ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในปัจจุบันหลาย ๆ คนหันมาให้ความสนใจการทำธุรกิจส่วนตัวกันมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจประเภท SMEs เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความเป็นอิสระ อีกทั้งยังมีต้นทุนในการลงทุนไม่สูงมากนักอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เจ้าของกิจการ SMEs หลาย ๆ แห่งประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ในขณะที่อีกหลาย ๆ แห่งกลับประสบปัญหา ไม่สามารถไปถึงฝั่งฝัน ทำให้ล้มเลิกลงกลางคันเสียก็มี อะไรคือปัญหาของกิจการเหล่านี้?
หากจะพูดถึงปัญหาของการทำธุรกิจ SMEs ก็มีอยู่หลาย ๆ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดความผิดพลาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น
ปัญหาด้านเงินลงทุน
เรื่องของเงินทุนจัดเป็นปัญหาที่พบเป็นอันดับต้น ๆ ของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งการ ไม่มีเงินลงทุนที่มากพอจะดำเนินธุรกิจในระยะยาว หรือขาดหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุนในธุรกืจใด ๆ จึงควรเตรียมเรื่องของเงินทุนตลอดจนแหล่งเงินทุนให้พร้อมเสียก่อน
ปัญหาด้านการตลาด
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้การตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าและบริการ ตลอดจนความสะดวกรวดเร็วในการขนส่ง ซึ่งผู้ประกอบการที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวนี้ ก็อาจเพลี่ยงพล้ำแก่คู่แข่งได้
ปัญหาด้านการบริหารจัดการ
ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์ในการจัดการและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการบริหารจัดการงานบัญชีที่จะทำให้ผู้ประกอบการทราบสถานการณ์ทางธุรกิจ มองเห็นเห็นภาพรวมกระแสเงินเข้า-ออกของบริษัท รวมถึงเรื่องของการจัดการเรื่องภาษี สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งหากไม่มีการบริหารจัดการที่ถูกต้อง เป็นไปตามข้อกฎหมาย จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้
จากปัญหาของ SMEs ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ก็คือเรื่องของการวางแผนในการบริหารด้านบัญชีและภาษี ซึ่งผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจหลาย ๆ แห่งกลับไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้อย่างแท้จริง จึงส่งผลให้เมื่อเกิดปัญหา หรือสถานการณ์ต่างๆ ก็ไม่สามารถรับมือแก้ไขได้ ดังนั้น เรื่องของการวางแผนในเรื่องของภาษีจึงเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการวางแผนธุรกิจด้วย
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติรายการทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการทางภาษีอากรของกิจการเป็นไปอย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรอย่างคุ้มค่าอีกด้วย
ในการวางแผนภาษีอาการ ผู้วางแผนภาษีควรศึกษาหลักเกณฑ์สำคัญ ตลอดจนบริบทที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพื่อประโยชน์ในการวางแผนภาษีอากรให้ครบถ้วน ถูกต้อง ดังต่อไปนี้
1. ประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากรถือเป็นตัวบทกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ทั้งพระราชบัญญัติ ประกาศ คำสั่งต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ผู้วางแผนภาษีจะต้องศึกษา เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแตละช่วงเวลา
2.คำพิพากษา ข้อหารือของกรมสรรพากร คำวินิจฉัย
นอกจากจะศึกษาตัวบทกฎหมายในประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้วางแผนภาษีควรจะศึกษาคำพิพากษาฎีกา รวมไปถึงคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรที่ได้ชี้ขาดปัญหาของกฎหมายบางประเภท เพราะเป็นแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีที่ถูกต้อง
3. ประเภทภาษีอากร
การวางแผนภาษีอากรจะต้องศึกษาภาษีแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจการให้ชัดเจน เพื่อการวางแผนภาษีอากรได้อย่างรัดกุม ประหยัด และถูกต้องตามกฎหมาย
4. รูปแบบหรือองค์กรของธุรกิจ
การวางแผนภาษีอากรจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์กรประกอบธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องและได้รับประโยชน์สูงสุดในการวางแผนภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัตราภาษี เงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะต้องเสียภาษีอากร รูปแบบองค์กรในการประกอบธุรกิจมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ผู้วางแผนภาษีจะต้องเลือกรูปแบบให้เหมาะสมและจะทำให้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายน้อยลงด้วย
5. มาตรฐานการบัญชี
การวางแผนภาษีอากรจะไม่สมบูรณ์ได้เลยหากผู้วางแผนไม่ได้ศึกษาเรื่องของหลักการบัญชีทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีที่ออกโดยสภาวิชาชีพ เพราะในการเสียภาษีอากรจะใช้ข้อมูล รายงานและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการบันทึกบัญชี ไม่ว่าจะเป็นงบกำไรขาดทุนงบแสดงฐานะการเงิน หรือรายงานประกอบต่าง ๆ ในการจัดทำบัญชี ดังนั้นกิจการจะต้องมีการปรับปรุงให้หลักการบัญชีกับประมวลรัษฎากรสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันตามหลักการบัญชีภาษีอากรด้วย
6. สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
การวางแผนภาษีเพื่อประโยชน์สูงสุดของธุรกิจ จะต้องนำสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายกำหนดไว้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้กับกิจการให้มากที่สุด เช่น สิทธิประโยชน์ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
7. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
นอกจากผู้วางแผนภาษีอากรจะศึกษากฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรแล้ว ยังต้องศึกษากฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต กฎหมายเกี่ยวกับหนี้ กฎหมายเช่าซื้อ กฎหมายเเพ่งและพาณิชย์ เพื่อจะทำให้การวางแผนภาษีอากรถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะบางครั้งกฎหมายแต่ละฉบับจะมีเงื่อนไขเฉพาะด้านซึ่งผู้วางแผนภาษีจะต้องทำการศึกษาปัญหาให้ระเอียดรอบคอบอีกด้วย
การวางแผนภาษีอากรเป็นสิ่งที่ควรกระทำทันทีที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจ และต้องกระทำต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในกิจการที่จะวางแผนภาษีอากรเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกรรมการผู้จัดการ นักบัญชี นักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญทางภาษีอากร ซึ่งทั้งหมดควรมีการวางแผนร่วมกัน ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะวางแผนภาษีให้ประสบความสำเร๊ร็จนั้นประกอบไปด้วย
การทำธุรกิจนั้น สามารถแบ่งประเภทได้เป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา เช่น ร้านค้าต่าง ๆ และธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล เช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ดังนั้นก่อนที่จะทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาเป็นอย่างดีแล้วว่า รายได้จากธุรกิจในแต่ละประเภทนั้นเสียภาษีแตกต่างกันอย่างไร และธุรกิจของเรานั้นจะจัดอยู่กลุ่มธุรกิจประเภทใด เพื่อที่จะดำเนินการเรื่องภาษีอากรได้อย่างถูกต้อง
สำหรับเจ้าของกิจการ SMEs นั้นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้อย่างครบถ้วน คือ ต้องป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท เรียกง่าย ๆ ว่า “มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมียอดขายไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี” นั่นเอง
ดังนั้นในการวางแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องคาดการณ์ธุรกิจในระยะยาวด้วยว่า จะมีรายได้ประมาณเท่าไร เพื่อจะนำไปสู่การวางแผนภาษีในขั้นตอนต่อไป
การที่จะวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จะต้องมีความเข้าใจภาษีแต่ละประเภทเป็นอย่างดี เพื่อจะได้รู้ว่าธุรกิจของตัวเองนั้นจะต้องเสียภาษีประเภทใดบ้าง ซึ่งภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SMEs นั้นมีอยู่หลายประเภทดังนี้
2.1. ภาษีเงินได้
2.2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่มีการซื้อขาย โดยผู้มีหน้าที่ต้องจดทะเบียน VAT ก็คือ ผู้ประกอบการมียอดขายมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นประกอบไปด้วย
2.3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เป็นภาษีที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินตามมาตรา 40 ต้องมีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนดเพื่อนำส่งให้รัฐ หากไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ต้องมีโทษปรับและต้องร่วมรับผิดชอบกับผู้มีเงินได้ด้วย
กรณีกิจการจดเป็นนิติบุคคลและจ่ายเงินเดือนให้กับลูกจ้าง หรือจ่ายให้กับผู้รับจ้างทำของนิติบุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และเหลือเท่าไหร่ก็จ่ายเป็นเงินไปพร้อมใบภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับผู้รับเงิน
2.4. ภาษีบำรุงท้องที่
ไม่ว่ากิจการจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หากกิจการนั้นเป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ในการประกอบกิจการ ก็จะถูกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในเดือนเมษายนของทุกปีด้วย
