Netflix กับอีกขั้นของการเก็บ Consumer Insight จากหนัง Black Mirror

Netflix กับอีกขั้นของการเก็บ Consumer Insight จากหนัง Black Mirror

Netflix ธุรกิจออนไลน์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นบริษัทที่เน้นด้าน Data-Driven เป็นอย่างมาก เก็บทุกรายละเอียดของผู้ชมในแต่ละจังหวะที่อยู่บนแพลตฟอร์ม เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค และนำเสนอสิ่งที่ตรงจุด

เดต้าที่ Netflix รวบรวมไว้นั้น มีตั้งแต่เดต้าพื้นฐานอย่าง Rating, การค้นหาหนัง, วันเวลาที่ดู, ดูจากอุปกรณ์อะไร, อุปกรณ์ต่างๆ มีผลต่อพฤติกรรมของคนดูแตกต่างกันแค่ไหน, ช่วงไหนของหนังที่ถูก pause, ส่วนไหนที่ถูกนำมาดูซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นต้น ด้วยเดต้าเหล่านี้ทำให้ Netflix สามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้ชมแต่ละคน และนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจมากที่สุด

และในช่วงหยุดยาวนี้ ใครว่างก็นั่งดูซีรีย์วนๆ ไป เป็นอีกครั้งที่ Netflix จะได้มีโอกาสเก็บเดต้าผู้ชมเชิงลึกในแง่ของเนื้อหากับหนังซีรีย์เรื่อง Black Mirror: Bandersnatch เพราะเป็นหนังที่ผู้ชมสามารถเลือกตัวเลือกเองได้นั่นเอง ในรูปแบบ Interactive

ก่อนอื่นให้นึกถึงหนังสือการ์ตูนสมัยเด็กๆ โดยเฉพาะเรื่องสืบสวนสอบสวน ที่มีตัวเลือกให้เราเลือก และการเลือกแต่ละครั้งจะนำพาเราสู่จุดจบของการ์ตูนเรื่องนั้นที่มีเนื้อหาไม่เหมือนกัน แน่นอนว่าเราก็อยากรู้ตอนจบหลายๆ แบบ ด้วยความอยากรู้เราก็ไล่อ่านมันหมดทุกรูปแบบเลยใช่ไหม? ซึ่งรูปแบบนี้ก็ถูกนำมาใช้ในเกมด้วย

ในขณะที่ตัวหนังทุกวันนี้ หลายครั้งเราอาจนั่งบ่นว่า "โธ่! ตามมาทั้งเรื่อง จบแบบนี้ได้ยังไงกัน แอบผิดหวังนะเนี่ย..." และนี่คืออีกก้าวของการเลือกฉากจบด้วยตัวผู้ชมเองนั่นเอง โดยมีจุดทางเลือกต่างๆ ที่แทรกเข้ามาในเรื่องตลอด ทำเอาชนิดที่ว่า มีแฟนพันธุ์แท้ที่ติดตามวาดออกมาเป็น flowchart แชร์กันเลยทีเดียว (Spoil: เรื่องราวที่ถูกอธิบายเป็น Flowchart บน reddit)

แม้รูปแบบของเรื่องนี้มีผู้ชมบางรายออกมากล่าวว่า ยังมีตัวเลือกระหว่างทางที่ไม่เยอะมาก และต้องดูวนลูปบ่อยๆ กว่าจะเก็บรูปแบบตอนจบทั้งหมด 6 รูปแบบให้ครบ (ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่ามีแค่นี้กันหรือเปล่า) ก็พาเอามึนกับฉากวนลูปได้ แต่ด้วยการสร้างหนังในรูปแบบนี้ทำให้ Netflix เข้าใจผู้ชมลงไปในระดับเนื้อหาของตัวหนังมากขึ้นจริงๆ ดีไม่ดีต่อไปทางเลือกของเนื้อหาในหนังอาจจะไม่ได้เกิดจากตัวเลือกเพียงอย่างเดียว แต่ดูจากพฤติกรรมความตั้งใจการวนดูเนื้อหาส่วนไหนในเรื่องของเราโดยเฉพาะ จนมีฉากลับโผล่ออกมา หรือตัวละครเองหันมาคุยกับผู้ชมก็เป็นได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...