การเดินทางนับเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งหลายภายในสังคม หากเมืองใดมีระบบการคมนาคมที่ดีก็ส่งผลให้เมืองน่าอยู่ไปด้วย ซึ่งในประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพเองถือเป็นเมืองที่การคมนาคมยังคงเป็นปัญหาหลักของคนกรุง การเพิ่มรูปแบบการเดินทางก็เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดี โดยรูปแบบที่ได้รับความสนใจช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ Ride-Hailing Platform ซึ่งมีผู้ให้บริการในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ Techsauce จึงขอรวบรวมข้อมูล Ride-Hailing Service ที่ให้บริการในไทยในปี 2018 มาให้ทุกท่านได้เห็นภาพรวมกัน
จากผลการสำรวจโดย Acadis เรื่องประสิทธิภาพการคมนาคมของเมืองใหญ่ประจำปี 2017 ทั้งหมด 100 เมือง โดยอิงหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพการขนส่งวัดจากการเข้าถึงและระยะเวลาที่ใช้ การส่งผลต่อสภาพแวดล้อม และประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ พบว่ากรุงเทพมหานครติดอันดับที่ 92 จากทั้งหมด 100 เมือง
และที่น่าสนใจกว่าคือ ประเด็นประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งวัดจากสภาพที่เอื้อต่อการเดินทางเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ กรุงเทพมหานครกลับตกอยู่ในอันดับที่ 97 จาก 100 เมือง เรียกได้ว่าสภาพเมืองของเราเองก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจและโอกาสเติบโตของประเทศไม่น้อยเลย
เพราะ Ride-Hailing เป็นช่องทางการเดินทางที่ไม่ได้เพิ่มเติมอะไรในเมืองเลย
Ride-Hailing เป็นรูปแบบการให้บริการเดินทางยังที่ต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากจำนวนรถส่วนบุคคลที่มีอยู่ในเมือง ด้วยการควบคุมผ่านเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน และให้ค่าตอบแทนแก่ผู้ขับขี่ ด้วยปัจจัยนี้ ทำให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องวางโครงสร้างพื้นฐานกับเมืองเพิ่มเติมใดๆ หมายความว่าในจังหวัดต่างๆ ก็สามารถนำ Platform ดังกล่าวไปใช้งานได้ทันที ซึ่งปัจจุบันมีให้บริการแล้วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาโครงสร้างด้านคมนาคมจำนวนมาก ระบบ Ride-Hailing จะทำให้รถส่วนบุคคลในกรุงเทพจำนวนกว่า 4 ล้านคันจากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ช่วยพาประชาชนไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้สะดวกขึ้นทันที เพียงมีมาตรการที่เหมาะสมรองรับเท่านั้น
แอพพลิเคชั่น Ride Hailing สัญชาติมาเลเซียที่เป็นผู้นำในย่านอาเซียน ให้บริการในไทยมานาน สามารถใช้เรียกได้ทั้ง Taxi และ Car Sharing มีให้บริการในจังหวัดหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพ เชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี ภูเก็ต สงขลา สุราษฏ์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช และเกาะสมุย
GrabTaxi
GrabCar Economy
GrabCar Plus
GrabCar XL
JustGrab
ข้อได้เปรียบ
หมายเหตุ
ผู้ให้บริการ Car Sharing รายใหญ่จากสหรัฐฯ บุกตลาดไทยพร้อมก่อกระแสดราม่ากับ Taxi ดั้งเดิมตั้งแต่เริ่ม แม้ตอนนี้มีกระแสข่าวว่าจะขายกิจการในอาเซียนให้ Grab แต่ก็ยังคงให้บริการอยู่ โดยมีให้บริการในจังหวัดใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น สุราษฎ์ธานี และภูเก็ต (อัพเดทข้อมูล: Uber ยกเลิกการให้บริการในประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2018 โดยสามารถติดตามรายละเอียดของเรื่องนี้ได้ที่นี่)
Uber Taxi
UberX
Uber SUV
Uber Black
UberFlash
UberAssist
ข้อได้เปรียบ
หมายเหตุ
บริการเรียกรถ Taxi รับส่งที่เสริมบน Platform ของ LineMan เริ่มให้บริการเมื่อปลายปี 2017 สามารถจ่ายเงินด้วยช่องทาง LINE Pay ได้ ปัจจุบันยังให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก
ข้อได้เปรียบ
รถ Taxi จากนครชัยแอร์ ผู้ให้บริการรถโดยสารระดับประเทศ หันมาจับช่องว่างของตลาด Taxi ด้วยการเน้นการบริการระดับสูงกว่า ปัจจุบันมีให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครกับอุบลราชธานี
ข้อได้เปรียบ
แอพพลิเคชั่นของเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้เรียกรถ Taxi ในเขตกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันจับมือกับธนาคารกรุงเทพ รับจ่ายเงินผ่าน QR Code ได้
ข้อได้เปรียบ
เป็น Platform เรียกรถ Taxi ของกรมการขนส่งทางบก พิเศษกว่าด้วยการบังคับมาตรฐานที่มากกว่ารถ Taxi แบบเดิม ทั้งการจำกัดความเร็ว ติดระบบ GPS Tracking และกล้องภายใน เพิ่มความสว่างภายในรถ
ข้อได้เปรียบ
ลิลูน่า เป็นแอพพลิเคชั่นของไทยที่ให้บริการรถรับส่งต่างจากรายอื่น โดยอาศัยแนวคิด Carpool ที่ผุ้ใช้แอพฯ จะกลายเป็นเพื่อนร่วมทางกัน ผู้ขับขี่จะรับผู้โดยสารตามเส้นทางที่จะเดินทางไป และผู้โดยสารจะช่วยแชร์ค่าน้ำมันเป็นการตอบแทน
ข้อได้เปรียบ
หมายเหตุ
เมื่อกางข้อมูลทั้งหมดดูยังคงพบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนของแอพพลิเคชั่นเรียกรถ Taxi มากกว่า Ride-Hailing อีกทั้ง Ride-Hailing ที่ให้บริการอยู่ก็ยังสามารถใช้เรียกรถ Taxi ในเครือข่ายได้อีกด้วย
ส่วน Liluna เป็นบริการรูปแบบ Carpool มากกว่า Ride-Hailing เพราะมีวิธีการคิดค่าบริการที่แตกต่างออกไป แต่ถูกนับรวมในหัวข้อนี้เพราะมีเป้าหมายของบริการแบบเดียวกัน
จากการสอบถามถึงบริการจากผู้โดยสารพบว่าแอพพลิเคชั่นจากผู้ให้บริการรายใหญ่มีความเสถียรสูง และมีรถให้บริการเพียงพอ แต่อาจจะขาดแคลนบ้างในช่วงเวลาเร่งด่วนและมีจราจรติดขัด ส่วนปัญหาที่ทุกแอพพลิเคชั่น คือการยกเลิกรับงานกลางคัน ซึ่งบางครั้งระบบกลับเป็นฝ่ายตัดเงินผู้ใช้งานเสียเอง
ด้านผู้ขับขี่โดยเฉพาะทางฝั่ง Taxi ให้ข้อมูลว่า แอพพลิเคชั่นช่วยให้พวกเขาได้ลูกค้าต่อวันเยอะขึ้น นำไปสู่รายได้ที่มากขึ้น แต่กระนั้นก็ยังมีปัญหาเรื่องนโยบายการรับงานซึ่งไม่สอดรับกับเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ทำให้เสียประโยชน์ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้ให้บริการ Platform เอง
จากภาพรวม จะเห็นว่าเรามีแอพพลิเคชั่นเรียกรถที่สร้างโดยคนไทยให้ใช้งานมากกว่า นั่นแสดงถึงความตื่นตัวเรื่องการพัฒนาการขนส่งเชิงรุกกันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้นำในตลาดจำเป็นต้องมีพื้นฐานมาจากคุณภาพบริการที่แข็งแกร่ง เพียงแค่ตื่นตัวและลงมือทำครั้งเดียวไม่พอ ต้องรักษาคุณภาพในระยะยาวยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ Platform นี้อยู่ได้และเป็นส่วนช่วยแก้ปัญหาการจราจรในปัจจุบันได้จริง
อ้างอิงข้อมูลจาก
กรมการขนส่งทางบก, Acadis, Grab, Uber, Line Man, Liluna, All Thai Taxi, Smart Taxi และ Taxi OK
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด