ซาอุดิอาระเบีย ลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า ทั้ง ๆ ที่รายได้หลักของประเทศมาจากบ่อน้ำมัน | Techsauce

ซาอุดิอาระเบีย ลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า ทั้ง ๆ ที่รายได้หลักของประเทศมาจากบ่อน้ำมัน

หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด นับตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ที่นอกเหนือจากเรื่องวัคซีนป้องกัน COVID-19 แล้ว คือ ความกระตือรือร้นด้านพลังงานสะอาดจากทั่วโลก โดยเฉพาะการขับเคลื่อน รถยนต์ไฟฟ้า และการสร้าง Smart City ที่ปลอดมลพิษ มุ่งเน้นไปที่การรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ที่ทั่วโลกกำลังตั้งเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาและแก้ไข ไม่เว้นแม้กระทั่ง ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ธุรกิจหลักอย่างน้ำมันกำลังถูก Disrupt และลดบทบาทลง 

สำหรับซาอุดิอาระเบีย เป็นที่ทราบกันดีว่านับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้เป็นผู้ผลิตน้ำมันอย่างจริงจังป้อนให้กับอุตสาหกรรมโลก ส่งผลให้กลายเป็นประเทศแห่งมหาเศรษฐี และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่เวลาผ่านไป โลกมีการเปลี่ยนแปลง น้ำมันเริ่มล้านตลาดเกินปริมาณความต้องการใช้ของประชากรโลก การพัฒนาของนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงเทรนด์ของโลกที่ผลักดันพลังงานสะอาดจากปัญหาภาวะโลกร้อนมากขึ้น ทำให้ซาอุดิอาระเบียเองต้องปรับตัว และเล็งความสำคัญของปัญหาดังกล่าว 

NEOM โครงการเมืองแห่งอนาคตของซาอุฯ

NEOM เป็นโครงการสร้างเมืองใหม่ของซาอุดิอาระเบียที่ทั้งยิ่งใหญ่และท้าทายที่สุดในโลก ซึ่งถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงที่ เจ้าชายโมฮัมเหม็ด มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย เปิดตัวเมื่อปี 2017 เพื่อผลักดันในประเทสสามารถก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี และธุรกิจใหม่ๆ โครงการนี้มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 10,000 ตารางไมล์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ สำหรับการลงทุนในโครงการนี้ ทางการซาอุฯได้ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานอย่างการเดินทางเป็นอย่างมาก 

เมื่อไม่นานมานี้สื่อต่างประเทศรายงานว่า  เจ้าชายโมฮัมเหม็ด ได้ประกาศพัฒนา The Line เส้นทางที่ประชาชนสามารถเดินทางได้โดยไม่มีรถยนต์ ไม่มีถนนในเมืองแห่งนี้ที่มีความยาวกว่า 170 กิโลเมตร เพราะเมืองนี้จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ระบบขนส่งความเร็วสูงพิเศษและการเคลื่อนย้ายอัตโนมัติทั้งหมด  ซึ่งจะทำให้การเดินทางภายในเมืองนี้ใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที โดยเม็ดเงินลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์ ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 380,000 ตำแหน่ง และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในไตรมาส 1/2564 

โครงการเมืองใหม่นี้ หากการลงทุนทั้งหมดไปได้อย่างราบรื่น จะส่งผลให้เศรษฐกิจของซาอุดิอาระเบียนั้นโชดช่วงอีกครั้ง แม้ว่าจะลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันแล้วก็ตาม 

กองทุนรัฐบาลซาอุฯ ไล่ซื้อกิจการแห่งอนาคตในต่างประเทศ

จากการที่ประเทศประสบวิกฤติทางการเงินเป็นเวลาหลายปีจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ประกอบกับการแทรกแซงราคาจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ประเทศจึงมองหาแนวทางลดการพึ่งพาจากน้ำมันมากขึ้น ดังนั้นในช่วงก่อนหน้านี้ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างหนัก ที่กดดันตลาดหุ้นทั่วโลก กองทุน Public Investment Fund (PIF) ของรัฐบาลซาอุฯ ได้ ทยอยซื้อหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกาหลายราย เช่น Facebook, Boeing, Citigroup, Disney และ Berkshire Hathaway เนื่องจากมองในระยะยาวว่าธุรกิตเหล่านี้จะกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังสถานการณ์เลวร้ายผ่านพ้นไป

รถยนต์ไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังมีความพยายามเคลื่อนไหวกับการลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน โดยสื่อต่างประเทศรายงานว่า Lucid Motors สตาร์ทอัปผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติอเมริกัน อยู่ในระหว่างการเจรจากับกองทุน PIF ว่าด้วยการตั้งโรงงานในประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งยังไม่มีรายงานว่าจะตั้งโรงงานเมื่อใด

โดยรัฐบาลซาอุฯมีแผนจะเป็นเจ้าของ Lucid ผ่านการซื้อหุ้นในบริษัทมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งกองทุน PIF จะลงทุนใน Lucid กรณีที่บริษัทจะตั้งโรงงานในพื้นที่ของประเทศซาอุดิอาระเบีย 

สำหรับดีลของ Lucid กับรัฐบาลซาอุฯนั้น ยังมีความน่าติดตามตรงที่ Lucid เองพยายามที่จะระดมทุนหลายวิธีการ โดยมีข่าวว่าอยู่ระหว่างเจรจาที่จะเสนอขายหุ้นแก่สาธารณะ ผ่านวิธีการขายให้ SPAC (Special-purpose acquisition company) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าซื้อกิจการอื่น ณ ที่นี้เจ้าของบริษัทคือนักลงทุนที่มีชื่อว่า Micheal Klein โดยข้อตกลงดังกล่าวมีมูลค่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดย Klein เป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของบริษัทหลักทรัพย์เครดิต สวิส และมีความเกี่ยวข้องกับกองทุน PIF ซึ่งได้มีการตั้งข้อสังเกตกับดีลดังกล่าวว่า หนึ่งในธุรกิจ SPAC ของเขาจะนำ Lucid เข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยข้อตกลงประเภทนี้จะช่วยให้การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เกิดขึ้นเร็วกว่าวิธีทั่วไปนั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม ทั้งโครงการเมืองใหม่ และการพยายามเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศของรัฐบาลซาอุฯนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบเศรษฐกิจในอนาคตว่า อุตสาหกรรมดั้งเดิม การผูกขาดอาจจะไม่ได้เป็นคำตอบในการเดินทางที่ไม่มีที่สิ้นสุดของโลกใบนี้อีกต่อไปแล้ว แต่นวัตกรรม เทคโนโลยี ล้วนแล้วแต่เข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์จริง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคตอันใกล้นี้ รถยนต์ไฟฟ้าจะสร้างปรากฎการณ์ดังกล่าวให้เห็นก่อน ดังที่ตอนนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกต่างทุ่มทุนในการพัฒนาเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

 

อ้างอิงจาก dezeen , motorauthority , electrive


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...