บทความโดย คุณชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Facebook ประเทศไทย
การเปิดตัวของ Meta เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ใหม่ของบริษัทมุ่งผลักดันเมตาเวิร์สสู่การใช้งานในชีวิตจริง และช่วยเหลือผู้คนในการเชื่อมต่อกัน ค้นหาชุมชน และพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนจำนวนมากให้คำนึงถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต พันธกิจของเราไม่เปลี่ยนแปลง เรามุ่งเน้นในการร่วมสร้างเมตาเวิร์สเพื่อให้ผู้คนได้เชื่อมต่อ ค้นหาชุมชนและสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ
วิสัยทัศน์ของ Meta คือการสร้างประสบการณ์ที่เสมือนจริงมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยความรู้สึกของการมีตัวตนอยู่จริง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเชื่อมต่อและบทสนทนาแก่ผู้คน ราวกับว่าพวกเขากำลังอยู่กับอีกบุคคลหนึ่งหรืออยู่ในพื้นที่อีกแห่งหนึ่ง ไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้อยู่ด้วยกันในชีวิตจริง แต่ในเวลาที่เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เทคโนโลยีเมตาเวิร์สจะช่วยให้เราได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นราวกับประสบการณ์ได้พบกันในชีวิตจริง โดยเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีให้บริการแล้วในปัจจุบัน เช่น Augmented Reality และ Virtual Reality ซึ่งจะถูกนำมาผสมผสานกับการทำงานของแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Messenger จาก Meta เพื่อสร้างบทสนทนาและประสบการณ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยกำลังเริ่มฟื้นตัวพร้อมการเดินหน้าเปิดประเทศ เป้าหมายในระยะสั้นคือการกระตุ้นประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบออฟไลน์ให้เกิดขึ้นอีกครั้ง โดยธุรกิจยังคงต้องรักษาการมีส่วนร่วมบนช่องทางออนไลน์ไปในขณะเดียวกัน นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างมองหาประสบการณ์ที่น่าดึงดูดผ่านพื้นที่ออฟไลน์ โดยไม่ต้องการสูญเสียความสะดวกสบายจากประสบการณ์แบบดิจิทัลในเวลาเดียวกัน
ช่วงเวลานี้ถือเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของธุรกิจในการเรียนรู้จากยุคของสถานการณ์การแพร่ระบาด ในขณะที่ผู้คนต้องใช้ชีวิตภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด และเริ่มพิจารณาถึงสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากสิ่งที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน สู่อนาคตที่ทุกคนสามารถใช้เวลาร่วมกัน เติบโตไปด้วยกัน และสร้างช่วงเวลาและประสบการณ์ร่วมกันได้
ธุรกิจต่างๆ สามารถใช้งานฟีเจอร์ที่มีอยู่จำนวนมากเพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและตอบโจทย์ความต้องการด้านประสบการณ์หลังสถานการณ์โควิด-19 ได้แล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ การนำเครื่องมือแห่งนวัตกรรมและเทรนด์ล่าสุดจากแพลตฟอร์มของ Meta มาใช้ จะช่วยให้ธุรกิจในประเทศไทยมีโอกาสและศักยภาพในการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เมตาเวิร์สกำลังถูกนำมาใช้งานในชีวิตจริง
ปัจจุบัน ผู้บริโภคคาดหวังให้แบรนด์เข้าใจความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของพวกเขามากขึ้นกว่าที่เคย และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และส่งข้อความที่เหมาะสมกับความต้องการของพวกเขา โดยเป็นมาตรฐานระดับพื้นฐานของการให้บริการ ผู้บริโภคทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงการตอบรับเชิงบวกอย่างชัดเจนต่อแบรนด์ที่ส่งโฆษณาและข้อเสนอแบบเฉพาะบุคคลไปหาพวกเขา โดย 91 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคกล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่รับรู้ จดจำ และให้คำแนะนำและการนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของพวกเขา
โฆษณาแบบไดนามิก (Dynamic Ads) เปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถพัฒนาข้อเสนอแบบเฉพาะบุคคลเป็นจำนวนมากผ่านการใช้เทคโนโลยี machine learning ซึ่งช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องให้กับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยโฆษณาที่ถูกสร้างและกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยอัตโนมัติ พร้อมรูปแบบการแสดงภาพที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับความสนใจ เจตนา และการกระทำของพวกเขา ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว ให้ผลดีกว่าการใช้โฆษณาแบบภาพสไลด์ (Carousel Ads) เพียงอย่างเดียวในการขับเคลื่อนการเติบโต ทั้งสำหรับยอดการรับชมเนื้อหา การเพิ่มสินค้าลงตะกร้า คำสั่งซื้อ และยอดขาย
โฆษณาที่คลิกไปยัง Messenger แบบไดนามิก (Dynamic Click-to-Messenger Ads) ได้ยกระดับวิธีการปรับแต่งโฆษณาให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคลไปอีกขั้น ด้วยการผสมผสานเทรนด์ที่ทรงพลังของการซื้อขายผ่านการแชท เพื่อมอบการเชื่อมต่อสู่ Messenger อย่างไร้รอยต่อแก่ผู้บริโภค และให้บริการที่น่าดึงดูดตั้งแต่ต้นจนจบที่เหนือกว่าขีดจำกัดของการให้บริการหน้าร้าน โฆษณาที่คลิกไปยัง Messenger ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและโอกาสในการเพิ่มยอดขาย อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกแก่การซื้อขายแบบข้ามพรมแดน และพัฒนาประสิทธิภาพในขณะที่พวกเขากำลังขยายการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
เมตาเวิร์สมีเป้าหมายในการเชื่อมต่อโลกดิจิทัลและโลกออฟไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้คนได้มีประสบการณ์ผ่านการใช้งานอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงหูฟัง Virtual Reality เพื่อประสบการณ์เสมือนจริง และแว่นตา Augmented Reality เพื่อการอยู่กับปัจจุบันในพื้นที่แบบออฟไลน์
ในป้จจุบัน เราได้เห็นพลังของ Augmented Reality ในการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ เช่น ฟิลเตอร์ AR ที่ถูกสร้างสรรค์และแสดงให้เห็นในชีวิตประจำวันบนสมาร์ทโฟน โดยธุรกิจชั้นนำได้เริ่มพัฒนาประสบการณ์ AR ที่มีความเฉพาะของตัวเอง สำหรับผู้บริโภค ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจที่ก่อให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์และโอกาสในการเติบโตที่เพิ่มขึ้นโดย
เพิ่มการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค
ธุรกิจมากมายต่างใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวในรูปแบบที่สนุกสนานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ โดย เป๊ปซี่ ประเทศไทย ได้ผลักดันขีดจำกัดด้านความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง เมื่อบริษัทได้พัฒนาฟิลเตอร์ AR บน Messenger ด้วยการใช้ผลงานเพลงจากศิลปินยอดนิยม เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสร้างและแชร์มิวสิควิดีโอของพวกเขาเองได้ โดยประสบการณ์แบบอินเทอร์แอคทีฟที่มอบความเสมือนจริงในครั้งนี้ได้จุดประกายการเชื่อมต่อกับดนตรีที่มีอยู่แล้วของเป๊ปซี่ให้โดดเด่นขึ้นมาอีกครั้ง และยังช่วยให้แบรนด์สร้างการมีส่วนร่วมกับคนไทยรุ่นใหม่ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ธุรกิจยังสามารถใช้ประโยชน์จากโฆษณาแบบ Augmented Reality บนฟีดข่าวของ Facebook เพื่อการเปิดตัวผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ ซึ่งโฆษณาแบบ AR สามารถเน้นถึงฟีเจอร์และประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างโดดเด่น เพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายคลิกไปที่เอฟเฟกต์ดังกล่าว และสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับแบรนด์ที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์
การทดสอบผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ (การนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านภาพ)
หนึ่งในคุณสมบัติที่ทรงพลังของ AR คือ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านภาพ (Product Visualization) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถลองหรือสวมใส่ผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังหน้าร้าน ไม่ว่าจะเป็นการลองวางเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ในพื้นที่ที่ต้องการ หรือการลองสวมใส่เสื้อผ้าชุดใหม่แบบดิจิทัล นักช้อปในยุคปัจจุบันมีส่วนร่วมกับประสบการณ์แบบ Augmented Reality ที่มีให้บริการเพิ่มขึ้น ช่วยให้พวกเขาสามารถพิจารณาและตัดสินใจซื้อสินค้าต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
แบรนด์เครื่องสำอาง ลอรีอัล ปารีส ประเทศไทย ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality เพื่อสร้างสรรค์ฟิลเตอร์ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถทดลอง “ทา” ผลิตภัณฑ์ลิปสติกใหม่ที่มาพร้อมเฉดสีที่หลากหลาย และเมื่อใช้ควบคู่กับโฆษณา Facebook ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้งานฟิลเตอร์ Augmented Reality ดังกล่าว ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในการเพิ่มคะแนนเจตนาในการซื้อสินค้าที่ 3.4 คะแนน เพิ่มคะแนนความตระหนักรู้ในฐานะแบรนด์ในใจที่ 1.5 คะแนน และเพิ่มคะแนนการจดจำโฆษณาที่ 13.4 คะแนน เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของศักยภาพของเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อลูกค้าเข้ากับผลิตภัณฑ์ ผ่านประสบการณ์แห่งความเสมือนจริงและการมีตัวตนอยู่จริงในปัจจุบัน
การปรับแต่งโฆษณาให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคลเป็นมิติที่มีความสำคัญต่อเส้นทางบนโลกออนไลน์ของลูกค้า ที่ทุกธุรกิจควรพิจารณาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ตามที่ได้เน้นย้ำไปก่อนหน้านี้ โฆษณาแบบไดนามิกและ Augmented Reality ช่วยขับเคลื่อนประสบการณ์ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นพบสินค้าและการมีส่วนร่วม แต่ผู้บริโภคยังคงให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายและการได้สนทนากับธุรกิจอยู่
นี่คือเหตุผลที่ Messenger เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นต่อธุรกิจในประเทศไทย ด้วยการมอบการเดินทางของลูกค้าอย่างไร้รอยต่อ ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นพบไปจนถึงภายหลังการซื้อ และจะเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อธุรกิจในประเทศไทยที่เตรียมความพร้อมสู่อนาคตแห่งเมตาเวิร์สนำ Messenger มาใช้เป็นช่องทางการให้บริการตั้งแต่ต้นจนจบ
ในขณะที่ผู้บริโภคชาวไทยหันมาพึ่งพาช่องทางดิจิทัลเพื่อการช้อปปิ้งสินค้ามากยิ่งขึ้น ส่งผลให้บทสนทนาของพวกเขากับธุรกิจต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วไปมักจะติดต่อกับธุรกิจตลอดวงจรการซื้อ โดย 83 เปอร์เซ็นต์ จะส่งข้อความไปหาธุรกิจต่างๆ ก่อนการซื้อสินค้า 70 เปอร์เซ็นต์ จะส่งข้อความในขณะสั่งซื้อสินค้า และ 58 เปอร์เซ็นต์ จะส่งข้อความหลังการซื้อสินค้า
นอกเหนือจากบทสนทนาผ่านการส่งข้อความแล้ว ในปัจจุบัน Messenger ยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจได้พูดคุยกับลูกค้าผ่านการโทรด้วยเสียงและวิดีโอ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้น เครื่องมือเพิ่มเติมเหล่านี้จะส่งผลให้บทสนทนามีบทบาทที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นจนจบมากยิ่งขึ้นในยุคเมตาเวิร์ส เนื่องจากผู้บริโภคสามารถสัมผัสประสบการณ์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในปัจจุบันได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งทางเลือกในการแชท โทรด้วยเสียง โทรด้วยวิดีโอ เพื่อพูดคุยกับธุรกิจท้องถิ่น
ในขณะที่เมตาเวิร์สกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง Augmented Reality และ Messenger จะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญสำหรับธุรกิจที่จะเติบโตไปในอนาคต ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงที่สำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจและนักการตลาดในการคว้าโอกาสที่มาพร้อมกับการค้นพบครั้งใหม่นี้ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล เสมือนจริง และสร้างการมีส่วนร่วมแก่ผู้บริโภค
เพื่อยังคงความสามารถในการฟื้นตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตแห่งการซื้อขายผ่านแชทและช่องทางดิจิทัล
บทความโดย คุณชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Facebook ประเทศไทย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด