Justin Kan ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitch เผยถึง 3 หลุมพรางที่ Startup นั้นควรระวัง | Techsauce

Justin Kan ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitch เผยถึง 3 หลุมพรางที่ Startup นั้นควรระวัง

Justin Kan นักลงทุนผู้เข้าร่วม Y Combinator (YC) ในฐานะพาร์ทเนอร์ หนึ่งใน Startup Accelerator ชื่อดังของโลก และยังเป็น Cofounder สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มแนวหน้าของโลก Twitch โดยเขาได้เผยถึง 3 หลุมพรางที่จะส่งผลร้ายต่อบริษัทก็คือ การหลุดจากจุดโฟกัส, การที่เงินทุนเริ่มร่อยหรอ และการมีอคติต่อ Co-founder ของตนเอง ซึ่งเขาก็ได้ชี้จุดที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่ Startup ‘ควรทำ’ และสิ่งที่ ‘ไม่ควรทำ’ สำหรับผู้ที่อยากจะสร้างธุรกิจของตนเองให้ยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จ

1. การไม่โฟกัสกับสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นถือว่าเป็นความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งสิ่งสำคัญเหล่านั้นคือการสื่อสารกับผู้ใช้ และการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา จริงๆ แล้วการหลุดโฟกัสนั้นเป็นจุดที่ Startups หลายๆ รายนั้นมักจะผิดพลาด โดยพวกเขานั้นมักจะไปโฟกัสในสิ่งที่สำคัญน้อยกว่า อย่างเช่น การเข้าไปโฟกัสกับผู้ที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นลูกค้าของคุณ แต่พวกเขานั้นไม่ได้กลายมาเป็นลูกค้าของคุณจริงๆ 

โดย Kan ได้กล่าวว่า “สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่เราพูดกันที่ YC ก็คือการพูดคุยกับผู้ใช้งาน และเขียนโค้ด ทดลองผลิตภัณฑ์ที่เราทำให้ผู้ใช้งาน และสังเกตว่าผลิตภัณฑ์ของเราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาของผู้ใช้ได้หรือไม่ และก็ต้องทำการทดลองผลิตภัณฑ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อที่จะได้รับปริมาณฟีดแบคในจำนวนหนึ่งจากผู้ใช้ ซึ่งปัญหาสำหรับ Startup นั้นมากจากการที่พวกเขาไม่ทำสิ่งเหล่านี้” Kan ยังเผยอีกว่า ถึงแม้ว่าพวกคุณจะได้เข้ามาใน YC ในฐานะ Startup นั่นไม่ได้แปลว่าพวกคุณนั้นจะสามารถหยุดทำงานหนักได้ บริษัท Startups ที่ประสบความสำเร็จนั้นมักจะสามารถเข้าไปในจุดที่ Kan เรียนว่า ‘Magic Combination’ หรือการผสมผสานของการเลือกตลาดที่ถูกต้องและการโฟกัสได้อย่างที่จุดในการเลือกผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพวกเขา

2. อีกหนึ่งเหตุผลที่ Startup หลายๆ รายนั้นล้มเหลวนั้นก็คือการที่เงินของพวกเขานั้นหมด แต่ไม่ได้หมายถึงการที่พวกเขานั้นมีเงินไม่เพียงพอ “โดยทั่วไปเมื่อคุณนั้นระดมทุนในจำนวนมาก คุณจะเริ่มขยายงบประมาณของคุณเพื่อที่จะให้มันสอดคล้องกับจำนวนเงินที่คุณได้รับ และบางทีคุณก็ตกเข้าไปในกับดักของการพยายามที่จะใช้เงินในการแก้ปัญหาทั้งหมดของคุณ” 

“แต่ผมคิดว่าการระดมทุนเงินในจำนวนที่น้อยนั้นเป็นผลดีต่อ Startup เพราะว่ามันเป็นการทำให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์” ซึ่งเขาได้แนะนำว่าการมีเงินทุนที่น้อยจริงๆ แล้วดีต่อทีม “ด้วย Justin.tv เรามีเงินทุนที่น้อย ซึ่งเราก็ได้สร้างเซิร์ฟเวอร์และรากฐานของเรา และท้ายที่สุดแล้วเราก็สามารถที่จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง ซึ่งได้กลายมาเป็น Bandwith ที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 4 ในสหรัฐอเมริกาในตอนที่เราได้ขายมันไป ซึ่งเราเริ่มจากการที่ไม่มีศักยภาพพอในการระดมทุน แต่มันก็ทำให้เรานั้นสร้างเทคโนโลยีที่มีมูลค่ามหาศาล”

โดยเขาได้ยกตัวอย่างในกรณีของบริษัท Startup Exec ที่ได้ทำการระดมทุนเงินกว่า 3.5 ล้านดอลลาร์ ในรอบ Seed โดยในตอนนั้นพวกเขายังไม่มีธุรกิจที่สามารถจับต้องได้จริงๆ และไม่นานหลังจากนั้น เงินของพวกเขาก็เริ่มหมดลงเรื่อยๆ โดยยังไม่มีธุรกิจอะไรขึ้นมาเป็นชิ้นเป็นอัน “ไม่ว่าจำนวนเงินมากเท่าไหร่ที่คุณได้มากจากการระดมทุน คุณจะใช้มันภายใน 12-24 เดือน ซึ่งภายใน 24 เดือนนี้เงินของคุณก็จะเริ่มหมดลง” ส่วนหนึ่งคือการที่บางส่วนนั้นไม่ค่อยมีความสมเหตุสมผลทางธุรกิจสักเท่าไหร่ และผมคิดว่าในระยะเวลาสั้นๆ สิ่งนี้นั้นค่อนข้างอันตรายต่อบริษัทอย่างมาก

3. การที่ Co-founder นั้นเข้ากันไม่ได้ หรือการที่ “พวกเขานั้นไล่กันและกันออก หรือการที่อีกครึ่งหนึ่งนั้นลาออก” พวกคุณนั้นจะรู้ได้เลยว่า Startup นั้นไม่สามารถไปต่อได้อีกต่อไป โดย Kan ได้แนะนำถึงการทดลองการทำงานด้วยกัน และดูว่าพวกคุณนั้นสามารถที่จะเข้ากันได้หรือไม่ ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ค่อนข้างสมเหตุสมเหตุผลมาก แต่ความเป็นจริงแล้วการทำเช่นนี้นั้นก็ไม่เคยปรากฎให้เห็นในหลายๆ เคส โดยเขาได้กล่าวว่า บางครั้งการหาพาร์ทเนอร์ของบริษัท ก็เหมือนกับการซื้อล็อตเตอรี่ 

หากพูดถึงเรื่องของความสำเร็จของ Startup ถึงแม้ว่า Startup ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก YC บริษัทที่จะประสบความสำเร็จอย่างมากนั้นก็ยังหาได้ยาก “สำหรับ YC เราให้เงินสนับสนุน Startup กว่า 1,100 แห่ง แต่เรานั้นมีจำนวน Startup แค่ 10-11 รายหรือจำนวน 1% เท่านั้นที่สามารถที่ทำเงินได้กว่า 1 พันล้านดอลลาร์ และจำนวน 5% ที่สามารถทำเงินได้กว่า 100 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะถูกสนับสนุนโดย YC อัตราความสำเร็จก็ยังถือว่าน้อย ซึ่ง Kan ก็ยังเผยอีกว่าเหตุผลที่ในเอเชียนั้นยังไม่ค่อยมียูนิคอร์นสักเท่าไหร่ เป็นเพราะว่ามันเป็นเรื่องยากที่ในการที่จะรวมจำนวนประชาชนที่เพียงพอในภูมิภาคนี้ “ในสหรัฐฯ เรามีจำนวนประชากรกว่า 300 ล้านคนที่ค่อนข้างมีฐานะ” ซึ่งค่อนข้างง่ายที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

สำหรับแนวโน้มเทรนด์ในการลงทุนใน YC Kan ได้กล่าวว่า เทรนด์ส่วนมากนั้นจะตามบริษัทที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น “เมื่อตอนช่วงที่ Groupon นั้นเริ่มต้น ก็ได้มีหลากหลายบริษัทที่มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งเราก็ได้ทำงานสนับสนุนไปแค่ไม่กี่รายเท่านั้น และพวกเขาส่วนมากนั้นก็มีแนวโน้มที่จะล้มเหลวหรือไม่ก็ปรับเปลี่ยนธุรกิจไปทำอย่างอื่นแทน” ซึ่ง Kan ก็ได้ชี้ให้เห็นว่าเทรนด์ที่กำลังมาแรงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นคือ Fintech ซึ่ง YC ก็ได้ให้การสนับสนุนบริษัทเหล่านั้นไป รวมถึงบริษัทที่ทำเรื่องของระบบพื้นฐานของการชำระเงินที่ช่วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม e-Commerce

ส่วนหนึ่งที่ YC ได้รับความโด่งดังนั้นมาจากการเป็นผู้ให้การสนับสนุนรายแรกของ Airbnb ซึ่ง YC นั้นก็ได้ให้การสนับสนุน Startup ไปกว่า 1,100 ราย โดย Kan นั้นก็เคยเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจาก YC ในหลายๆ ธุรกิจของเขา ซึ่งรวมถึงธุรกิจวิดีโอสตรีมมิ่ง Justin.tv และภายหลังเขาก็ได้สร้างช่องทางสำหรับผู้ใช้งานในการสตรีมไลฟ์ของตัวเองเพิ่มขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีวิดีโอแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่ได้รับการสนับสนุน อย่าง Social Cam และ Twitch ที่มีรูปแบบการทำงานคล้าย YouTube แต่ส่วนมากสำหรับเกมเมอร์เท่านั้น

พบกับ Justin Kan ได้ที่งาน Techsauce Global Summit 2020: Special Edition - Evolving Stronger

ผู้ประกอบการจะนำธุรกิจผ่านช่วงวิกฤตในครั้งนี้และครั้งต่อๆ ไปได้อย่างไร ฟัง Justin Kan ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitch แพลตฟอร์มถ่ายทอดสดการเล่นเกมและการแข่งขัน E-Sport ซึ่งถูกเข้าซื้อกิจการโดย Amazon ในมูลค่า 970 ล้านเหรียญสหรัฐ เขายังได้ก่อตั้งหลายบริษัทที่สามารถระดมทุนได้มากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งทำการลงทุนใน Startup อย่าง Reddit, Cruise, Automation, Bird, Rippling และอื่นๆ อีกมากมาย Justin จะมาแบ่งปันประสบการณ์ของเขาในการขยายธุรกิจ และให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการในช่วงวิกฤต ที่งาน Techsauce Global Summit 2020 วันที่ 5-8 ตุลาคม 2563 นี้

จำหน่ายบัตรแล้ววันนี้ ซื้อบัตรได้เลยที่ https://bit.ly/2Yhm5Pz
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://bit.ly/2DHeZNr

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...