รายงานเชิงลึกด้านการพัฒนา ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ ที่จะเข้ามาผลักดัน 3 อุตสาหกรรมในประเทศไทยให้เติบโต พร้อมกรณีศึกษาเกี่ยวกับ ‘อุตสาหกรรมท่องเที่ยว’ ในต่างประเทศ | Techsauce

รายงานเชิงลึกด้านการพัฒนา ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ ที่จะเข้ามาผลักดัน 3 อุตสาหกรรมในประเทศไทยให้เติบโต พร้อมกรณีศึกษาเกี่ยวกับ ‘อุตสาหกรรมท่องเที่ยว’ ในต่างประเทศ

จากรายงาน ‘Traveler's Road to Decision’ โดย Google ในปี 2014 พบว่า 65% ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ในการพิจารณาและวางแผนในการเดินทาง ในขณะเดียวกัน eMarketer ประเมินว่ารายได้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางผ่านช่องทางดิจิทัลทั่วโลก (Global Digital Travel Sales) มีอัตราการเติบโตสูงกว่า 15% ในปี 2015 (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 500 พันล้านดอลลาร์) และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยกว่า 10% ต่อปี (CAGR) โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อัตราการเติบโตที่สูงนี้แสดงให้เห็นถึงความแพร่หลายและความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลในพิจารณาและวางแผนเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก

หากดูสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตในทุกทวีปทั่วโลกในปี 2017 พบว่า ณ เดือนมีนาคม มีจำนวนประชากรทั่วโลกมากกว่า 7.5 พันล้านคน และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 3.7 พันล้านคน โดยประชากรชาวเอเชียมีมากถึง 55% ของประชากรทั่วโลก และเป็นภูมิภาคที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง 1.8 ล้านคน

ที่สำคัญ อัตราการเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2000-2017 เฉลี่ยทุกภูมิภาคแล้วสูงถึง 933.8%

การเติบโตดังกล่าวสะท้อนว่าคนทั่วโลกมีปฏิสัมพันธ์กับโลกออนไลน์อย่างมาก และหลังจากนี้ โลกออนไลน์ก็จะทวีความสำคัญต่อวิถีชีวิตในทุกๆ มิติ ดังนั้น ประเทศใดที่มีความพร้อมด้านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านการใช้อินเทอร์เน็ต ก็จะสามารถผลักดันให้เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในประเทศนั้นๆ เติบโตได้เร็วและรุดหน้ากว่า

‘โรดแมปเมืองไทย' เพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลใน 3 ด้าน

ไม่นานมานี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกมาแถลงข่าวความร่วมมือกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการจัดหาโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นนำของโลก ในการพัฒนาโรดแมป (Roadmap) ด้านดิจิทัลเพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยในการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และเพื่อเร่งผลักดันวิสัยทัศน์ ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ไปสู่ความจริง โดยจัดทำ รายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย (Thailand Digitalization Whitepaper) ขึ้น และมุ่งเน้นการพัฒนา 3 ภาคส่วน ได้แก่ สังคมสูงวัย, การเกษตร และท่องเที่ยว

รายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทยนี้ เกิดจากการพัฒนาเนื้อหาร่วมกันกับ บริษัท โรแลนด์ เบอร์เกอร์ (Roland Berger) ในหัวข้อ ‘เจาะลึกเรื่องดิจิทัลในอุตสาหกรรมไทย : ดิจิทัลโรดแมปเพื่อสังคมสูงอายุ (Aging Society) ภาคการเกษตร (Agriculture) และภาคการท่องเที่ยว (Tourism)’ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่คณะผู้บริหารอาวุโส บริษัท หัวเว่ย ได้เข้าเยี่ยมและหารือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2559 โดยระบุว่า ภาคสังคมผู้สูงวัย ภาคการเกษตร และภาคการท่องเที่ยว คือ 3 ภาคส่วนสำคัญที่ถูกยกให้เป็นวาระแห่งชาติและมีความสำคัญระดับต้นๆ ของประเทศ

ในรายงานมีข้อมูลเชิงลึกของ 3 ภาคส่วน มีการจัดลำดับความสำคัญของแผนการดำเนินงาน ตั้งแต่การวางแผนแม่บทและโครงการแนวคิดริเริ่มในระดับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นการให้ข้อเสนอแนะถึงแนวทางที่ประเทศไทยจะสามารถยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดผลดีที่สุดในการรับมือกับประเด็นที่สำคัญต่อประเทศอย่างมาก 3 ประการ คือ

  • การบริหารจัดการสังคมสูงอายุ
  • การเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
  • การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

โดยในรายงานยังนำเสนอแนวทางการพัฒนากว่า 39 แนวทาง ครอบคลุมทั้ง 3 ภาคส่วน รวมถึงบอก 4 ปัจจัยขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบนด์ โครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ นวัตกรรม และ ทุนมนุษย์

ทั้งนี้ การนำเสนอรายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย จัดขึ้นพร้อมงานสัมมนาหัวข้อ ‘การพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล พ.ศ. 2564 ในภาคสังคมสูงวัย ภาคการเกษตร และภาคการท่องเที่ยว’ โดยผู้เข้าร่วมงานสัมมนาประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ กลุ่มสตาร์ทอัพ สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ มูลนิธิ และสมาคมธุรกิจต่างๆ รวมถึงการเข้าร่วมของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น

การผนึกกำลังครั้งสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศไทย

วิคเตอร์ จาง ประธานบริหาร ฝ่ายสื่อสารรัฐกิจ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จํากัด กล่าวว่า โดยสรุปแล้ว การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลผ่านทั้ง 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคสังคมสูงอายุ, ภาคเกษตร และภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นรากฐานของประเทศไทยนั้น จะนำไปสู่ความท้าทายครั้งสำคัญและการปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนในระยะยาว

โดยความก้าวหน้าและการพร้อมยอมรับในเทคโนโลยีจะช่วยสนับสนุนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลเพื่อนวัตกรรมในระดับภูมิภาค จากการรวมตัวของผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลระดับโลก เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการด้านดิจิทัลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และหัวเว่ยได้เปิดตัว Huawei OpenLab Bangkok  เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนานวัตกรรมความร่วมมือและการคิดค้นโซลูชั่นใหม่ร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศไทย รวมไปถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย 

“หัวเว่ยในฐานะผู้นำด้านโซลูชั่นไอซีทีของโลกขอให้คำมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยด้วยการใช้ความสามารถด้านเทคโนโลยีของบริษัทมาเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัล พร้อมได้ร่วมลงนามข้อตกลง (MoU) กับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (เอ็นไอเอ) เและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งรายงานเชิงลึกฉบับนี้ถือเป็นหนึ่งในข้อตกลงของความร่วมมือครั้งนี้ด้วย และหัวเว่ยจะต้องพัฒนาและส่งมอบให้กับรัฐบาลเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลภายใต้วิสัยทัศน์ ไทยแลนด์ 4.0

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นย้ำถึงความสำคัญ ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีต่อการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ โดยกล่าวว่า

“กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ริเริ่มแผนงานและโครงการมากมายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้มีการยกระดับขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน อาทิ การให้การสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่กลุ่มสตาร์ทอัพและบริษัทด้านเทคโนโลยีในโครงการเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลแทบทั้งสิ้น”

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงการจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเชิงบูรณาการ และแผนความร่วมมือระดับชาติ เรื่อง ‘ดิจิทัลไทยแลนด์’ ว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงก้าวสำคัญของการพัฒนาในระยะที่สอง นั่นคือ การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงทุกคน ทั้งภาครัฐและเอกชนในการก้าวสู่สังคมดิจิทัล เพื่อนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีความสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ การเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนดิจิทัลทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณให้พร้อมต่อเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ก็เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์หลัก โดยกระทรวงดิจิทัลฯ มีแผนที่จะพัฒนากำลังคนดิจิทัลทุกระดับร่วมกับหัวเว่ยจำนวน 500,000 คน ภายใน 5 ปี

“เราเคยคุยกับหัวเว่ยแล้วเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้าน Cloud Computing สักประมาณ 10,000 คน และภายใน 5 ปีนี้ กระทรวงดิจิทัลอยากจะพัฒนา Digital Workforces ให้เป็นตัวเลข 500,000 คน ซึ่งจะมีบุคลากรหลายประเภท เช่น ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ผู้บริหารในระดับชุมชน โดยเป็นโอกาสที่จะสร้างงานดิจิทัลชุมชนขึ้น

ซึ่งไทยมี 75,000 หมู่บ้าน ถ้ามี 1 ต่อ 1 ก็จะมีคน 70,000 กว่าตำแหน่งที่จะบอกต่อเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์แบบง่ายๆ การใช้มือถือให้เต็มศักยภาพ การปกป้องตนเองใน Cyber Security ซึ่งรัฐบาลทำเองทั้งหมดไม่ได้ ต้องร่วมมือกับหลายเอกชนดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ตามแผนใน Thailand Digitalization Whitepaper”

นอกจากนี้ ดร.พิเชฐยังบอกเพิ่มเติมว่า ภายในปลายปีหน้า ประเทศไทยจะมีไฮสปีด บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตใน 75,000 หมู่บ้าน ซึ่งหัวเว่ยและไทยร่วมกันดำเนินการ โดยเป้าหมายของปีนี้คือ จะวางสายบรอดแบนด์ให้ครบ 24,700 หมู่บ้าน และตอนนี้ทำสำเร็จแล้ว 3,000 หมู่บ้านภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน และยังเชิญหัวเว่ยให้เข้ามาร่วมลงทุนในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลภาคตะวันออก (EEC) หรือ โครงการดิจิทัลพาร์ค ไทยแลนด์ อีกด้วย

ข้อมูลส่วนหนึ่งของ ‘อุตสาหกรรมท่องเที่ยว’ จากรายงานเชิงลึกฯ

มูลค่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยคิดเป็นกว่า 17% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านและค่าเฉลี่ยของโลก อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศและนำมาซึ่งการจ้างงานจำนวนมาก

ปี 2015 ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 29.8 ล้านคน สูงเป็นอันดับที่ 11 ของโลก และสร้างรายได้กว่า 1.44 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก อีกทั้งการท่องเที่ยวไม่เพียงแต่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของคนในชาติ ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในประเทศ เป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศและนำมาซึ่งการจ้างงานกว่า 4.4 ล้านตำแหน่งทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัจจัยแวดล้อมที่สร้างความท้าทาย การแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งนักท่องเที่ยวมีความคาดหวังสูงขึ้นขณะท่องเที่ยว ดังนั้น การวางรากฐานและแก้ไขปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการรักษาเสถียรภาพและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อคงตำแหน่งแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำในเวทีโลกต่อไปในอนาคต

ตัวอย่างปัญหาที่รอการแก้ไขและพัฒนา

สถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน มีการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว แต่ยังค่อนข้างจำกัด และยังมี Data ไม่เพียงพอที่จะนำไปบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการตลาดดิจิทัลได้อย่างเต็มที่

การวิเคราะห์ข้อเสนอการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ 4 ประการ ในรายงานเชิงลึกฯ

พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ช่องทางออนไลน์ในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร สายการบิน ฯลฯ ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องวางแผนและปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ซึ่งในรายงานเชิงลึกฯ มีการวิเคราะห์ข้อเสนอการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ 4 ประการ สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2560–2564) ดังนี้

A - ระบบสารสนเทศการท่องเที่ยวแห่งชาติ (National Tourism Information System) คือ การบูรณาการระบบฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และเปิดเผยชุดข้อมูลสู่สาธารณะ (Open Data) เพื่อสนับสนุนการวางนโยบายด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยรวม และส่งเสริมการต่อยอดธุรกิจท่องเที่ยวทั้งระบบ

B - แพลตฟอร์มช่วยวางแผนการท่องเที่ยวแห่งชาติ (National Trip Planning Platform) คือ การพัฒนาต่อยอดระบบสารสนเทศการท่องเที่ยวแห่งชาติเพื่อการจัดทำระบบช่วยวางแผนท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวรายบุคคลอย่างทันท่วงทีและเต็มรูปแบบ ผ่านการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและการนำเสนอแผนการท่องเที่ยว รวมถึงการทำการตลาด เชิงรุกผ่านช่องทางดิจิทัลในกลุ่มตลาดเป้าหมายและกลุ่มความสนใจเฉพาะให้สอดคล้องต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มนั้นๆ

C - แหล่งท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourism Destination) คือ การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยว เพื่อ เสริมสร้างประสบการณ์โดยรวมสำหรับนักท่องเที่ยว โดยการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยว ระบบขนส่งและคมนาคม และสิ่งอำนวยสะดวกในการชำระเงิน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบายและความเพลิดเพลินในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย

D - ระบบรักษาความปลอดภัยสาธารณะแก่นักท่องเที่ยว (Public Safety and Security System) คือ การบูรณาการข้อมูลและ ใช้ระบบดิจิทัลในการควบคุมและรักษาความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวตลอดวงจรการท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วย 4 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบการรักษาความปลอดภัยชายแดนและการตรวจคนเข้าเมือง ระบบกล้องวงจรปิดเพื่อเฝ้าระวังและตรวจจับความเสี่ยง ระบบศูนย์บัญชาการความปลอดภัย และระบบการแจ้งเตือนในภาวะฉุกเฉิน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และการบริหารจัดการในภาวะต่างๆ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและน่าเยี่ยมเยือน

กรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในต่างประเทศ

สำหรับประเทศไทยก็มีโครงการ ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ

วงเสวนา ‘Digital Roadmap for Tourism’ คุยอะไรกัน

ทีมเทคซอสมีโอกาสเข้าฟังการเสวนาเกี่ยวกับโรดแมปดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนา 5 คน ได้แก่ มงคล วิมลรัตน์ ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา, John Koldowski ที่ปรึกษาพิเศษซีอีโอ Pacific Asia Travel Association, John Traas ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตอนใต้ของ Booking.com ที่สิงคโปร์, Simon Akeroyd รองประธาน APAC Corporate Strategy & New Business และ นพพล อนุกูลวิทยา COO/CMO/Co-founder ของ TakeMeTour สตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว

ในภาพรวม หลายฝ่ายอยากให้พัฒนาเรื่องความพร้อมด้านดิจิทัลหรือแพลตฟอร์ม และทำทุกอย่างให้เรียลไทม์ขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น เพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและที่พักได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ Local ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้มีรายได้ลงไปถึงผู้ประกอบการในพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็จะขยายตัวได้ทั่วประเทศ ไม่กระจุกอยู่แต่ในเมืองใหญ่ รวมทั้งอยากให้มีการปรับกฏหรือเงื่อนไขบางอย่างพร้อมกับการสร้างความร่วมมือเพิ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น

นพพล อนุกูลวิทยา จาก TakeMetour บอกสิ่งที่เห็นว่า ในไทยมี FinTech มาก แต่ยังมี TravelTech ไม่มาก ไทยจึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะจะทำอะไรใหม่ๆ เช่นในด้าน Sharing Economy อย่าง AirBnb และตอนนี้การท่องเที่ยวมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ก็ต้องทำให้ตลาดการท่องเที่ยวอยู่ในสเกลของ Global

“แม้ว่าประเทศไทยจะเป็น Base ด้านการท่องเที่ยว แต่เป็นในแง่การตลาด ขณะที่การพัฒนาโพรดักส์กลับไปอยู่ในประเทศอื่นๆ เหมือนการสร้างรถยนต์ที่เราเป็นฐานด้านการผลิต และเราจะเห็นมากในอุตสาหกรรมโรงแรม คนไทยทำงานในระดับ Staff, Management แต่ในตำแหน่งระดับสูงเป็นชาวต่างชาติ อาจจะเพราะ 2 ประเด็น ประเด็นแรก คนต่างชาติเข้าใจนักท่องเที่ยวในประเทศอื่นมากกว่า หรือสอง เพราะว่าเรายังไม่สามารถขยับตัวเองขึ้นมาเป็นผู้สร้าง Know how ได้ คนที่รู้จึงเป็นต่างชาติที่เริ่มทำโพรดักส์ก่อน เข้าสู่ตลาดก่อน ครอบครองตลาดก่อน ผมจึงคิดว่าถ้าเรามี Sandbox ที่ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการมองว่า ควรจะผลักโพรดักส์ของไทยไปทางไหน รูปแบบไหน ภูเขา ชนบท หรือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา สตาร์ทอัพที่รัฐซัพพอร์ตก็จะได้มองว่าควรพัฒนาโพรดักส์ไปในทิศทางใด ซึ่งการที่สตาร์ทอัพต้องไปชักชวนให้มีคนมาใช้งาน มันไม่ง่ายอยู่แล้ว และในเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบก็เป็นอุปสรรคอยู่ เช่นเรื่อง Sharing Economy ซึ่งถ้าเราไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ก็อาจจะทำอะไรออกมาได้เลย”

ภาพจาก  TakeMeTour

มงคล วิมลรัตน์ จาก กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ข้อมูลว่า โรงแรมที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยมีประมาณ 6,000 แห่ง แต่สำนักงานสถิติแห่งชาติให้ข้อมูลว่ามี 24,000 กว่าแห่ง ภาครัฐจึงจะทำแพลตฟอร์มเพื่อรวบรวมและให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่พักโดยตรงและถูกต้อง แต่ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการด้วยว่าจะให้ความร่วมมือหรือไม่ เช่น ที่พักไหนที่มีต่างชาติเข้าพักก็ต้องแจ้งเข้าระบบทั้งหมด และถ้าทุกคนให้ความร่วมมือก็จะเข้าสู่การจัดการด้านการท่องเที่ยวได้มากขึ้น

“การนำเสนอข้อมูลตัวเองเข้าระบบจะเป็นประโยชน์ในการที่จะขายที่พักให้แก่นักท่องเที่ยวทั่วโลก กระทรวงก็จะได้รับทราบ Transaction แล้วทำ Big Data ประเมินผล ซึ่งเทรนด์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เข้ามาผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ภาคธุรกิจก็นำไปบริหารจัดการต่อได้ กระทรวงก็นำไป  Boost ให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแข็งแรงขึ้นได้จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน”

ทั้งนี้ มงคลให้ข้อมูลเพิ่มว่า ภาครัฐจะนำข้อมูล 5 จากกลุ่มมาบูรณาการ เพื่อประกอบสร้างเป็น Big Data ที่สร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวทั่วโลกและเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ดังนี้

  • กลุ่มที่หนึ่ง แหล่งท่องเที่ยว จากข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว
  • กลุ่มที่สอง อีเวนต์/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • กลุ่มที่สาม กลุ่มโรงแรม ซึ่งจะไปเชื่อมต่อข้อมูลกับกรมการปกครอง
  • กลุ่มที่สี่ กลุ่มสปา ซึ่งขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุข
  • กลุ่มที่ห้า ธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์

“จำนวนนักท่องเที่ยว Ranking ในอันดับ 3 ด้าน Demand แต่การ Supply อยู่ในอันดับที่ 35 เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจ เทคโนโลยีไม่ใช่ปัญหา แต่การจัดระเบียบต้องให้ความร่วมมือกัน ซึ่งถ้าใครเข้ามาก่อนได้ก็ประโยชน์ก่อน” ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬากล่าวสรุป

ส่วน John Koldowski จาก PATA แสดงความคิดเห็นว่า ภาครัฐไม่สามารถทำทุกอย่างเองและทำให้ทันเวลาได้ ซึ่งถ้าภาครัฐจะทำ Big Data ได้ ต้องมีความเชี่ยวชาญ มีความพร้อมด้านเครื่องมือ และรัฐต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ โดยต้องมองว่าการท่องเที่ยวแบบไหนที่เป็นหลักของประเทศ พิจารณาว่านักท่องเที่ยวอยู่ในไทยนานแค่ไหน ต้องการอะไร ทำอย่างไรให้อยู่นานขึ้น จะสร้างประสบการณ์ เพิ่มความทรงจำให้แก่นักท่องเที่ยวได้อย่างไร รวมทั้งต้องหาวิธีใหม่ๆ ที่จะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 'รายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย' ได้ที่ Huawei

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...