อีกครั้งที่ Techsauce ได้มาเยือนงาน Comeup 2023 จากธีม K-Startup Week ในปี 2019 สู่ Global Startup Festival ซึ่งตอบรับนโยบายใหม่จากกระทรวง SMEs & Startups ของประเทศเกาหลีใต้ พร้อมก้าวเข้าสู่ยุค Startups ไร้พรมแดน และมุ่งสู่การเป็น Startup Ecosystem Hub แห่งเอเชีย
ปัจจุบันเกาหลีใต้ถือเป็นประเทศที่นานาชาติได้ให้การยอมรับใน Startup Ecosystem ด้วยได้รับแรงสนับสนุนจากรัฐบาลรวมกับความพร้อมสำหรับธุรกิจในประเทศ แต่รัฐบาลเกาหลีใต้ไม่หยุดการเติบโตของสตาร์ทอัพเพียงเท่านี้ ผ่านการศึกษาจุดอ่อนของเกาหลีใต้ วิเคราะห์อย่างเป็นระบบพร้อมคาดการณ์ผลลัพธ์ สู่นโยบายที่จะพา K-Startups ก้าวสู่ตลาดโกลบอล
กระทรวง SMEs & Startups ได้สนับสนุนโครงการ K-Startup Grand Challenge (KSGC) ตั้งแต่ปี 2016 โดยมุ่งเร่งอัตราการเติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับทุกสตาร์ทอัพทั่วโลกที่เข้าร่วมโครงการภายใน 3 เดือนครึ่ง
เกาหลีใต้ยังคงไม่หยุดพัฒนาต่อไป ปัจจุบันกระทรวง SMEs & Startups ตั้งเป้าที่จะสร้าง Startup Ecosystem ไร้พรมแดน ไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาทำธุรกิจสตาร์ทอัพในเกาหลีได้ ส่วนสตาร์ทอัพในเกาหลีก็สามารถสเกลสู่ตลาดโลกได้ง่าย ด้วยนโยบายใหม่ของกระทรวง SMEs & Startups ดังนี้
Borderless Entrepreneurship- ทำธุรกิจแบบไร้พรมแดนได้ดังต่อไปนี้
Global Startup Hub - สร้างพื้นที่รองรับนักลงทุนและสตาร์ทอัพจากทั่วโลกกว่า 20 ประเทศไปจนถึงปี 2027 เพื่อเพิ่มโอกาสในการพาสตาร์ทอัพก้าวไปสู่ตลาดในต่างประเทศ และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างเกาหลีใต้กับต่างชาติอีกด้วย
ปัจจุบันมี K-Startups ที่ก้าวไปสู่ตลาดโลกเพียงแค่ 7% ของสตาร์ทอัพทั้งหมด ขณะที่เม็ดเงินจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศก็มีเพียง 7% เช่นกัน เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียเหมือนกันอย่างสิงคโปร์ที่มีการขยายตัวของ Startup ไปต่างประเทศถึง 90% และเงินลงทุนจากต่างชาติถึง 32%
The Asan Nanum Foundation องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่สนับสนุนสตาร์ทอัพในประเทศ ได้วิเคราะห์ปัญหาของเกาหลีใต้ไว้ ดังนี้
ข้อกำหนดของการจัดตั้งบริษัทในเกาหลี: ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาเปิดบริษัทต้องใช้เงินทุนขั้นตํ่าถึง 100 ล้านวอน หรือราว 2.7 ล้านบาท เพื่อจดทะเบียนบริษัท และขั้นตอนเอกสารต่าง ๆ การขอรับรอง รวมใช้เวลากว่า 2-3 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ที่ใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ และเงินลงทุนขั้นตํ่าเพียง 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือเพียง 26 บาทเท่านั้น
ขั้นตอนการขอวีซ่ายุ่งยาก: การเริ่มต้นสตาร์ทอัพต้องใช้ VISA D-8-4 หรือวีซ่า Startup ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยาก นอกจากมีเกณฑ์หลักที่ต้องรักษาสภาพคล่องทางธุรกิจหรือใบอนุญาตทำธุรกิจไว้แล้ว ยังมีดีเทลอื่นๆ เช่น ต้องเก็บคะแนนให้ได้ตามกำหนด กำหนดขั้นตํ่าการศึกษา รวมถึงให้วีซ่าเพียง 1 ปีเท่านั้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ อย่างสิงคโปร์ที่ให้ 2 ปี หรืออังกฤษที่ให้ 3 ปี
การขอวีซ่าทำงานของผู้มีทักษะหรือ Visa E-7-1 ก็ไม่ง่ายเช่นกัน เพราะต้องมีประสบการณ์ในสาขาที่เชี่ยวชาญถึง 5 ปี และมีการกำหนดอัตราส่วนชาวเกาหลีกับชาวต่างชาติในบริษัทอยู่ที่ 5:1 ซึ่งสิงคโปร์ อังกฤษ และสหรัฐไม่มีข้อกำหนดตรงนี้ไว้
ข้อจำกัดเงินทุนต่างประเทศ: Venture ต่างชาติประสบปัญหาในการลงทุน เนื่องจากขั้นตอนรายงานเอกสารที่ยุ่งยาก อีกทั้งต้องตรวจสอบและประสานงานล่วงหน้ากับธนาคารแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ ทำให้การนำเงินลงทุนเข้ามาในประเทศล่าช้า
ไม่มีภาษาอังกฤษบนเว็บไซต์: เว็บไซต์ทางการของรัฐบาลและเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสตาร์ทอัพนั้นเป็นภาษาเกาหลีทั้งหมด ถึงจะมีระบบแปลอัตโนมัติด้วย Google แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์การใช้งาน
รัฐบาลได้ปรับปรุงนโยบายและโครงการที่สนับสนุน Startup Ecosystem ในทุกปี เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล และเพิ่มโอกาสให้สตาร์ทอัพเกาหลีได้ทดลองก้าวขึ้นสู่ตลาดโลก โดยนโนบายในปี 2024 ได้คาดการณ์ผลลัพธ์เอาไว้ดังนี้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด