งหมด 3 บริษัทมูลค่ารวมกว่า $ 10,000 Million ซึ่งเป็นตลาดที่น่าสนใจและถ้าจำกันได้ประเทศไทยเราเองภาครัฐก็มีนโยบายส่งเสริมให้ภูเก็ต พัทยา สมุย เป็นท่าเทียบเรือสำราญรองรับความนิยมในการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ที่เพิ่มขึ้นซึ่งมีการวางแผนการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคการวางแผนการอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวในบริเวณพื้นที่รอบๆ ท่าเทียบเรือสำราญเพื่อให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางหลักของการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญมากกว่าแค่เป็นท่าเรือเส้นทางผ่านไปยังประเทศอื่นๆ โดยการส่งเสริมอุตสาหกรรม Cruise นี้มีการบรรจุไว้ใน "แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ (https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11581 ) " ทั้งนี้ต้องมาดูความพร้อมกันอีกทีว่าจะเกิดขึ้นได้แค่ไหนในอนาคต                                                                                             

ข้อมูลการจัดอันดับจาก https://brandirectory.com/rankings/leisure-and-tourism/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...