SPACE-F เปิดตัว Global FoodTech Accelerator and Incubator รุ่นที่ 5 ผลักดันนวัตกรรม รับมือความท้าทายในอุตสาหกรรมอาหาร | Techsauce

SPACE-F เปิดตัว Global FoodTech Accelerator and Incubator รุ่นที่ 5 ผลักดันนวัตกรรม รับมือความท้าทายในอุตสาหกรรมอาหาร

SPACE-F โครงการ FoodTech ที่บ่มเพาะและเร่งการเติบโต (incubator and accelerator program) สตาร์ทอัพระดับสากลแห่งแรกของประเทศไทย ได้เปิดตัว Accelerator และ Incubator รุ่นที่ 5 โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนนวัตกรรมโซลูชันสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อแก้ไขปัญหาภายในอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมพันธมิตรโครงการฯ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ล็อตเต ไฟน์ เคมิคอล จำกัด และบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เดินหน้าโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย ที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพธุรกิจเทคโนโลยีอาหารที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม รองรับความท้าทายในปัจจุบันและอนาคต โดยในปีนี้มีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ ทั้งสิ้น 20 ราย แบ่งออกเป็น โครงการ Incubator program 10 ราย และ โครงการ Accelerator program 10 ราย 

โดยธุรกิจสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ โอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายและแหล่งเงินทุน เพื่อการเติบโตของธุรกิจ นอกจากนี้ ทุกทีมที่เข้าร่วมโครงการยังสามารถเข้าใช้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลก 

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) กล่าวในงานเปิดตัวว่า 

“โครงการ SPACE-F ได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนทั้งการบ่มเพาะ และให้องค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมร่วมกับเครือข่ายจากสถาบันการศึกษา และภาคเอกชนชั้นนำ อย่าง บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้ง NIA ยังมีกลไกการสนับสนุนด้านเงินทุนในโครงการนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) เพื่อให้สตาร์ทอัพต่อยอดพัฒนาต้นแบบ สร้างแพลตฟอร์มที่ดึงดูดสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหาร ที่มีการเตรียมการระบบนิเวศ และความเชี่ยวชาญให้เพรียบพร้อม เพื่อผลักดันให้สตาร์ทอัพเติบโตและประสบผลสำเร็จได้เร็ว สร้างอิมแพคให้อุตสาหกรรมได้ ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว โดยมีสตาร์ทอัพ จาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ จีน อินเดีย และอิสราเอลเข้าร่วมโครงการ

โครงการ SPACE-F มุ่งส่งเสริมให้สตาร์ทอัพด้าน FoodTech เติบโตและขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนที่มีตลาดผู้บริโภคกว่า 650 ล้านคน และมีมูลค่าสูงกว่า 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากความสำเร็จที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงโอกาสของการลงทุน และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม FoodTech และตอกย้ำความเป็น “ครัวโลก” ของประเทศไทย

แพลตฟอร์มของเราได้มีการสนับสนุนสตาร์ทอัพอย่างเต็มที่ ให้มีการเติบโตทางธุรกิจ และสร้างคุณค่าต่อสังคม ด้วยวิสัยทัศน์และความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนอย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ล็อตเต ไฟน์ เคมิคอล จำกัด และบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) เราเชื่อว่าประเทศไทยจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหารของโลก มีส่วนช่วยส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับเทรนด์ใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรม สามารถเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในระดับสากลได้”


รศ.ดร.ยศชนัน วงศสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริม

“เราเชื่อในเทคโนโลยีที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ  SPACE-F รุ่นที่ 5 สามารถขยายออกไปในตลาดสากลได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถสนับสนุนได้ โดยสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการสามารถใช้พื้นที่ได้เต็มศักยภาพและประสิทธิภาพ รวมถึงบุคลากร อาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลก ที่คอยสนับสนุน อีกทั้งนักศึกษาที่คุณจะเห็นได้จากมหาวิทยาลัยแห่งนี้เช่นกัน”


รศ. ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังกล่าวเพิ่ม

“เบื้องหลังในความสำเร็จของการสร้างนวัตกรรมของหลายๆ สตาร์ทอัพ ยังจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกเหนือเป็นสถานที่ที่โครงการ SPACE-F ตั้งอยู่มาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน SPACE-F รุ่นที่ 5 คณะวิทยาศาสตร์มีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่ส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ Food-Tech Startups ในการสร้างนวัตกรรมระดับครัวไทยสู่ครัวโลก โดยมีอาจารย์และบุคลากรของคณะฯ ที่พร้อมช่วยให้คำปรึกษาและสนับสนุนสตาร์ทอัพในโครงการฯ ด้วยศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงเลึก เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลกได้”


FoodTech Startup 10 รายที่เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (Incubator Program)

  1. Full Circle Co., Ltd: นำเสนอบริการบรรจุภัณฑ์เพื่อลดขยะบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว
  2. Another Food: พัฒนากาแฟจากเซลล์พืชเพื่อความยั่งยืน
  3. Cantrak: ซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร เพื่อติดตามและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มประสิทธิภาพทางการค้า
  4. Nanozeree: ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้กระบวนการ encapsulation หรือเทคโนโลยีห่อหุ้มโดยหุ่นยนต์เพื่อนำส่งสู่จุดหมายได้อย่างสมบูรณ์
  5. Anuvi Food Sciences: นวัตกรรมผลิตส่วนผสมอาหารจากการหมักชีวมวล
  6. Algrow Biosciences Pte. Ltd.: สร้างสรรค์ส่วนผสมคุณภาพสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากโรงงานชีวภาพที่ใช้สาหร่ายโดยไม่เกิดของเสีย
  7. 21 Flavour: ทางเลือกใหม่ของผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงที่ดึงดูดและน่ารับประทานสำหรับสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก
  8. Beijing BangyaBangya Technology: เครื่องดื่มจากถั่วงอกเจ้าแรกของโลก
  9. Niyog Global: ผลิตภัณฑ์นมที่ยั่งยืนจากมะพร้าว ปราศจากส่วนผสมจากสัตว์และเข้าถึงได้ง่าย
  10. KronoLife Co., Ltd.: ร่วมมือกับ สวทช. พัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางชั้นนำสำหรับต่อต้านริ้วรอย และมุ่งจัดการเซลล์ชราโดยเฉพาะ โดยมีผลิตภัณฑ์อย่าง ZenoBlazt และ ZenoGenez ซึ่งช่วยกำจัดเซลล์เหล่านี้ เพื่อสุขภาพและผิวที่ดีขึ้น

FoodTech Startup 10 รายที่เข้าร่วมโครงการเร่งการเติบโตทางธุรกิจ (Accelerator Program)

  1. SEATOBAG PTE LTD: นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยจุลินทรีย์ครั้งแรกของโลก เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและการผลิตที่ยั่งยืน
  2. N&E Innovations: ผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อสังเคราะห์จากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพครั้งแรกของโลก และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารจากเศษอาหาร
  3. The Crop Project: ผู้พัฒนาสูตรปรุงรสจากสาหร่ายเพื่อลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
  4. Biodefense led by BioShield: ปฏิวัติการถนอมอาหารด้วยนวัตกรรม
  5. UniFAHS: หยุดยั้งการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ผ่าน phage solution ภายใต้แบรนด์ PhagePrompt™ โดยสามารถประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตอาหารได้หลากหลายขั้นตอน เช่น วัตถุดิบ การแปรรูป การเก็บรักษา และบรรจุภัณฑ์
  6. Prefer Pte Ltd: ใช้เทคโนโลยีการหมักเพื่อเปลี่ยนขนมปัง ถั่วเหลือง และข้าวบาร์เลย์ให้เป็นรสชาติกาแฟ
  7. Fattastic Technologies Pte Ltd: พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาไขมันพืชจากน้ำมันพืช
  8. MUI Robotics Co., Ltd.: ออกแบบแพลตฟอร์มสำหรับอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะ เพื่อพัฒนากระบวนการควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์รสชาติ และความปลอดภัยของอาหาร
  9. Aquivio: นวัตกรรมเครื่องกดน้ำที่มีคุณสมบัติในการปรับแต่งที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้บริโภคสามารถสร้างสรรค์เครื่องดื่มที่ดีที่สุดที่เหมาะกับรสนิยม ไลฟ์สไตล์ และความต้องการได้ด้วยตนเอง
  10. Ingrediome Inc.: ใช้กระบวนการหมักด้วยแสงสังเคราะห์ที่มีความแม่นยำ (photosynthetic precision fermentation) เพื่อผลิตโปรตีนจากสัตว์ที่เหมือนกับธรรมชาติ และนำมาสร้างผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารทะเลขึ้นมาใหม่ โดยได้ทำการวิเคราะห์และจำแนกบทบาทของโปรตีนจากอาหารทะเลในการปรุงอาหาร เพื่อมุ่งเน้นไปที่การผลิตโปรตีนที่สำคัญที่สุดสำหรับการใช้งานของเรา

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ SPACE-F สามารถเข้าชมได้ที่ https://www.space-f.co

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขรหัสลับ AI จีนฝ่า "สงครามชิป" ผ่าน Deepseek สูตรลับความสำเร็จจาก Open Source

DeepSeek AI สัญชาติจีนที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ตาม แต่กำลังก้าวขึ้นมาท้าทายผู้นำในวงการ ด้วยโมเดล AI ประสิทธิภาพสูงและแนวคิด Open Source บทความนี้จะพาทุกคนไปเจาะลึกการพัฒนา AI สัญชาติจ...

Responsive image

รู้จัก Spatial Intelligence เทคโนโลยีที่ช่วยให้ AI ‘มองเห็น’ และ ‘เข้าใจ’ โลกได้เหมือนมนุษย์

AI กำลังก้าวข้ามขีดจำกัดที่เคยมี ไม่เพียงแต่สามารถคิดคำนวณหรือให้คำตอบได้เท่านั้น แต่ยังมีความสามารถในการ 'มองเห็น' และ 'เข้าใจ' สภาพแวดล้อมรอบตัวเหมือนมนุษย์ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า...

Responsive image

จากแรงงานสู่นวัตกรรม ยกระดับ SMEs และสตาร์ทอัพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ สู่ประเทศรายได้สูง

Mr. Cristian Quijada Torres ร่วมอภิปรายในหัวข้อ Innovation in a Changing World: Empowering SMEs And Startup วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อุปสรรคที่ทำให้การพัฒนานวัตกรรมแ...