ในช่วงโควิด-19 เราจะเห็นได้ว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักสุดย่อมไม่พ้นการท่องเที่ยวและการโรงแรม และ Airbnb Startup จองที่พักก็เป็นหนึ่งในนั้น ในปี 2020 บริษัทขาดทุนถึง 72% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และปลดพนักงานถึง 25% แต่สุดท้ายแล้วบริษัทก็เข้าจดทะเบียน IPO และมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 1 แสนล้านดอลลาร์เมื่อปลายปี จึงน่าสนใจว่าทำไมนักลงทุนถึงยังเชื่อใจจากบริษัทนี้ในช่วงวิกฤต และเลือกลงทุนต่อในอนาคต
Airbnb เป็นแพลตฟอร์มที่มาจากแนวคิดของ Brian Chesky และ Joe Gebbia ที่ชื่อเดิมคือ Air Bed and Breakfast ต้องการจะแบ่งห้องนั่งเล่นตนเองให้นักเดินทางเช่าอยู่ โดยใช้ชีวิตกับเจ้าของบ้าน และมีอาหารเช้าให้ทานร่วมกัน
จากนั้นผู้ก่อตั้งทั้งสอง ได้ร่วมมือกับ Nathan Blecharczyk ได้ต่อยอดสร้างเป็นเว็บไซต์ที่พัก เพื่อที่เราจับจองพื้นที่และค้นหาที่พักได้ง่ายมากขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์ม Airbnb ที่ให้โฮสต์เข้ามาหารายได้เสริม และคนเข้าพักที่ได้ที่พักในราคาถูกลง
เนื่องจาก Airbnb ยังไม่มีแหล่งเงินทุนและ Networking ที่มากพอ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ Incubator เพื่อให้ได้ซึ่งโมเดลธุรกิจและมีแนวทางการเติบโตที่ชัดเจน จากนั้นก็ทยอยระดมเงิน และเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป คนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโมเดลธุรกิจของ Airbnb อาจจะคล้ายคลึงเหมือนเว็บไซต์ที่พักทั่วไป แต่ Airbnb เป็นแอปพลิเคชันที่เสถียรภาพ และมีหน้าตาการใช้งานง่ายดาย จึงไม่แปลกใจที่คนมองว่าการจองที่พักผ่าน Airbnb ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
Airbnb เดินหน้าแพลตฟอร์มต่อไปในทั่วภูมิภาค โดยที่สร้างความเชื่อใจกับลูกค้าต่างชาติด้วยการสร้างออฟฟิศประจำประเทศนั้น ๆ เพื่อช่วยเหลือเจ้าของที่พักให้แก้ไขปัญหายิบย่อยได้ทันใจ รวมไปถึงตรวจสอบข้อมูลโฮสต์ท้องถิ่นโดยตรงอย่างเคร่งครัดเพื่อให้คนเข้าที่พักรู้สึกเชื่อมั่นในธุรกิจด้วย
เมื่อเทียบกับโรงแรมแล้ว Airbnb ให้ราคาที่พักที่ย่อมเยา และให้ประสบการณ์การพักผ่อนที่ใกล้เคียงวิถีชีวิตท้องถิ่นมากที่สุด ดังนั้น สิ่งที่ตามมากับที่พัก Airbnb ได้เพิ่มบริการ “Neighbourhood” ธุรกิจไกด์ท่องเที่ยวท้องถิ่นที่พาไปดูสถานที่ท่องเที่ยวล้วนแต่เป็น hidden gem รู้เฉพาะคนท้องถิ่นในประเทศเท่านั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เฉพาะตัวกว่าการท่องเที่ยวทั่วไป
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้เพราะแนวคิดเรื่อง Ecosystem ของ Airbnb ที่เชื่อว่าหาก Airbnb มีอุปทานที่พักที่ดี มีอุปสงค์นักท่องเที่ยวตามมา จากนั้นก็จะมีธุรกิจย่อยก่อตัวใหม่ขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ผู้ใช้งานอย่างสมบูรณ์แบบ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันเทียบเท่ากับโรงแรมดัง ๆ ได้
แม้ว่าเส้นทางธุรกิจของ Airbnb จะมีภาพรวมที่สดใส แต่ผลการดำเนินงานของ Airbnb ขาดทุนสะสมมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ขาดทุนหนัก 72% และปลดพนักงานถึง 25%
ผู้บริหารจึงตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการทำงานหนักทุกวัน ทุ่มเทกับสิ่งที่ควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นการลดรายได้ ชะลอการจ่ายหนี้ หรือเจาะกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ จนทำให้ธุรกิจได้ค้นพบพฤติกรรมใหม่ของคนส่วนใหญ่ในประเทศก็คือเทรนด์ “Staycation” จึงมาลุยในส่วนของธุรกิจบ้านพักที่เน้นรักษามาตรการความปลอดภัยให้สอดรับกับการแพร่ระบาดของโควิด-19
ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น Airbnb ตัดสินใจขาย IPO ในปี 2020 เพื่อที่จะระดมทุนได้ง่ายขึ้น และสามารถต่อสายป่านของธุรกิจในอยู่รอดท่ามกลางวิกฤต ด้วยอานิสงส์ของ Tech Company ศักยภาพของบริษัท และโอกาสในการทำกำไร นักลงทุนจึงให้ความสนใจกับโมเดลธุรกิจแบบ Ecosystem แบบ Sharing Economy ของ Airbnb ที่อาจให้ on return invested capital สูงกว่าธุรกิจแบบดั้งเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ Airbnb ได้รับเงินระดมทุนจนมูลค่าบริษัทสูงถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด