ทำอย่างไรประเทศไทยจึงสามารถเป็นศูนย์กลาง Fintech แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

ทำอย่างไรประเทศไทยจึงสามารถเป็นศูนย์กลาง Fintech แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อผู้คนนึกถึงประเทศไทย เรามักนึกถึงชายทะเล วัด ช้าง ฯลฯ หากกล่าวสั้นๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนดึงดูดนักท่องเที่ยวนับล้านให้เดินทางมาท่องเที่ยวที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในมุมมองของคนในวงการ Fintech ในประเทศไทยนั้นมองว่า ประเทศไทยนี้เต็มไปด้วยโอกาสที่จะเริ่มเปิดฉากตั้ง Startup ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

Omise แพลตฟอร์มบริหารจัดการทางการเงิน หนึ่งในตัวอย่าง Startup ด้าน Fintech ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นโดย Jun Hasegawa และ อิศราดร หะรินสูต ลูกครึ่งไทย-นิวซีแลนด์ ทั้งคู่เป็น Startup ไทยที่ประสบความสำเร็จทางด้าน fintech โดยในปี 2016 นั้นได้ระดมทุน ในระดับ Series B ได้ถึง 17.5 ล้านเหรียญ ปัจจุบัน Omise ดำเนินธุรกิจในประเทศต่างๆ อาทิ ไทย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์ ทำให้ Omise เป็นแรงบันดาลใจของความเป็นไปได้ในการก่อตั้ง Startup ด้าน Fintech อื่นๆ ในประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม

Paul Ark กรรมการผู้จัดการ Digital Ventures ได้กล่าวไว้ว่า “Fintech startups นั้นมีศักยภาพเพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ด้านอุตสาหกรรมการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในด้านอื่นๆ อาทิ การค้าขาย สุขภาพ และ การศึกษา ฯลฯ” นอกจากนี้ ความนิยมมากขึ้นของการใช้ Blockchain , Big Data และ AI ทำให้บริการ Fintech ต่างๆในประเทศไทย ไม่เพียงแต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่ยังสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกเช่นกัน

จากประเทศไทยสู่อาเซียนและระดับโลก

สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 โดยเป็นเครือข่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อกันระหว่าง Startup ด้าน Fintech , ธนาคารขนาดใหญ่และนักลงทุน

โดย อัครเดช ดิษยเดช ได้กล่าวว่า "สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทยนั้นกำลังทำงานเพื่อจัดตั้ง  National FinTech Sandbox เพื่อ Startup โดยจะเป็นที่ที่พวกเขาสามารถทดสอบผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ค้นหาและพบปะกับพาร์ทเนอร์ ตลอดจนได้รับเงินทุนสนับสนุน และยังได้กล่าวเสริมอีกว่า เขาหวังว่าจะได้รับเงินสนับสนุนจากทางรัฐบาล เป็นจำนวนเงินถึง 29 ล้านบาท เพื่อผลักดันอีกด้วย"

TechGrind เป็นองค์กรที่มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาให้ภูมิภาค SEA เป็น ซิลิคอนวัลเลย์ แห่งใหม่ โดยมองว่าประเทศไทยนั้นเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางสำหรับบริษัทของตน แม้ว่า TechGrind จะมีการดำเนินงานถึง 6 ประเทศ ในภูมิภาคนี้ แต่พวกเขาก็ได้ย้าย Startup ส่วนหนึ่งของพวกเขามาที่กรุงเทพฯแล้ว โดย TechGrind ไม่ได้ลงทุนแต่ในเฉพาะในหมวดหมู่ Fintech เท่านั้น พวกเขายังลงทุนใน Startup อื่นๆอีกด้วย

Efraim Pettersson Ivener หุ้นส่วนผู้ร่วมก่อตั้ง ของ TechGrind ได้กล่าวว่า

ถึงแม้ว่าจะมี Startup ด้าน Fintech ที่มีศักยภาพในประเทศไทย แต่ถ้าพวกเขาไม่ยอมทำอะไรสักอย่างในระดับภูมิภาคก็จะเดินตามหลัง เป็นการเปิดโอกาสให้ Startup อื่นๆเติบโต

โดย TechGrind จะลงทุนในบริษัทที่แก้ปัญหาที่แตกต่างเพื่อพัฒนาประเทศได้ เช่น Pymlo เป็น บริษัทที่สร้าง Software จัดการบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยและภูมิภาคข้างเคียง เมื่อพบว่าธุรกิจขนาดเล็กหลายธุรกิจนั้นจัดการบัญชีด้วย Excel โดย pymlo มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการบริษัทต่างๆ อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นในบริษัทขนาดเล็กหรือใหญ่ระดับโลก โดยเป็น The all-in-one solution ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเจ้าของธุรกิจระดับภูมิภาค

ประเทศไทยนั้นเป็นเหมาะสมที่จะเป็นฐานหลักของ Pymlo เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า ภาษีและกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในตลาดที่ต่างกันนั้นเป็นความท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจ แต่ Ivener เลือกที่จะมองในทางบวก เขากล่าวว่า

"การไม่มีกฏระเบียบที่ชัดเจนทำให้ startups มีอิสระที่จะเปิดตัวและทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่มากว่าที่จะไปรีบสร้างผลิตภัณฑ์ที่จะแก้ปัญหาน้ันๆ ก่อนที่ได้พิสูจน์หลักการของผลิตภัณฑ์นั้นให้ดีก่อน โดยบริษัทสามารถที่จะปรับปรุงสิ่งที่สร้างไว้ให้เหมาะสมได้ง่ายกว่าโดยไม่ต้องไปยึดติดกับมาตรฐานที่ตายตัว"

สถานการณ์ด้านการลงทุนอาจจะได้รับความช่วยเหลือจากการจัดตั้งองค์กรระดมเงินลงทุน (VC) ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยจากที่ Ark ได้กล่าวเอาไว้ว่า นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในอุตสาหกรรม Fintech และ กลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินของประเทศไทย เช่น ธนาคารอาจจะไปลงทุนใน Startup ภายในประเทศ รวมทั้งค้นหาเทคโนโลยีชั่้นนำทั่วโลก ที่กำลังจะถูกนำมาปรับใช้ภายในบ้าน

โดย Ark ยังกล่าวว่า "คู่แข่งที่มีความคล้ายคลึงกันในตลาดขนาดใหญ่ เช่น สิงคโปร์ และ จีน นั้นเป็นภัยคุกคามต่อ ธุรกิจ Fintech ในไทยเช่นเดียวกัน"

ในขณะเดียวกัน อัครเดช ดิษยเดช ยังคงแสดงความเชื่อมั่นต่อกลุ่มผู้ประกอบการ Fintech ในประเทศไทย โดยจะประสบความสำเร็จได้ถ้ามีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและทรัพยากรที่จำเป็นในการเติบโตขึ้นเป็นระดับภูมิภาคหรือแม้แต่ในระดับโลก

TechGrind Asia ต้องการที่จะเห็นสภาพแบบน้ันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นคำตอบว่าทำไมพวกเขาจึงได้สร้างโอกาสในการลงทุน ช่องทางการติดต่อและได้ให้คำปรึกษากับธุรกิจต่างๆในภูมิภาคนี้

ที่ภาพมาของข่าว Forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ตะลุย Davos ส่อง 5 ประเด็นหลัก ใน World Economic Forum

สำรวจประเด็นสำคัญจากงาน World Economic Forum 2025 ที่ Davos เวทีประชุมระดับโลกที่รวมผู้นำหลากหลายวงการ เพื่อหารือเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พร้อมบทบาทไทยในเวทีนานาชาติ...

Responsive image

สรุป AI อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดย Eric Grimson ศาสตราจารย์จาก MIT

ภายในงาน MIT Bangkok Symposium - Unleashing AI: Transforming Industries, Empowering Futures ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร. Eric Grimson อธิการบดีฝ่ายวิชาการ จากสถาบันเทคโนโลย...

Responsive image

รู้จักเทรนด์ Brand Chem กลยุทธ์ TikTok 2025 การตลาดที่ต้อง ‘เป็นเพื่อน’ กับผู้บริโภค

สำรวจ TikTok What's Next Report 2025 และแนวคิด Brand Chem ที่เปลี่ยนการตลาดด้วยความร่วมมือระหว่างแบรนด์ ครีเอเตอร์ และชุมชน TikTok พร้อมเทรนด์สำคัญที่ขับเคลื่อนปี 2025...