2.5 ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง
สำหรับบุคคลที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับหอพัก ห้องเช่า อพาร์ทเมนท์ ต้องเสียภาษี 12.5% ต่อปีของรายได้จากค่าเช่า และต้องชำระภาษีภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2.6 ภาษีป้าย
เป็นภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา โดยภาษีป้ายจะคิดจากขนาดของป้ายเริ่มต้นที่ 200 บาท ต้องยื่นชำระที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่ตั้งของป้าย ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
2.7. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจบางประเภท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน หลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
จากนโยบายของภาครัฐ จะเห็นได้ว่ามีหลาย ๆ มาตรการที่ที่ธุรกิจ SMEs สามารถนำมาวางแผนใช้สิทธิในการหักลดหย่อนได้เป็นย่างดี เช่น
ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินในอัตราเร่ง
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่อง EDC)
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริม SMEs ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
นอกจากนนี้ผู้ประกอบการยังต้องศึกษาข้อมูลการนำค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาหักภาษีได้อย่างรอบด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายจากการลงทุน ตลอดจนการซื้อประกันต่าง ๆ เช่น ประกันพนักงาน ที่เป็นตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร
ซึ่งหากเจ้าของธุรกิจวางแผนใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลดีต่อสภาพคล่องทางการเงินของกิจการอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จึงต้องศึกษา อัปเดตข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสม่ำเสมอด้วย
เนื่องจากเรื่องของภาษีนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นการมองหาที่ปรึกษาดี ๆ หรือผู้เชี่ยวชาญสักคนอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัว และไม่มีปัญหาด้านกฎหมายตามมา
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนทำให้การวางแผนภาษีมักจะไม่ประสบความสำเร็จก็คือ การจัดการเรื่องของระบบเอกสาร และระบบบัญชี ซึ่งหากผู้วางแผนภาษีไม่ให้ความสนใจจัดการระบบเอกสารให้ถูกต้อง สะดวกต่อการนำมาใช้ในการจัดการภาษี ทำให้เกิดการขาดตกบกพร่องประการใดประการหนึ่ง ก็อาจกลายเป็นเป็นช่องโหว่ ทำให้การวางแผนภาษีล้มเหลวไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้
ดังนั้น การวางแผนภาษีจะต้องตระหนักถึงการบันทึกบัญชี ข้อมูลรายรับรายจ่าย ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ ให้เป็นไปตามตามข้อกำหนด กฎหมายเกี่ยวกับบัญชีของกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดด้วย
นอกจากจะมีการจัดระบบเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมายบัญชี แล้ว ผู้วางแผนภาษีจะต้องศึกษาระบบบัญชีของกิจการว่ามีข้อบกพร่องที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่อย่างไร ซึ่งกิจการ SMEs หลายแห่งไม่มีการวางระบบบัญชีมาก่อนเลย ทำให้ขาดความพร้อมในการสนองตอบต่อการวางแผนภาษีให้ถูกต้องรวดเร็วและสมบูรณ์
ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs ในทุกประเภทธุรกิจจะละเลยเรื่องของการจัดการเอกสารและระบบงานบัญชีเลยไม่ได้แม้แต่นิดเดียว
PEAK โปรแกรมบัญชีบนคลาวด์ที่จะเป็นพร้อมสนับสนุนธุรกิจ SMEs เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการจัดการเอกสารทางการค้าที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ใบเสนอราคา, ใบแจ้งหนี้, ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี, ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ตลอดจนข้อมูลเอกสาร รายงานภาษี ทั้งรายงานภาษีขาย, รายงานภาษีซื้อ (สำหรับจัดทำ ภ.พ.30), รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย (สำหรับจัดทำ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร ก็มุ่งเน้นความถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว
นอกจากนี้ PEAK ยังช่วยจัดการงานบัญชีที่ต้องการรองรับการทำงานที่แข่งกับเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลงบัญชีอัตโนมัติ ทั้งบัญชีรายวัน, บัญชีแยกประเภท, งบทดลอง และออกงบการเงินได้ ตลอดจนสามารถกระทบยอด Statement บัญชีธนาคารโดยอัตโนมัติและยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสรุปผลประกอบการ ข้อมูลรายการขาย สินค้า และการเก็บเงิน แบบเรียลไทม์อีกด้วย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด