ถึงเวลาที่ Big Tech ควรปฏิรูปโมเดลธุรกิจ เพื่อให้มนุษย์มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น | Techsauce

ถึงเวลาที่ Big Tech ควรปฏิรูปโมเดลธุรกิจ เพื่อให้มนุษย์มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

ที่ผ่านมาหนึ่งในประเด็นของ Tim Cook และ Mark Zuckerberg กำลังกลายเป็นสงครามระหว่างบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ถือเป็นการกระตุ้นฉุกคิดให้ผู้คนหันมากังวลกับความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจริง ๆประเด็นนี้ก็ถือเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานมากแล้ว นับตั้งแต่โซเชียลมีเดียทั้งหลายได้เข้ามามีบทบาท และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ฺBig Tech

แน่นอนว่าการเติบโตของสิ่งเหล่านี้ ล้วนมีทั้งฝ่ายที่ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ ซึ่งก็ชวนย้อนให้เรานึกถึงสารคดี The Social Dilemma ใน Netflix ที่เป็นการตีแผ่เบื้องหลังความโหดร้ายของเทคโนโลยี ที่คอยดึงดูดความสนใจและชักใยความคิดของมนุษย์ให้ติดอยู่กับหน้าจอออนไลน์ เพื่อหาผลประโยชน์จากการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงการชักจูงความเห็นทางการเมือง สร้างความแบ่งแยกทางความคิดอย่างไร้มนุษยธรรม

ลักษณะของรูปแบบการดำเนินธุรกิจของเทคโนโลยี Social Media อย่าง Facebook Twitter Youtube เหล่านี้ ล้วนเป็นการดึงในผู้คนติดอยู่กับหน้าจอให้ได้นานที่สุด เหมือนเป็นการแย่งเวลาชีวิตมาอยู่กับโลกออนไลน์ ซึ่งเมื่อผู้คนได้เข้ามาแล้วก็จะหลงใหลไปกับสิ่งที่ได้พบเห็น และเข้าใจว่า โลกอินเตอร์เน็ตทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างฟรี ๆ แต่จริง ๆแล้วต้องบอกว่า มันไม่ได้ฟรี เพราะ คนลงโฆษณาต่างหากที่จ่ายเงินให้พวกเขา  ดังนั้น บนโลกออนไลน์นั้นเราทุกคน ได้กลายเป็นสินค้า โดยที่ความสนใจของเรา คือ สินค้าที่ถูกขายให้กับผู้ลงโฆษณานั่นเอง 

ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความบิดเบี้ยวของสังคม ที่มีสาเหตุหลักมาจากโซเชียลมีเดีย ส่งผลต่อจิตใจและอารมณ์ของผู้ใช้งานให้มีความแปรปรวน และนำไปสู่การมองโลกที่แคบลง และบ้าคลั่ง อันจะเห็นได้จากเหตุการณ์ความวุ่นวายในหลาย ๆ ประเทศ การสร้างข่าวลวง ความเข้าใจผิดต่าง ๆนานา เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณได้โพสต์บางอย่างลงใน Facebook แล้ว ภายใต้ความสนใจของคุณจะถูกลบบริบทของความแตกต่างและความเคารพออกไปในทุกกรณี และนำความคิดความอ่านของคุณไปเฉพาะด้านที่คุณสนใจ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ Big Tech ควรจะปฏิรูปโมเดลธุรกิจ เพื่อที่จะลดความบิดเบี้ยวของสภาพสังคม และที่สำคัญต้องทำให้มนุษย์มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น 

บทความนี้ Techsauce ได้สรุปประเด็นสำคัญมาจาก MIT Technology Review ในบทความที่ชื่อว่า Big Tech’s attention economy can be reformed. Here’s how. เขียนโดย Tristan Harris ดังนี้

เพิ่มความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ หยุดโฆษณาแฝง

รู้หรือไม่ว่าในหนึ่งปีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google และ Facebook สามารถสร้างรายได้จากโฆษณาบนแพลตฟอร์มได้หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยโฆษณาส่วนใหญ่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เราเห็นนั้นเป็นตัวการสำคัญที่จะส่งผลกระทบกับมนุษย์ในหลายๆ ด้าน

ทั้งโฆษณาสินค้าที่บางครั้งเราแค่นึกจะซื้อสินค้าชนิดนี้ แต่กลับมีขึ้นเกลื่อนใน Facebook และ Google ทั้งวิดีโอแนะนำใน YouTube ที่เราแทะจะไม่ต้องค้นหาเพลงหรือวิดีโปรดของเราเลย แต่เรากลับไม่เคยสงสัยเลยว่า เพราะอะไรจึงมีข้อมูลเหล่านี้เด้งขึ้นมาบนแพลตฟอร์มที่เราเข้าไปใช้งาน เหตุผลหลักๆ คือ ความต้องการที่จะให้คนจ้องอยู่กับหน้าจอให้นานขึ้นไปอีก เพราะสิ่งที่ตามมาคือ ผลประโยชน์ที่ทางเจ้าของแพลตฟอร์มจะได้ไปนั่นเอง

การที่เรายอมรับและกดสั่งสินค้าหนึ่งชิ้น หรือบริการหนึ่งอย่างที่แฝงมาบนโลกออกไลน์นั้น สามารถส่งผลต่อสิ่งอื่นๆ ในระบบนิเวศน์ของมนุษย์ รวมไปถึงอุปนิสัย ทัศนคติ และความรู้สึกนึกคิด เหมือนอย่างที่เรายอมจ่ายเงินให้กับแอปพลิเคชั่น Tinder เพื่อสามารถปัดหาเพื่อนคุยได้อย่างจำกัด เท่ากับว่าเรายอมให้เกิดความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่ซับซ้อนและอาจจะเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่น่าไว้วางใจเกิดขึ้น หรือเมื่อเรายอมที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูล และความเป็นส่วนตัวของเราผ่านโพสบน Facebook หรือจะเป็นรูปภาพบน Instagram ก็เท่ากับว่าเรายอมที่จะสูญเสียอิสระภาพให้กับผู้อื่นในโลกออนไลน์

ตัวอย่างเด่นๆ ของการตัดวงจรความไม่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์คือ เครื่องมือปิดกั้นโฆษณา (Ad blockers) ซึ่งอาจจะมีหลายคนที่รู้จักเพราะต้องการตัดความรำคาญของโฆษณาที่มารบกวนความสนุกบนโลกออนไลน์ แต่สิ่งนี้กลับมีประโยชน์มากกว่านั้น ตรงที่มันช่วยเราเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลของเรา

จึงทำให้เกิดเป็นภารกิจ “Time Well Spent” ที่ทาง The Center for Humane Technology ได้คิดค้นขึ้นมา เพื่อขอความร่วมมีจากบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายให้ช่วยกันสร้างความตระหนักให้คนหันมาเรียนรู้ และสนใจเรื่องความปลอดภัยบนโลกออนไลน์มากขึ้น โดยตอนนี้ก็มีทาง Apple ที่ได้คิดค้นฟีเจอร์ “Screen Time” ที่จะแสดงระยะเวลาการใช้งานของ iPhone, iPad และอุปกรณ์ต่างๆ อีกทั้งยังมี Dashboard สำหรับคุณพ่อ-คุณแม่ที่เป็นห่วงความปลอดภัยของลูกๆ โดยสามารถเข้ามาเช็คได้ว่าลูกๆ ได้ใช้ชีวิตอย่างไรบนโลกออนไลน์ หรือจะเป็น Google ที่สร้างฟีเจอร์สำหรับจำกัดการแจ้งเตือน และเช่นเดียวกัน ทาง YouTube ก็ได้สร้างฟีเจอร์ “Take a Break” สำหรับการลดการแจ้งเตือนในแพลตฟอร์ม

การที่หลายๆ บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ระดับโลกได้ออกมาเคลื่อนไหวแบบนี้ ทำให้เราเห็นว่า พวกเขานั้นมีความตั้งใจที่จะรับผิดชอบกับความปลอดภัยของเพื่อนมนุษย์ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะต้องเสียผลประโยชน์ และรายได้มหาศาลจากจุดนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งนี้ก็ยังเป็นเพียงการแก้ปัญหาแค่เพียงจุดเดียว และเราก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ไข DNA ของบริษัทเทคฯ เหล่านี้ที่อาจจะเข้ามากำหนดความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้ทั้งหมด 

Big Tech ต้องร่วมมือปรับตัวเพื่อส่วนรวม

สิ่งสำคัญที่จะทำให้โลกของเรากลับมาปลอดภัย และน่าอยู่มากขึ้นอีกหนึ่งอย่างคือ การที่ทางบริษัทเทคฯ ต่างๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากกว่านี้ และต้องปรับตัวให้ได้ 

วิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของ COVID-19 การเคลื่อนไหวของกลุ่ม Black Lives Matter สภาวะโลกร้อน และวิกฤตทางสังคม และเศรษฐกิจต่างๆ ที่ส่งผลให้คนเกิดความวิตกกังวลมากขึ้น จึงเกิดเป็นหน่วยงาน หรือกลุ่มคนที่ต้องการจะขับเคลื่อนสังคม และร่วมกันโน้มน้าวให้ทุกๆ ประเทศทั่วโลกหันมาสนใจในประเด็นปัญหาทางสังคมเหล่านี้ และร่วมกันแก้ปัญหา

และเกิดเป็นความคิดที่ว่า ถ้าหากกลุ่มบริษัทเทคฯ ขนาดใหญ่ระดับโลกหันมาช่วยกันในเรื่องนี้ ก็จะทำให้คนทั้งโลกเข้าใจในเรื่องเดียวกันได้มากขึ้น และรวดเร็วขึ้น จากที่คนกลุ่มเล็กๆ จะไปโน้มน้าว 195 ประเทศทั่วโลกให้มาเข้าร่วม แต่ถ้า 5 บริษัทที่เรียกได้ว่าเป็นมหาอำนาจใหญ่ของโลกอย่าง Facebook, Amazon, Apple, Netflix และ Google เข้ามาร่วมมือในตรงนี้ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นกับส่วนรวม อย่างน้อยก็ทำให้คนได้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง เข้าใจในประเด็นที่ตรงกัน และก็อาจจะเป็นการทำให้โลกมีสุขภาพที่ดีขึ้น

หันมาสร้างนวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจอย่างมีมนุษยธรรม

อย่างที่เราทราบกันดีว่าเศรษฐกิจในโลกทุกวันนี้ต้องพบกับวิกฤตมากมาย หลายๆ ประเทศก็ให้ความสนใจไปกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถเลี้ยงปากท้องของคนในประเทศได้ จึงได้มีการนำเทคโนโลยีหลายๆ อย่างมาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จนทำให้ลืมไปว่า ตัวการสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจคือ มนุษย์

ตามที่กล่าวไปข้างต้น โลกออนไลน์ดึงดูดคนด้วยโฆษณาแฝงและข้อมูลลวง ทำให้โลกออฟไลน์ได้รับผลกระทบและมีการเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างไม่เป็นมิตรกับระบบเศรษฐกิจแบบนี้ จึงเกิดเป็นผลกระทบกับมนุษย์มากที่สุด ทั้งทำให้มนุษย์ขาดความเชื่อมั่นในสื่อ และส่งผลให้ขาดความมั่นใจในการตัดสินใจต่างๆ ดังนั้น เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ควรจะผลิตออกมานั้นต้องมีความใส่ใจกับความเป็นอยู่ของมนุษย์มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น ในนิวซีแลนด์ และสกอตแลนด์ ที่มีองค์กรอย่าง “Wellbeing Economy Alliance” ที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีของประกรทุกคนมากกว่าให้ความสำคัญกับ GDP ของประเทศ ซึ่งมันจะส่งผลให้ประชาชนทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเดินหน้าเศรษฐกิจของประเทศอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม การเมือง และสังคมอีกด้วย

และจากการที่เทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วมากในทุกวันนี้ ทำให้บริษัทเทคฯ เจ้าใหญ่ต่างๆ ต้องออกมาตระหนักและร่วมกันวางแผน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไปในทางที่ดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน มากกว่าเป็นประโยชน์ต่อองค์กรของตัวเอง


อ้างอิงจาก  MIT Technology Review, WEAll


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...