สรุปประเด็นสำคัญจาก คุณรวิศ เรื่อง Future of work และทักษะที่ควรมี ถ้าอยากรอดจากการแทนที่ของ AI

สรุปประเด็นสำคัญจาก คุณรวิศ เรื่อง Future of work และทักษะที่ควรมี ถ้าอยากรอดจากการแทนที่ของ AI

งานสัมมนา TMA Thailand Management Day 2019 ภายใต้แนวคิด GROWTH: Building Capabilities for the Future ครั้งนี้ TMA ได้เชิญสปีกเกอร์ชั้นนำจากต่างประเทศและในประเทศมากมาย หนึ่งในนี้คือ คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด ที่ได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรในองค์กร ทั้งในแง่ของวิสัยทัศน์ ทัศนคติรวมถึงกลยุทธ์ เพื่อนำองค์กรก้าวสู่วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม

เมื่อระบบอัตโนมัติสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรจะทำการเตรียมบุคลากรในการรับมือกับแนวโน้มดังกล่าวได้อย่างไร? คุณรวิศให้คำแนะนำในการรับมือกับความท้าทายดังกล่าวในการพัฒนาทักษะที่สำคัญ มีด้วยกัน 3 ระดับ ดังนี้ (เรียงลำดับความซับซ้อนจากน้อยไปมาก)

  • Hard skill and Knowledge: ทักษะที่สามารถเรียนรู้ได้ โดยทักษะเฉพาะนี้จะเปลี่ยนไปตามอาชีพ เช่น Software development, Design, Product management, Big data analysis, Agile methodologies และ Lean management practices
  • Human/ Soft Skill: เป็นทักษะที่มีความซับซ้อน อีกทั้งความต้องการของทักษะนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น Creativity, Critical thinking and Problem solving, Social Intelligence, Communication and influence
  • Meta skill: ทักษะเหล่านี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก ช่น Growth mindset, Life-long learning aspiration, Self direction, Comfort with change, Uncertainty

ภูมิทัศน์ของงานในปี 2022 ท่ามกลางกระแส disruption 

1. ในอนาคตจะมีอาชีพใหม่เพิ่มขึ้น

ภายในปี 2022 จะมีอาชีพกว่า 75 ล้านตำแหน่งหายไป ขณะเดียวกันก็จะมีอีก 133 ล้านตำแหน่งเพิ่มขึ้นมา ทั้งนี้ อาชีพใหม่จะเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญขึ้นเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยี อย่าง นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysts) นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่น (Software, Applications Developers) ด้านอีคอมเมิร์ช (E-Commerce) และผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย (Social Media Specialist)

อย่างไรก็ตาม ยังมีการคาดว่างานที่ต้องใช้ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์จะยังมีการเติบโตอยู่ เช่น พนักงานบริการลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญด้านการขาย ผู้ทำการฝึกอบรมพัฒนาบุคคลากรและวัฒนธรรมในองค์กร ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กรและผู้จัดการนวัตกรรม

คุณรวิศเสริมว่า คนจำนวนมากมักจะคิดว่างานที่หายไปเนื่องจากการเข้ามาแทนที่ของระบบอัตโนมัติ นั่นคืองานที่ต้องใช้แรงงานหรือ Blue collar แต่จากรายงาน จะเห็นได้ว่ามีมนุษย์เงินเดือน หรือ White collar ก็ได้รับผลกระทบจำนวนมากเช่นกัน อย่าง Accounting, Bookkeeping, Playroll Clerks, Accountant, Auditors แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ทักษะในงานเหล่านี้มีความใกล้เคียงกับทักษะที่ใหม่ที่เพิ่มขึ้นในอาชีพเกิดใหม่ (ตามภาพ) พนักงานเพียงแค่ต้องทำการ reskill ทักษะใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น

2. การแบ่งงานระหว่างมนุษย์ เครื่องจักร และอัลกอริธึม กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

Rate of automationมีคาดการณ์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของจำนวนชั่วโมงการทำงานโดยรวมระหว่างมนุษย์ เครื่องจักร และอัลกอริทึมอย่างมีนัยสำคัญ ในปี 2018 ใช้คนทำงาน 71% แต่ใช้หุ่นยนต์ 29% 

ภายในปี 2022 คาดว่าค่าเฉลี่ยนี้จะเปลี่ยนเป็นชั่วโมงการทำงานของมนุษย์ 58% และโดยเครื่องจักร 42%

จุดตัดที่สำคัญคือในปี 2025 เราจะทำงานน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่นี้เราอาจจะต้องมานั่งคิดแล้วว่า เราจะมีวันหยุดเพิ่มในวันไหนดี

3. เมื่อมีงานใหม่ก็ต้องการทักษะใหม่

ภายในปี 2020 ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปอย่างมาก ค่าเฉลี่ย“ ความมั่นคงทักษะ” ทั่วโลก สัดส่วนของทักษะหลักๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานที่จะยังคงเหมือนเดิม ซึ่งคาดว่าจะมี 58% ส่วนที่เหลืออีก 42% จะต้องทำการ reskill ใหม่

4. ดังนั้น ในอนาคตเราทุกคนต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

รวิศ หาญอุตสาหะในช่วงปี 2022 เราต้องมีวันในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ถึง 101 วันต่อปี แน่นอนว่าเราไม่สามารถออกมาเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ทั้งหมด ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้จะต้องถูกร้อยเรียงเข้าไปอยู่ใน core thinking ขององค์กร

เรากำลังเผชิญช่องว่างทักษะที่เกิดขึ้นใหม่ ส่งผลกระทบทั้งในหมู่พนักงานและในกลุ่มผู้นำระดับสูง หากองค์กรไม่ทำการแก้วิกฤตินี้ อาจจะเกิดอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ซึ่งการวางแผนกำลังการฝึกอบรมและการ reskill พนักงาน จะเป็นแนวทางที่ครอบคลุมที่สุด อีกทั้งยังเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับแนวโน้มดังกล่าวได้

ในอนาคตเราจะต้องมีวันในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ถึง 101 วันต่อปี ดังนั้นองค์กรจะต้องนำกระบวนการเรียนรู้ร้อยเรียงให้เข้าไปอยู่ใน core thinking ขององค์กรให้ได้

แล้วองค์กรจะนำการเรียนรู้เข้าไปอยู่ใน way of life ของพนักงานได้อย่างไร?

คุณรวิศย้ำว่า สิ่งใดก็ตามที่ AI สามารถพัฒนาได้จนชำนาญ มนุษย์ไม่ควรต่อกรกับมัน เนื่องจาก AI สามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้งเรียนรู้แบบ Collective learning คือเมื่อมีชุดข้อมูลใหม่ๆ ถูกส่งเข้าไปในระบบคลาวด์ AI ก็จะสามารถเรียนรู้ได้หมดทุกตัว แต่วิธีการถ่ายทอดความรู้ของมนุษย์ทำได้เพียงส่งต่อความรู้ระหว่างกันเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่เราควรจะโฟกัสในการพัฒนาคนก็คือการพัฒนาทักษะที่ AI ยังทำไม่ได้ โดยคุณรวิศได้หยิบ 7 ทักษะสำคัญที่มนุษย์ควรจะทำการพัฒนาจาก Harvard Business Review มาเล่าให้ฟัง ดังนี้

7 ทักษะสำคัญที่จะไม่ถูกระบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่

  1. ด้านการสื่อสาร (Communication): ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการดึงดูดความสนใจของผู้คนและโน้มน้าวให้คนปฏิบัติตามสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ รูปแบบการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่สุดคือความสามารถในการสร้างเรื่องราวให้น่าสนใจ
  2. ด้านการสร้างคอนเทนต์ (Content): องค์กรจะต้องทำการสอนพนักงานให้สามารถทำคอนเทนต์ได้อย่างแข็งแกร่ง
  3. ด้านการเข้าใจในบริบท (Context): เนื่องจากระบบอัตโนมัติมักจะขาดความสามารถในการเข้าบริบท เมื่อพนักงานมีความเข้าใจบริบททั้งรูปแบบธุรกิจ การแข่งขัน ก็จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์มากขึ้น แสดงให้เห็นว่า มีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่แม้แต่ AI ที่เก่งที่สุดก็ทำไม่ได้
  4. ความสามารถทางด้านอารมณ์ (Emotional competence): แม้แต่ AI ขั้นสูงในขณะนี้อย่าง Alexa ของ Amazon ก็ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นในการพัฒนาความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของมนุษย์ โดยระดับพื้นฐานของความสามารถทางอารมณ์ ก็คือความสามารถในการรับรู้อารมณ์ทั้งในบริบทของการวิเคราะห์และการกระทำ
  5. ด้านการสอน (Teaching): จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพและการช่วยให้คนสามารถเข้าถึงการศึกษา แต่แม้จะมีคอร์สออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย อย่างไรก็ตามในองค์กรก็ยังต้องการคนภายในที่มีความสามารถในการสอนผู้อื่น เพราะพวกเขาจะมีความเข้าใจบริบทของการพัฒนาบุคคลภายในองค์กรมากกว่า
  6. ด้านการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น (Connection): ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างแน่นแฟ้น และมีกลุ่มเครือข่ายทางสังคมจะสามารถช่วยองค์กรได้อย่างมาก
  7. ด้านเข็มทิศทางจริยธรรม (An ethical compass): เมื่อ AI มีความสามารถมากขึ้น จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรม และความสามารถในการตัดสินทางศีลธรรม เพื่อการประยุกต์ใช้ AI ด้วยเช่นกัน

อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจาก Harvard Business ReviewWorld Economic Forum


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...